ผู้ใช้:เลิศวิกร อยู่กลาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติส่วนตัว[แก้]

My Photo
  • ชื่อ เลิศวิกร อยู่กลาง ชื่อเล่น ต้นข้าว
  • ที่อยู่ปัจจุบัน หอพักญาณวุฒิ ซอย3/10 ถนนสุรนารายณ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000
  • ประวัติการศึกษา
    • จบ ประถมศึกษา โรงเรียนบ้านนาบั่ว อำเภอเมืองเรณูนคร จังหวัดนครพนม
    • จบ มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม
    • จบ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) วิทยาลัยการอาชีพธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
    • จบ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน อำเภอเมืองนครราชสีมา นครราชสีมา
    • ปัจจุบัน ปริญญาตรี(เทียบโอน) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน อำเภอเมืองนครราชสีมา นครราชสีมา
  • ตำแหน่งงาน IT ที่สนใจ
    • Programmer เพราะการพัฒนาโปรแกรมเป็นการเรียนรู้ที่พร้อมจะทำสิ่งเดิมที่มีอยู่ให้ดีขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน
  • ความสามารถอื่น
    • ความสามารถทางดนตรี (เล่นกีตาร์)
    • ความสามารถทางกีฬา (ฟุตบอล)

บทความทาง IT ที่สนใจ[แก้]

  • สิ่งดีๆ ที่คุณจะพบใน Windows 8


1.การบูตเครื่องได้เร็วมาก เมื่อเทียบกับวินโดวส์อื่นๆ เพียงไม่กี่วินาทีคุณก็สามารถใช้งานวินโดวส์ได้แล้ว

2.อินเตอร์เฟสใหม่ที่แปลกตา หน้าแรกของการใช้งานคุณจะเจอ แอพพลิเคชันหรือโปรแกรมที่ใช้งานมารวมอยู่หน้าเดียวกันที่หน้า Start แบบ Modern Style สะดวกในการใช้งาน อาทิเช่น แอพพลิเคชันของอีเมล, รูปภาพ, ข่าว, ปฏิทิน, พยากรณ์อากาศและอื่น ๆ อีกมาก ทั้งนี้ยังแสดงเป็นแบบอัพเดทตลอดเวลา ซึ่งทำให้คุณทราบข่าวสารอยู่ตลอดเวลา

3.ระบบค้นหายอดเยี่ยม Windows 8 มีฟังก์ชันการค้นหาสิ่งต่าง ๆ โดยแบบเป็นหมวดหมู่ Application, Settings, File และในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยค้นหาผ่านหน้า Start ได้ทันที่เพียงแค่พิมพ์คำที่ต้องการค้นหาลงไปซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องพิมพ์ทั้งคำ วินโดวส์จะทำการแสดงทุกอย่างที่ตรงกับคำค้นหาขึ้นมาทันที

4.เชื่อมต่อข้อมูลกันได้หมด ไม่ว่าคุณจะมีคอมพิวเตอร์, โน้ตบุ๊ก หรือแท็บเล็ต สักกี่เครื่อง คุณก็สามารถตั้งค่าต่างๆ ให้อุปกรณ์ดังกล่าวที่ใช้ Windows 8 เชื่อมต่อข้อมูลกัน โดยข้อมูลเกือบทั้งหมดจากทุกเครื่องจะเหมือนกันไม่ว่าเครื่องนั้นจะอยู่ที่จุดใดของโลกใบนี้ ขอเพียงให้มีอินเตอร์เน็ตใช้ ด้วยฟังก์ชั่น Sync ผ่านแอคเคาท์ของไมโครซอฟท์

5. แชร์ข้อมูล แชร์ (Share) ฟังก์ชันเหมาะสมมาก สำหรับคนที่ชอบโซเชียลเน็ตเวิร์ก ไมโครซอฟท์ออกแบบให้ Windows 8สามารถเลือกแชร์สิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ข้อมูล, รูปภาพ, หน้าเว็บไซต์, เพลง, ภาพยนตร์ และอื่นๆ สำหรับวิธีแชร์นั้นก็ง่ายมาก เพียงแค่เลือกปุ่ม Share ใน Charms Bar เท่านั้นเอง นอกจากนี้ยังสามารถแชร์ไปยังแอพพลิเคชัน อื่น ๆ ได้อีกด้วย อาทิเช่น แชร์ลิงก์หน้าเว็บไปยังคลิปบอร์ดหรือ Notepad หรือแชร์รูปภาพไปยังโปรแกรมแต่งภาพ เป็นต้น

6.เปิดอินเตอร์เน็ตได้รวดเร็ว ถ้าคุณใช้เบราว์เซอร์ Internet Explorer 10 คุณจะต้องประหลาดใจว่า IE10 เปิดเว็บได้รวดเร็วกว่า IE รุ่นก่อนมากนัก เร็วจนเบราว์เซอร์อื่นๆ ต้องหันมามองแล้วล่ะว่า จะพัฒนาเบราว์เซอร์ของตัวเองให้เร็วขึ้นเพื่อหนี IE 10 ได้อย่างไร

7.การรีเฟรชและรีเซตระบบ Windows 8 นี้ มีฟีเจอร์ใหม่ให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขระบบได้เมื่อระบบมีปัญหาจนไม่สามารถแก้ได้แบบปกติ ฟีเจอร์รีเฟรช (Refresh) หรือรีเซต (Reset) ของ Windows 8 ช่วยคุณแก้ไขได้ง่ายโดยใช้เวลาไม่ได้นาน การรีเฟรซ ? คือการล้างระบบใหม่เพื่อให้กับเครื่องที่ใช้ไปนานๆ แล้วรู้สึกว่าเครื่องทำงานช้าหรือมีปัญหานั้น ให้สามารถกลับมาทำงานได้ดีขึ้นโดยการรีเฟรชนี้จะไม่ทำให้ ไฟล์, การปรับแต่งส่วนบุคคล (Personalization Settings) และแอพพลิเคชันหายไป การรีเซต ? จะลบทุกอย่างในเครื่องออกทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นไฟล์, แอพพลิเคชัน แอคเคาท์ต่าง ๆ ของคุณ พูดง่ายๆ คือเครื่องจะกลับม้เหมือนตอนติดตั้งวินโดวส์ครั้งแรก ฟีเจอร์ทั้งสองคุณสามารถเข้าได้ที่เมนู Charms Bar เลือก Settings > Change PC Settings > General

8. Task Manager Windows 8 ปรับปรุง Task Manager ให้ดูสวยงามขึ้น ใช้งานง่าย และมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม การแสดงแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ Apps, Background Processes และ Windows Processes และมีรายละเอียดการใช้ทรัพยากรเครื่องของแต่ละแอพพลิเคชันให้ดูว่าใช้ CPU, Ram, Bandwidth เท่าไหร่ในแบบ Real Time พร้อมทั้งยังมีการแสดงในรูปแบบกราฟ และบันทึกการใช้ทรัพยากรในแต่ละช่วงเวลาให้ดูย้อนหลังได้ นอกจากนี้ ทั้งนี้ยังสามารถตั้งค่าให้แอพพลิเคชัน เริ่มทำงานหรือไม่ทำงานทันทีที่เปิดเครื่องได้

9.หน้าต่างก็อปปี้ไฟล์ Windows 8 มีการก็อปปี้ไฟล์แบบใหม่ทั้งหน้าตาและประสิทธิภาพที่ดีขึ้น โดย เมื่อเจอไฟล์ชื่อซ้ำกันและแสดงหน้าต่างถามก่อนว่าต้องการทำอะไรกับมัน ทำให้ผู้ใช้สามารถตัดสินใจว่าจะเอาอย่างไรกับไฟล์ ปรับความเร็วในการก็อปปี้ได้ตัวเอง ยกตัวอย่าง เช่น คุณกำลังก็อปปี้ไฟล์ผ่านระบบเครือข่ายไร้สายอยู่แต่มาเสียบสายแลนในเวลาต่อมาระบบจะรับรู้แล้วปรับตัวเองให้ทำงานเร็วขึ้นโดยอัตโนมัติ ถ้าไฟล์ให้มากจนเครื่องเข้าโหมด Sleep หรือ Hibernate ระบบจะหยุดการก็อปปี้ไฟล์ และเมื่อตื่นขึ้นมาจะถามว่าต้องการ Resume ต่อหรือไม่ ถ้ามีปัญหา error ขณะก็อปปี้ไฟล์ระบบจะถามก่อนเริ่มก็อปปี้ในกรณีพบก่อน หรือแจ้งเตือนปัญหาหลังก็อปปี้เสร็จในกรณีพบระหว่างทาง ช่วยทำให้งานไม่หยุดชะงักและคุณไม่ต้องเฝ้าหน้าเครื่องตลอดเวลาที่ก็อปปี้ไฟล์

10. ริบบอนเมนูของ Windows Explorer Windows Explorer ของ Windows 8 จะมีเมนูแบบ Ribbon ที่เหมือนกับ Microsoft Office 2010 ทำให้ใช้งานได้สะดวกและหลากหลายขึ้น โดย Windows Explorer แสดงผลได้ทั้งแบบเต็มแบบย่อ (minimize) ซึ่งเป็นดีฟอลต์เพื่อลดความซับซ้อนและเพิ่มพื้นที่ของหน้าต่าง Explorer ที่ปุ่มของริบบอนจะมี Tooltip ของปุ่มจะแสดงรายระเอียดว่าใช้ทำอะไร ค่าต่างๆ ที่คุณตั้งไว้ใน Explorer สามารถบันทึกไว้ในแอคเคาท์คุณได้ และสามารถนำไปใช้ซิงค์กับเครื่องอื่นโดยอัตโนมัติ

Credit www.superict.com

  • รู้จักพอร์ต USB-C พอร์ตมาตรฐานใหม่ของ Macbook โฉมใหม่


ใครที่ติดตามงานแถลงข่าว Spring Forword ของค่าย Apple เมื่อเที่ยงคืนวันที่ 9 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งงานไฮไลท์สำคัญที่หลายท่านร้องว้าวในงานจริงๆก็คือ Macbook โฉมใหม่ ที่มีการออกแบบใหม่หมดทั้งคีย์บอร์ด Touchpad ตัวบอร์ดในเครื่อง และสำคัญสุดที่หลายท่านสงสัยคือพอร์ต USB-C ซึ่งกลายเป็นพอร์ตมาตรฐานใหม่ของคอมพิวเตอร์ที่ ท่านที่จะซื้อ Macbook โฉมใหม่แล้ว จะต้องใช้พอร์ต USB-C นี้เป็นประจำแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ วันนี้เลยมาทำความรู้จักกับพอร์ต USB-C นี้กัน

พอร์ต USB-C เป็นพอร์ตคอมพิวเตอร์มาตรฐานใหม่ เริ่มใช้ใน Macbook โฉมใหม่นี้เป็นตัวแรก มีความสามารถเป็นพอร์ตชาร์จ Macbook ที่ต้องใช้ Adaptor ที่เป็นสายเสียบ USB-C และสามารถจ่ายไฟจาก Macbook ไปยังอุปกรณ์ iOS อย่าง iPhone iPod Touch และ iPad เพื่อซิงค์และชาร์จได้ , ใช้ในการรับ-ส่งข้อมูลระหว่าง Macbook กับ Flashdrive หรือ Harddisk ที่เชื่อมผ่าน usb ได้ , ใช้พอร์ตนี้ส่งสัญญาณภาพของจอ Macbook โฉมใหม่ มาปรากฎบนทีวีที่รองรับ HDMI หรือ VGA ได้ด้วย เรียกได้ว่า USB-C เป็นได้ทั้ง HDMI/VGA , USB , DisplayPort , Power ในพอร์ตเดียว


- พอร์ตUSB-C นี้เมื่อถูกเสียบด้วยอุปกรณ์เสริม Adaptor ที่มีช่อง USB อยู่ด้วยแล้ว ก็กลายเป็น พอร์ต USB 3.1 สามารถรับส่งข้อมูลเร็วกว่า USB3.0 ซึ่งรับส่งด้วยความเร็ว 5 Gbit/s ( 5 Gigabits ต่อวินาที ) เป็นเท่าตัว โดยการรับส่งข้อมูลด้วย USB 3.1 นี้มีความเร็วสูงถึง 10Gbit/s ( 10 Gigabits ต่อวินาที )

- พอร์ต USB-C รองรับเสียบแบบกลับหัวได้ ไม่ต้องพลิกไปพลิกมาให้ถูกต้อง สามารถจ่ายไฟจาก Macbook ไปยังอุปกรณ์ iOS ตัวอื่นเพื่อชาร์จและซิงค์ข้อมูล ในเวลาเดียวกันได้ โดยจ่ายไฟอยู่ที่ 20 volts หรือ 100 วัตต์ และเป็นพอร์ตชาร์ต Macbook เอง ผ่าน Adaptor ชาร์จไฟแบบ USB-C เฉพาะของ Macbook ซึ่งต้องนำมาเสียบกับ USB-C เพื่อชาร์จไฟ

- พอร์ต USB-C เมื่อถูกเสียบด้วย Adaptor ที่มีขาออกเป็นพอร์ต VGA หรือ HDMI จะสามารถส่งสัญญาณภาพจากหน้าจอ Macbook ปรากฎบนทีวีที่รองรับ HDMI (ความละเอียด 1080P) หรือที่รองรับพอร์ทคอม VGA ได้

Credit www.it24hrs.com

  • 4 วิธีป้องกัน กรณีพบเว็บไซต์ธนาคารปลอม จ่อขโมยรหัสผ่านธนาคารออนไลน์


ThaiCERT (ไทยเซิร์ต) หน่วยงานด้านรักษาความปลอดภัยบนโลกอินเทอร์เน็ตในไทย เตือนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ระวังภัยอาชญากรรมไซเบอร์ใกล้ตัว หลัง Thaicert ได้รับแจ้งว่ามีลูกค้าธนาคาร พบหน้าเว็บไซต์หลอกหลวง หวังขโมย username และ password ของผู้ใช้บริการธนาคารออนไลน์ โดยพบเมื่อวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมา
เว็บไซต์ปลอมดังกล่าวนี้มาจาก URL คือ www.kasikornbankgroup.ru ซึ่งส่วนท้ายของชื่อโดเมน หรือ TLD เป็นของประเทศรัสเซีย จากข้อมูลพบว่าเว็บไซต์ดังกล่าวตั้งอยู่ที่ประเทศลัตเวีย ทั้งนี้ Thaicert ได้เร่งประสานงานไปยัง National CERT ของประเทศลัตเวีย รวมถึง ผู้ให้บริการ Hosting ของเว็บไซต์ดังกล่าวเพื่อให้ช่วยดำเนินการแก้ไข อีกทั้งรีบดำเนินการแจ้ง Google และ Netcraft เพื่อให้เว็บเบราว์เซอร์บล็อกหากผู้ใช้งานถูกหลอกลวงให้เข้าเว็บไซต์ดังกล่าว และแจ้งเตือนหน้าเว็บไซต์ปลอมนั้นแล้ว
วิธีการป้องกันเมื่อพบเว็บไซต์ธนาคารปลอม

  • อย่าเชื่อใจในลิงก์ที่ได้รับ ก่อนจะคลิกลิงก์ควรนำลูกศรเม้าส์ชี้ที่ลิงค์ ว่าไปเว็บไซต์ธนาคารจริงหร่อไม่ หากไม่แน่ใจควรพิมพ์URL ของธนาคารด้วยตัวเอง
  • หากผู้ใช้งานหลงกล กรอกไปยังเว็บปลอมไปดังกล่าวแล้ว ให้รีบทำการล็อกอิน เปลี่ยนรหัสผ่านทันที ทั้งเว็บไซต์ธนาคารจริง อีเมล , facebook รวมถึงตรวจสอบความผิดปกติในส่วนอื่น ๆ เช่น ส่วนการกู้คืนข้อมูล อาจมีการถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นข้อมูลของผู้ไม่หวังดี เป็นต้น
  • หากเป็นไปได้ผู้ดูแลระบบควรทำการบล็อกการเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานในเครือข่ายกับหน้าเว็บไซต์ปลอมที่พบ
  • แจ้งเตือนและเผยแพร่แนวทางป้องกันนี้ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดโอกาสเสี่ยงจากการตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวง

หากผู้ใช้งานตกเป็นเหยื่อเว็บปลอมหรือได้รับผลกระทบจากภัยคุกคาม และต้องการคำแนะนำหรือความช่วยเหลือ สามารถแจ้งไทยเซิร์ตผ่านอีเมล report@thaicert.or.th หรือหมายเลขโทรศัพท์ (+66) 2123 1212
Credit www.it24hrs.com

LAN Technology[แก้]

รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้


1.1โทโปโลยีแบบบัส (BUS)

เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้

ข้อดี

- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก

ข้อเสีย

- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย

- การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้


1.2 โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)

เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป

ข้อดี

- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่

- การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป

- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน

ข้อเสีย

- ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้

- ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง


1.3 โทโปโลยีแบบดาว (STAR)

เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป

ข้อดี

- การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย

ข้อเสีย

- เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ


1.4โทโปโลยีแบบ MESH

เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก


WAN (Wide Area Network) Technology[แก้]

เทคนิควิธีการสวิตชิ่งมีอยู่ 3 วิธีสำคัญๆ คือ เซอร์กิตสวิตชิ่ง (Circuit Switching) เมสเสจสวิตชิ่ง (Message Switching) และแพ็กเก็ตสวิตชิ่ง (Packet Switching)

เซอร์กิตสวิตชิ่ง (Circuit Switching)

เป็นกลไกสื่อสารข้อมูล ที่สร้างเส้นทางข้อมูลระหว่างสถานีส่งก่อนที่จะทำการส่งข้อมูลเมื่อเส้นทางดังกล่าวนี้สร้างแล้วจะใช้ในการส่งข้อมูลได้เฉพาะสองสถานีนี้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของระบบเซอร์กิตสวิตชิ่ง ได้แก่ ระบบโทรศัพท์นั่นเอง โทรศัพท์แต่ละหมายเลขจะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อมายังชุมสายโทรศัพท์ หรือCO (Central Office) ซึ่งมีสวิตช์ติดตั้งอยู่ ระหว่างชุมสายโทรศัพท์จะมีการเชื่อมต่อกัน ทำให้สามารถโทรศัพท์ไปเบอร์อื่น ๆ ได้ บางครั้งอาจผ่านชุมสายโทรศัพท์หลาย ๆ ชุมสาย ทุกครั้งที่ใช้โทรศัพท์จะมีเส้นทางสัญญาณที่ถูกจองไว้สำหรับใช้ในการสนทนาแต่ละครั้ง เมื่อเลิกใช้โทรศัพท์เส้นทางนี้จะถูกยกเลิกและพร้อมสำหรับการใช้งานครั้งต่อไป การสร้างเส้นทางผ่านข้อมูลเซอร์กิตสวิตชิ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญในระบบส่งสัญญาณแบบเซอร์กิตสวิตชิ่ง เฟรมข้อมูลที่ส่งแต่ละการเชื่อมต่อจะถูกส่งผ่านเครือข่าย โดยใช้เส้นทางเดียวกันทั้งหมด สำหรับหลักการทำงาน ให้พิจารณาจากรูปที่ 1-(a) ฝั่งต้นทางในที่นี้คือ S ซึ่งต้องการสื่อสารกับฝั่งปลายทางคือ T ผ่านเครือข่าย และด้วยวิธีเซอร์กิตสวิตชิ่ง นั้นจะสร้างเส้นทางเพื่อการส่งข้อมูลแบบตายตัว (Dedicated Path) ดังนั้นการเชื่อมต่อจากฝั่งต้นทาง S ไปยังปลายทางT ในที่นี้ก็ได้มีการจับจองเส้นทางตามนี้คือ


รูปที่ 1 เปรียบเทียบการสื่อสารแบบเซอร์กิตสวิตชิ่งและเมสเสจสวิตชิ่ง

(a) เซอร์กิตสวิตชิ่งมีการจับจองเส้นทางเพื่อถือครองตลอดระยะเวลาสื่อสาร

(b) เมสเสจสวิตชิ่งมีการจับจองหนึ่งเส้นทางเพื่อถือครองในช่วงเวลาหนึ่ง

เส้นทางดังกล่าวจะถูกถือครองในระหว่างการสื่อสารตลอดจนกระทั่งยุติการสื่อสาร ถึงจะถูกปลดออก (Release) กล่าวคือ ตลอดในช่วงเวลาของการถือครองเพื่อการสื่อสารระหว่างฝั่งต้นทางและฝั่งปลายทาง เส้นทางนี้จะถูกโฮลด์ไว้ โดยผู้อื่นจะไม่สามารถใช้งานเส้นทางเหล่านั้นได้ ซึ่งถือว่าเป็นข้อเสีย ส่วนข้อดีของวิธีเซอร์กิตสวิตชิ่งนี้ก็คือ หลังจากที่ฝั่งต้นทางสามารถสร้างคอนเน็ก-ชันเพื่อเชื่อมต่อกับฝั่งปลายทางได้แล้ว การรับส่งข้อมูลก็จะดำเนินการได้ทันทีโดยผ่านเส้นทางที่เปรียบเทียบเสมือนกับท่อที่ได้วางไว้ ดังนั้น การถ่ายโอนข้อมูลจึงกระทำได้อย่างรวดเร็ว โดยมีค่าหน่วยเวลาหรือ Delay น้อยมาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกของการสื่อสารอาจจำเป็นต้องรอคอยก่อน เนื่องจากจำเป็นต้องมีการสร้างคอนเน็กชัน เพื่อวางเส้นทางไปยังโฮสปลายทางระบบส่งสัญญาณแบบเซอร์กิตสวิตชิ่งที่ใช้ในเครือข่าย WAN มีดังนี้

• โมเด็มและระบบโทรศัพท์ (Modem and Telephone System)

• สายคู่เช่า (Leased Line)

• ISDN (Integrated Services Digital Network)

• DSL (Digital Subscriber line)

• เคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)


เมสเสจสวิตชิ่ง (Message Switching)

วิธีการสื่อสารแบบเมสเสจสวิตชิ่งนั้น เมสเสจจะถูกส่งจากฝั่งต้นทาง S ไปยังปลายทาง T ในลักษณะเป็นขั้นๆ โดยจะมีการถือครองเส้นทางในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น จากรูปภาพที่ 1-(b) จะเห็นได้ว่า ในขั้นตอนแรก S ได้มีการส่งผ่านเส้นทางไปยัง a จากนั้น a ก็จะมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ชั่วคราว ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเส้นทาง จาก S ไปยัง a นั้นจะถูกปลดออก (Release) ทำให้ผู้อื่นสามารถใช้เส้นทางนี้ในการลำเลียงข้อมูล จากนั้น a ก็ได้ดำเนินการส่งเมสเสจนั้นต่อไปยัง c และดำเนินการเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงปลายทาง T จะเห็นได้ว่า วิธีนี้จะมีการถือครองเส้นทางในการลำเลียงข้อมูลในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น โดยเมื่อโหนดใดโหนดหนึ่งได้จัดเก็บเมสเสจเหล่านั้นไว้ชั่วคราวแล้ว เส้นทางนั้นก็จะถูกปลดออกเพื่อให้ผู้อื่นใช้งานต่อไป วิธีนี้ถือว่าเป็นการใช้เส้นทางในการลำเลียงข่าวสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตาม เมสเสจสวิตชิ่งนี้ก็มีข้อเสียคือ ค่าหน่วงเวลามีค่อนข้างสูง เนื่องจากข้อมูลที่ส่งไปในระหว่างทางนั้นจะถูกจัดเก็บไว้ชั่วคราวในแต่ละจุดบนเครือข่าย ซึ่งอุปกรณ์ที่จัดเก็บข้อมูลเหล่านั้นจะประมวลผลค่อนข้างช้าทีเดียว เช่น ดิสก์ หรือดรัมแม่เหล็ก ในขณะที่ในยุคก่อนนั้นใช้เทปกระดาษก็จะยิ่งทำให้ล่าช้าขึ้นไปอีก และหากข้อมูลมีขนาดใหญ่ ซึ่งปกติก็จะมีการแบ่งข้องมูลออกเป็นส่วนๆ ก็จะทำให้ใช้เวลาส่งมากขึ้น รวมถึงจำนวนโหนดที่ส่งต่อระหว่างกันบนเครือข่าย หากมีโหนดที่ส่งต่อจำนวนมาก ก็จะทำให้เกิดความล่าช้ามากขึ้นตามมาด้วย


แพ็กเก็ตสวิตชิ่ง (Packet Switching)

การสื่อสารแบบวิธีแพ็กเก็ตสวิตชิ่งนั้น จัดเป็นกรณีพิเศษของเมสเสจสวิตชิ่ง ด้วยการเพิ่มคุณสมบัติพิเศษเข้าไป โดยในขั้นแรกเมื่อต้องการส่งหน่วยข้อมูล และด้วยแพ็กเก็ตมีขนาดที่จำกัดดังนั้น หากเมสเสจมีขนาดใหญ่กว่าขนาดสูงสุดของแพ็กเก็ต จะมีการแตกออกเป็นหลาย ๆ แพ็กเก็ตขั้นที่สอง เมื่อแพ็กเก็ตได้ส่งผ่านจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งบนเครือข่าย จะมีการจัดเก็บแพ็กเก็ตเหล่านั้นไว้ชั่วคราวบนหน่วยความจำความเร็วสูง เช่น RAM ซึ่งในเวลาในการประมวลผลได้รวดเร็วกว่าอุปกรณ์ที่ใช้งานบนระบบเมสเสจสวิตชิ่ง ข้อดีของการสื่อสารด้วยวิธีแพ็กเก็ตสวิตชิ่งก็คือ เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีเมสเสจสวิตชิ่งแล้วค่าหน่วงเวลาของแพ็กเก็ตสวิตชิ่งนั้นมีค่าน้อยกว่า โดยค่าหน่วงเวลาของแพ็กเก็ตแรก จะเกิดขึ้นเพียงชั่วครู่ในขณะที่แพ็กเก็ตแรกนั้นผ่านจำนวนจุดต่าง ๆบนเส้นทางที่ใช้ หลังจากนั้นแพ็กเก็ตที่ส่งตามมาทีหลังก็จะทยอยส่งตามกันมาอย่างรวดเร็ว และหากมีการสื่อสารบนช่องทางความเร็วสูงแล้ว ค่าหน่วงเวลาที่เกิดขึ้นจะมีค่าที่ต่ำทีเดียวโดยการสื่อสารด้วยวิธีแพ็กเก็ตสวิตชิ่งนี้ยังแบ่งออกเป็น 2 วิธีด้วยกันคือ วิธีดาต้าแกรม (Datagram Approach)และ เวอร์ชวลเซอร์กิต (Virtual-Circuit Approach)


รูปที่ 2 แพ็กเก็ตสวิตชิง : วิธีส่งแบบดาต้าแกรม (Datagram Approach)


รูปที่ 3 แพ็กเก็ตสวิตชิง : วิธีส่งแบบเวอร์ชวลเซอร์กิต (Virtual-Circuit Approach)

เทคโนโลยี WAN ที่ใช้ระบบส่งข้อมูลแบบแพ็กเก็ตสวิตช์มีดังนี้

• x.25

• เฟรมรีเลย์ (Frame Relay)

• ATM (Asynchronous Transfer Mode)


OSI Model และ TCP/IP Model

TCP/IP กับ OSI Model

1. Process Layer จะเป็น Application Protocal ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับผู้ใช้และให้บริการต่าง ๆ

2. Host – to – Host Layer จะเป็น TCP ที่ทำหน้าที่คล้ายกับชั้นที่ 4 ของ OSI Model คือควบคุมการรับส่งข้อมูลจากปลายด้านส่งถึงปลายทางด้านรับข้อมูล

3. Internetwork Layer ได้แก่ส่วนของโปรโตคอล IP ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับชั้นที่ 3 ของ OSI Model คือเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายที่อยู่ชั้นล่างลงไป

4. Network Interface เป็นส่วนที่ควบคุมฮาร์ดแวร์การรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย เปรียบได้กับชั้นที่ 1 และ2 ของ OSI Model

OSI model + TCP/IP model[แก้]

OSI Model Protocols And Services TCP/IP Model
Application HTTP,FTTP,Telnet,NTP,DHCP,Ping Application
Presentation HTTP,FTTP,Telnet,NTP,DHCP,Ping Application
Session HTTP,FTTP,Telnet,NTP,DHCP,Ping Application
Transport TCP,UDP Transport
Network IP,ARP,ICMP,IGMP Network
Datalink IP,ARP,ICMP,IGMP Network Interface
Physical Ethernet Network Interface