ผู้ใช้:Akkaraphon Srisarakham/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การแยกอำนาจบริหารออกจากอำนาจนิติบัญญัติ[แก้]

การแยกอำนาจ[แก้]

ปัจจุบันมีความคิดที่จะมีการปฎิรูประบบทางการเมืองสืบเนื่องจากความไม่พอใจระบบที่มีอยู่แล้ว แนวทางในการแก้ไขมีหลายแบบ แนวทางหนึ่งที่มีการเสนอทุกครั้งที่มีการร่างรัฐธรรมนูญ คือ การให้แยกอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติออกจากกัน จากการแยกกันดังกล่าวนี้ มักจะถูกเสนอให้เป็นวิธีแก้ไขปัญหาของระบบการเมืองไทยประชาชนโดยทั่วไปจึงควรตระหนักกับเรื่องนี้เพราะถ้าหากมีการปรับเปลี่ยนในลักษณะดังกล่าวแล้ว ก็จะส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อระบบการเมือง สภาพสังคม และเศรษฐกิจของไทยอีกด้วย การแยกอำนาจการปกครองในส่วนนิติบัญญัติออกจากส่วนบริหาร จะต้องไม่มาจากการเลือกตั้งโดยผ่านสภาผู้แทนราษฎรเหมือนในปัจจุบัน จะต้องได้จากการเลือกสรรของประชาชน ส่วนฝ่ายนิติบัญญัติก็จะได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเหมือนกัน จะเห็นได้ว่าฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติได้มาจากประชาชนเลือกโดยตรง จึงจะตัดสายความรับผิดชอบที่คณะรัฐมนตรีมีต่อรัฐสภาในปัจจุบัน โดยที่ฝ่ายบริหารจะมีหน้าที่ดูแลประชาชนโดยตรง หากประชนไม่พอใจก็สามารถที่จะขับไล่หรือฟ้องร้องให้ออกไปเมื่อครบวาระ ในระยะเวลาสี่ปีผู้บริหารก็จะมีเวลาแสดงฝีมือและโอกาศในการสั่งการอย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องคำนึงถึงเสียงในรัฐสภามากนัก แต่ก็ต้องอ่อนให้ในเรื่องงบประมาณที่ต้องรอให้รัฐสภาอนุมัติ[1]

หลักในการแบ่งแยกอำนาจ[แก้]

หลักความเสมอภาคของรัฐสภาของทั้ง 2 องค์กรอันได้แก่อำนาจนิติบัญญัติประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ทั้งสององค์กรต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างมากในการดำเนินงาน ในการปกครอง และการบริหารประเทศมีองค์กรที่สำคัญ คือ การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการควบคุมองค์กรนิติบัญญัติและบริหาร ไม่ว่าจะเป็นการถอดถอนหรือการเลือกตั้ง จะเป็นแบบตรงข้ามกับรูปแบบที่ให้ความสำคัญของการทำงานฝ่ายบริหาร เช่นกรณีของสหรัฐอเมริกา รัฐธรรมนูญของอเมริกาได้จัดตั้งให้ประธานาธิบดีมีอำนาจดังต่อไปนี้

  • บทบาททางด้านการบริหาร

-ประธานาธิบดีสามารถกำหนดกฎหมายให้ฝ่ายบริหารทำตามคำสั่งได้ -ประธานาธิบดีสามารถแต่งตั้งรัฐมนตรีเองได้ หากจะถอดถอนตำแหน่งไม่ต้องรอความเห็นชอบจากวุฒิสภา สามารถถอดถอนได้เลย[2]

  • บทบาทด้านรัฐสภา

-ประธานาธิบดีกับรัฐสภาจะไม่สามารถโต้ตอบกันได้โดยตรงแต่จะมีการยับยั้งกันในทางอ้อม

-ประธานาธิบดีสามารถสั่งการดำเนินการต่างๆเกี่ยวกับทหารได้เนื่องจากประธานาธิบดีประจำตำแหน่งผู็บังคับบัญชาสูงสุด

  • บทบาททางด้านต่างประเทศ

-ประธานาธิบดีมีอำนาจในการตกลงสนธิสัญญาต่างๆ และเป็นฑูตในการดำเนินการ

  • บทบาทอื่นๆ

- อำนาจในการอภัยโทษ - เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจของอเมริกา -ในภาวะฉุกเฉินประธานาธิบดีจะมีอำนาจสูงสุด

เมื่อมีการเปรียบเทียบกับหลักการของระบบรัฐสภา จะเห็นได้ชัดเจนว่ามิติในความแตกต่าง และการแบ่งแยกอำนาจกันอย่างชัดเจนระหว่างอำนาจบริหารกับอำนาจนิติบัญญัติ เมื่อพิจารณาถึงความเหมือนและมาตรการในกานตอบโต้กัน ของสภานิติบัญญัติและฝ่ายบริหารฯ หากต้องคำนึงถึงหลักการที่พ้นจากสภาพข้อเท็จจริงในด้านการเมืองโดนจะไม่เอาเรื่องพรรคการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่จะจับประเด็นภายใต้บริบทความเชื่อมโยงสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญในฉบับปัจจุบันกับหลักการการตรวจสอบของรัฐสภาที่ได้ออกแบบและวางกลไกไว้ที่ฝ่ายนิติบัญญัติ การตั้งกรรมการขึ้นเพื่อติดตามการทำงานของฝ่ายบริหารฯ การอภิปรายไม่ไว้วางใจกับการถอดถอน ต้องสามารถดำเนินการโดยง่าย รวดเร็วและสะดวก รวมทั้งตัวเลขในการดำเนินการ การเข้าเชื่อ การเสนอและการลงมติ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการการตรวจสอบในระบบรัฐสภาดังที่ได้กล่าวมาในข้างต้นแล้ว เพราะปัญหาการเสถียรภาพของรัฐบาลที่ทำให้เกิดปัญหา ถ้าหากมีการแก้ไขตัวเลขสมาชิกทั้งสองสภาจะทำให้รัฐบาลขาดสเถียรภาพ อันเป็นการขัดกับเจตนาจอการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้ฝ่ายบริหารมีความเข้มแข็ง ในทางตรงข้ามกันกลับมีผลดีที่จะทำให้การตรวจสอบฝ่ายบริหารง่ายยิ่งขึ้น ทำให้ประชาชนรู้ข้อมูลเพิ่มมากขึ้นและเป็นไปตามระบบรัฐสภากำหนด ที่ต้องการใหเฝ่ายนิติบัญญัติมีโอกาศตรวจสอบฝ่ายบริหารได้อย่างเต็มที่ หากผู้ถึงความเหมาะสมไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขให้ฝ่ายบริหารตอบกระทู้ การกำหนดเรื่องให้ฝ่ายบริหารต้องชี้แจงโดยจะนำไปตอบในราชกิจจานุเบกษา แม้กระทั่งแนวคิดรวมการอภิปรายไม่ไว้วางใจโดยจะถือการอภิปรายไม่ไว้วางใจของคณะรัฐมนตรีครั้งเดียว สามารถอภิปรายรัฐมนตรีไม่ว่าจะเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะการทำงานก็สามารถกระทำได้[3]

ความแตกต่างของโครงสร้างระบบการเมือง[4][แก้]

ประเด็น ระบบประเทศไทย ระบบอเมริกา
ที่มาของฝ่ายนิติบัญญัติ สภาผู้แทนราษฎรได้มาจากการเลือกตั้งของประชนในเขตต่างๆในประเทศเขตหนึ่งจะมีผู้แทนไม่เกินสามคน สภาล่างจะได้จากการเลือกตั้งเขตเดียวคนเดียว สภาสูงก็ได้จากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งรัฐ
ที่มาของคณะบริหาร ผู้บริหารส่วนใหญ่มาจากสภาผู้แทนฯหรือมาจากข้างนอก ประธานาธิบดีมีการแต่งตั้งคณะผู้บริหารได้จากการเลือกตั้งของประชาชนทั่วประเทศ
อำนาจทางการคลังและกฎหมายทางการเงิน สมาชิกจะเสนอกฎหมายเกี่ยวกับการเงินได้ก็ต่อเมื่อรัฐบาลเห็นชอบด้วย รัฐสภาเป็นผู้อนุมัติการใช้เงินของฝ่ายรัฐบาลเสนอมาและยังสามารถเสนอโครงการที่ต้องใช้เงินในการดำเนินการอีกด้วย
พรรคการเมือง พรรคการเมืองจะต้องส่งผู้สมัครเลือกตั้งในการเลือกตั้งโดยทั่วไปไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวน ส.ส.ทั้งหมดในพรรค ไม่ได้ระบุว่าต้องมีพรรคการเมือง
อำนาจตุลาการ ถ้าศาลมีการวินิจฉัยว่ากฎหมายขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญต้องส่งเรื่องให้ฝ่ายตุลาการตัดสินชี้ขาดก่อน สามารถลบล้างกฎหมายที่บัญญัติโดยรัฐสภาได้เลยถ้าขัดต่อรัฐธรรมนูญ

[1]

อำนาจการเงินของฝ่ายนิติบัญญัติ[แก้]

ระบบการปกครองของประเทศไทยมีการแปลงแบบมีจากประเทศอังกฤษฉะนั้นฝ่ายนิติบัญญัติเป็นแบบอ่อนสมาชิกรัฐสภาจะถูกจำกัดสิทธิในการทำงานค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการเสนอร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวเรื่องเงิน สมาชิกผู้แทนราษฎรจะเสนอร่าง พ.ร.บ.ประเภทนี้ได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรี นอกจากเรื่องนี้การจำกัดความพ.ร.บเกี่ยวกับเรื่องเงิน หรืออะไรไม่เป็นเกี่ยวกับเรื่องเงินก็จะจำกัดสิทธฺิของสมาชิกรัฐสภามาก ยังมีประเด็นที่ยังไม่ชัดเจนอยู่อีกสองประการ ประการแรกในข้อเสนอของศ.ชัยอนันต์ ฝ่ายนิติบัญญัติยังมีอำนาจที่จะไม่อนุมัติกฎหมายที่ฝ่ายบริหารเสนอ โดยเฉพาะเรื่องฝ่ายนิติบัญญัติมีสิทธิไม่อนุมิตเรื่อง พ.ร.บ.งบประมาณ ถ้าหาไม่อนุมัติฝ่ายบริหารก็จะปกครองประเทศไม่ได้ ในระบบปัจจุบันรัฐบาลต้องพ้นจากตำแหน่ง อีกประเด็นหนึ่งที่ยังไม่ชัดเจนคือ ถ้ามีการแยกอำนาจแล้ว ส.ส. จะสามารถเสนอร่าง พ.ร.บ. ที่เกี่ยวกับเรื่องเงินโดยไม่ต้องผ่านการอนุมัติจากฝ่ายบริหารได้หรือไม่ ตรรกะของสถานการณ์ ใหม่ที่ที่ได้เสนอมาชวนให้สรุปได้ว่า ฝ่ายนิติบัญญัติจะไม่มีอำนาจให้การสั่งฝ่ายบริหารแล้วก็ควรที่จะมีการออกกฎหมายเองได้มากกว่าปัจจุบัน แต่เรื่องนี้ก็ยังไม่ชัดเจนมากนักและ จะเห็นได้ว่าอำนาจนี้มีความสำคัญมากในการกำหนดบทบาทของฝ่ายนิติบัญญัติ[5]

อำนาจตุลาการกับอำนาจนิติบัญญัติ[แก้]

กฎหมายหรือการบริหารงานของประเทศอังกฤษรัฐสภามีอำนาจสูงสุดในเชิงกฎหมาย ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน รัฐสภาทำหน้าที่เป็นผู้เดินตามหลังให้กับฝ่าบริหาร ไทยจะมีประวัติกฎหมายต่างจากอังกฤษ เพราะรัฐเป็นคนยกเอาประเพณีกฎหมายของตะวันตกมาใช้และมีการกำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายตุลาการโดยจะไม่ให้มีบทบาทในการพิทักษ์สิทธิปัจเจกชนจากอำนาจของรัฐ เหมือนกับประเทศอังกฤษ นอกจากนี้ไทยยังมีรัฐธรรมนูณเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งบทที่เกี่ยวกับการบัญญัติในด้านสิทธิของปัจเจกชนที่ศาลสามารถนำไปใช้ประยุกต์ได้ ตามรัฐธรรมนูณฉบับปัจจุบัน หากศาลพิจจารณาว่า ประเด็นเรื่องกฎหมายบางประเด็นขัดต่อรัฐธรรมนูญ ศาลจะต้องส่งประเด็นนั้นมาตุลาการรัฐธรรมนูณเพื่อนวินิจฉัยกับการตัดสินใจว่าประเด็นนั้นๆมีโอกาศหรือไม่มีที่ขัดรัฐธรรมนูญได้นอกจากนี้ ในกรณีที่มีการร่าง พ.ร.บ. ที่ผ่านรัฐสภาแล้วยังไม่ลงพระปรมาภิไธย และหากนายกรัฐมนตรีมีข้อสงสัยว่าจะร่าง พ.ร.บ. ดังที่กล่าวจะขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายกรัฐมนตรีอาจส่งร่าง พ.ร.บ. นั้นให้ตุลาการรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณา[6]

ผลกระทบต่อนโยบายการคลัง[แก้]

นโยบายการคลังในไทยในปัจจุบัน นโยบายการคลังของประเทศไทยจะเป็นนโยบายที่ค่อนข้างระมัดระวังรอบคอบ ไม่ว่าในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ดังนั้นเศรษฐกิจไทยในระดับมหภาคจึงจะมีการเสถียรภาพสูงมาโดยตลอดซึ่งจะนำประโยชน์มาแก่ชาติ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เกิดจากนโยบายทางด้านการคลังและการเงินถูกครอบงำโดยระบบราชการประจำมาโดยตลอด ข้อราชการพวกนี้เรียกว่าข้อราชการแครตในกระทรวงการคลัง นอกจากการจัดนโยบายเศรษฐกิจโดยฝ่ายบริหารแล้ว เมื่อสมาชิกรัฐสภาไม่ริเริ่มกฎหมายเกี่ยวกับการเงินจะไม่เปิดโอกาศจะทำให้ ส.ส. ผลักดันให้ใช้จ่ายเงินเกินตัว การจัดการด้านการเงินประเทศจังเป็นไปอย่างมีเอกภาพ โดยฝ่ายบริหารและฝ่ายเทคโนแครตเป็นผู้ดำเนินการ ประเทศไทยมีปัญหาความคล่องตัวในการปรับเรื่องงบประมาณลงเหมือนกัน เพราะเรื่องสัดส่วนของงบประมาณที่จะต้องนำไปใช้เป็นเงินเดือนของราชการ ก็จะสูงเกินกว่าครึ่ง ปัญหาความคล่องตัวในเรื่องงบประมาณก็หนักขึ้น ถ้าไทยยังใช้ระบบรัฐสภาและมีรัฐบาลร่วมอยู่ก็จะมีปัญหาเรื่องการเงินการคลังที่เรื้อรังอยู่เสมอ ถ้ามีการแยกอำนาจระหว่างรัฐสภากับคณะผู้บริหารจะได้รับความเยียวยา ฝ่ายนิติบัญญัติก็จะได้ใช้อำนาจอย่างเต็มที่ และจะขึ้นอยู่กับการบริหารของฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 อัมมาร สยามวาลา. (2541). วารสารกฎหมายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2 น.23-24). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  2. บทบาทของการบริหาร. (2555). (ออนไลน์). สืบค้นจากhttps://groups.google.com/forum/#!topic/maiake3100/xpdf1oXUZPY
  3. พัฒนะ เรืองใจดี. (2548). วารสารสรรพกรสาส์น. (พิมพ์ครั้งที่ 7 น.57-63). กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
  4. โครงสร้างทางการเมือง. (2552). (ออนไลน์). สืบค้นจากhttp://oknation.nationtv.tv/blog/maesaips/2009/02/19/entry-1
  5. อรพิน ผลสุวรรณ์ สบายรูป. (2538). ระบบการเสนอและพิจารณากฎหมายการเงิน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
  6. Roubini, Nouriel, and Jeffrey D. Sachs. 1989. "Political and Economic Determinants of Budget Deficits in the Industrial Democracies." European Economic Review 33 (May): 903-938.
  7. ผลกระทบนโยบายการคลัง. (2549). (ออนไลน์). สืบค้นจากhttp://www.bloggang.com/mainblog.php?id=theshadow&month=02-10-2006&group=10&gblog=12