ผู้ใช้:Bkkmetropolislc/หน้าทดลอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศูนย์การเรียนรู้มหานคร สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
Bangkok Metropolis Learning Center
ประเทศประเทศไทย
ประเภทสถานที่ราชการ
ก่อตั้งพ.ศ.2527
สถานที่ตั้ง46/4 หมู่ 5 แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
เว็บไซต์https://ศูนย์การเรียนรู้มหานคร.com

ศูนย์การเรียนรู้มหานคร สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร[แก้]

เว็บไซต์ ศูนย์การเรียนรู้มหานคร.com[แก้]

ประวัติความเป็นมาของศูนย์การเรียนรู้มหานคร สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร[แก้]

เมื่อพระราชบัญญัติเทศบาลได้ประกาศใช้ปี พ.ศ. 2476 เป็นผลให้ทางราชการต้องเตรียมการต่างๆเพื่อให้พร้อมในการจัดตั้งเทศบาล จนถึงปีพ.ศ. 2480 ราชการจึงสามารถจัดตั้งเทศบาลนครกรุงเทพและเทศบาลนครธนบุรี ซึ่งทำให้เป็นเทศบาล ที่ใหญ่โตที่สุดของประเทศไทย ในระยะเริ่มแรกของการก่อตั้งเทศบาลกรุงเทพนั้น ความต้องการในด้านการบริการของประชาชน ยังมีไม่มากเนื่องจากมีจำนวนประชากรน้อย องค์กรเทศบาลนครกรุงเทพยังมีขนาดเล็ก การบริหารงานบุคคลจึงเป็นเพียง แผนกเล็ก ๆ แผนกหนึ่งเท่านั้น ต่อมาเมื่อมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นความต้องการในด้านบริการต่าง ๆ มีมากขึ้น ฉะนั้น เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปด้วยความรวดเร็วและคล่องตัว เทศบาลนครกรุงเทพจึงได้จัดตั้งกองการเจ้าหน้าที่ขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2506 ประกอบด้วยแผนกต่าง ๆ ดังนี้ 1.แผนกการสอบและบรรจุแต่งตั้ง 2.แผนกทะเบียนประวัติ 3.แผนกวินัย

ต่อมาวันที่ 13 ตุลาคม 2509 ได้ตั้งแผนกฝึกอบรมขึ้นเป็นแผนกหนึ่งในกองการเจ้าหน้าที่ของเทศบาลนครกรุงเทพในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี และในที่สุดได้มีการรวมหน่วยงานของเทศบาลนครกรุงเทพ และหน่วยงาน ของเทศบาลนครธนบุรี จัดตั้งเป็นกรุงเทพมหานครตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 แผนกฝึกอบรมจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกองฝึกอบรม เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2516 โดยมีถวิล ไพรสณฑ์ รักษาการ ในตำแหน่งหัวหน้ากองฝึกอบรม ต่อมากรุงเทพมหานครได้รับโอน นายสมบูรณ์ ผดุงเจริญ หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาวิชาการของวิทยาลัยการปกครองมาดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองฝึกอบรม เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2516

พ.ศ. 2517 นายชำนาญ ยุว บูรณ์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อเตรียมจัดตั้งสถาบันฝึกอบรมของกรุงเทพมหานครโดยเสนอที่ดินแห่งนี้ซึ่งเดิมเป็นขององค์กรเลี้ยงไก่กระทรวงมหาดไทยจำนวน128ไร่และที่ดินของอำเภอหนองจอกจำนวน35 ไร่ รวม 2 แปลง รวมเนื้อที่ 163 ไร่ โดยเมื่อปี พ.ศ. 2515 องค์การเลี้ยงไก่ได้ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้กับองค์การบริหารนครหลวงกรุงเทพธนบุรี ในขณะนั้น ซึ่งต่อมาได้จัดระเบียบองค์การบริหารฯเป็น กรุงเทพมหานคร ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 335 โดยนายชำนาญ ยุวบูรณ์ ได้เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีในขณะนั้นแต่ได้ถูกยกเลิกไป เนื่องจากคณะรัฐมนตรีเห็นว่าภารกิจและหลักสูตรการศึกษา ฝึกอบรม มีลักษณะเหมือนวิทยาลัยการปกครองควรให้กระทรวงมหาดไทยรับไปพิจารณา รวมกับหลักสูตรวิทยาลัยการปกครอง

ในปี พ.ศ. 2518 กองฝึกอบรมได้จัดทำโครงการก่อสร้างศูนย์ฝึกอบรมเสนอต่อผู้บริหารกรุงเทพมหา นครใช้งบประมาณ 26 ล้านบาท แต่ยังไม่ได้รับอนุมัติ ต่อมา พ.ศ. 2520 เมื่อนายชะลอ ธรรมศิริ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สืบต่อจากนายธรรมนูญ เทียนเงิน จึงได้ทำการรื้อฟื้นโครงการนี้ใหม่โดยให้มีการตรวจสอบทรัพย์สินอาคารสถานที่ศูนย์ฝึกอบรมข้าราชการกรุงเทพมหานคร

นายชะลอ ธรรมศิริ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสมัยนั้ได้เสนอโครงการอีกครั้ง ทั้งนี้ได้พิจารณาเห็นว่ากรุงเทพมหานครในขนะนั้นมีข้าราชการมากกว่า 30.000 คน ควรจะมีสถานที่ฝึกอบรมเป็นของตนเองแทนการเช่าสถานที่ซึ้งสิ้นเปลืองงบประมาณและมีปัญหาเรื่องความไม่สะดวกต่างๆอีกทั้งกรุงเทพมหานครมีที่ดินแห่งนี้ถึง 163 ไร่ ซึ่งโครงการได้รับการอนุมัติเงินงบประมาณ 8,700,000 บาท แต่การดำเนินการก่อสร้างสามารถทำได้เพียงการถมที่ ขุดลำรางดินและปลูกต้นไม้ใช้งบประมาณไปเพียง 2,400,000บาท

ในปีพ.ศ. 2523 นายเชาว์วัศ สุดลาภาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้พิจารณาสถานที่ตั้งศูนย์ฝึกอบรม โดยประสานงานกับเขตบางขุนเทียนหาที่ดินบริเวณชายทะเล เพื่อจัดสร้างศูนย์ฝึกอบรม และให้นำเงินส่วนที่เหลือส่งคืนเป็นเงินรายได้ของกรุงเทพมหานคร แต่ยังไม่ได้ดำเนินการตามเสนอ แต่อย่างใด

จนปี พ.ศ. 2525 พลเรือเอกเทียม มกรานนท์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแทนนายเชาว์วัศ สุดลาภา และในปีเดียวกันนี้เอง นายชะลอ ธรรมศิริ ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็น ปลัดกรุงเทพมหานคร จึงยืนยันที่จะให้ใช้สถานที่ แห่งนี้เป็นศูนย์ฝึกอบรมตามเจตนาเดิม และ จากประสบการณ์ ที่เคยดำรงตำแหน่งเป็นอธิการวิทยาลัยการปกครอง กระทรวงมหาดไทยจึงได้นำแนวคิด วิธีการ และเทคนิคต่าง ๆ ที่ประสบความสำเร็จในการบริหารวิทยาลัยการปกครองมาใช้ ในการพัฒนาศูนย์ฝึกอบรมฯ ซึ่งได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (พลเรือเอกเทียม มกรานนท์) จึงทำให้การดำเนินงานจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมข้าราชการกรุงเทพมหานครประสบความสำเร็จ ในช่วงนี้ได้มีการย้ายสับเปลี่ยนข้าราชการระดับสูงของกองฝึกอบรม คือ นายเสรี เกียรติบันลือ ได้รับการแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองฝึกอบรม แทนนายสมบรูณ์ ผดุงเจริญ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการ สำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร นายเสรี ฯ ได้ดำเนินการบริหารงานกองฝึกอบรมและศูนย์ฝึกอบรมสืบทอดสนองนโยบาย ผู้บังคับบัญชา โดยในส่วนของศูนย์ฝึกอบรมได้จัดสายการบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการกองฝึกอบรมภายใต้การควบคุม กำกับ ดูแล รับผิดชอบของนายสุดใจ เทวะเวชพงษ์ เจ้าหน้าที่พัฒนาองค์การ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรมเป็นคนแรก และให้มีผู้ช่วยฝ่ายปกครอง ฝ่ายวิชาการ และฝ่ายบริหารตลอดจนแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ลูกจ้างชั่วคราว เพื่อปฏิบัติงานของศูนย์ฝึกอบรมโดยใช้อาคารอเนกประสงค์เป็นที่ทำการและพักค้าง

ปี พ.ศ. 2526 กองฝึกอบรมได้พิจารณาเห็นว่าจำนวนข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานครมีเพิ่มมากขึ้นและในการพัฒนาบุคลากรจำเป็นต้องมีศูนย์ฝึกอบรมเป็นของตนเองจึงได้ทบทวนการก่อสร้างศูนย์ฝึกอบรมข้าราชการกรุงเทพมหานคร ในที่ดินแห่งนี้เสนอต่อผู้บริหารอีกครั้ง เป็นโครงการระยะยาว 8 ปี (2526-2533)ใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น เป็นเงิน 178,000,000 บาท และได้รับอนุมัติ ให้ดำเนินการโดยแยกดำเนินงานเป็นรายปีมีการก่อสร้างอาคารและสาธารณูปโภค เพิ่มขึ้นตามความจำเป็นภายใต้งบประมาณที่จำกัด

ในปี 2529 ว่าที่ ร.ต.เสมอใจ พุ่มพวง รองปลัดกรุงเทพมหานคร ได้รับการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกรุงเทพมหานครสืบแทนนายชะลอ ธรรมศิริและได้สืบทอด เจตนารมณ์ในการพัฒนาศูนย์ฝึกอบรมแห่งนี้จนมีความ เจริญก้าวหน้าและหยุดดำเนินการก่อสร้าง ในระหว่างปี พ.ศ. 2533 เป็นต้นมา

หลังจากนั้นกองสวนสาธารณะได้ขอแบ่งพื้นที่ ด้านทิศเหนือของศูนย์ฝึกอบรม เพื่อใช้เป็นหน่วยงานขยายพันธ์ไม้จำนวน15ไร่ และในปี 2536 สำนักพัฒนาชุมชน ได้ขอแบ่งพื้นที่บริเวณสามเหลี่ยมชายธงจำนวน9ไร่เพื่อก่อสร้างโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร

ปี พ.ศ.2560 ได้เปลี่ยนชื่อหน่วยงานจาก ศูนย์ฝึกอบรม เป็น ศูนย์การเรียนรู้มหานคร สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร

ข้อมูลทั่วไปของศูนย์ฝึกอบรม และแนวทางการพัฒนา[แก้]

ข้อมูลด้านการใช้ที่ดินของศูนย์ฝึกอบรม 1.1 จำนวนที่ดินศูนย์ฝึกอบรมสถาบันฯ เดิมได้รับโอนจากองค์การเลี้ยงไก่ กระทรวงมหาดไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ จำนวน 163 ไร่ 9 ตารางวา และต่อมาได้

แบ่งจัดสรรให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้

-สำนักพัฒนาสังคม สร้างโรงเรียนฝึกอาชีพจำนวน 9 ไร่2งาน

-สำนักการระบายน้ำ สร้างสถานีเรด้า จำนวน 1 งาน 25 ตารางวา

-สำนักวัฒนธรรมกีฬาและการท่องเที่ยว สร้างสนามกีฬาบางกอกอารีน่า จำนวน 60 ไร่

-ลานจอดรถสนามกีฬาบางกอกอารีน่า จำนวน 13 ไร่ 2 งาน 75 ตารางวา


พื้นที่ศูนย์ฝึกอบรมคงเหลือในปัจจุบัน 78 ไร่ 2 งาน 9 ตารางวา โดยเป็นพื้นที่รองรับการฝึกอบรม สัมมนา และสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

พื้นที่อาคารสำนักงาน อาคารอบรมสัมมนา รวมจำนวน 70 ไร่ 2 งาน 9 ตารางวา ประกอบด้วย

อาคาร 1 สำนักงาน

อาคาร 2 - 3 อาคารฝึกอบรม

อาคาร 4 หอประชุม

อาคาร 5 โรงอาหาร

อาคาร 6 โรงซักรีด

อาคาร 7 โรงพัสดุ และโรงจอดรถ

อาคาร 8 - 12 อาคารพักบุคลากร

อาคาร 13 อาคารพักเจ้าหน้าที่ – วิทยากร

อาคาร 14 - 15 อาคารที่พักสำหรับวิทยากร และผู้บริหาร

อาคาร 16 - 17 อาคารที่พักสำหรับผู้เข้ารับการอบรม

พื้นที่ที่เหลือเป็นพื้นที่สำหรับรองรับกิจกรรมอื่น ๆ ของการฝึกอบรม เช่น กิจกรรมการพัฒนาภาวะผู้นำ กิจกรรม Walk rally กิจกรรมลูกเสือ และกิจกรรมการเรียนรู้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งได้จัดทำในลักษณะสวนป่า และฐานกิจกรรมต่าง ๆ จำนวนประมาณ 8 ไร่ และอยู่ระหว่างการวางแผนพัฒนาให้เหมาะสมกับความต้องการใช้พื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น

สถานที่รองรับการให้บริการด้านการฝึกอบรมสัมมนา[แก้]
ห้องประชุม/สัมมนา[แก้]

- ห้องประชุมขนาด 50 คน จำนวน 2 ห้อง

- ห้องประชุมขนาด 100 คน จำนวน 2 ห้อง

- อาคารหอประชุมขนาด 500 คน จำนวน 1 หลัง

อาคารที่พัก จำนวน 2 อาคาร รองรับได้ 180 คน[แก้]

- อาคาร 16 จำนวน 36 ห้อง 90 เตียง

- อาคาร 17 จำนวน 36 ห้อง 90 เตียง

บ้านพักรับรอง จำนวน 2 หลัง[แก้]

- บ้านพักหลังที่ 14 จำนวน 3 ห้องนอน 5 เตียง

- บ้านพักหลังที่ 15 จำนวน 3 ห้องนอน 5 เตียง

อาคารโรงอาหาร จำนวน 1 หลัง รองรับได้ 180 คน

หมายเหตุ[แก้]

- การอบรมสัมมนาแบบไป-กลับ สามารถรองรับได้ จำนวน 800 คน

- การอบรมสัมมนาแบบพักค้าง สามารถรองรับได้ จำนวน 180 คน