ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Chanturbo/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปัญญา จินตะเวช

[แก้]

ประวัติ

[แก้]

นายปัญญา จินตะเวช เกิดวันที่ 19 ธันวาคม 2490 เป็นบุตรของ นายวิฑูรย์ จินตะเวช อดีตปลัดอำเภอหัวหน้ากิ่งอำเภอบุณฑริก (อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ในปัจจุบัน) และเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตตั้งโรงเรียนวิฑูรย์วิทยาการ โรงเรียนเอกชนแห่งแรกของอำเภอเดชอุดม และนางเกษร จินตะเวช อดีตอาจารย์โรงเรียนนารีนุกูล ที่ตำบลโพนงาม กิ่งอำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาได้ย้ายตามบิดาไปอยู่ที่อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี และปัจจุบันได้ย้ายภูมิลำเนามาอยู่ที่อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี

มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 7 คน รวมถึง นายตุ่น จินตะเวช อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี หลายสมัย พี่ชาย และนายศักดิ์ชัย จินตะเวช อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี น้องชาย (สามี นางอุดร จินตะเวช อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี)

          ในปีพ.ศ.2516 สมรสกับนางสืบทรัพย์ จินตะเวช (สกุลเดิมพรหมคุปต์) อดีตสมาชิกจังหวัดอุบลราชธานีหลายสมัย มีบุตร 3 คน ได้แก่ นายประภูศักดิ์ จินตะเวช สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี เขตอำเภอเดชอุดม , นายเศกสิทธิ์ จินตะเวช และนางวิเกศญา จินตะเวช พัชรธรรมพันธุ์

ประวัติการศึกษา

สำเร็จการศึกษาชั้นประถม โรงเรียนบ้านหนองแสง อำเภอเดชอุดม, ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนมัธยมวิฑูรย์วิทยาการ อำเภอเดชอุดม, ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนวิลัยวัฒนาอุบลราชธานี, รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.) มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา (ศษ.ม.) มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

ประวัติการทำงาน

[แก้]

เมื่อประมาณปี พ.ศ.2506 ทำกิจการโรงภาพยนตร์ที่อำเภอเดชอุดม ชื่อโรงหนังหลักเมืองภาพยนตร์ ร่วมกับบิดาและพี่ชาย ต่อมาในปีพ.ศ.2516 ได้ทำกิจการหน่วยฉายภาพยนตร์เคลื่อนที่ ชื่อ ปัญจพรภาพยนตร์  เร่ฉายภาพยนตร์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและใกล้เคียง เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มี 5 หน่วยบรรทุกด้วยรถยนต์บรรทุกสิบล้อ ซึ่งเป็นหน่วยเร่ฉายภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดอุบลราชธานี ใช้จอความกว้างใหญ่ถึง ๓๖ เมตร โดยพากย์เสียงภาพยนตร์ทั้งไทยและเทศด้วยตนเอง ได้รับรางวัลโล่เกียรติยศทองคำฝังเพชร ในการประกวดการฉายภาพยนตร์จากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดร่วมกับจังหวัดอุบลราชธานีในขณะนั้น ในระหว่างเร่ฉายภาพยนตร์ทำให้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในจังหวัด

        ในปีพ.ศ.2526 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดอุบลราชธานี เขตอำเภอเดชอุดม ประกอบด้วยตำบลจำนวน 16 ตำบล ได้รับการเลือกตั้งจำนวน ๒ สมัย

         ในปีพ.ศ.2531 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขตเลือกตั้งที่ ๒ ประกอบด้วยอำเภอเดชอุดม อำเภอน้ำยืน อำเภอนาจะหลวย อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอบุณฑริก ในนามพรรคปวงชนชาวไทย ซึ่งมีพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก  อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าพรรค และได้รับการเลือกตั้ง ด้วยคะแนน 81,000 คะแนนเศษ

        ต่อมาในปีพ.ศ.2535 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขตเลือกตั้งที่ 2 ประกอบด้วยอำเภอเดชอุดม อำเภอนาเยีย อำเภอน้ำยืน อำเภอนาจะหลวย อำเภอพิบูลมังสาหาร และอำเภอบุณฑริก ในนามพรรคความหวังใหม่ ซึ่งมีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าพรรค เนื่องจากพรรคปวงชนชาวไทย ได้ยุบพรรค โดยได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 มีวาระเพียง 8 เดือนเศษ จึงมีการยุบสภาผู้แทนราษฏร เนื่องจากรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหวัณ ถูกรัฐประหาร  และได้รับเลือกตั้งในสมัยที่ 3 ในปีเดียวกันมีวาระ 2 ปีเศษ ได้รับตำแหน่ง กรรมาธิการการสาธารณสุข และโฆษกคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร

          พ.ศ.2535 ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไทย พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น

         พ.ศ.2538 ดำรงตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม นายพูลสวัสดิ์ มูลศาสตรสาทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

          พ.ศ.2538 ได้ยื่นแปรญัติขอจัดตั้งศาลจังหวัดเดชอุดม และผลักดันจนสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติผ่านกฎหมาย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ.2538 โดยมีสาระสำคัญคือ จัดตั้งศาลจังหวัดขึ้นที่อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี โดยให้มีเขตอำนาจตลอดท้องที่อำเภอเดชอุดม อำเภอนาจะหลวย อำเภอน้ำยืน อำเภอบุณฑริก กิ่งอำเภอทุ่งศรีอุดม และกิ่งอำเภอนาเยีย เนื่องจากปริมาณคดีในเขตอำเภอและกิ่งอำเภอดังกล่าวมีปริมาณพอสมควร การคมนาคม ระหว่างตัวจังหวัดกับอำเภอต่างๆ บางแห่งมีระยะทางห่างไกล และไม่สะดวกในการเดินทาง เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่ต้องรับบริการด้านอำนวยความยุติธรรมจากรัฐ

          และในปีเดียวกันขณะดำรงตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ผลักดันให้กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้ง วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม เป็นผลสำเร็จ

          ต่อมาในปีพ.ศ.2539 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขตเลือกตั้งที่ 3 ประกอบด้วยอำเภอเดชอุดม อำเภอน้ำยืน อำเภอนาจะหลวย อำเภอนาเยีย และอำเภอบุณฑริก ในนามพรรคความหวังใหม่ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 4 ด้วยคะแนน 98,000 คะแนนเศษ  ได้ดำรงตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (มีนายสุขวิทย์ รังสิตพล ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) และได้ดำรงตำแหน่ง ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อีกตำแหน่ง

          ปีพ.ศ.2552 ได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย และในปีพ.ศ.2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขตเลือกตั้งที่ 9 ประกอบด้วย อำเภอนาจะหลวย อำเภอบุณฑริก  และตำบลโนนก่อ อำเภอสิรินธร  ได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนสูงเป็นอันดับต้นของจังหวัดอุบลราชธานีในสมัยนั้น โดยชนะคู่แข่งเท่าตัว เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ในสมัยที่ 5 ได้รับตำแหน่ง กรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร และประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร

          ในปีพ.ศ.2557 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ในเขตเลือกตั้งเดิม เป็นสมัยที่ 6

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พ.ศ.2555 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙, ตอน ๓๕ ข , ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕