ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Baby191/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติคุณแม่บุญเรือน[แก้]

คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม หรือ ที่หลายคนรู้จักกันในนาม “แม่ชีบุญเรือน” เป็นบุตรสาวของนายยิ้ม และนางสวน กลิ่นผกา ถือกำเนิดขึ้นในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2437 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะเมีย เวลา 11.20 น. แรกเริ่มคุณแม่บุญเรือนอาศัยอยู่ที่คลองสามวา อำเภอมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่ตำบลบางปะกอก อำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี

ครอบครัวของคุณแม่บุญเรือน มีฐานะค่อนข้างยากจน แต่ท่านก็ได้รับความรักและการดูแลอย่างดี อย่างเหมาะสมเสมอมา โดยบิดามาราดาได้สอนให้ท่านมีความรู้รอบตัว ทั้งด้านภาษาไทย ซึ่งท่านสามารถอ่านออกและเขียนได้ ด้านการประกอบอาหาร ซึ่งท่านสามารถทำได้อร่อยหลากหลายเมนู เช่น น้ำพริก และอาหารประเภทแกงหรือต้ม นอกเหนือจากนี้ ในด้านงานฝีมือต่างๆ ท่านก็ทำได้ดีเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการตัดเสื้อผ้า เย็บจักร รวมไปถึงการตัดผม

เมื่อท่านมีอายุได้ 15 ปี ท่านมีโอกาศได้ร่ำเรียนวิชาหมอนวดจนมีความชำนาญและเชี่ยวชาญ ซึ่งผู้สอน คือ อาจารย์กลิ่น ซึ่งเป็นปู่ของท่านและเป็นหมอนวดชื่อดังในยุคสมัยนั้น เมื่อเติบโตขึ้น คุณแม่บุญเรือนก็ได้มีโอกาสรู้จักกับ “หลวงตาพริ้ง” วัดบางปะกอก ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก และหนึ่งในพระอาจารย์ของเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ โดยท่านมีศักดิ์เป็นคุณลุงของคุณแม่บุณเรือน หลังจากนั้นคุณแม่บุญเรือนได้นำภัตตาหารและเครื่องไทยทานไปถวายหลวงตาพริ้งอยู่บ่อยครั้ง จึงมีโอกาสได้รู้จักกับธรรมะ และเกิดความเลื่อมใสศรัทธา ท่านจึงดำเนินชีวิตตามหลักคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรื่อยมาก และนี่ถือได้ว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญ ซึ่งทำให้คุณแม่บุญเรือนเป็นนักบุญในพระพุทธศาสนาต่อมา

คุณแม่บุญเรือนได้แต่งงานและสร้างครอบครัวกับสิบตำรวจโทจ้อย โตงบุญเติม ซึ่งประจำอยู่ที่สถานีนครบาลสัมพันธ์วงศ์ แต่ทั้งสองไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน จึงได้รับอุปการะเด็กหญิงอุไร เป็นบุตรบุญธรรม ชีวิตสมรสและครอบครัวดำเนินไปอย่างราบรืน โดยคุณแม่บุญได้นำความสามารถการเย็บเสื้อผ้า เย็บจักรที่เรียนรู้มาจากบิดามารดาเมื่อครั้งยังเยาว์วัยมารับจ้างประกอบอาชีพ เพื่อช่วยสามีหารายได้เลี้ยงครอบครัวอีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากนี้ ท่านยังรับนวดรักษาโรคให้กับผู้คนที่ต้องการความช่วยเหลือ โดยไม่รับค่าตอบแทนใดๆ

เนื่องด้วยความเลื่อมในพระพุทธศาสนา คุณบุญเรือนจึงหมั่นเข้าวัดทำบุญ ฟังพระสวดมนต์ และฝึกวิสสนากรรมฐานที่วัดสัมพันธวงศ์เป็นประจำไม่ได้ขาด ต่อมาสามีของท่านได้อุปสมบท ณ วัดสัมพัธวงศ์เช่นกัน โดยบวชเวลา 1 พรรษา ส่งผลให้ท่านได้ใกล้ชิดกับศาสนามากยิ่งขึ้น และเมื่อสามีของท่านได้ลาสิกขาแล้ว ท่านจึงลาสามีเพื่อออกบวชเป็นชีในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470  โดยท่านตั้งใจจะบวชเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 90 วัน  

ในขณะที่บวช ท่านได้พากเพียรศึกษาพระธรรมคำสอน ถือศีล 8 อย่างเคร่งครัด สวดมนต์ภาวนา และฝึกเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวทางของท่านเจ้าคุณพระมหารัชชมังคลาจารย์(เทศ นิทฺเทสโก) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดในขณะนั้น

ศีล 8

1. ไม่ฆ่าชีวิต สัตว์และมนุษย์

2. ไม่ลักขโมยทรัพย์สินของผู้อื่น

3. ไม่มีเพศสัมพันธ์ (รักษาพรหมจรรย์)

4. ไม่พูดโกหก

5. ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ หรือ สารที่ทำให้เกิดอาการเมา/เสพติด

6. ไม่รับประทานอาหารหลังเที่ยงจนถึงก่อนพระอาทิตย์ขึ้นในอีกวัน

7. ไม่แสดงกิริยารื่นเริง เช่น ร้องเพลง เต้น และงดการแต่งหน้า แต่งตัวเพื่อให้ร่างกายสวยงาม

8. ไม่นอนบนที่นอนที่สูงจากพื้น

เมื่อท่านปฏิบัติธรรมจนถึงวันที่ 89 วัน ก็ยังไม่สำเร็จธรรม จึงเกิดความรู้สึกท้อใจ และตัดสินใจกลับบ้านสามี

วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ท่านได้ทำกิจวัตรต่างๆตามปกติ ซึ่งหลังจากท่านชำระล้างร่างกาย นุ่งขาวห่มขาว และเตรียมตัวสำหรับสวดมนต์แล้ว ท่านได้เห็นมารดาและหลานๆหลับ มารดากลน หลานละเมอบ่นพึมพำ และกัดฟัน ท่านเห็นเช่นนั้นจึงเกิด(ธรรมสังเวช)ความสังเวชโดยธรรม เห็นความแน่นอนของสังขาร จึงคิดอยากหลีกหนี หลังจากนั้นท่านนั่งสมาธิกรรมฐานจนถึงเวลาประมาณตี 2 จึงรู้สึกแน่นบริเวณหน้าอก อึดอัดหายใจไม่ออกคล้ายกำลังจะตาย ท่านจึงตั้งสติว่า “ถ้าจะตายก็ขอให้ตายในตอนนี้เถิด จะได้หมดเวรหมดกรรม ธรรมก็ยังไม่ได้บรรลุเลย น่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก” เมื่อคิดได้เช่นนั้น อาการทั้งหมดก็หายไป เกิดความสว่างขึ้นทั้งตัว ท่านได้บรรลุอภิญญา 5

อภิญญาทั้ง 5 ประกอบไปด้วย..

1.อิทธิวิธี : สามารถแสดงฤทธิ์ได้ เช่น เหาะเหินเดินอากาศ/ดำดิน เดินบนน้ำ ล่องหนหายตัว แปลงร่าง เป็นต้น

2.ทิพพโสต : สามารถรับฟังเสียงที่อยู่ห่างออกไปไกล

3.เจโตปริยญาณ : สามารถรู้ถึงความคิดและรู้ถึงใจของผู้อื่น

4.ปุพเพนิวาสานุสติญาณ สามารถระลึกถึงชาติก่อนได้ รู้ถึงเรื่องราวในอดีตชาติ

5.ทิพพจักขุ : สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆในระยะไกลได้ มองทะลุได้แม้มีสิ่งกีดขวาง และมองเห็นทั้ง 3 ภพ โลก นรก สวรรค์


หลังจากท่านได้บรรลุธรรมแล้ว ท่านได้นั่งกรรมฐานต่อจนใกล้ตี 5 แล้วจึงตั้งจิตอธิษฐานขอให้ตัวเองเข้าไปนั่งในศาลาวัดสัมพันธวงศ์ เมื่อลืมตาขึ้นก็พบว่าตัวท่านเข้าไปนั่งอยู่ในศาลาวัดเรียบร้อย แม้ว่าประตูทางเข้าถูกปิดใส่ล็อกกุญแจไว้ พอถึงเวลาเช้ามีพระภิกษุมาเปิดศาลาวัด แล้วพบคุณแม่บุญเรือน ก็รู้สึกตกใจและอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ทำให้พระ เณร ชี และชาวบ้านต่างล่ำลือถึงฤทธิ์ของท่านกันเป็นวงกว้าง ในเวลาต่อมาท่านได้อธิษฐานหายตัวจากศาลาวัดไปที่เขาวงพระจันทร์ ท่านได้พบกับพระผู้วิเศษที่นั่น และได้รับพระธาตุมา 1 องค์ หลังจากนั้นท่านก็ไม่ได้แสดงฤทธิ์ให้คนเห็นอีกเลย ยกเว้นในสถานการณ์ที่จำเป็นเท่านั้น

ปีพ.ศ. 2479 สิบตำรวจโทจ้อยได้ถึงแก่กรรมลง เนื่องจากเข้าช่วยดับเพลิงไหม้ที่ตลาดน้อย หลังจากนั้น ท่านก็ได้ครองตัวเป็นโสต และยังใช้นามสกุลโตงบุญเติมตลอดมา

เดือนมกราคม พ.ศ. 2507 คุณแม่บุญเรือนมีอาการป่วยโรคไต หัวใจอ่อนแอ โลหิตจาง และความดันโลหิตสูง ท่านต้องนอนป่วยลุกนั่งไม่ได้เป็นเวลาถึง 9 เดือน แต่ท่านไม่ยอมรับการรักษาจากแพทย์เลย ท่านกล่าวไว้ว่า “อันว่า สังขาร ร่างกาย และใจ หรือขันธ์ห้านี้ ไม่ใช่ตัวของเรา มันเป็นเพียงเครื่องอยู่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น เป็นเรือนทุกข์ แม่ต้องการออกไปจากเรือนทุกข์นี้”

วันที่ 3, 4, 5 กันยายน พ.ศ. 2507 คุณแม่บุญเรือนมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยในการพูด รู้สึกเบื่ออาหาร และมีเสมหะเหนียวในลำคอ แต่ท่านก็ยังสามารถทักทายศิษย์อย่างแจ่มใส ซึ่งมีเหตุการณ์หนึ่งที่อัศจรรย์ หลายสัปดาห์ก่อนหน้านี้ ท่านได้กล่าวว่ารู้สึกว่าเสียงนาฬิกาเรือนใหญ่ทำให้หนวกหู ลูกศิษย์จึงได้หยุดนาฬิกาไว้ ซึ่งณะขณะนั้นเป็นเวลาประมาณ 11.00 น. เศษ

วันที่ 7 กันยายน 2507 ในเวลา 11.20 น. คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ได้จากไปอย่างไม่มีวันกลับ

แม่ชีบุญเรือน[แก้]

ตลอดชีวิตของแม่ชีบุญเรือน ท่านได้หมั่นบำเพ็ญงานบุญ สอนสั่งธรรมะเพื่อการหลุดพ้น และรักษาโรคช่วยเหลือผู้คนโดยไม่ได้หวังสิ่งตอบแทน ท่านจึงมีได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ให้ผู้เสียสละโดยแท้

ในปัจจุบัน ท่านก็ยังได้รับความเคารพนับถือ เชื่อมั่น และศรัทธาจากลูกศิษย์มากมาย ทั้งในด้านของการรักษาโรค โชคลาภ และเงินทอง ท่านมีความเมตตาอย่างมาก ท่านอยากให้ลูกศิษย์ทั้งหลาย และผู้ปฏิบัติทำ มีเงินทอง และความเป็นอยู่ที่ดี เพื่อที่จะปฏิบัติธรรมอย่างไร้ความกังวล ดั่งที่ท่านเคยกล่าวไว้ว่า “ใครเจอคนเรา คนนั้นโชคดี”

คาถาพระฉิมพลี[แก้]

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

นะชาลีติฉิมพาลี จะ มหาเถโร


สุวรรณะมามา โภชนะมามา วัตถุวัตถามามา

พลาพลังมามา โภคะมามา มหาลาโภมามา

สัพเพชะนา พหูชะนา ภวันตุเม


วิธีการสวด สวดเช้าและเย็นตามกำลังวันเกิดของตัวเอง

วันอาทิตย์ 6 จบ

วันจันทร์ 15 จบ

วันอังคาร 8 จบ

วันพุธ 17 จบ

วันพฤหัสบดี 19 จบ

วันศุกร์ 21 จบ

วันเสาร์ 10 จบ

ประวัติคาถาพระฉิมพลี[แก้]

คาถาพระฉิมพลี มีเนื้อหาของบทสวดกล่าวสรรเสริญพระฉิมพลี ซึ่งอีกชื่อหนึ่งของพระสิวลี ผู้เป็นเลิศด้านโชคลาภ โดยคาถามเชื่อกันว่าเป็นคาถาที่พระอินทร์นำมาให้คุณแม่บุญเรือน