ผู้ใช้:Aofpo

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ต้นพิมเสน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Labiatae
วงศ์: Labiatae
สกุล: Pogostemon
สปีชีส์: P.  cablin
ชื่อทวินาม
Pogostemon cablin(Blanco)
Benth.
ชื่อพ้อง
  • patchouli
  • patchouly
  • pachouli
  • P. patchouli Pellet var.
  • suavis Hook f.

ชื่อภาษาไทย: ต้นพิมเสน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pogostemon cablin (Blanco) Benth.

ชื่อพ้อง : P. patchouli Pellet var. suavis Hook f.

ชื่อสามัญ : Patchouli

ถิ่นกำเนิด[แก้]

ฟิลิปปินส์ อินเดีย ศรีลังกา มาเลเซีย อินโดนีเซีย

รูปลักษณะ[แก้]

ลักษณะเป็นพืชขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง ใบเดี่ยวออกตรงข้าม ใบรูปไข่ ขอบใบจักเป็นซี่ มีขนหนาแน่น ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบและที่ยอด ผลแข็ง รูปรี ขนาดเล็ก บางถิ่นเรียกว่าผักชีช้าง ภาคใต้เรียกว่าใบหลม หรือใบอีหรม ไม้พุ่มเล็ก ใบโตกลม ริมใบจักคล้ายใบนางแย้ม ใบสีเขียว

-ใบ ใบเดี่ยวออกตรงข้าม ขอบใบจักเป็นซี่

-ดอก ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบและที่ยอด

-ผล ผลแข็งรูปรีขนาดเล็ก


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

ไม้ล้มลุก สูง 30-75 ซม. ทุกส่วนมีกลิ่นหอม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 5-8 ซม. ยาว 7-10 ซม. ขอบใบหยักมน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวประม่วง ผลแห้ง ไม่แตก


พิมเสน[แก้]

ภาษาอังกฤษเรียกว่า patchouli น้ำมันพิมเสนได้จากการกลั่นกิ่งและใบต้นพิมเสน จึงมีชื่อเรียกว่า น้ำมันแพตชูลี นิยมใช้ปรุงเป็นน้ำหอม แต่งกลิ่นสบู่ ใช้ผสมน้ำอาบเพื่อระงับกลิ่นตัว โบราณใช้แต่งกลิ่นขี้ผึ้งสีปาก ในทางยาใช้ทาแก้ปวด ต้นพิมเสนเป็นส่วนผสมหนึ่งในตำรับยาหอม ตำรับยาแก้ไข้ ใบสดต้มน้ำดื่มแก้ปวดประจำเดือน ยาชงจากยอดแห้งและรากดื่มเป็นยาขับปัสสาวะและขับลม ผงใบใช้เป็นยานัตถุ์และเป็นยาทำให้จาม กิ่งและใบแห้งใส่ไว้ในตู้เสื้อผ้าทำให้มีกลิ่นหอมและช่วยป้องกันแมลงมากัดเสื้อผ้า

นอกจากนี้ยังมีพิมเสนอีกชนิดหนึ่ง คือพิมเสนในธรรมชาติที่พบแทรกอยู่ในเนื้อไม้ของพืช เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูงได้ถึง 70 เมตร มีกิ่งก้านสาขา ใบเป็นใบเดี่ยว ใบที่อยู่ตอนบนของต้นเรียงแบบสลับ ส่วนใบที่อยู่ตอนล่างออกตรงข้าม ใบรูปไข่ ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีแดง ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและซอกใบ ผลเป็นผลแห้งมีปีก มี 1 เมล็ด พิมเสนที่พบมีลักษณะเป็นเกล็ดเล็กๆ สีขาวขุ่นหรือแดงเรื่อๆ มีกลิ่นหอมเย็น ฉุน พิมเสนบริสุทธิ์จะเป็นรูปหกเหลี่ยม ละลายในปิโตรเลียมอีเทอร์ เบนซิน


การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยว[แก้]

เก็บเกี่ยวส่วนเหนือดินในระยะที่พืชเจริญเติบโตเต็มที่ ตากแดดให้แห้ง เก็บรักษาไว้ในที่มีอากาศเย็นและแห้ง มีการระบายอากาศดี

ประโยชน์ของต้นพิมเสน[แก้]

-น้ำมันพิมเสน ได้จากการกลั่นกิ่งและใบ นิยมใช้ปรุงเป็นน้ำหอม แต่งกลิ่นสบู่ ใช้ผสมน้ำอาบเพื่อระงับกลิ่นตัว ในทางยาใช้ทาแก้ปวด

-ต้นพิมเสน เป็นส่วนผสมหนึ่งในตำรับยาหอม ตำรับยาแก้ไข้

-ใบสด ต้มน้ำดื่มแก้ปวดประจำเดือน

-ยอดแห้งและราก ทำเป็นยาชงดื่มขับปัสสาวะและขับลม

-กิ่งและใบแห้ง ใส่ไว้ในตู้เสื้อผ้าทำให้กลิ่นหอมและช่วยป้องกันแมลงกัดเสื้อผ้า

การเตรียมตัวยาพร้อมใช้[แก้]

หลังเก็บเกี่ยวสมุนไพรแล้ว แยกเอารากและสิ่งอื่นที่ปะปนออก เก็บเฉพาะส่วนใบ แร่งเอาฝุ่นออก ส่วนลำต้นนำมาล้างน้ำให้สะอาด ใส่ภาชนะปิดฝาไว้เพื่อให้อ่อนนุ่ม หั่นเป็นท่อน ๆ ตากให้แห้ง แล้วนำมาผสมกับใบ


คุณภาพของตัวยาจากลักษณะภายนอก[แก้]

ตัวยาที่มีคุณภาพดี กิ่งและลำต้นมีสีเขียว ปริมาณใบมาก ไม่มีส่วนของรากปนปลอม กลิ่นหอมฉุน

สรรพคุณ[แก้]

•ใบ ปรุงเป็นยาเย็น ถอนพิษร้อน แก้ไข้ทุกชนิด ทำให้ความร้อนในร่างกายลดลง โดยมากมักปรุงเป็นยาเขียว ถอนพิษไข้ และยาหอมก็เข้าใบพิมเสนต้นนี้ กลิ่นหอมใช้กลั่นทำน้ำหอม ใช้เป็นสารช่วยให้น้ำหอมมีกลิ่นติดทนดีและนาน ใช้แก้พิษไข้ ทำยาหอม

สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนจีน[แก้]

ต้นพิมเสน รสเผ็ด อุ่น มีฤทธิ์สลายความชื้น แก้ความชื้นจงเจียว อาเจียน จุกเสียด แน่น อึดอัดที่ลิ้นปี่ เบื่ออาหาร มีฤทธิ์คลายความร้อน แก้ร้อนใน แก้ไข้และไข้หวัดจากความร้อนชื้น ทานอาหารผิดสำแดง เกิดอาการไข้หรือจุกเสียด อาเจียนหรือท้องร่วง และมีฤทธิ์ระงับอาเจียน แก้อาเจียน


สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนไทย[แก้]

ต้นพิมเสน มีกลิ่นหอมเย็น ฉุน เป็นเครื่องยาชนิดหนึ่งในยาหอมแก้ลม ยาเย็นสำหรับดับร้อนถอนพิษไข้และยาเขียว ใบสดใช้ต้มน้ำดื่มแก้ปวดประจำเดือน เป็นยาขับประจำเดือน ยาชงจากยอดแห้งและรากแห้ง (1:10) ดื่มเป็นยาขับปัสสาวะและขับลม


ตามตำราประมวลหลักเภสัชฯ ท่านจัดพิมเสนเป็นธาตุวัตถุ ได้จากการนำการบูรมาหุงกับยาอื่นๆ ได้เป็นเกล็ดแบนๆ สีขาว หรือสีแดงเรื่อๆ แต่ปัจจุบันได้จากการสังเคราะห์ซึ่งจะมีรสเผ็ดกัดลิ้น ถ้าเป็นของแท้จากธรรมชาติจะไม่กัดลิ้นแต่จะทำให้เย็นปากคอ สมัยก่อนใส่ในหมากพลู แพทย์แผนโบราณใช้เป็นยาขับเหงื่อ ขับเสมหะ กระตุ้นการหายใจ กระตุ้นสมอง บำรุงหัวใจ ใช้เป็นยาระงับความกระวนกระวาย ทำให้ง่วงซึม ถ้าใช้เกินขนาดอาจทำให้อาเจียน


การอบสมุนไพรใช้พิมเสนเป็นส่วนประกอบในตัวยา พิมเสนซึ่งระเหิดเมื่อถูกความร้อน มีกลิ่นหอม ใช้แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ แก้โรคผิวหนัง ผสมในลูกประคบเพื่อช่วยแต่งกลิ่น มีฤทธิ์แก้พุพอง แก้หวัด นอกจากนี้ยังผสมอยู่ในยาหม่อง น้ำอบไทย ในยาหอมจะมีใบพิมเสนและพิมเสนผสมอยู่ด้วย สมัยก่อนพิมเสนเป็นยาที่หายาก มีราคาแพง จึงมีคำพูดที่ว่า อย่าเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ ในตำรายาไทยบอกไว้ว่า พิมเสนการบูรช่วยให้นอนหลับสนิท แต่คนชอบเอาไปใส่ในรถ นั่นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รถชนกัน ดังนั้นห้ามใช้ในรถเด็ดขาด พิมเสนน้ำใช้ดมแก้หวัด บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ เมารถ เมาเรือ บรรเทาอาการบวมจากแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก

ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง[แก้]

1.สารสกัดแอลกอฮอล์ความเข้มข้น 1-5% และสารสกัดน้ำความเข้มข้น 3-12% มีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังหลายชนิดในหลอดทดลอง5 สารสกัดน้ำมีฤทธิ์ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้กระต่าย ต้านอาเจียนในนกพิราบ ระงับปวดและช่วยให้การทำงานของระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ของหนูถีบจักรดีขึ้น

2.ต้นพิมเสนมีสรรพคุณแก้ปวดท้องและท้องเสียอันเนื่องจากการติดเชื้อ

3.เมื่อให้สารสกัดน้ำทางปากของหนูถีบจักรในขนาดเทียบเท่าผงยา 14.58 กรัม/กิโลกรัม วันละ 2 ครั้ง พบว่าภายใน 7 วัน หนูถีบจักรทุกตัวมีการเคลื่อนไหวเป็นปกติ และไม่พบหนูถีบจักรตัวใดตาย

การทำพิมเสนน้ำ[แก้]

ส่วนประกอบ

1. เมนทอล 400 กรัม

2. พิมเสน 200 กรัม

3. การบูน 200 กรัม

4. น้ำมันยูคาลิปตัส 30 cc

อุปกรณ์ที่ใช้

1. ขวดกาแฟขนาดใหญ่ที่มีฝาปิด หรือชามสแตนเลส

2. ช้อนสแตนเลส 1 คัน

3. กระบวยหรือแก้วที่มีปากแหลมสำหรับกรอกน้ำพิมเสนใส่ขวด

4. ขวดลูกกลิ้งขนาดประมา 8 cc (1 ชุดจะได้จำนวน 60 ขวด)

วิธีทำ

1. ผสมเมนทอล พิมเสน การบูน ในขวดแก้ว (ห้ามใช้พลาสติก) คนให้เข้ากันตั้งทิ้งไว้ให้ส่วนผสมเข้ากันเป็นเนื้อเดียวกันปิดฝาทิ้งไว้ (ประมาณ 3 ชั่วโมง) หรือถ้าบดส่วนผสมทีละอย่างให้ละเอียด แล้วผสมให้เข้ากัน (ใช้เวลา 20 นาที)

2. นำน้ำมันยูคาลิปตันเติมในส่วนผสมข้อที่ 1 คนให้เข้ากัน

3.กรอกส่วนผสมในข้อ 2 ใส่ขวดลูกกลิ้งที่เตรียมไว้

อ้างอิง[แก้]


ดูเพิ่ม[แก้]