ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Bobojang244

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การศึกษานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย โดยการจัดกิจกรรมบรรณารักษ์น้อย[แก้]

เบญจางค์ ปั้นคล้าย. (2551: บทคัดย่อ)[แก้]

    ได้ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อนิสัยรักการอ่านของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนนิมมานรดี เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อนิสัยรักการอ่าน ผลวิจัยพบว่า 

1. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับนิสัยรักการอ่านของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนวัดนิมมานรดี เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับนิสัยรักการอ่านของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนวัดนิมมานรดี เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อนิสัยรักการอ่านของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนวัดนิมมานรดี เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 25

ธิดา สุวรรณสาครกุล. (2554)[แก้]

    การศึกษาคุณลักษณะของตัวแบบในการอ่านที่ส่งผลต่อนิสัยรักการ อ่านของเด็กวัยรุ่นในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบสอบถามพฤติกรรมการอ่าน แบบสอบถามตัวแบบในการอ่าน และแบบสอบถามนิสัยรักการอ่าน ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .91 ผลวิจัยพบว่า 

1. พฤติกรรมการอ่านของเด็กวัยรุ่นในโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร ด้านเวลาในการอ่านต่อวัน พบว่า กลุ่มตัวอย่างโดยรวมส่วนใหญ่ใช้เวลาในการอ่านต่อวัน 2 ชั่วโมงขึ้นไป รองลงมาคือ 1 ชั่วโมงขึ้นไป – 2 ชั่วโมง, 31 นาที – 1 ชั่วโมง และ 0 -30 นาที ตามลาดับ 2.ตัวแบบในการอ่านของเด็กวัยรุ่นในโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีตัวแบบในการอ่าน ร้อยละ 52 3. นักเรียนที่มีตัวแบบในการอ่านต่างกันมีนิสัยรักการอ่านแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05

มิลเลอร์ (Miller. 1984 : 3338 - A - 3339 - A)[แก้]

    ได้ศึกษาปัจจัยทีเกี่ยวกับพฤติกรรมในการใช้หนังสือร่วมกันระหว่างผู้ปกครองและเด็กก่อนวัยเรียน โดยศึกษาจากเวลาที่ผู้ปกครองให้กับการอ่านของเด็ก ทัศนคติของผู้ปกครองและเด็กที่มีค่าการอ่าน รูปแบบกิจกรรมเกี่ยวกับการอ่านที่ผู้ปกครองได้ปฏิบัติต่อเด็กและจานวนหนังสือของเด็กในบ้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองและเด็กจานวน 28 คู่ ผลจากการศึกษาพบว่า การรับรู้เกี่ยวกับการอ่านของเด็กมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสาคัญกับการรับรู้คาศัพท์ ทัศนคติของผู้ปกครองที่มีต่อการอ่าน สามารถเป็นตัวบ่งชี้ถึงการเรียนรู้เบื้องต้นของการอ่านและการรับรู้คาศัพท์ของเด็ก ผู้ปกครองที่มีทัศนคติในทางบวกมีผลต่อความถี่ในการปฏิบัติบทบาทและพฤติกรรมส่งเสริมการอ่านให้กับเด็ก พร้อมกันนั้นยังมีส่วนสนับสนุนในการกระตุ้นให้เด็กปฏิบัติเกี่ยวกับการอ่านได้ดี

นิวแมน (Neuman. 1986 : 338 - 339)[แก้]

   ได้ศึกษาสิ่งแวดล้อมภายในบ้านที่มีผลโดยตรงกับการใช้เวลาว่างในการอ่านของเด็กนักเรียน เกรด 5 โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างเด็กนักเรียน เกรด 5จานวน 254 คน และผู้ปกครองจานวน 84 คน จากการศึกษาพบว่า นักเรียนเกรด 5 มีการอ่านหนังสือในเวลาว่าง โดยเฉลี่ย 2.33 เล่มต่อเดือน เด็กผู้หญิงจะอ่านมากกว่าเด็กผู้ชาย การใช้เวลาในการอ่านแต่ละครั้งนั้น โดยเฉลี่ย 15 นาที ต่อวัน มักจะใช้เวลาก่อนนอนและช่วงเวลาพักผ่อนของครอบครัวเป็นช่วงเวลาว่างในการอ่านหนังสือมากที่สุด และพบว่าเด็กส่วนหนึ่งใช้เวลาในการดูโทรทัศน์โดยเฉลี่ยวันละ 3.36 ชั่วโมง ซึ่งเป็นการใช้เวลาว่างมากกว่าการอ่านหนังสือและส่วนมากจะมาจากครอบครัวที่มีรายได้และระดับการศึกษาต่า นอกจากนี้ยังพบว่า บทบาทของผู้ปกครองในการสนับสนุนการอ่านนั้น มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับพฤติกรรมในการใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือของเด็ก