ผู้ใช้:อะหังภันเต จรณจารี นามะ/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
                                                                           'ประวัติวัดธัญญาวาส
                                                                             จังหวัดมหาสารคาม

วัดธัญญาวาส เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง ในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม ซึ่งตั้งอยู่ด้านตะวันตกใกล้ชิดกับหลักเมือง ในสมัยร้อยกว่าปีผ่านมานั้น ประมาณ พ.ศ.๒๓๘๐ ปู่กวน รัตนแสง (ต้นตระกูลรัตนแสง) เดิมได้มีบรรดาศักดิ์เป็นตาแสง ได้อพยพจากทางเมืองสุวรรณภูมิมาด้วยกันหลายครอบครัว เดินทาง มาตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านสงเปลือย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลดอนหว่าน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม (ขณะนี้เป็นบ้านร้างอยู่ริมหนองหล่ม) ปู่กวนได้รับบรรดาศักดิ์เป็นตาแสง ยศตาแสงสมัยนั้น คือเป็นกำนันในสมัยนี้ ภายหลังเห็นว่า บ้านสงเปลือยห่างจากเหล่งน้ำ ทำเลทำมาหากินลำบากด้วยปูปลาอาหาร จึงได้อพยพ มาทำไร่ปลูกข้าวอยู่ใกล้ชิดกับดอนหลักเมืองมหาสารคาม ซึ่งห่างจากเมืองเพียง ๒ กิโลเมตร ปู่กวน ตาแสง รัตนแสง อาศัยดอนนี้ทำไร่ข้าว ภายหลังชาวบ้านเรียกดอนไร่ข้าวนี้ว่า บ้านข้าวห้าว มีญาติพี่น้องลูกหลานย้ายมาจากบ้านสงเปลือย ได้มาอยู่บ้านข้าวห้าวกันหมด ที่เหลืออยู่มีน้อยจึงทำให้บ้านสงเปลือยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาร้างโรยจนถึงทุกวันนี้ บ้านข้าวห้าวเป็นบ้านที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ ธัญญาหาร อยู่ใกล้ชิดกับห้วยคะคาง (คาคาง) นทิศตะวันตกและทิศเหนือ ๒ กิโลเมตร เป็นเพราะปลูกทำไร่ข้าวได้ดี รวงข้าวเม็ดใหญ่เป็นพิเศษ เหตุนั้นจึงให้ชื่อบ้านตั้งใหม่นี้ว่า บ้านข้าวฮ้าว ชาวบ้านทั่วไปได้เรียกบ้านข้าวห้าวถึงปัจจุบันนี้ติดเป็นแนวเดียวกันกับตัวเมือง เพราะใกล้ชิดหลักเมอง ชาวเมืองจึงเปลี่ยนจากบ้านข้าวฮ้าวมาเป็นคุ้มข้าวฮ้าว ที่เรียกว่าคุ้มเพราะเป็นกลุ่มหมู่บ้านเรือนเอกเทศเฉพาะ แต่อยู่ในแนวระดับติดกันไป เหตุนั้นนิยมเรียกว่าคุ้ม ภายหลังเมื่อปู่กวน ตาแสง รัตนแสง ได้รับความอุดมสมบูรณ์หลักฐานมั่นคงดี ชาวบ้านอื่นๆ ก็ได้อพยพมาอยู่ด้วยเพิ่มหลายหลังคาเรือนขึ้น จึงได้พร้อมกันสร้างวัด ปู่กวน ตาแสง ได้อุทิศไร่ข้าวของตนเองให้เป็นที่ตั้งวัด และก็มีชาวบ้านยินดีบริจาคที่ดินตามกำลังศรัทธา ซึ่งสมันนั้นบ้านข้าวฮ้าวอยู่ห่างวัด ๑ กิโลเมตร หมู่บ้านอยู่ทิศตะวันตกวัดอยู่ตะวันออก และให้ชื่อวัดที่ตั้งขึ้นนี้ว่า วัดดอนเมือง เพราะอยู่ชิดติดกับหลักเมืองมหาสารคาม ซึ่งปัจจุบันติดกับศาลเจ้าพ่อหลักมืองมหาสารคาม ผู้ที่จะไปอำเภอโกสุมพิสัย อำเภอกันทรวิชัย ไปยังจังหวัดกาฬสินธุ์ จะเห็นวัดธัญญาวาสนี้อยู่ด้านขาวมือ เมื่อตั้งวัดดอนเมืองแล้ว ปู่กวน ตาแสง รัตนแสง พร้อมด้วยชาวบ้านไปนิมนต์เอาพระชื่อพระอุปัชฌาย์ ซึ่งเป็นลูกชายคนโตของปู่กวน ตาแสง ได้บวชอยู่บ้านสงเปลือยซึ่งเป็นบ้านเกิดนั้น ให้มาเป็นสมภารเจ้าอาวาสวัดดอนเมือง พระลูกชายได้มาตามนิมนต์ พร้อมกันนั้นเมื่อมาอยู่เป็นสมภารเจ้าอาวาสแล้ว จัดตั้งสอนมูลกัจจายน์ ทำการการสอนปริยัติธรรม ได้มีพระภิกษุสามเณรมาเรียนกันตามสมควร พากันนิยมบวชเรียนกันเป็นอันมาก จึงเป็นเหตุให้สำนักสงฆ์วัดดอนเมืองมีชื่อเสียง

ย้ายวัดดอนเมือง เมือ พ.ศ. ๒๓๘๕ ชาวบ้านเห็นว่า วัดดอนเมืองอยู่ห่างจากบ้านข้าวฮ้าว ๑ กิโลเมตร ลำบากการไปวัด ทั้งพระสงฆ์ไปบิณฑบาตก็ลำบาก ซึ่งสมัยนั้นเป็นช้าดงเสือ สัตว์ร้ายมีมาก คือเป็นป่าทึบต้นไม้ใหญ่ๆทั้งนั้น ทางคมนาคมก็ไม่มีไม่สะดวกโดยประการทั้งปวง เมือมีงานเจริญพระพุทธมนต์ในบ้านจะกิจนิมนต์กลางคืนลำบากทั้งนั้น ปู่กวน ตาแสง รัตรแสง พร้อมด้วยชาวบ้านประชุมกันเห็นสมควรให้ย้ายวัดให้ไกล้กับบ้าน คือที่ตั้งวัดปัจจุบันทุกวันนี้ ติดกับเรือน ปู่กวน ตาแสง พอดี ต่างพากันเห็นชอบหมดทุกคน จึงให้ชื่อวัดที่ย้ายใหม่นี้เรียกว่า วัดข้าวฮ้าว โดยเอาชื่อบ้านเป็นชื่อวัด เป็นมงคลแก่บ้านและวัดเป็นอย่างยิ่ง วัดข้าวฮ้าวมีเนื้อที่ขณะย้ายวัดตอนแรกนั้น ดังนี้ ทิศเหนือกว้าง ๓ เส้น ๑๕ วา ทิศตะวันออกยาว ๓ เส้น ๑๕ วา ทิศตะวันตกยาว ๓ เส้น ๑๕ วา ทิศใต้กว้าง ๓ เส้น ๑๕ วา วัดบ้านข้าวฮ้าวในสมัยนั้น พื้นที่ตั้งวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูกว้าง ยาวพอสมควร ครั้นนานปีมาปู่กวน ตาแสง รัตนแสง ก็ได้สิ้นบุญกรรมไป บรรดาลูกหลานก็รักษาวัดมาโดยลำดับ พระอุปัชฌาย์ผู้ลูกก็ได้มรณภาพไปตามกัน จึงป็นเหตุจะหาพระที่จะเป็นสมภารได้ยากเป็นองค์ละ ๒-๓ ปีก็ลาสึกกันไป ผู้คนอพยพมาทำมาหากินก็มากขึ้นโดยลำดับได้ขออาศัยปลูกบ้านเรือนในที่ของวัดทั้ง ๔ ด้าน ภายหลังก็ยืดเอาเป็นบ้านสมบัติของตน จึงทำให้บริเวณของวัดปัจจุบันนี้มีเนื้อที่แคบ เมือ พ.ศ. ๒๓๗๒ พระสมุห์สีลา สังฆพัฒน์ ซึ่งป็นเจ้าอาวาส รูปที่ ๑๗ เห็นว่าวัดนี้มีเนื้อที่คับแคบมาก จึงประชุมชาวบ้านขอร้องให้พวกที่อาศัยปลูกบ้านเรือนอยู่ในบริเวณของวัดนั้น โดยให้ย้ายหนีไปปลูกที่อื่น ก็ได้รับความเห็นใจในการขอร้องของสมภารวัดอยู่มากพร้อมกับญาติโยมได้สระที่ดินบริจาคให้แก่วัดอีกเพิ่มเติม ก็มีพ่อใหญ่ทอง ทีจันทร์มาก พร้อมด้วยบุตรภรรยาและญาติพี่น้องบริจาคเงิน ๕๐๐ บาท ซื้อที่ดินบางส่วนติดกับวัดให้เป็นศาสนสมบัติของวัด จึงรวมเนื้อที่ทั้งหมด ๘ ใร่-งาน ๓๒ วา จนตราบเท่าทุกวันนี้ ครั้นต่อมาวัดข้าวฮ้าว ทางคณะสงฆ์ได้จัดตั้งให้เป็นสำนักศาสนศึกษา จึงได้มีการเรียนทางคดีโลกและคดีธรรม มีโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนปริยัติธรรมวบคู่กัน จึงเป็นเหตุเจริญขึ้นมาโดยลำดับ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ ทางคณะสงฆ์และรัฐบาลมีนบายเปลี่ยนชื่อวัดให้เหมาะสมแก่กาละสมัย และให้ถูกต้องตามหลักภูมิศาสตร์ของสถานที่นั้นๆจึงเห็นว่าวัดบ้านข้าวฮ้าว ควรได้รับพิจารณาเปลี่ยนชื่อวัด เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจถูกต้องดี เพราะข้าวฮ้าวบางคนได้ยินเป็นเหตุสงสัยก็ได้ เป็นศัพท์เก่าแก่ของบรรพบุรุษ ทางคณะสงฆ์ซึ่งพระสมุห์สีลา สังฆพัฒน์ เป็นเจ้าอวาสในสมัยนั้น จึงขอเปลี่ยนเป็นวัด ธัญญา ศัพท์ว่า ข้าวฮ้าว เป็นศัพท์ไทยโบราณ จึงเลี่ยงมาให้ชื่อว่า ธัญญา เป็นศัพท์บาลี มคข แปลครบแล้ว ธัญญาก็คือข้าวฮ้าว ข้าวฮ้าวก็คือธัญญา นั้นเอง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ พระครูวรญาณประยุต (บุญมา น.ธ. เอก) เจ้าอาวาสรูปที่ ๒๒ เห็นว่าวัดธัญญาเป็นชื่อห้วนๆ ควรจะได้เติม วาส ต่อท้ายศัพท์ว่า วัดธัญญา เป็น วัดธัญญาวาส ซึ่งก็ไม่ห้วนและเด่นขึ้นอีกทั้งเป็นสิริมงคลแก่วัดและหมู่บ้านชาวคุ้มเป็นอย่างดี จึงได้ประชุมญาติโยมทายกทายิกาเห็นว่าควรเพิ่มคำว่า วาส ต่อท้าย ธัญญา ให้เป็นวัดธัญญาวาส ต่างพากันเห็นดีเห็นชอบทั้งทางวัดและทางบ้าน เห็นเป็นชื่อ สวัสดิมงคล ซึ่งกำลังสร้างอุโบสถพัทธสีมากันโดยเข้มแข็ง จึงได้ร้องเรียนเจ้าคณะจังหวัดเสนอไปยังคณะสังฆมนตรี กรมการศาสนา ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สนองงานคณะสงฆ์ ได้แจ้งอนุมัติมติของคณะสังฆมนตรีสมัยนั้น โดยอนุมัติเปลี่ยนชื่อ วัดธัญญา ให้เป็นวัดธัญญาวาส ได้ตามประสงค์ดังนี้ เมื่อท่านผ่านไปจะได้มองเห็นป้ายวัดธัญญาวาสอยู่หน้าวัดที่เดียวจึงเป็นที่จำได้ว่า วัดธัญญาวาส มีประวัติเป็นมาดังที่ได้ชี้แจงให้ทราบนั้นพอสมควร