ผู้ใช้:Adanss3

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


วัดหลวงพ่อโสธรวรวิหาร ฉะเชิงเทรา[แก้]

วัดหลวงพ่อโสธรวรวิหาร[แก้]

วัดโสธรวรารามวรวิหาร ต.หน้าเมือง อ.เมือง ฉะเชิงเทรา / วัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองชาวแปดริ้ว กราบบูชาหลวงพ่อพุทธโสธร[แก้]

วัดโสธรวรารามวรวิหาร[แก้]

Wat Sothon Wararam Worawihan[แก้]

พระอารามหลวง วัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองฉะเชิงเทรา[แก้]

กราบไหว้หลวงพ่อโสธร[แก้]

ที่ตั้งวัดโสธรวรารามวรวิหาร

  • เลขที่ 134 ถนน เทพคุณากร ตำบล หน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ฉะเชิงเทรา 24000
  • พระธรรมมังคลาจารย์ วิ. เจ้าอาวาส

ประวัติวัด

วัดโสธรวรารามวรวิหาร เดิมมีชื่อว่า “วัดหงส์” มีหลักฐาน สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยมีประวัติที่เล่าสืบทอดกันมายาวนาน และเมื่อเวลาผ่านไป แม่น้ำบางปะกงไหลกัดเซาะตลิ่งพังลงมา วัดหงส์จึงหมดไป จึงมีการสร้างวัดขึ้นใหม่ วัดโสธรวรารามวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองฉะเชิงเทรา เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพุทธโสธร พระพุทธรูปอันเป็นที่เคารพสักการะของชาวแปดริ้ว และคนต่างบ้านต่างเมืองมาแต่อดีตกาล

ตั้งอยู่บนถนนสายมรุพงษ์ ห่างจากตลาดกลางเมืองประมาณ 2 กิโลเมตร วัดนี้แต่เดิมเป็นวัดราษฎร์ สร้างขึ้นตอนปลายของกรุงศรีอยุธยา ตามประวัตินั้นแต่แรกมีชื่อว่า “วัดหงส์” เพราะมี “เสาหงส์” อยู่ในวัด เป็นเสาสูงมียอดเป็นตัวหงส์อยู่บนปลายเสา ต่อมาหงส์บนยอดเสาหักตกลงมาเหลือแต่เสา และมีผู้เอาธงขึ้นไปแขวนแทน จึงได้ชื่อว่า “วัดเสาธง” ครั้นเมื่อเสาธงหักเป็นสองท่อน จึงเรียกชื่อใหม่ว่า “วัดเสาธงทอน” ส่วนชื่อ “วัดโสธร” อันมีความหมายว่า “บริสุทธิ์” และ “ศักดิ์สิทธิ์” นั้น เรียกตามพระนามของพระพุทธโสธร หรือหลวงพ่อโสธรซึ่งได้มาประดิษฐานในวัดนี้

ในภายหลังวัดโสธรได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร มีนามว่า “วัดโสธรวรารามวรวิหาร” เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2501 ความจริงวัดโสธรแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปีใด ก็ไม่มีหลักฐานที่แน่นอน เพียงแต่ทราบว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เท่านั้นเอง แล้วก็สร้างในสมัยเดียวกับหลวงพ่อบ้านแหลม ที่แม่กลองหรือสมุทรสงคราม ที่มีผู้คนบูชากราบไหว้ เพราะความศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกัน

ประวัติพระอุโบสถหลวงพ่อโสธร หลังใหม่ เนื่องจากพระอุโบสถหลังเก่าของวัดมีสภาพทรุดโทรมและคับแคบ ซึ่งหลวงพ่อพุทธโสธรประทับอยู่ในโบสถ์หลังเก่าที่มีขนาดเล็ก รวมกับพระพุทธรูปอื่นๆ 18 องค์ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2509 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) เสด็จพระราชดำเนินมาที่วัดแห่งนี้ ทรงมีพระราชปรารภเรื่องความคับแคบของพระอุโบสถเดิม ซึ่งพระจริปุณโญ ด. เจียม กุลละวณิชย์ (หลวงพ่อเจียม) อดีตเจ้าอาวาสจึงได้รวบรวมเงินบริจาค เพื่อจัดซื้อที่ดินสำหรับสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานการสร้าง และทรงเป็นผู้กำกับดูแลงานสร้างพระอุโบสถหลังใหม่

ลักษณะพระอุโบสถหลังใหม่เป็นแบบรัตนโกสินทร์ประยุกต์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จพระราชดำเนิน ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อ พ.ศ. 2531 และทรงประกอบพิธียกยอดฉัตรทองคำ น้ำหนัก 77 กิโลกรัม ประดิษฐานเหนือยอดมณฑป เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2539 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จมาทรงตัดหวายลูกนิมิต เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2549 นับเป็นที่ปลื้มปิติของชาวฉะเชิงเทรา อย่างหาที่เปรียบมิได้ ทั้งนี้ทุนทรัพย์ที่ใช้ในการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่นี้ เป็นเงินบริจาคจากประชาชนทั้งหมด ไม่ได้ใช้งบประมาณแผ่นดินแต่ประการใด

การก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่สร้างขึ้นครอบพระอุโบสถหลังเดิม โดยใช้เทคนิควิศวกรรมสมัยใหม่ เป็นงานที่มีความท้าทายเชิงวิศวกรรมอย่างยิ่ง เนื่องจากตำแหน่งที่ประดิษฐานขององค์พระนั้น เป็นตำแหน่งที่มีความเชื่อว่า เป็นตำแหน่งที่ทำให้บ้านเมืองฉะเชิงเทราเจริญรุ่งเรือง จึงมีข้อจำกัดในการก่อสร้างที่ว่า การก่อสร้างนี้จะต้องไม่มีการเคลื่อนย้ายองค์หลวงพ่อพุทธโสธร และพระพุทธรูปทั้ง 18 องค์ แม้แต่กระเบียดเดียว ทั้งทางราบ และทางดิ่ง (หมายถึงว่าจะยกขึ้นลงก็ไม่ได้) โดยต้องสร้างอาคารโครงสร้างเหล็กครอบฐานชุกชี ติดตั้งเครื่องระบายอากาศ มีเครื่องวัดความชื้น และติดตั้งเครื่องวัด และควบคุมอุณหภูมิและความชื้น

ในส่วนของศิลปะภายในพระอุโบสถหลวงพ่อพุทธโสธร ประกอบด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังโดยรอบ นับตั้งแต่พื้นพระอุโบสถ เสา ผนัง และเพดาน จะบรรจุเรื่องราวให้เป็นแดนแห่งทิพย์ เป็นเรื่องราวของสีทันดรมหาสมุทร จตุโลกบาล สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พรหมโลก ดวงดาว และโดยตำแหน่งของดวงดาวบนเพดาน กำหนดตำแหน่งตรงกับวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2539 ณ เวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพิธียกยอดฉัตรทองคำ เหนือมณฑปพระอุโบสถ และภาพของจักรวาลบนเพดานจะเป็นภาพเขียนประดับโมเสกสี จึงเป็นพระอุโบสถที่มีขนาดใหญ่และสวยงามที่สุด

ชื่อวัดโสธร หรือวัดโสทร ปรากฏในเรื่องนำเที่ยวจังหวัดฉะเชิงเทราของนายตรี อำมาตยกุล พิมพ์ลงในวารสารปีที่ 6 เล่ม 7 มีข้อความเกี่ยวกับชื่อวีดโสธรนี้ว่า”เมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” เสด็จประพาสวัดนี้เมื่อพ.ศ 2451 ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเหล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังดำรงพระอิสริยยศเป็นมกุฏราชกุมาร ยังทรงเขียนชื่อวัดนี้ว่า “วัดโสทร” ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นวัดโสธรเห็นจะเป็นในราวรัชกาลที่ 6 นี้เอง แต่ยังหาหลักฐานวันเดือนปีที่เริ่มใหม่ไม่ได้” อย่างไรก็ตาม ปรากฏในแถลงการณ์คณะสงฆ์เล่ม 6 หน้า 105 พ.ศ 2461 ลงเรื่องระยะทางสมเด็จพระมหาสมณะ เสด็จตรวจคณะสงฆ์ในมณฑลปราจีนบุรี พ.ศ2459 ชื่อวัดโสธรได้เขียนไว้อย่างนี้แล้ว พอจะอนุมานได้ว่าได้เปลี่ยนชื่อวัดโสทรเป็นวัดโสธร ในราวต้นรัชกาลที่6 ฉะนั้นผู้ที่เขียนชื่อวัดโสธร เป็นวัดโสทร ภายหลังปี พ.ศ 2459 แล้ว น่าจะเกิดจากการสะกดผิดมากกว่าที่จะมีเจตนาเขียนเช่นนั้น

เมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสมณฑลปราจีน ร.ศ127 ได้มีพระราชหัตถเลขาถึงมกุฏราชกุมาร ความตอนหนึ่งเกี่ยวกับชื่อวัดโสธรว่า “กลับมาแวะวัดโสทรซึ่งกรมดำรงฯ คิดจะแปลว่า ยโสธร จะให้เกี่ยวข้องแก่กาลที่ได้สร้างเมื่อเสด็จกลับจากไปตีเมืองเขมร แผ่นดินพระบรมไตรโลกานาถ หรือเมื่อใดราวนั้น แต่เป็นที่น่าสงสัยเห็นด้วยใหม่นัก…” พระราชปรารถตอนนี้ทำให้เกิดความคิดว่าชื่อวัดโสธรนี้จะเป็นการถูกต้องแล้ว หรือโดยได้ทรงระลึกถึงพระที่นั่ง” ยโสธรมหาพิมานบรรยงค์” ในรัชกาลแผ่นดินพระเจ้าปราสาททอง ได้ยกทัพไปตีเมืองเขมร ได้ชัยชนะ ทรงพระราชดำริเฉลิมพระเกียรติด้วยถ่ายแบบประสาทกับพระที่นั่งในเมืองยโสธร นครธมมาแล้วในกรุงศรีอยุธยา ทำให้สงสัยว่าจะตกตัว”ย” ไปเสียหรืออย่างไร คงเหลือแต่ ” โสธร ” เท่านั้น แต่ในที่สุดพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงปลงพระทัยจะเชื่อนักเพราะทรงเห็นว่าวัดโสธรนี้ยังใหม่ ดังปรากฏตามพระราชปรารถดังกล่าวข้างต้น พอจะสรุปได้ว่า ” โสธร ” กับ “ยโสธรมหาพิมานบรรยงค์” มิใช่เป็นสถานที่แห่งเดียวกัน มีที่มาและความหมายต่างกัน วัดโสธรเป็นวัดราษฏรมาแต่ดั้งเดิม พึ่งได้รับพระราชทานยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร มีนามว่า ” วัดโวสธรวรารามวรวิหาร” เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2501

ข้อความจากหนังสืองานประจำปีหลวงพ่อโสธร ปี พ.ศ. 2505

พระพุทธโสธร หรือเรียกกันสามัญทั่วไปว่า “หลวงพ่อโสธร” เป็นพระทรงอานุภาพศักดิ์สิทธิ์เป็นมิ่งขวัญของชาวแปดริ้วและเป็นที่รู้จัก เคารพบููา ของ ประชาชนทั่วประเทศ หลวงพ่อโสธร เป็นพระรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 3 ศอก5 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปพอกปูนลง รักปิดทองพระเนตรเนื้อแบบสมัยลานช้าง หรือเรียกกันสามัญว่า พระลาว พระพุทธรูปแบบนนิยมสร้างกันมากที่เมือง หลวงพระบาง อินโดจีนและภาคอิสาน ของประเทศไทย ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ วัดโสธร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

ตำนานหรือประวัติของ หลวงพ่อโสธรนี้หาหลักฐาน ยืนยันแน่นอนไม่ได้เป็นเพียงคำบอกเล่าสืบๆกันมา ประวัติที่เกี่ยวกับวัดโสธรเท่านั้น หลวงพ่อโสธรมา ประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธรนานเท่าใด พอจะมีคำบอกเล่าอันเกี่ยวโยง ถึงหลวงพ่อวัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม ตามประวัติ หลวงพ่อพ่อวัดบ้านแหลมกับหลวงพ่อวัดโสธรลอยน้ำมาด้วยกัน และเป็นพี่น้องกันและชาวบ้านแหลม ได้อัญเชิญหลวงพ่อวัดบ้านแหลม ขึ้นจากน้ำ เมื่อ พ.ศ. 2313 จึงคาดคะเนว่าหลวงพ่อก็มาประดิษฐานอยู่ที่ วัดโสธร ราว พ.ศ.2313 หรือก่อนนั้นก็ไม่นานนัก

ประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อโสธร นี้มีผู้เล่าสืบๆ กันมาหลายกระแสว่า หลวงพ่อโสธรลอยน้ำมามีคำปรารถว่า ล่วงกาลนานมาแล้วยัง มีพระพี่น้องชายสามองค์อยู่ทางเมืองเหนือ มีอิทธิปาฏิหาริย์แสดงฤทธิ์ได้ ได้อภินิหารล่องลอยตามแม่น้ำมาจากทิศเหนือเพื่อให้คน ทางทิศใต้ได้เห็น ในที่สุดมาผุดขึ้นที่แม่น้ำบางปะกงที่ตำบลสัมปทวนและแสดงปาฏิหารย์ลอยน้ำและ ทวนน้ำได้ทั้งสามองค์ ประชาชน ชาวสัมปทวนได้พบเห็นจึงช่วยกันเอาเชือกรวน มนิลาลงไปผูกมัดที่องค์พระพุทธรูปทั้งสามองค์นั้น แล้วช่วยกันฉุดลากขึ้นฝั่ง ด้วยจำนวนผู้คนประมาณ 500 คน ก็ฉุดขึ้นไม่ได้เชือกขาด ไม่สำเร็จตามความประสงค์ พากันเลิกไป ครั้นแล้วพระพุทธรูปหล่อทั้ง สามองค์ก็จมน้ำ หายไป สถานที่พระสามองค์ลอยน้ำและทวนน้ำได้นี้เลยให้ชื่อว่า”สามพระทวน” ต่อมา เรียกว่า “สัมปทวน” ได้แก่ แม่น้ำหน้าวัดสัมปทวนอ.เมืองแปดริ้ว ต่อจากนั้นพระทั้งสามองค์ก็ลอยตามแม่น้ำบางปะกง เลยผ่านหน้าวัดโสธรไปถึงคุ้งน้ำ ใต้วัดโสธร แสดงฤทธิ์ผุดขึ้นให้ชาวบ้านบางนั้นเห็น ชาวบ้านได้ช่วยกันฉุดขึ้นฝั่งทำนองเดียวกับ ชาวสัมปทวนแต่ก็ไม่สำเร็จ จึงเรียกหมู่บ้าน และคลองนั้นว่า ” บางพระ ” มาจนทุกวันนี้

จากนั้นพระพุทธรูปทั้งสามองค์ก็ได้แผลงฤทธิ์ ลอยทวนน้ำวนอยู่ที่หัวเลี้ยวตรง กองพันทหารช่างที่ 2 จังหวัดฉะเชิงเทรา และแสดง ปาฏิหาริย์จะเข้าไปในคลองเล็กๆ ตรงข้ามกองพันทหารช่างนั้นสถานที่พระลอยวนอยู่นั้นเรียกกันว่า ” แหลมหัววน” และคลองนั้น ก็ได้นามว่า คลองสองพี่น้อง (สองพี่สองน้อง) หลังจากนั้นองค์พี่ใหญ่ได้แสดงอิทธิปาฏิหารย์ไปลอยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ประชาชน ประมาณสามแสนคนช่วยกันฉุดอาราธนาขั้นฝั่งก็ไม่สำเร็จแล้วล่องเลยไปผุดขึ้นที่ลำน้ำแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม ประชาชนชาวประมง อาราธนา ขึ้นประดิษฐานอยู่ที่วัดบ้านแหลม ทุกวันนี้เป็นที่บูชานับถือกันว่าเป็นพระศักดิสิทธิ์เท่าๆ กับหลวงพ่อโสธร ส่วนองค์สุดท้อง ล่องลอยไปผุดขึ้นที่วัดบางพลี จังหวัดสมุทรปราการและชาวบางพลีได้อัญเชิญประดิษฐานอยู่ที วัดบางพลีใหญ่ในอำเภอบางพลี ก็ปรากฏว่ามีผู้คนเคารพนับถือมาก พระพุทธรูปหล่อองค์กลาง นั้นคือ หลวงพ่อโสธร เมื่อลอยตามน้ำมาจากหัววน ดังกล่าวแล้วมาผุด ขึ้นที่ท่าหน้าวัดโสธร กล่าวกันว่า ประชาชนจำนวน มากทำการบวงสรวงแล้วเอาด้ายสายสิญน์คล้อง กับพระหัตถ์หลวงพ่อโสธร อัญเชิญขึ้นมาบนฝั่งนำ ไปประดิษฐาน ในวิหารสำเร็จตามความประสงค์ แล้วก็จัดให้มีการฉลองสมโภชและให้นามหลวงพ่อว่า หลวงพ่อโสธร

ล่องเรือชมแม่น้ำบางปะกงไปตลาดบ้านใหม่[แก้]

เรือล่องแม่น้ำบางปะกงไปตลาดบ้านใหม่ มี 5 รอบ ซื้อตั๋วศาลาริมน้ำด้านติดโรงเจของวัดโสธรวราราม มีซุ้มขายตั๋ว อยู่ ค่าโดยสาร คนละ 100 บาท ขาไปใช้เวลา ครึ่งชั่วโมง มีเวลาให้เดินตลาด ไหว้พระ 1 ชั่วโมง ขากลับ ครึ่งชั่วโมง รวม 2 ชั่วโมง พอดี มีไกด์แนะนำสองฝั่งแม่น้ำบางปะกงและถ่ายรูปเป็นที่ระลึก ใส่กรอบให้เรียบร้อย

เที่ยวเรือมีให้เลือกดังนี้ (เสาร์-อาทิตย์)

10.00 – 12.00

11.00 – 13.00

12.00 – 14.00

13.00 – 15.00

14.00 – 16.00

15.00 – 17.00

เที่ยวเรือ วันธรรมดา มี 2 รอบ (จันทร์-ศุกร์) มีรอบ

12.00 – 14.00

14.00 – 16.00

ขากลับก็นั่งรถสองแถวสีเหลือง ฝั่งตรงข้ามวัด นั่งไปสุดสายที่ สถานี บขส.ฉะเชิงเทราเลย ค่ารถ คนละ 7 บาท

Φ

ภาพบรรยากาศวัดโสธร

การเดินทางไปวัดโสธรวรารามวรวิหาร

 

ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปที่ Twitterแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest

ไม่มีความคิดเห็น:[แก้]

แสดงความคิดเห็น

หน้าแรก

สมัครสมาชิก: บทความ (Atom)

แบบง่าย ธีม. ขับเคลื่อนโดย Blogger.