ผู้ใช้:อุทยานสวนจตุจักร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

== อุทยานสวนจตุจักร ==

=== ความเป็นมาของสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร ===

     สวนสาธารณะแห่งแรกของกรุงเทพฯ ได้แก่สวนลุมพินี เกิดขึ้นจากพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในช่วงที่กรุงเทพฯก้าวสู่การเป็นมหานครที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในพระราชอาณาจักรสยาม เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนเช่นเดียวกับมหานครสำคัญของโลกโดยในปี พ.ศ. 2568 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้จัดงานแสดงผลิตผลอุตสาหกรรมแห่งชาติเช่นเดียวกับประเทศฝั่งตะวันตก โดยพระราชทานชื่องานว่า "สยามรัฐพิพิธภัณฑ์" เพื่อจัดแสดงสินค้าต่าง ๆ ทรงพระราชทานที่ดินส่วนพระองค์จำนวน 360 ไร่ ณ ทุ่งศาลาแดง และเมื่องานแสดงสินค้าสิ้นสุดลงจะพระราชทานที่แห่งนี้ให้เป็นสวนสาธารณะสำหรับประชาชน โดยก่อสร้างสวนสาธารณะในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสวนลุมพินีได้เป็นแรงบันดาลใจ ถึงสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กรุงเทพฯ เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในทุก ๆ ด้าน จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นส่งผลให้ความเป็นอยู่เป้นไปอย่างแออัด สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม เกิดปัญหามลพิษ ทำให้ความต้องการพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเล็งเห็นถึงความต้องการสวนสาธารณะของชาวกรุงเทพมหานคร จึงได้ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 1,000,000 บาท เพื่อจัดสร้างสวนสาธารณะบนพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งน้อมเกล้าถวายที่ดินจำนวน 100 ไร่ เนื่องในวโรกาสทรงพระชนมพรรษา 4 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2518 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทานนามสวนสาะารณะแห่งนี้ว่า "สวนจตุจักร" ต่อมากรุงเทพมหานครได้รับมอบที่ดินผืนนี้เพื่อดำเนินการสร้างสวนสาธารณะ และได้ติดต่อขอที่ดินของกระทรวงคมนาคมอีกจำนวน 90 ไร่ รวม 190 ไร่ เปิดให้บริการประชาชนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2523 <ref>(สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร,2553) จากจุดเริ่มต้นของสวนจตุจักร ซึ่งได้กลายเป็นร่มพฤกษาที่ให้ความร่มรื่นในย่านพหลโยธิน และพื้นที่ใกล้เคียง สร้างความรื่นรมย์แก่ชาวกรุงเทพมหานครที่อาศัยอยู่โดยรอบและผู้ที่สัญจรผ่านไปมา และเป็นที่น่ายินดีว่าในอีก 12 ปีต่อมาได้เกิดสวนสาธารณะในบริเวณใกล้เคียงอีก 2 แห่งซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกับสวนจตุจักร คือสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ และสวนวชิรเบญจทัศ และได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องรวม 35 สวน (<ref>สำนักสิ่งแวดล้อม, 2562)

พลวัตสู่ "อุทยานสวนจตุจักร" สวนแห่งมหานคร[แก้]

     สวนจตุจักร สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ และสวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) ตั้งอยู่บริเวณใกล้กัน เมื่อพิจารณาโดยรวมและเชื่อมโยงกันแล้วจะเป็นพื้นที่สวนสาธารณะขนาดใหญ่ระดับมหานคร(Metropolitan Park) ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งในปี 2562 กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการเชื่อมโยงสวนทั้ง 3 เข้าด้วยกัน โดยยังคงเอกลักษณ์ของแต่ละสวนไว้ดังเดิม ในขณะที่ประชาชนสามารถเข้าใช้บริการได้ทั้ง 3 สวน ซึ่งแต่ละสวนมีความโดดเด่นและเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน ดังนี้  
        
   

==== สวนจตุจักร ==== http://www.bangkok.go.th/chatuchakmetropark/page/sub/13941/สวนจตุจักร

   สวนจตุจักรมีพื้นที่ทั้งหมด 155 ไร่ 56.60 ตารางวา โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ของสวนจตุจักรเป็นพื้นที่สนามหญ้า ไม้ยืนต้น แปลงไม้ดอกไม้ประดับ  บึงน้ำ เน้นบรรยากาศเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจร่มรื่นเขียวขจีและความสวยงามของต้นไม้หลากหลายสายพันธุ์ มีเส้นทางรอบสวนเหมาะแก่การวิ่งออกกำลังกาย พร้อมจัดให้มีพื้นที่สำหรับออกกำลังกายและกิจกรรมนันทนาการ อาทิเช่นสวนสุขภาพเฉลิมพระเกียรติ 36 พรรษา  พลตรีหญิงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่มีฐานฝึกออกกำลังกายจำนวน 12 ฐาน 
   องค์ประกอบหลัก เช่นลานอเนกประสงค์ สนามเด็กเล่น เครื่องออกกำลังกายกลางแจ้ง เส้นทางเดิน-วิ่ง รวมถึงทัศนียภาพและสถานที่สวยงามน่าสนใจอื่นๆ ทั้งลานไม้ดอกที่ปลูกสับเปลี่ยนหมุนเวียน 
   กิจกรรมสำคัญเช่นรำมวยจีน ไทเก๊ก ของชมรมต่างๆ และผู้สูงอายุในสวนช่วงเช้า แอโรบิคบริเวณลานอเนกประสงค์ ในเวลา 18.00 น.การออกกำลังกายด้วยการเดิน–วิ่ง ในเส้นทางซึ่งมีการเข้ามาใช้พื้นที่เป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ เวลา 04.30 – 21.00 น. การใช้สถานที่ในการจัดกิจกรรมด้วยการเดิน – วิ่ง และกิจกรรมการกุศลต่าง ๆ 
   
   ประติมากรรม สวนจตุจักรเป็นแหล่งรวบรวมประติมากรรมของประเทศในสมาชิกอาเซียนจำนวน 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย บรูไน สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซียสำหรับผู้ที่สนใจศึกษางานศิลปะและสถาปัตยกรรม 
   
   Landmark ของสวนจตุจักร เช่น
       - หอนาฬิกาที่โดดเด่นทั้งบอกเวลาและเป็นจุดนัดพบของประชาชน 
       - นาฬิกาดอกไม้ที่ใช้บอกเวลาและให้ความสวยงามแปลกตาเป็นที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็น 
       - สะพานชมปลาที่ออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมที่งดงามแปลกตากระจายอยู่บริเวณพื้นที่สวน 
       - ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ (Tabebuia rosea (Bertol.) Bertero ex A.DC.) ของสวนจำนวน  373 ต้น สร้างสีสันความประทับใจเป็นไฮไลท์ของสวนสร้างความตื่นตาตื่นใจให้ผู้ที่สัญจรในเส้นทางพหลโยธินด้านหน้าสวนจตุจักรและผู้ที่เข้ามาใช้บริการสวนจตุจักรซึ่งสามารถพบเห็นได้เพียงปีละครั้งช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ –เมษายนของทุกปี ที่ให้ดอกบานสะพรั่งเป็นสีชมพูงดงามตลอดแนวรั้วสวนจตุจักรด้านริมฝั่งถนนพหลโยธินทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเพื่อเก็บภาพความประทับใจในทุก ๆ ปี เป็นแหล่งดูชมพูพันธุ์ทิพย์ที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร 
   แหล่งเรียนรู้ด้านวิชาการเกษตร พฤกษศาสตร์พันธุ์ไม้ เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในสวนจตุจักรสำหรับผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาเรียนรู้ ได้แก่
       - สวนไม้ในวรรณคดีที่ปลูกรวบรวมพรรณไม้ในวรรณคดี นับได้ว่าเป็นสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานครแห่งแรกที่นำฐานข้อมูลพรรณไม้ในสวนวรรณคดีของสวนจตุจักรและรหัสคิวอาร์   (QR Code) มาประยุกต์ใช้งานบนป้ายชื่อต้นไม้เพื่อการเรียนรู้ทางด้านพฤกษศาสตร์พันธุ์ไม้ในวรรณคดีของสวนจตุจักร และทางสวนได้ต่อยอดความรู้โดยจัดทำป้ายชื่อไม้ยืนต้นของสวนทั้งหมดให้มีข้อมูลทางพฤกษศาสตร์เบื้องต้น พร้อมมีรหัสคิวอาร์(QR Code)บนป้ายเพื่อให้ทราบข้อมูลทางพฤกษศาสตร์อย่างละเอียดผ่านการสแกนจากโทรศัพท์มือถือ Smart phone เป็นการผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่กับความรู้ด้านสวนและต้นไม้ให้ผู้ที่สนใจเข้ามาเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นการเริ่มต้นของ Smart park ทำให้มีการสร้างสรรค์ความรู้และพัฒนาสวนอย่างชาญฉลาด  
       - แหล่งเรียนรู้ ความลับลูกอิน – ลูกจัน (Gold apple) สำหรับศึกษาข้อมูลทางด้านพฤกษศาสตร์ของต้นจันที่เก่าแก่ของสวนจตุจักรซึ่งเป็นไม้หายากมีความมหัศจรรย์จากธรรมชาติซึ่งเกิดจากการที่ต้นจันมีดอกแยกเพศในต้นเดียวกันคือดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย ผลที่ได้รับการผสมเกสรจะมีลักษณะกลมหนาเรียกว่า “ลูกอิน” เมื่อผ่าออกจะพบเมล็ดประมาณ 2-3 เมล็ด ส่วนผลที่ไม่ได้รับการผสมเกสรจะมีลักษณะกลมแป้นไม่มีเมล็ด เรียกว่า “ลูกจัน”และเมื่อออกผลจะเหลืองอร่ามทั่วทั้งต้นและส่งกลิ่นหอมไปทั่วพื้นที่สวน 
       - แหล่งเรียนรู้ พืชตระกูลมะลิ (Family OLEACEAE) ที่ปลูกรวบรวบพันธุ์มะลิที่พบได้ในประเทศไทยจำนวน 9 พันธุ์ อาทิเช่น มะลิก้านแดง มะลุลี มะลิหลวง เป็นต้น 
       - แหล่งเรียนรู้ สวนไม้หัว ที่ปลูกรวบรวมพันธุ์ไม้หัวหลากหลายพันธุ์ มีส่วนหัวใต้ดินที่มีรูปร่างลักษณะต่าง ๆ และใช้ส่วนของหัวในการขยายพันธุ์ 
       - แหล่งเรียนรู้ไม้ยืนต้นชนิดต่าง ๆ ที่มีช่วงฤดูกาลของการออกดอกสลับสับเปลี่ยนกันเมื่อออกดอกจะบานสะพรั่งหลากสี อาทิเช่น สีเหลืองอร่ามของดอกต้นประดู่บ้าน (Pterocarpus indicus Willd) และต้นนนทรี (Peltophorum pterocarpum (DC.) Backer ex K. Heyne) สีชมพูของต้นแคฝรั่ง (Gliricidias epium (Jacq.) Walp.) และชมพูพันธุ์ทิพย์ (Tabebuia rosea (Bertol.)  Bertero ex A.DC.)
       - แหล่งเรียนรู้ด้านวิชาการเกษตรและเกษตรอินทรีย์อาทิเช่น การทำปุ๋ยหมักจากใบก้ามปู การขยายพันธุ์ไม้ การดูแลรักษาต้นไม้ ฯลฯ (สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร,2562)


==== สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ====

http://www.bangkok.go.th/chatuchakmetropark/page/sub/13818/สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เกิดขึ้นตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในปี 2534 โดยมอบให้กระทรวงคมนาคมจัดสร้างบนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยด้านทิศใต้ของสนามกอล์ฟรถไฟ เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ครบ 5 รอบ ในวันที่ 12 สิงหาคม 2535 ในส่วนการหาทุนสมทบและทุนในการดูแลสวนระยะยาว มูลนิธิสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เป็นผู้รับไปดำเนินการ โดยได้รับการสนับสนุนจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม และหน่วยงานเอกชน ต่อมาได้ส่งมอบให้กรุงเทพมหานครดูแลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2538 และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2539 มีพื้นที่ 196 ไร่ 3 งาน 65 ตารางวา องค์ประกอบสวน สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เป็นสถานที่รวบรวม และอนุรักษ์พันธุ์ไม้ทั้งในและต่างประเทศเพื่อการศึกษาและสืบทอดการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช มีการปลูกไม้แยกตามวงศ์ ทำให้มีลักษณะการเป็น “สวนพฤกษศาสตร์” ที่สมบูรณ์แห่งหนึ่งในประเทศไทย

พรรณไม้ในสวน - เครือเทพรัตน์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Thepparatia thailandica Phuph. พันธุ์ไม้ถิ่นเดียวและหายากของไทย เก็บตัวอย่างครั้งแรกเดือนมีนาคม ๒๕๔๖ ที่ป่าจังหวัดตาก ใกล้พรมแดนพม่า ชื่อละติน Thepparatia กรมป่าไม้ได้ตั้งขึ้นเพื่อถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี และชื่อ thailandica ได้แสดงถึงแหล่งกำเนิดของพืชชนิดนี้ที่พบขึ้นอยู่ในประเทศไทย ได้รับพระบรมราชานุญาตและลงตีพิมพ์ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ลักษณะเป็นไม้เถาเลื้อย ใบเดี่ยว เวียนหนาแน่นบริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยแผ่กว้างเป็น ๓ พู ปลายใบแหลม โคนใบเว้ารูปหัวใจ ขอบใบจักตื้นๆ ดอกออกเป็นช่อจากปลายยอด ดอกย่อยสีครีมแกมม่วง มี ๕ กลีบเวียนซ้อนกัน ด้านนอกสีครีมด้านในสีม่วง เกสรเป็นแท่งกลมในหลอดดอก ปลายดอกห่อไม่บานมาก ผลแห้ง รูปกระสวย แก่ไม่แตก - ย่านดาโอ๊ะ หรือ ต้นเถาใบสีทอง ชื่อวิทยาศาสตร์ Phanera aureifolia (K. Larsen & S. S. Larsen) Bandyop., P.P. Ghoshal & M. K. Pathak เป็นพันธุ์ไม้หายากของไทยที่ค้นพบว่าเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก พบได้เฉพาะน้ำตกบาโจ ในอุทยานแห่งชาติเทือกเข้าบูโดสุไหงปาดี จ. นราธิวาส ซึ่งปลูกไว้ชมความมหัศจรรย์แห่งธรรมชาติ นั่นคือใบที่มีขนปกคลุมคล้ายกำมะหยี่เปลี่ยนเป็นสีทองแดงเหลือบรุ้งในเดือนสิงหาคม – กันยายน และเป็นสีเงินในเดือนตุลาคม - ย่านลิเภา ไม้เถาซึ่งจัดเป็นเฟิร์นเลื้อย ในสกุล Lygodium เช่น Lygodium salicifolium C. Presl (ลิเภาใหญ่) และ Lygodium circinatum (ลิเภาหางไก่) เป็นต้น พบได้มากทางภาคใต้ของไทย ตามป่าเปิดหรือป่ากึ่งโปร่งเขตร้อน เป็นที่มาของวัตถุดิบสำหรับศิลปหัตถกรรมงดงามเลื่องชื่อของไทย เช่น กระเป๋าย่านลิเภา

กิจกรรมในสวน

        - การจัดกิจกรรมดูนก ทุกวันอาทิตย์สัปดาห์ที่ 2 ของทุกเดือน โดยสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย 
        - การจัดงาน “สีสรรพรรณไม้ เทิดไท้บรมราชินีนาถ” ในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี
        - กิจกรรมค่ายเยาวชนรักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กิจกรรมนี้เป็นความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานคร มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ที่จัดเป็นฐานการเรียนรู้ให้  กับเด็ก ๆ ช่วงอายุ 6 - 12 ปี ซึ่งในแต่ละปีจะจัดกิจกรรมในช่วงของการปิดภาคเรียน ภาคเรียนละสองครั้ง จำนวนครั้งละ 60 คน 
        - กิจกรรมการเดิน - วิ่งออกกำลังกาย

- การจัดกิจกรรมชมดอกไม้ ที่ออกดอกสวยงามในแต่ละช่วงของปี เช่น ดอกฮอลลี่ฮอค ประดู่แดง กัลปพฤกษ์ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม ดอกไม้สีเหลืองในช่วงเดือนธันวาคม

จุดน่าสนใจในสวน

        - สระน้ำ ที่ออกแบบให้เป็นจุดเด่นของสวน โดยสื่อความหมายการเฉลิมพระเกียรติด้วยสระน้ำคดเคี้ยว เป็นรูปอักษร “ส” และ “S” ผสานกัน สื่อถึงพระนามาภิไธยของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ แนวขอบสระเลือกปลูกพืชพันธุ์สร้างสีสันเน้นลักษณะอักษร “ส” ให้โดดเด่นด้วยสีเหลืองของดอกราชพฤกษ์ และ “S” เน้นด้วยสีชมพูของดอกกัลปพฤกษ์
        - ลานบัว จัดเป็นลานพักผ่อนหย่อนใจที่ตกแต่งด้วยบ่อน้ำรูปดอกบัวขนาดยักษ์ เป็นที่รวมพันธุ์บัวทั้งไทยและต่างประเทศ มีกระถางโบราณเก่าแก่ประดับลานและปลูกบัวชนิดต่าง ๆ และสวนยุโรป ซึ่งอวดลานแบบสวนประดิษฐ์ ด้วยแปลงไทรทองตัดแต่งลายบัวก้านขดอันวิจิตร สร้างเส้นนำสายตาเข้าสู่ลานบัว เกิดภาพเอกลักษณ์สง่างามเป็นหนึ่งเดียวไปด้วย โดยมีสายพันธุ์บัว 132  ชนิด 

แบ่งออกเป็น 3 สกุล ได้แก่ 1) สกุลปทุมชาติ (Nelumbo) - Lotus คนไทยรู้จักกันในชื่อบัวหลวง บางครั้งคนโบราณเรียกว่า บัวก้านแข็ง ซึ่งชูใบและดอกเหนือผิวน้ำ ก้านมีตุ่มหนาม มีทั้งดอกซ้อน ดอกลา มีกลิ่นหอม พันธุ์ที่พบในทวีปเอเชียและออสเตรเลีย มีสีขาวและสีชมพู ส่วนพันธุ์ที่พบในทวีปอเมริกาเหนือมีสีเหลือง แต่ไม่ออกดอกในประเทศไทย ดอกบัวหลวงจะบานตั้งแต่เช้าตรู่ และหุบตอนบ่ายหรือค่ำ บัวหลวงพันธุ์ดั้งเดิมของไทยแบ่งออกเป็น 4 สายพันธุ์ คือ - ปทุม / บัวแหลมแดง - ปุณฑริก (บุณฑริกา) / บัวแหลมขาว - สัตตบงกช / บัวฉัตรแดง - สัตตบุษย์ / บัวฉัตรขาว 2) สกุลอุบลชาติ (Nymphaea) - Waterlily บัวไทยในสกุลนี้ ได้แก่ บัวผัน บัวเผื่อน บัวขาบ บัวจงกลนี บัวสาย บางครั้งคนโบราณเรียกว่า บัวก้านอ่อน เพราะก้านอ่อนเกลี้ยง ไม่มีหนาม จำแนกตามถิ่นกำเนิดได้ 2 ประเภท ดังนี้ - อุบลชาติเขตอบอุ่น - หนาว หรือ บัวฝรั่ง พบในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ ในเขตอากาศอบอุ่นไปจนถึงหนาวเย็น ดอกลอยแตะผิวน้ำหรือชูพ้นน้ำเล็กน้อย บานตอนรุ่งเช้า เริ่มหุบตั้งแต่เที่ยงวันถึงช่วงบ่ายต้นๆ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ - อุบลชาติเขตร้อน พบในเขตร้อนของทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ ดอกชูสูงเหนือผิวน้ำ อุบลชาติเขตร้อนยังจำแนกตามช่วงเวลาที่ดอกเริ่มบาน ออกเป็น 2 กลุ่ม คืออุบลชาติเขตร้อนบานกลางวัน ดอกเริ่มบานตอนสายๆ หุบช่วงบ่ายคล้อย ได้แก่ - บัวเผื่อน มีดอกขนาดเล็ก สีขาวอมฟ้าอ่อนๆ ขนาดไม่เกิน 8 เซนติเมตร สีอ่อน มีกลิ่นหอม - บัวผัน ลักษณะเดียวกับบัวเผื่อน มีสีฟ้าอ่อน แต่มีดอกใหญ่กว่า มีกลิ่นหอม - บัวขาบ เป็นบัวไทยดั้งเดิมที่ปัจจุบันหาดูยาก มีดอกสีฟ้าหรือสีม่วง โทนสีจางจนถึงเข้ม - บัวจงกลนี คาดว่าเป็นบัวพันธุ์ไทยแท้และเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย (endemic plants) ซึ่งมีหลักฐานบันทึกไว้ใน “ไตรภูมิพระร่วง” สมัยสุโขทัย - บัวนางกวัก สันนิษฐานว่ามีผู้นำเข้าจากประเทศอินเดียประมาณ 20 ปีมาแล้ว จุดเด่นคือ มีกลีบเลี้ยงยื่นยาวกว่ากลีบดอก ดูคล้ายนิ้วมือ จึงเป็นที่มาของชื่อนางกวัก - บัวยักษ์ออสเตรเลีย เป็นบัวขนาดใหญ่ที่นำเข้าจากต่างประเทศ - บัวสุทธาสิโนบล อยู่ในกลุ่มอุบลชาติเขตร้อนบานกลางวันมีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาใต้ ศ.กสิน สุวตะพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอนุกรมวิธานพืช ตั้งชื่อเพื่อเทิดพระเกียรติพระอัครชายาเธอพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ในรัชกาลที่ 5 ผู้ทรงนำพันธุ์จากอินโดนีเซียเข้ามาปลูกในเมืองไทยเมื่อปี พ.ศ. 2444 - อุบลชาติเขตร้อนบานกลางคืน ดอกเริ่มบานตอนใกล้ค่ำและหุบช่วงสายๆ ของวันรุ่งขึ้น นิยมเรียกว่า บัวสาย บัวกลุ่มนี้ ไม่มีกลิ่นหอมหรือมีกลิ่นเพียงจางๆ บัวสายพันธุ์ที่มีชื่อเรียกมาตั้งแต่ดั้งเดิมของไทย ได้แก่ - กมท/ เศวตอุบล คือ บัวสายสีขาว - สัตตบรรณ คือ บัวสายสีแดง - ลินจง คือ บัวสายสีชมพู 3) สกุลวิกตอเรีย (Victoria)- Royal Waterlily, Victoria คนไทยนิยมเรียกว่า บัวกระด้ง เพราะมีใบขนาดใหญ่ ขอบใบยกขึ้นคล้ายกระด้ง ก้านมีหนามแหลม ดอกบานช่วงกลางคืน หุบตอนเช้า บานนานประมาณ 3 วัน เมื่อเริ่มบานเป็นสีขาว แล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีชมพูจนถึงม่วงแดง กลิ่นหอมแรงมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ ชื่อสกุลตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เนื่องจากมีผู้นำเมล็ดพันธุ์จากลุ่มน้ำอะเมซอนกลับไปปลูกที่ประเทศอังกฤษจนผลิดอกเมื่อกว่าร้อยปีมาแล้ว สำหรับประเทศไทย พระยาประดิพัทธ์ภูบาลได้นำเข้าเมล็ดพันธุ์บัวชนิดนี้ 2 ครั้ง ซึ่งสามารถขยายพันธุ์สำเร็จในครั้งที่ 2 ประมาณปี พ.ศ. 2444 และนิยมปลูกเลี้ยงกันแพร่หลายต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงรำลึกถึงบัวหลวงปทุมพันธุ์หนึ่งที่เคยขึ้นอยู่บริเวณสวนสนประดิพัทธ์ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีความโดดเด่นที่ต้นสูง และมีดอกสีชมพูใหญ่เป็นพิเศษ จังหวัดทหารบกเพชรบุรีได้เสาะหาตามพระราชปรารภและพบว่ายังมีอยู่ที่สระบัววัดหนองจอก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี จึงทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้นำไปปลูกอนุรักษ์พันธุ์ไว้ในพื้นที่ “อ่างเก็บน้ำใกล้บ้าน” ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส ชมรมผู้รักบัวแห่งประเทศไทยได้เรียกชื่อบัวหลวงสายพันธุ์นี้ว่า “บัวหลวงพระราชินี” เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ บัวสายพันธุ์ใหม่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในแหล่งรวบรวมสายพันธุ์บัว ปางอุบล ของ ดร. เสริมลาภ วสุวัต มีจุดเด่นที่ดอกสีชมพูถึงแดงเข้ม และมีกลีบดอกซ้อนมากกว่าบัวสายทั่วไป ได้รับการเผยแพร่เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2552 ในฐานะ “ดอกบัวเฉลิมพระเกียรติ 77 พรรษา มหาราชินี” สำหรับชื่อ “ศรีกิติยา” เป็นชื่อที่ประชาชนร่วมลงคะแนนคัดเลือกจากรายชื่อ 4 ชื่อ ที่คุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ กรุณาตั้งให้ เมื่อได้ชื่อแล้วจึงนำต้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บัวควีนสิริกิติ์ บัวลูกผสมข้ามสกุลย่อย ผลิตโดยนายไพรัตน์ ทรงพานิชพัฒนาคัดเลือก พ.ศ.2551-2554 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้พระนามเป็นชื่อพันธุ์บัวชนิดใหม่ของโลกว่า “ควีนสิริกิติ์” ประกาศเมื่อ 30 มิ.ย. 2555

        - โครงการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 12 สิงหาคม 2547 ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม 2547 เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณ และพระมหากรุณาธิคุณอันไพศาลต่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ร่วมกับกรุงเทพมหานครจึงได้จัดสร้าง “โครงการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 12 สิงหาคม 2547”  บนพื้นที่ 12 ไร่ บริเวณด้านหน้าของสวนฯ โครงการดังกล่าวประกอบด้วย
            3.1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา สถานที่จัดนิทรรศการพระราชกรณียกิจต่าง ๆ
            3.2 สวนไม้หอมน้อมเกล้าฯ รวบรวมพรรณไม้หอมประเภทต่าง ๆ เพื่อการศึกษาและอนุรักษ์ อีกทั้งพรรณไม้ในวรรณคดีอีกด้วย
       - สวนพรรณไม้อันเกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ รวบรวมพรรณไม้ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
       - สวนพระมหากรุณาธิคุณเพื่อผู้พิการทางสายตา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้พิการทางสายตาได้เพลิดเพลินกับธรรมชาติพร้อมกับการเรียนรู้และสัมผัสพืชพรรณไม้หอมประเภทต่าง ๆ
       - สะพานคลื่นนก (The Bird Wave Bridge) สะพานไม้ ความยาวประมาณ 50 เมตร ที่ทอดตัวข้ามคู่น้ำที่กั้นกลางระหว่างสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ และสวนวชิรเบญจทัศ โดยเป็นที่จัดกิจกรรมการดูนกของสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย 
       - พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร อาคารพิพิธภัณฑ์ที่จัดรูปแบบการเรียนรู้ภายใต้แนวคิด “Learning for Young Creative Mind” มีการจัดนิทรรศการ กิจกรรม ให้ความรู้และนันทนาการผ่านขบวนการเรียนรู้เพื่อเด็ก โดยคัดสรรสาระความรู้ที่เหมาะสมเพื่อบ่มเพาะจิตสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น 

แหล่งเรียนรู้ในสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ

      ด้วยการจัดองค์ประกอบของสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ในรูปแบบสวนพฤกษศาสตร์ โดยเป็นแหล่งปลูกรวบรวมพันธุ์พืชท้องถิ่น พันธุ์ไม้ในพระนาม พันธุ์ไม้หายาก พันธุ์ไม้จากพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศและต่างประเทศที่น่าสนใจไว้มาก จึงได้มีการนำเสนอแหล่งเรียนรู้ให้ศึกษาในรูปเส้นทางชมธรรมชาติแวะชมตามจุดต่าง ๆ เช่น 
       - สวนไม้มงคลพระราชทาน 76 จังหวัด ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงพิพิธภัณฑ์เด็กฯ โดยจำลองแผนที่ประเทศไทยขนาดย่อม ไว้ในพื้นที่ 4.8 ไร่ และปลูกไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด ตามตำแหน่งภูมิภาคของแต่ละจังหวัดอย่างสอดคล้องกับความเป็นจริง พร้อมติดป้ายแสดงชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญของต้นไม้ และชื่อจังหวัด ทางเดินชมจัดไว้เป็นเส้นทางสมมุติของถนนสายหลัก ได้แก่ ถนนพหลโยธิน ถนนมิตรภาพ ถนนสุขุมวิท ที่เชื่อมต่อระหว่างเหนือ ใต้ อิสานและตะวันออก สถานที่แห่งนี้เป็นแห่งเรียนรู้ท้งพรรณพืชและภูมิศาสตร์ได้เป็นอย่างดีในคราวเดียวกัน ซึ่งได้มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2544 โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหาคร (นายสมัคร สุนทรเวช) เป็นประธาน ทั้งได้ร่วมปลูกไม้มงคลประจำจังหวัดกรุงเทพฯ คือ ต้นไทรย้อยใบแหลม

ลำดับที่ จังหวัด ชื่อต้นไม้ ลำดับที่ จังหวัด ชื่อต้นไม้ 1 เชียงราย กาสะลองคำ 39 พระนครศรีอยุธยา หมัน 2 เชียงใหม่ ทองกวาว 40 สระบุรี ตะแบก 3 แม่ฮ่องสอน กระพี้จั่น 41 สิงห์บุรี มะกล่ำต้น 4 พะเยา สารภี 42 นครนายก สุพรรณิการ์ 5 ลำปาง กะจาว 43 ปทุมธานี ปาริชาติ 6 ลำพูน จามจุรี 44 สุพรรณบุรี มะเกลือ 7 แพร่ ยมหิน 45 นนทบุรี นนทรีบ้าน 8 อุตรดิตถ์ สัก 46 กรุงเทพมหานคร ไทรย้อยใบแหลม 9 สุโขทัย มะค่าโมง 47 ปราจีนบุรี โพศรีมหาโพ 10 พิษณุโลก ปีบ 48 สระแก้ว มะขามป้อม 11 เลย สนสามใบ 49 ฉะเชิงเทรา นนทรีป่า 12 ตาก แดง 50 สมุทรปราการ โพทะเล 13 กำแพงเพชร สีเสียดแก่น 51 ชลบุรี ประดู่ป่า 14 พิจิตร บุนนาค 52 สมุทรสาคร พญาสัตพรรณ 15 เพชรบูรณ์ มะขาม 53 ราชบุรี โมกมัน 16 หนองบัวลำภู พะยูง 54 สมุทรสงคราม จิกทะเล 17 อุดรธานี รัง 55 เพชรบุรี หว้า 18 หนองคาย ชิงชัน 56 จันทบุรี จัน 19 นครสวรรค์ เสลา 57 ตราด หูกวาง 20 นครพนม กันเกรา 58 ระยอง สารภีทะเล 21 สกลนคร อินทนิลน้ำ 59 ประจวบคีรีขันธ์ เกด 22 กาฬสินธุ์ มะหาด 60 ชุมพร มะเดื่อชุมพร 23 มุกดาหาร ช้างน้าว 61 สุราษฎร์ธานี เคี่ยม 24 ยโสธร กระบาก 62 ภูเก็ต ประดู่บ้าน 25 อำนาจเจริญ ตะเคียนหิน 63 พังงา เทพธาโร 26 อุบลราชธานี ยางนา 64 กระบี่ ทุ่งฟ้า 27 ศรีสะเกษ ลำดวน 65 ตรัง ศรีตรัง 28 สุรินทร์ กันเกรา 66 พัทลุง พะยอม 29 บุรีรัมย์ กาฬพฤกษ์ 67 นครศรีธรรมราช แซะ 30 มหาสารคาม พฤกษ์ 68 ยะลา โสกเหลือง , ศรียะลา 31 นครราชสีมา สาธร 69 ปัตตานี ตะเคียนทอง 32 ขอนแก่น กัลปพฤกษ์ 70 สตูล กระซิก 33 ชัยภูมิ ขี้เหล็กบ้าน 71 สงขลา สะเดาเทียม 34 ลพบุรี พิกุล 72 ระนอง อบเชย 35 อุทัยธานี สะเดา 73 นราธิวาส ตะเคียนชันตาแมว 36 กาญจนบุรี ขานาง 74 ร้อยเอ็ด กระบก 37 ชัยนาท มะตูม 75 น่าน กำลังเสือโคร่ง 38 อ่างทอง มะพลับ 76 นครปฐม จันทร์หอม

สวนป่ารักน้ำ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และ มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ได้ทำการจัดสร้างสวนใหม่ให้มีเอกลักษณ์เป็น ‘ป่าต้นน้ำ’ เพื่อเน้นย้ำให้คนในเมืองกรุงเห็นความสำคัญของป่าไม้ที่ให้กำเนิดน้ำ โดยได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตให้ชื่อสวนแห่งนี้ว่า สวนป่ารักน้ำ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559 และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559 สวนป่ารักน้ำมีพื้นที่ 9 ไร่ และถูกออกแบบให้มีเอกลักษณ์เป็น “ป่าต้นน้ำ” โดยเน้นพันธุ์ไม้ไทยให้มีความหลากหลาย ร่มรื่นในลักษณะของป่า จากยอดเนินดิน สองข้างทางของป่าทำเป็นหุบลงไป มีลำรางให้สายน้ำทอดตัวลงไปสู่บึงน้ำด้านล่าง มีน้ำหมุนเวียนตลอดปี เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้คนกรุงเห็นความสำคัญของป่าไม้ที่ให้กำเนิดน้ำและปลูกจิตสำนึกเยาวชนให้อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2559 มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ได้กราบบังคมทูลเชิญ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานเปิดงานเฉลิมพระเกียรติ “สีสรรพรรณไม้ เทิดไท้บรมราชินีนาถ” ครั้งที่ 10 ณ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ และทรงกรุณาปลูกต้นยางนา และต้นพะยอม เพื่อเป็นสิริมงคลและเป็นสัญลักษณ์แก่ “สวนป่ารักน้ำ” เฉลิมพระเกียรติฯ แห่งนี้ด้วย

สวนไผ่ เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณและมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อวงการไผ่ และเพื่อดำเนินการตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถที่ให้สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เป็นแหล่งอนุรักษ์และรวบรวมพรรณไม้ให้ประชาชนสามารถเข้ามาศึกษาได้สะดวก จึงได้มีการจัดสร้างสวนไผ่ขึ้น โดยได้รวบรวมพันธุ์ไผ่ที่มีอยู่ในประเทศไทยมาปลูกไว้ถึง 43 ชนิด และเพื่อให้สวนไผ่เป็นที่ศึกษาอย่างแท้จริงและมีความสวยงามในเวลาเดียวกัน รูปแบบของสวนไผ่จึงจัดปลูกแยกไผ่ตามสกุล และจัดสร้างอุโมงค์ไผ่ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาวประมาณ 150 เมตร เพื่อให้เกิดความร่มรื่นตลอดทางเดินเข้าสวนไผ่ด้วย

       ไผ่ในประเทศไทย
       ไผ่เป็นพืชตระกูลหญ้าที่สูงที่สุดในโลกและมีการเจริญเติบโตเร็วที่สุดในโลก ประเทศไทยมีความหลากหลายของไผ่สูง และจัดได้ว่าเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของการแพร่กระจายพันธุ์ไผ่ ปัจจุบันนักพฤกษศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องไผ่คาดว่า ไผ่ในประเทศไทยมีอยู่จำนวนประมาณ 15-20 สกุล 80-100 ชนิด โดยในสวนสมเด็จฯ ได้รวบรวมพันธุ์ไผ่ ได้แก่

1) สกุลไผ่ป่า (Bombusa) พบในป่าทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย ทั้งในป่าธรรมชาติและในเขตชุมชน ชนิดที่นิยมปลูกตามบ้านเรือนเพื่อใช้สอยหรือประดับ เช่น ไผ่สีสุก ไผ่น้ำเต้า ไผ่เหลือง เป็นต้น ไผ่ในสกุลนี้พบได้ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ ทั้งที่มีหนามและไม่มีหนาม นิยมนำมาใช้ในการก่อสร้างต่างๆ เช่น นั่งร้าน พะอง หรือสร้างบ้านเรือน ทำแพ ส่วนหน่อมักนำไปทำหน่อไม้ดอง แต่บางชนิดก็รับประทานสดได้ เช่น ไผ่บงหวาน ในสวนสมเด็จฯ มีจำนวน 16 ชนิด ทั้งที่ทราบชนิดพันธุ์แล้ว 12 ชนิด ได้แก่ ไผ่เหลือง ไผ่ลำมะลองก ไผ่บงหวาน ไผ่ป่า ไผ่สีสุก ไผ่กำยาน ไผ่บงดำ ไผ่บงบ้าน ไผ่น้ำเต้า ไผ่หลอด ไผ่ลิ่วจู๋ ไผ่กิมซุ่ง และที่อยู่ในระหว่างการวิเคราะห์เพื่อจำแนกชนิดพันธุ์อีก 4 ชนิด 2)สกุลไผ่ข้าวหลาม (Cephalostachym) เป็นไผ่ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง พบมากในภาคเหนือและภาคอีสาน เนื้อไม้เหนียว มักใช้ในงานจักสานที่ต้องการความสวยงามและประณีต นิยมตัดลำอ่อนมาทำกระบอกข้าวหลาม ลำแก่ใช้ก่อสร้างบ้านเรือน สานเป็นฝาหรือเพดานบ้าน ส่วนหน่อไม่นิยมนำมาทำเป็นอาหารเนื่องจากมีรสขม ในประเทศไทยมีอยู่ 2 ชนิด สวนสมเด็จฯ มี 2 ชนิดคือ ไผ่ข้าวหลาม และไผ่เฮี๊ยะ 3) สกุลไผ่สี่เหลี่ยม (Chimonobambusa) เป็นไผ่ขนาดเล็ก ลักษณะลำเป็นสี่เหลี่ยม เห็นได้ชัดบริเวณโคนลำ บริเวณข้อมีปุ่มรากลักษณะคล้ายหนาม ขึ้นได้ดีในพื้นที่สูงที่มีอากาศเย็น เป็นไผ่ที่นำเข้ามาจากประเทศจีน มี 1 ชนิดคือ ไผ่เหลี่ยม นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ สวนสมเด็จฯ มีปลูกอยู่ด้วย 4) สกุลไผ่ตง (Dendrocalamus) ไผ่ในสกุลนี้ส่วนใหญ่เป็นไผ่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีน้อยที่เป็นไผ่ขนาดเล็ก สำหรับไผ่ตงนั้น กล่าวกันว่าชาวจีนนำมาปลูกในประเทศไทยครั้งแรกที่จังหวัดปราจีนบุรีเมื่อประมาณ 100 ปีมาแล้ว ลำของไผ่ในสกุลนี้นิยมใช้ก่อสร้าง ทำเฟอร์นิเจอร์ ทำตะเกียบ และเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมกระดาษ โรงไฟฟ้าชีวมวล ส่วนหน่อนิยมนำมาบริโภค สวนสมเด็จฯ มีจำนวน 7 ชนิด คือ ไผ่ซางหม่น ไผ่มันหมู ไผ่ตง ไผ่หม่าจู๋ หรือไผ่ซางคำ ไผ่ซางนวล ไผ่บงใหญ่ ไผ่ยักษ์ หรือไผ่เป๊าะ 5) สกุลไผ่เลื้อย (Dinochloa) เป็นไผ่ที่มีลักษณะคล้ายเถาวัลย์ เลื้อยตามพื้นดินและพันไปตามต้นไม้อื่น ต้นเล็กขนาดนิ้วมือ ลำต้นใช้ทำเครื่องจักสาน ฟั่นเชือก หน่อนำมาบริโภคได้ สวนสมเด็จฯ มีจำนวน 1 ชนิด คือ ไผ่เลื้อย 6) สกุลไผ่ไร่ (Gigantochloa) เป็นไผ่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ พบในป่าธรรมชาติทั่วทุกภาค ของประเทศไทย โดยเฉพาะทางภาคใต้ ใบยอกกาบของหน่อมักมีสีเขียว ที่ใช้ประโยชน์กันมาก เช่น ไผ่ไร่ ซึ่งเป็นไผ่ขนาดเล็ก แต่เนื้อลำหนา เหนียว นิยมทำด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์ หน่อก็เป็นที่นิยมรับประทาน สวนสมเด็จฯ มีจำนวน 7 ชนิด คือ ไผ่ผากลาย ไผ่ไร่ ไผ่ด้ามพร้า ไผ่ผาก ไผ่ดำอินโดนีเซีย และที่ยังอยู่ในระหว่างการจำแนกชนิดพันธุ์อีก 2 ชนิด 7) สกุลไผ่หลอด (Neohouzeoua) มักขึ้นเป็นกอแน่นตั้งตรงจนถึงพาดเลื้อย กอมีขนาดเล็ก ลำต้นใช้ทำหลอดดูดเครื่องดื่มพื้นบ้าน เช่น เหล้าอุ ทำหลอดด้าย ทำเครื่องประดับ หน่อมีขนาดเล็ก และรับประทานได้ พบมากทางภาคอีสานในจังหวัดนครพนม และสกลนคร รวมถึงทางภาคใต้แถบจังหวัดชุมพร พบในประเทศไทย 4 ชนิด เช่น ไผ่หลอด ไผ่ลาดวัง และอยู่ระหว่างจำแนกพันธุ์อีก 2 ชนิด สวนสมเด็จฯ มีจำนวน 1 ชนิด คือ ไผ่ลาดวัง 8) สกุลไผ่ภูพาน (Phuphanochloa) เป็นไผ่สกุลใหม่ของโลก พบเฉพาะในประเทศไทย และมีชนิดเดียวในสกุล ดร.สราวุธ สังข์แก้ว และ ดร.อัจฉรา ตีระวัฒนานานท์ ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2551 ที่อุทยานแห่งชาติภูพาน จังหวัดสกลนคร ในพื้นที่บริเวณรอยต่อป่าเต็งรังกับป่าผสมผลัดใบ เป็นไผ่ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลำตรง ขึ้นเป็นกอแน่น ปลูกเป็นไผ่ประดับ และหน่อรับประทานได้ สวนสมเด็จฯ มีปลูกอยู่ด้วย 9) สกุลไผ่ลูกศร (Psudosasa) เป็นไผ่ขนาดเล็กถึงกลาง คล้ายไผ่ขนและไผ่สี่เหลี่ยม นำเข้ามาจากประเทศจีนและญี่ปุ่น ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ ในประเทศไทยมี 1 ชนิด คือ ไผ่ลูกศร สวนสมเด็จฯ มีปลูกอยู่ด้วย 10) สกุลไผ่รวก (Thyrsostachys) เป็นไผ่ที่มีความสวยงาม ขึ้นเป็นกอชิด ทึบแน่น พุ่มเตี้ย สามารถใช้ปลูกเป็นแนวบังลม หรือค้ำไม้พืชสวนต่างๆ ปลูกได้ทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ นำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ตกแต่งบ้าน หรือสวน ทำรั้ว ใช้ในงานก่อสร้าง ทำเยื่อกระดาษ เครื่องจักสาน หรือของเล่นพื้นบ้าน หน่อรับประทานได้ ในประเทศไทยมี 2 ชนิด สวนสมเด็จฯ มีจำนวน 2 ชนิด คือ ไผ่รวก และไผ่รวกดำ 11) สกุลไผ่เพ็ก (Vietnamosasa) บางครั้งเรียกไผ่เพ็ด หรือหญ้าเพ็ก ขึ้นตามป่าเต็งรังในภาคอีสาน จัดเป็นไผ่ขนาดเล็ก ขึ้นเป็นกอทอดไปตามพื้นดินคล้ายหญ้า ไผ่เพ็ก มีข้อคดงอ สวยงาม นิยมนำมาทำไม้เท้า หรือปลูกตกแต่งบ้านและสวนได้ ส่วนเหง้าใช้เป็นยาต้มรวมกับสมุนไพรอื่น ใช้เป็นยากระษัย แก้โรคนิ่ว ในประเทศไทยพบ 2 ชนิด สวนสมเด็จฯ มีจำนวน 2 ชนิด คือ ไผ่เพ็ก และไผ่โจด 12) สกุลไผ่ทอง (Schizostachyum) พบได้ทุกภาคของประเทศไทย ในประเทศมีประมาณ 10 ชนิด เช่น ไผ่ทอง หรือไผ่โป ไผ่เมี่ยงไฟ ไผ่เหลียง ที่พบและรู้จักกันดีคือ ไผ่ทอง หรือไผ่โป ซึ่งเป็นไผ่ชนิดเดียวกัน แต่ต่างกันที่สีผิวของลำไผ่โปผิวมีสีเขียว พบในจังหวัดทางภาคใต้ เช่น ตรัง นิยมปลูกเพื่อใช้ในการจัดสวน หรือนำมาทุบทำฟาก พื้น เพดาน และฝาบ้าน ส่วนไผ่ทอง ผิวออกเหลืองทอง เป็นไผ่ที่นำเข้ามาจากประเทศมาเลเซีย มักปลูกเป็นไม้ประดับ สวนสมเด็จฯ มีจำนวน 2 ชนิด คือ ไผ่ทอง และไผ่เมี่ยงไฟ 13) สกุลไผ่ขน (Phyllostachys) เป็นไผ่ที่เจริญเติบโตได้ดีในเขตอบอุ่น ส่วนใหญ่นำเข้าจาก ประเทศจีนหรือไต้หวัน ซึ่งเป็นประเทศที่มีการใช้ประโยชน์ไผ่ในสกุลนี้มาก เช่น ไผ่โมโซ ไผ่ดำ ไผ่มากินอย คาดว่าในป่าธรรมชาติของประเทศไทยก็มีไผ่ในสกุลนี้เช่นกัน สวนสมเด็จฯ มีจำนวน 2 ชนิด คือ ไผ่ลิโต และไผ่ลาย 14) สกุลไผ่เครือวัลย์ (Melocalamus) มีขนาดเล็กถึงกลาง เป็นไผ่พาดเลื้อย ลักษณะข้อบวม มีหูกาบขนาดใหญ่สีม่วงแดง ผลมีขนาดใหญ่ พบได้ตามที่สูงในภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคตะวันตก ยังไม่พบการใช้ประโยชน์ที่เด่นชัด ในประเทศไทยมี 1 ชนิด ได้แก่ ไผ่เครือวัลย์ ยังไม่ปลูกอยู่ในสวนสมเด็จฯ

  	15) สกุลไผ่บงเลื้อย (Teinostachyum) มีขนาดเล็กถึงกลาง กอค่อนข้างแน่น มีลักษณะเป็นลำพาดเลื้อย ปล้องยาว พบตามป่าดิบเขาในพื้นที่สูง ในประเทศไทยมี 2 ชนิด ได้แก่ ไผ่บงเลื้อย และไผ่เฮี๊ยะเครือ

ยังไม่ปลูกอยู่ในสวนสมเด็จฯ 16) สกุลไผ่นายเต็ม (Temochloa) เป็นไผ่ที่พบใหม่ในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ.2543 ซึ่งสกุลไผ่นายเต็ท ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ ศ.ดร.เต็ม สมิตินันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพรรณไม้ของประเทศไทย ลำต้นมีขนาดเล็กพาดเลื้อยไปตามหน้าผาหินปูน มีเพียงชนิดเดียวในสกุล ถือเป็นไผ่หายากและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ยังไม่ปลูกอยู่ในสวนสมเด็จฯ

แหล่งเรียนรู้พันธุ์กล้วย

       ในสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ มีการรวบรวมพันธุ์กล้วยมากกว่า 222 ชนิด โดยปลูกแบ่งเป็นกลุ่มๆ ได้แก่ กล้วยหอมผลสั้น กล้วยไข่ กล้วยแพลนแทน กล้วยเปลือกหนา กล้วยน้ำว้า กล้วยตานี กล้วยป่า กล้วยเปรี้ยว กล้วยพิเศษ กล้วยหักมุก กล้วยน้ำ กล้วยนาค กล้วยหอมและกล้วยประดับ

พันธุ์กล้วยในสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ กลุ่ม 1 กล้วยหอมผลสั้น ลักษณะเด่น ลำต้นสูงไม่เกิน 2 เมตร ผลมีขนาดค่อนข้างเล็ก เปลือกบาง เมื่อสุกมีสีเหลือง เนื้อในสีครีม รสชาติหวาน มีจำนวน 15 ชนิด ได้แก่ กล้วยหอมผลสั้น กล้วยตำนวล กล้วยทองเงย กล้วยขม กล้วยเขียวปากช่อง กล้วยวัดบางคณฑีใน กล้วยตีนเต่า กล้วยทองแขก กล้วยเงาะ กล้วยช้างกุฏิไส้ลาย กล้วยหอมทิพย์ นครสวรรค์ กล้วยสา กล้วยสายน้ำผึ้ง กล้วยแซลอ และกล้วยหวาน กลุ่ม 2 กล้วยไข่ ลักษณะเด่น ลำต้นสูงไม่เกิน 2 เมตร กาบลำต้นสีน้ำตาลไหม้ ผลขนาดกลาง ปลายมน มีจำนวน 15 ชนิด ได้แก่ กล้วยไข่พระตะบอง กล้วยไข่กำแพงเพชร กล้วยเนื้อทอง กล้วยไข่โบราณ กล้วยไข่จีน กล้วยไข่ทองร่วง กล้วยไข่ชุมแพ กล้วยไข่สวนผึ้ง กล้วยแลนดี้ กล้วยไข่ดำ กล้วยตะโหลน กล้วยกรัน กล้วยสาวกระทืบหอ กล้วยรักษา และกล้วยไข่บ้านไร่ กลุ่ม 3 กล้วยแพลนแทน ลักษณะเด่น ลำต้นสูงประมาณ 3 เมตร เมื่อติดผลแล้ว ปลีจะหลุดหายไป ผลมีขนาดใหญ่ เปลือกหนา เมื่อสุกสีเหลืองจัด เนื้อเหนียวแน่น มีจำนวน 6 ชนิด ได้แก่ กล้วยงาช้าง กล้วยกล้าย กล้วยจี่ กล้วยกาไน กล้วยขนุน และกล้วยงาช้างยักษ์ กลุ่ม 4 กล้วยเปลือกหนา ลักษณะเด่น ลำต้นสูงประมาณ 4 เมตร เป็นกอใหญ่ เครือใหญ่ ผลเหลี่ยมเปลือกหนา มีจำนวน 24 ชนิด ได้แก่ กล้วยตีบยาบางแพ กล้วยโอกินาว่า กล้วยสามเดือนพิจิตร กล้วยน้ำเชียงราย กล้วยนางกลายสุรินทร์ กล้วยหวานทับแม้ว กล้วยป่าดอยปุย กล้วยนิ้วมือนาง กล้วยเล็บช้างกุด กล้วยเทพพนม กล้วยตีบมุกดาหาร กล้วยตีบคำ กล้วยชาบา กรมส่งเสริมฯ กล้วยเทพรส กล้วยนมหมี กล้วยซาบาฟิลิปปินส์ กล้วยหิน กล้วยพม่าแหกคุก กล้วยมาแน๊ง กล้วยคอแข็ง กล้วยตีมกุ กล้วยไข่ฝรั่ง กล้วยช้างม่วงเจ็ดต้น และกล้วยพันโล กลุ่ม 5-6 กล้วยน้ำว้า ลักษณะเด่น ลำต้นสูงไม่เกิน 4 เมตร ใบตอง แผ่กว้างสีเขียวนวลเครือใหญ่ 10-14 หวี เปลือกค่อนข้างหนา มีจำนวน 23 ชนิด ได้แก่ กล้วยน้ำว้านครศรีธรรมราช กล้วยน้ำว้าไส้เหลือง N.P. กล้วยน้ำว้าสวนผึ้ง กล้วยน้ำว้าแดงนครพนม กล้วยน้ำว้าตะนาวศรี กล้วยน้ำว้าจันทบุรี กล้วยฮอร์แพลนเทน กล้วยน้ำว้าเขียว กล้วยไอศกรีม กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง กล้วยน้ำว้านวลจันทร์ กล้วยน้ำว้าตะเกียบ กล้วยน้ำว้าอุบล กล้วยน้ำว้าดำ กล้วยน้ำว้าละโว้ กล้วยน้ำว้าไส้แดง กล้วยน้ำว้าทองมาเอง กล้วยน้ำว้ากาบขาว (นวลป่าโมก) กล้วยน้ำว้าพระเทพ กล้วยน้ำว้าค่อม กล้วยน้ำว้าเหลืองบุรีรัมย์ กล้วยน้ำว้าท่ายาง กล้วยน้ำว้าราชบุรี กลุ่ม 7 กล้วยตานี ลักษณะเด่น ลำต้นสูงประมาณ 4 เมตร กาบปลีเมื่อบานออกไม่ม้วนกลับเป็นเหลี่ยม เปลือกหนา มีเมล็ดมาก มีจำนวน 10 ชนิด ได้แก่ กล้วยตานีดำ กล้วยตานีราษฎร์บูรณะ กล้วยตานี A-5 กล้วยตานีสุโขทัย กล้วยตานีใต้ กล้วยกิ่งจันทร์ กล้วยตานีกีบม้า กล้วยตานี+น้ำว้า กล้วยฟู และกล้วยปิชังคาปัส กลุ่ม 8 กล้วยป่า ลักษณะเด่น ลำต้นผอม สูงไม่เกิน 2 เมตร ใบแคบ ผลมีขนาดเล็ก มีเมล็ดมาก มีจำนวน 16 ชนิด ได้แก่ กล้วยป่าปลีส้ม กล้วยร้อยหวี กล้วยป่าปลีเหลือง กล้วยป่าตะโหนดพัทลุง กล้วยป่าดอยมูเซอ กล้วยป่าระยอง กล้วยป่าอบิสซีเนีย กล้วยป่าปลีเหลือง (บ้านป่ากล้วย) กล้วยป่าแม่ริม กล้วยป่าเขาหลักไร้เมล็ด กล้วยป่าปางสีดา กล้วยป่าหลังสวน กล้วยป่าคลองแม่กระสา กล้วยหก กล้วยป่าสุคิริน และกล้วยป่ายะลา กลุ่ม 9 กล้วยเปรี้ยว ลักษณะเด่น ขนาดกอใหญ่ ลำต้นสูง 3 เมตรขึ้นไป เครือใหญ่ เปลือกค่อนข้างหนา เมื่อสุกมีรสเปรี้ยว มีจำนวน 8 ชนิด ได้แก่ กล้วยลังกา กล้วยลังกานครสวรรค์ กล้วยเปรี้ยว กล้วยลูกมาก ท่าตะเกียบ กล้วยน้ำนมราชสีห์ กล้วยกระบุง/กรู กล้วยเปรี้ยวบ้านไร่ และกล้วยทองส้ม กลุ่ม 10 กล้วยพิเศษ ลักษณะเด่น ใกล้สูญพันธุ์ พบจำนวนน้อยมาก มีจำนวน 19 ชนิด ได้แก่ กล้วยทองดอกหมาก กล้วยโรส กล้วยเล็บมือนาง กล้วยเนื้อทอง กล้วยนมสาว กล้วยนมสาวสวนผึ้ง กล้วยปีชังแอมเปียง กล้วยกอกหมาก กล้วยนีพูแวน กล้วยนางพญา กล้วยปีชังซูซู กล้วยเข็ม กล้วยแส้ม้า กล้วยนิ้วจระเข้ กล้วยมรกตแก้ว (นมสาวสวนสมเด็จฯ) กล้วยหอมจำปา กล้วยทองกำปั่น กล้วยน้ำหมาก และกล้วยทองขี้แมว กลุ่ม 11 กล้วยหักมุก ลักษณะเด่น ลำต้นสูงใหญ่ เครือใหญ่ ผลเหลี่ยม เปลือกหนา ต้องทำให้สุกด้วยความร้อนถึงจะรับประทานได้ มีจำนวน 9 ชนิด ได้แก่ กล้วยหักมุกทอง กล้วยหักมุกนวล กล้วยหักมุกสวน กล้วยหักมุกเขียว กล้วยหักมุกพม่า กล้วยหักมุกส้ม กล้วยหักมุกสวนท่ายาง กล้วยหักมุกเชียวท่ายาง และกล้วยหักมุกนวลท่ายาง กลุ่ม 12 กล้วยน้ำ ลักษณะเด่น ลำต้นสูงใหญ่ เครือใหญ่ ผลเหลี่ยม เปลือกหนา ต้องทำให้สุกด้วยความร้อนถึงจะรับประทานได้ มีจำนวน 5 ชนิด ได้แก่ กล้วยน้ำ กล้วยน้ำฝาด กล้วยพระยาเสวย/น้ำกาบดำ กล้วยหอมจัน และกล้วยน้ำไท กลุ่ม 13 กล้วยนาค ลักษณะเด่น ลำต้นอวบใหญ่ สีแดง เครือขนาดกลาง 5-6 หวี ผลมีขนาดยาว คล้ายกล้วยหอม เปลือกสีแดง มีจำนวน 9 ชนิด ได้แก่ กล้วยกุ้ง กล้วยกุ้งเขียวพม่า กล้วยกุ้งเชียวค่อม กล้วยนาคพม่า กล้วยแดงอัฟริกา กล้วยนาคค่อม (แดงอิสราเอล) กล้วยนาคยักษ์ทองผาภูมิ กล้วยกุ้งไทย และกล้วยนาคไทย กลุ่ม 14 กล้วยหอม ลักษณะเด่น ผลยาว เปลือกหนา เมื่อสุกมีสีครีม มีจำนวน 22 ชนิด ได้แก่ กล้วยหอมเขียวค่อม กล้วยมาฮอย กล้วยหอมเขียวค่อมดิเอมเมอรัล กล้วยหอมไต้หวัน กล้วยไข้ กล้วยหอมไฮเกท กล้วยหอมศรีสะเกษ กล้วยลามัต กล้วยปิซังอัมบน กล้วยหอมพม่า กล้วยเสียนเจียนเชียว กล้วยหอมหนองบัวลำภู กล้วยหอมทองคอคต กล้วยหอมกระเหรี่ยง กล้วยหอมทองค่อม กล้วยหอมทูม็อก กล้วยหอมแกรนด์เนน กล้วยหอมทองกาบดำ กล้วยหอมทองอยุธยา กล้วยหอมเชียวต้นสูง กล้วยทองโฮะ และกล้วยหอม ส.พ.ก.(1) กลุ่มกล้วยประดับ ลักษณะเด่น ส่วนใหญ่ดูความสวยงามที่ดอก ถ้าติดผลมักมีเมล็ดรับประทานไม่ได้ มีจำนวน 13 ชนิด ได้แก่ กล้วยผา กล้วยนวล กล้วยบัวสีส้ม กล้วยบัวสีขาว กล้วยบัวสีชมพูลูกเขียว กล้วยบัวสีเหลือง กล้วยรัตกัทลี กล้วยดารารัศมี กล้วยบัวหลวง กล้วยตานีด่าง กล้วยแดงฮาวาย กล้วยหอมซุปเปอร์แคระ และกล้วยศรีนรา

สวนมะพร้าว

       ได้มีการรวบรวมสายพันธุ์มะพร้าวไทย จำนวน 37 ชนิด นำมาจัดปลูก ณ บริเวณพื้นที่แปลงปาล์มทางด้านทิศตะวันออกของสวน มีป้ายบอกชื่อแต่ละชนิดไว้ชัดเจนเพื่อให้ผู้เยี่ยมชมได้รู้จักมะพร้าวไทยสายพันธุ์ต่างๆ ที่มีคุณค่าอันน่าภาคภูมิใจ ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ให้เป็นสมบัติของลูกหลานไทยสืบไป โดยมีรายชื่อมะพร้าวในสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ได้แก่ มะแพร้วใหญ่ มะแพร้วเล็ก (สีทอง) มะแพร้วเล็ก (สีส้ม) มะแพร้วเล็ก (สีแดง) มะแพร้วเล็ก (สีเขียว) มะพร้าวหมูสี (เหลือง) มะพร้าวหมูสี (ส้ม) มะพร้าวหมูสี (เขียว) มะพร้าวหมูสี (แดง) มะพร้าวไฟ มะพร้าวไฟ (ใหญ่) มะพร้าวไฟ (เล็ก) มะพร้าวไฟ (กะทิ) มะพร้าวกะทิ มะพร้าวกะทิ (น้ำใส) มะพร้าวพวงร้อย มะพร้าวพวงทอง มะพร้าวพวงนาค มะพร้าวซอ มะพร้าวซอกะโหลกใหญ่ มะพร้าวตาเดียว มะพร้าวทะนาน มะพร้าวเปลือกนิ่ม มะพร้าวก้นจุก มะพร้าวทุ่งเคล็ด มะพร้าวแม่น้ำ มะพร้าวแม่น้ำ (กลมใหญ่) มะพร้าวนาฬิเก มะพร้าวนกคุ่ม มะพร้าวเปลือกหวาน มะพร้าวตาล (พันธุ์สายบัว) มะพร้าวร้อยยอด มะพร้าวทะเลบ้า มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวน้ำหอม (กะทิ) มะพร้าวปากจก มะพร้าวกลาง มะพร้าวสวี 1 มะพร้าวชุมพร มะพร้าวชุมพร 2 มะพร้าวชุมพร 60 มะพร้าวชุมพร 84-1 ฯลฯ
       ลานชบา มีการรวบรวมพันธุ์แปลกตามากมายไว้ให้ชม

==== สวนวชิรเบญจทัศ ==== http://www.bangkok.go.th/chatuchakmetropark/page/sub/13819/สวนวชิรเบญจทัศ ด้วยการตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาสภาพแวดล้อมในรูปการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง เพื่อยก ระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของชาวกรุงเทพฯ ให้ทัดเทียมมหานครใหญ่ในภูมิภาค จึงเป็นที่มาของมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 และ 29 มกราคม 2534 สมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ให้จัดสร้างสวนสาธารณะบนพื้นที่ “สนามกอล์ฟรถไฟ” ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม ส่วนแรก 140 ไร่ ให้สร้างเป็นสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ส่วนที่เหลือ 375 ไร่ กรุงเทพมหานครรับมอบที่ดินจากกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2541 และจ่ายค่าชดเชยให้ การรถไฟฯ จำนวน 555 ล้านบาท และเริ่มเข้าปรับปรุงพื้นที่สนามกอล์ฟเดิมเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2542 เดิมสวนสาธารณะแห่งนี้ประชาชนรู้จักในนามสวนรถไฟ กรุงเทพมหานครได้ขอพระราชทานนามสวนแห่งนี้จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “สวนวชิรเบญจทัศ” เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2545 สวนสาธารณะแห่งนี้ถูกสร้างในแนวคิด “สวนครอบครัว” ที่ตระเตรียมกิจกรรมหลากหลายไว้ดึงดูดความสนใจของสมาชิกทุกวัยในครอบครัวแทรกอยู่ตามจุดต่าง ๆ ในพื้นที่โล่งกว้าง และเขียวขจี สดชื่น สบายตา ให้ความรู้สึกอิสระ มีเนินหญ้าสลับกับพื้นราบกว้างมีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานสำหรับสวนสาธารณะครบครัน และเป็น “สวนสาธารณะในฝันของนักปั่นจักรยาน” ด้วยเส้นทางจักรยานระยะทาง 3.2 กิโลเมตร ลัดเลาะดงไม้ ไต่เนินไปรอบนอกสวน หรือจะเลือกเดินชมธรรมชาติ วิ่งออกกำลังก็ทำได้ในเส้นทางใหญ่ภายในบริเวณสวน นอกจากนี้ในช่วงปี 2560 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ได้มีนโยบายปลูกต้นรวงผึ้ง เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร บริเวณลานรวงผึ้ง ในพื้นที่สวนวชิรเบญจทัศ จำนวน 110 ต้น

สถานที่สำคัญ

         1) เส้นทางจักรยาน สวนวชิรเบญจทัศได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปในปีในปี 2542 ซึ่งกำหนดให้เป็นสวนครอบครัว และได้มีการบำรุงเส้นทางจักรยานในปี 2543 เป็นการนันทนาการของครอบครัว และมีการจัดสร้างเส้นทางจักรยานแยกจากทางเดิน - วิ่งของประชาชน ซึ่งเดิมเป็นเส้นทางบริการของสนามกอล์ฟรถไฟเดิมที่สร้างขึ้น ต่อมาสภาพของสะพานที่เป็นส่วนหนึ่งของทางจักรยานชำรุดทรุดตัว กลุ่มผู้ขับขี่จักรยาน ปะปนกันไป ประมาณ 4 - 5 ปี ที่ผ่านมามีผู้ออกกำลังกายขับขี่จักรยานมากขึ้น ซึ่งต้องใช้ความเร็วพอสมควร อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุกับผู้ใช้บริการเดิน - วิ่ง เป็นบางครั้ง ต่อมาในปี 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีดำริให้ปรับปรุงเส้นทางจักรยาน ทางคนเดิน - วิ่ง ให้แยกออกจากเส้นทางของผู้ขับขี่จักรยาน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง กรุงเทพมหานครได้จัดสรรงบประมาณ 2559 เป็นเงิน 21 ล้านบาท เพื่อนำมาปรับปรุงเส้นทางจักรยานโดยรอบสวนวชิรเบญจทัศระยะทางประมาณ 3.2 กิโลเมตร
         2) อุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของสวนวชิรเบญจทัศ เป็นอาคารรูปโดมขนาด 1 ไร่ ภายในแสดงนิทรรศการ ห้องวีดีทัศน์ให้ความรู้ และกรงผีเสื้อแบบ walk in ที่จัดภูมิทัศน์ได้งดงามด้วยน้ำตก ธารน้ำ และมวลไม้ดอก นำเสนอโอกาสชื่นชมผีเสื้อสีสันสวยงามนับพันตัวในสภาพที่อยู่จริง มิใช่ในกล่องสะสมแมลงอีกต่อไป อีกทั้งยังจัดอบรมความรู้ด้านการดูนกในสวน ความรู้เกี่ยวกับผีเสื้อ และแมลงแก่ประชาชนทั่วไป โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
         3) ศูนย์กีฬาวชิรเบญจทัศ ให้บริการด้านสถานที่ และอุปกรณ์กีฬาแก่สมาชิก มีสระว่ายน้ำ สนามบาสเกตบอล สนามฟุตซอล ลานเปตอง ฟิตเนส ฯลฯ
         4) ศูนย์เยาวชนวชิรเบญจทัศ ให้บริการด้านกิจกรรมนันทนาการรูปแบบต่างๆ มีสระว่ายน้ำ     สำหรับเด็กที่ตกแต่งด้วยน้ำพุล่อใจสร้างความเพลิดเพลิน ติดตั้งจุดพ่นละอองน้ำเป็นระยะสร้างไอเย็นดับร้อน เรียกความสนใจจากเด็กได้ดี
         5) บ้านหนังสือของสำนักงานเขตจตุจักร ให้บริการในด้านหนังสือต่างๆ แก่เด็ก และประชาชนทั่วไป
         6) เมืองจราจรจำลอง เป็นสถานที่แห่งการสร้างจิตรสำนึกในการเคารพกฎจราจรให้แก่เด็ก และเยาวชน
 	  7) หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ตั้งอยู่ที่ สวนวชิรเบญจทัศ เยื้อง ๆ กับปั๊มน้ำมันปตท. จัดสร้างถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในโอกาสครบรอบพระบรมราชาภิเษกครบ 60 ปี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานอนุญาตให้จัดสร้าง โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อมิถุนายน พ.ศ. 2552 เป็นอาคารปูน 3 ชั้น อยู่ริมสระน้ำ และสวนกิจกรรมลานธรรมะ สำหรับรองรับกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเรียนรู้ และเข้าใจธรรม โดยสามารถเข้าไปดูกิจกรรมต่างๆ ที่ www.bia.or.th
         8) ศูนย์การเรียนรู้และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางซื่อ ตั้งอยู่ในสวนวชิรเบญจทัศ อาคารมีม่านน้ำปลิวโปรยสวยงาม ลานรอบนอกเป็นพื้นที่สันทนาการ นั่งเล่น พักผ่อน หรือปั่นจักรยาน ครอบครัว และเด็กๆ  ได้เดินเล่น วิ่งเล่น สนุกสนาน และปลอดภัย พรรณไม้สวยงามประดับจับวางอย่างสวยงาม เป็นระบบ และมีประโยชน์ใช้สอย ลานโค้งด้านหน้าทอดขนานไปกับบึงน้ำคั่นกลางระหว่างพื้นที่ของอาคารกับสวนรถไฟ
         9) ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ “ความสุขปลูกได้”

10) ประติมากรรมในสวน

       ประติมากรรม “เฟรม” “Frame”  แนวความคิด การถ่ายภาพด้วยกล้องจะสามารถเก็บภาพที่จำกัด และการถ่ายภาพต่อเนื่องจะสามารถเก็บภาพที่แสดงถึงความเคลื่อนไหวได้เป็นอย่างดี Frame ที่วางซ้อนกันในแนวตั้งและหักเหในทิศทางที่ต่อเนื่องกันให้ความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหว
       ประติมากรรม “สังคมแห่งความงอกงามของคุณธรรม” “The social of growing of mural” แนวความคิด ขอให้มวลมนุษย์ปลูกพืชพันธุ์แห่งคุณธรรมให้เจริญงอกงามขึ้น โดยเริ่มจากตนเองแล้วแพร่ขยายให้กว้างขวางออกไป เป็นสิ่งแวดล้อมแห่งความดี และความงาม เพื่อความสะอาด ความสวย ความสว่าง และความพอเพียงของการดำรงชีวิตในสังคม
       ประติมากรรม “Working Space Pavilion” วัสดุและโจทย์การออกแบบ อิฐและเทคนิคการก่อสร้างแบบประยุกต์
       ประติมากรรม รูปปั้นเด็กในอริยบถต่างๆ เช่น เด็กปั่นจักรยาน  เด็กเล่นกีฬาชักเย่อ เด็กนั่งบนขอนไม้ เด็กปีนบันได เด็กต่อตัว เด็กเดินขาโถกเถก เด็กพักผ่อน

กิจกรรมในสวน

       1) ปั่นจักรยานระยะทาง 3.2 กิโลเมตร
       2) การเดิน - วิ่ง ระยะทาง 2.64 กิโลเมตร ของผู้บริการทั่วไป และกลุ่มอื่นๆที่ขอใช้สถานที่
       3) แอโรบิคช่วงเย็น
       4) ออกกำลังกายภายในศูนย์กีฬา - ศูนย์เยาวชน (ว่ายน้ำ โยคะ เทนนิส บาสเกตบอล ฟุตซอล วอลเลย์บอล ฟิตเนส ฯลฯ)
       5) กิจกรรมสันทนาการต่าง ๆ ของกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และผู้ใช้บริการอื่น ๆ
       6) ดูนก
       7) ธรรมะในสวน และกิจกรรมปฏิบัติธรรม หอจดหมายเหตุ
       8) ดนตรีในสวน
       9) ถ่ายภาพ ครอบครัว รับปริญญา เวดดิ้ง แฟชั่น ฯลฯ
      10) ถ่ายโฆษณา ถ่ายละคร ภาพยนตร์
      11) การศึกษาดูงาน เมืองจราจรจำลอง อุทยานผีเสื้อ ศูนย์การเรียนรู้และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางซื่อ และศูนย์เรียนรู้ความสุขปลูกได้
      12) กิจกรรมตามเทศกาลสำคัญต่าง ๆ
      13) กิจกรรมศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ (ศูนย์เรียนรู้ความสุขปลูกได้ พืชผักสวนครัว)


ที่มา สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร http://www.bangkok.go.th/chatuchakmetropark/index http://bangkok.go.th/publicpark Facebook; Bangkok Green City Facebook; สวนจตุจักร Facebook; อุทยานสวนจตุจักร Facebook; สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม Facebook; กรุงเทพฯเมืองสีเขียว Youtube; อุทยานสวนจตุจักร