ผู้ใช้:อรรรณนพ/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 13
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
พลโท ภาษิต ประภาพักตร์

ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ไทย
ผู้ประเดิมตำแหน่งร.ท. ขุนศึกพินาศ ( พ.ศ.๒๔๓๖ – ๒๔๔๑ )
สถาปนาพ.ศ. 2436
                                                                กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑๓ กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๓
                                               ที่ตั้งหน่วยปัจจุบัน ค่ายยุทธศิลป์ประสิทธิ์   ตำบลโนนสูง  อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

ประวัติความเป็นมาของหน่วย พ.ศ. ๒๔๓๖ ( ร.ศ. ๑๑๒) ประเทศไทยได้เผชิญกับวิกฤตการณ์การรุกรานจากฝรั่งเศส และได้จัดตั้งกองทหารขึ้นที่มณฑลนครราชสีมาเป็นครั้งแรกเรียกว่า กองทหารรักษามณฑลนครราชสีมา ประกอบด้วยทหาร รวม ๔ กองร้อยและ ทหารปืนใหญ่อีก ๑ กองร้อย ซึ่งต่อมาเรียกว่า กองพันทหารปืนใหญ่เมืองนครราชสีมา

  1. พ.ศ. ๒๔๔๕ กองพันทหารปืนใหญ่เมืองนครราชสีมา ได้จัดเป็นกรมทหารปืนใหญ่ เรียก กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๓
  2. พ.ศ. ๒๔๕๐ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๓ เปลี่ยนชื่อเป็นกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๕ ในปีนี้กองกำลังทหาร ในมณฑลนครราชสีมาได้ขยายเป็น กองพลน้อยผสม เรียกว่ากองพลที่ ๕ ดังนั้น กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๕ จึงขึ้นตรงต่อ กองพลที่ ๕ และปีนี้ได้แยก ๑ กองร้อยปืนใหญ่จากนครราชสีมาไปสมทบกับทหารประจำถิ่นเมืองอุดรธานี (กรมทหารราบที่ ๗) ส่วนกองร้อยที่เหลือตั้งอยู่ที่บริเวณข้างหนองบัว (ค่ายสุรนารีปัจจุบัน)
  3. พ.ศ. ๒๔๕๑ กองร้อยทหารปืนใหญ่ที่ไปสมทบกับกรมทหารราบที่ ๗ เปลี่ยนชื่อเป็นกองทหารปืนใหญ่ที่ ๑๐ ขึ้นอยู่กับกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๕
  4. พ.ศ. ๒๔๕๔ กองทหารปืนใหญ่ที่ ๑๐ ย้ายไปอยู่จังหวัดอุบลราชธานี
  5. พ.ศ. ๒๔๗๐ กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๕ จัดกำลังเป็น ๒ กองพันโดยให้กองร้อยที่อยู่เมืองนครราชสีมาแปรสภาพเป็นกองพัน เรียกว่า กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๕ และกองทหารปืนใหญ่ที่ ๑๐ ที่ประจำอยู่อุบลราชธานีแปรสภาพเป็นกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๖
  6. พ.ศ. ๒๔๗๑ กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๕ เปลี่ยนชื่อเป็นกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๓ เนื่องจากคนที่ ๕ เปลี่ยนชื่อเป็นกองพลที่ ๓ ขึ้นตรงต่อกองทัพที่ ๒ และ ได้ย้ายกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๖ จากอุบลราชธานีกลับมาที่ครราชสีมา
  7. พ.ศ. ๒๔๗๒ เปลี่ยนชื่อกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๕ เป็นกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๓ กองพัน ๑ และเปลี่ยนชื่อกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๖ เป็น กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๓ กองพันที่ ๒
  8. พ.ศ. ๒๔๗๔ กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๓ ถูกยุบไปส่วนกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๓ กองพันที่ ๑ ได้แปรสภาพเป็นกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๕ และ กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๓ กองพันที่ ๒ แปรสภาพเป็นกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๖แยกการบัญชาการจากกันโดยสิ้นเชิง
  9. พ.ศ. ๒๔๗๗ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๕ ได้เปลี่ยนนามหน่วยเป็นกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๗ เดือนกันยายน ๒๔๘๖ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๗ ซึ่งมีที่ตั้งถาวรอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมาได้เคลื่อนย้ายไปที่ตั้ง ที่จังหวังอุดรธานี โดยสร้างเป็นโรงทหารชั่วคราวที่อยู่บริเวณข้างวัดโยธานิมิตและฝากการบังคับบัญชาไว้กับจังหวัดทหารบกอุดร
  10. พ.ศ. ๒๔๘๘ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๗ แปรสภาพเป็นกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๒๗ ขึ้นตรงกับกรมทหารราบที่ ๑๐๘กองพลทหารราบที่ ๓๗
  11. พ.ศ. ๒๔๘๙ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๒๗ แปรสภาพเป็นกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๗ ตามเดิมต่อมาวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๔๘๙ ได้แปรสภาพ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๗ เป็นกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๓ กองพันที่ ๒ ขึ้นตรงต่อกองพลที่ ๓ ตามเดิมและย้ายที่ตั้งไปอยู่อาคารถาวร (อาคารเดิมของกองพัน ทหารราบที่ ๒๒) ซึ่งเป็นที่ตั้งปัจจุบัน
  12. พ.ศ. ๒๔๙๕ กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๓ กองพันที่ ๒ แปรสภาพเป็นกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑๓
  13. พ.ศ. ๒๔๙๗ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑๓ ได้แปรสภาพเป็นกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๓ กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๒ ฝากการบังคับบัญชาไว้กับกรมผสมที่ ๑๓ อุดรธานี
  14. พ.ศ. ๒๔๙๘ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑๓ กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๒ ได้แปรสภาพเป็นกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑๓ ขึ้นตรงต่อกรมผสมที่ ๑๓
  15. พ.ศ. ๒๕๒๒ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑๓ ได้โอนการบังคับบัญชาจากกรมผสมที่ ๑๓ ไปขึ้นตรงต่อทหารปืนใหญ่กองพลที่ ๓ จังหวัดนครราชสีมา และต่อมาได้จัดโอนไปขึ้นอยู่ในอัตราของกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๓
  16. พ.ศ. ๒๕๔๐ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑๓ ได้ย้ายที่ตั้งจากเดิมจากค่ายประจักษ์ศิลปาคม อำเภอเมือง จังหวัด อุดรธานี ไปอยู่ ณ ค่ายยุทธศิลป์ประสิทธิ์ ซึ่งเดิมใช้ชื่อค่ายเปปเปอร์ไกรเดอร์ เป็นที่ตั้งของส่วนแยก ๒๐๒ กองบัญชาการ ช่วยรบที่ ๒ ต่อมามีคำสั่งกองทัพบก (เฉพาะ) ที่ ๑๔๘๗/๓๔ ลง ๒๐ส.ค.๓๔ ให้ย้ายที่ตั้งส่วนแยกที่ ๒๐๒ กองบัญชาการช่วยรบที่ ๒ จากค่าย เปปเปอร์ไกรเดอร์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ไปอยู่ ณ ที่ตั้งปกติ ถาวร ของกองบัญชาการช่วยรบที่ ๒ค่ายสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และให้ย้ายกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑๓ ซึ่งเดิมจากค่ายประจักษ์ศิลปาคม อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี มาอยู่แทนกองบังคับการส่วนแยก กองบัญชาการช่วยรบที่ ๒ (สย.๒๐๒) ในค่ายเปปเปอร์ไกรเดอร์ เพื่อให้ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดความแออัดภายในค่ายประจักษ์ศิลปาคม

ค่ายยุทธศิลป์ประสิทธิ์ซึ่งเปลี่ยนจากชื่อเดิมค่ายเปเปอร์ไกรเดอร์เป็น ค่ายยุทธศิลป์ประสิทธิ์ตามประกาศ สำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องพระราชทานชื่อค่าย ประกาศ ณ วันที่ ๒๒สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อค่ายกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑๓ ซึ่งมีที่ตั้งปกติถาวรอยู่ที่บ้านโนนสูง ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ว่า “ค่ายยุทธศิลป์ประสิทธิ์”ตามนามของ พ.อ.ยุทธศิลป์ ประสิทธิ์ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการกองพลอุดร ในศึกสงครามกรณีพิพาทอินโดจีนเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๓ ซึ่งอยู่ในสังกัดของกองทัพอีสานซึ่งต่อมากองทัพอีสานได้แปรสภาพเป็นกองพลที่ ๓ และได้รวบรบกับกองทัพพายัพในสงคราม มหาเอเชียบูรพาอย่างกล้าหาญ จนหน่วยทหารจากกองทัพอีสานกองพันทหารราบที่ ๒๑ (ปัจจุบันคือ ร.๑๓ พัน.๒) ได้พระราชทานเหรียญกล้าหาญไว้บนธงชัยเฉลิมพลของหน่วยจนถึงปัจจุบัน ประวัติการรบของกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑๓ นับตั้งแต่หน่วยทหารปืนใหญ่ได้ก่อตั้งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในนาม “กองพันทหารปืนใหญ่นครราชสีมา”เปลี่ยนแปลงมาตามลำดับจนแปรสภาพเป็น “กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑๓” การยุทธที่หน่วยได้เข้าไปดำเนินการทั้งจัดกำลัง เข้าร่วมรบและได้รับมอบให้ปฏิบัติโดยตรงมีรายละเอียดดังนี้

  1. ครั้งที่ ๑ เข้าทำการปราบปรามกบฏผีบุญ (พ.ศ. ๒๔๔๕) จัดกำลังพลนายสิบ ๑๑ นายและ ปืนใหญ่สนาม ฮูเกเชียด ไปร่วมกับกรมทหารราบที่ ๕ จังหวัดอุบลราชธานี
  2. ครั้งที่ ๒ เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ( พ.ศ. ๒๔๖๐) จัดกำลังพลเข้าร่วม ๑๒ นาย
  3. ครั้งที่ ๓ เข้าร่วมปฏิบัติการกรณีพิพาทระหว่างไทยฝรั่งเศส (พ.ศ.๒๔๘๒ - ๒๔๘๔) จัดรอแยกปฏิบัติการ ๓ กองร้อย ป.เข้าปฏิบัติการรบที่ จังหวัดหนองคาย ,สุรินทร์ และนครพนม
  4. ครั้งที่ ๔ ไปราชการในสงครามมหาเอเชียบูรพา (พ.ศ.๒๔๘๕ - ๒๔๘๖) ป.พัน.๗ ในขณะนั้นหน่วยได้จัดนายทหาร ๑๒ นาย นายสิบ ๓๕ นายพลทหาร ๒๘๐ นาย ปืนใหญ่ภูเขาแบบ ๖๓ ขนาด ๗๕ มม. จำนวน ๘ กระบอก อาวุธยุทธศาสตร์อื่นๆ อีกจำนวนมากและได้จัดอีก ๑ กองร้อยไปสมทบกับอีก ๑ กองร้อยของ ป.พัน.๙ ที่บ้านทุ่งเมืองเชียงตุง
  5. ครั้งที่ ๕ เข้าร่วมรบในราชอาณาจักรลาวรุ่นที่ ๑ เอส.อาร์. ๕ (พ.ศ. ๒๕๐๙) ประกอบด้วยนายสิบ ๑๕ นาย พลทหาร ๘ นายและ ปบค.๙๕ ขนาด ๑๐๕ มม. ๑ กระบอก เข้าร่วมสนธิกำลังกับกองพันทหารปืนใหญ่สนามทั่วประเทศ
  6. ครั้งที่ ๖ เข้าร่วมรบในราชอาณาจักรลาวรุ่นที่ ๒ เอส.อาร์. ๖ (พ.ศ. ๒๕๑๐ -๒๕๑๑) จัดกำลังเช่นเดียวกับครั้งที่ ๕แต่เพิ่มนายทหาร ๑ นาย
  7. ครั้งที่ ๗ เข้าร่วมรบในราชอาณาจักรลาวรุ่นที่ ๓ เอส.อาร์. ๗ (พ.ศ. ๒๕๑๑ -๒๕๑๒) จัดกำลังเช่นเดียวกับครั้งที่ ๖
  8. ครั้งที่ ๘ เข้าร่วมรบในราชอาณาจักรลาวรุ่นที่ ๔ เอส.อาร์. ๘ (พ.ศ. ๒๕๑๒) จัดกำลังเช่นเดียวกับครั้งที่ ๕ แต่เพิ่ม พลทหารเพียง ๖ นาย
  9. ครั้งที่ ๙ ได้ปฏิบัติการลบในราชอาณาจักรลาว (พ.ศ. ๒๕๑๓- ๒๕๑๔) หน่วยได้จัดกำลัง ๑ กองร้อยมีกำลังพล, อาวุธยุทโธปกรณ์ตามอัตราการจัด (สหรัฐอเมริกาจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ทั้งหมด)
  10. ครั้งที่ ๑๐ - ๑๙ ปฏิบัติการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (พ.ศ. ๒๕๑๖ - ๒๕๒๕) จัดกำลังเข้าร่วมใน การปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในจังหวัดเลย,หนองคาย,นครพนม,มุกดาหาร,กาฬสินธุ์และอุดรธานี รวม ๑๐ ครั้ง โดยจัดกำลัง ๑ กองพัน ( ๔ ฐานยิง ) ๑ ครั้งจัดกำลัง ๒ กองร้อย ( ๒ ฐานยิง) ๘ ครั้ง และ จัด ๑หมวดปืน ( ๑ ฐานยิง) ๑ ครั้ง
  11. ครั้งที่ ๒๐ ปฏิบัติการป้องกันประเทศตามแนวชายแดนอีสานใต้ (พ.ศ ๒๕๒๙) จัดกำลังพล ๑ ชุดควบคุมและ ๑ กองร้อยทหารปืนใหญ่ (แบ่งเป็น ๒ ฐานยิง) ปฏิบัติการในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์จนจบภารกิจเมื่อตุลาคม ๒๕๓๐

รายนามผู้บังคับบัญชาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

  1. ๑. ร.ท. ขุนศึกพินาศ ( พ.ศ.๒๔๓๖ – ๒๔๔๑ )
  2. ๒. ร.ท. แขก ศิลากร ( พ.ศ.๒๔๔๑ – ๒๔๔๓ )
  3. ๓. ร.อ.ขุนปราบริปูเปลื้อง ( พ.ศ.๒๔๔๓ – ๒๔๔๔ )
  4. ๔. ร.อ.ขุนบันเทิงยุทธการ ( พ.ศ.๒๔๔๔ – ๒๔๔๕ )
  5. ๕. พ.ต. หลวงสรวิชิตเศษเดชาวุธ (ม.ร.ว.วิง ฉัตรกุล ณ อยุธยา) ( พ.ศ.๒๔๔๕ – ๒๔๔๖ )
  6. ๖. พ.ต. หลวงสุรินทร์เดชะ ( พ.ศ.๒๔๔๖ – ๒๔๔๗ )
  7. ๗. ร.อ. ผัน ชัยปาล (ต่อมาเป็นพ.ท.พระภูวนารถนฤบาล) ( พ.ศ.๒๔๔๗ – ๒๔๕๖ )
  8. ๘. ร.อ.เทพ จารุจินดา (ต่อมาเป็นพ.ท.พระตะบะฤทธิรงค์) ( พ.ศ.๒๔๕๖ – ๒๔๖๒ )
  9. ๙. ร.อ. หลวงฤทธิอาคเนย์ (สละ เอมะสิริ) ( พ.ศ.๒๔๖๒ – ๒๔๖๔ )
  10. ๑๐. พ.ต.หลวงสลายศัตรูสูญ ( พ.ศ.๒๔๖๔–๒๔๖๙ )
  11. ๑๑. พ.ต. พระสรวิเศษเดชาวุธ (เด็น วงศ์ไทย) ( พ.ศ.๒๔๖๙–๒๔๗๐ )
  12. ๑๒. พ.ท.พระยาฤทธิ์อาคเนย์ ( พ.ศ.๒๔๗๐–๒๔๗๒ )
  13. ๑๓. พ.ต.หลวงรอนอริพินาศ (กุหลาบ นิสะนิยม) ( พ.ศ.๒๔๗๒–๒๔๗๓ )
  14. ๑๔. พ.อ. หลวงพยาศรีสรสศักดิ์ (ทองอยู่ ตุลานนท์) ( พ.ศ.๒๔๗๓–๒๔๗๔ )
  15. ๑๕. พ.ต.หลวงฤทธีรณยุทธ (ตูบ ฤทธิมาน) ( พ.ศ.๒๔๗๔–๒๔๗๕ )
  16. ๑๖. พ.ต.หลวงสราวุธวิชัย (ปุ้ย เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา) ( พ.ศ.๒๔๗๕–๒๔๗๖ )
  17. ๑๗. พ.ต.หลวงรบอริสยอน (พุฒ วัฒนารมย์) ( พ.ศ.๒๔๗๖–๒๔๗๙ )
  18. ๑๘. พ.ท.หลวงถวนพิธีรบ (ผวน บุปผาเวส) ( พ.ศ.๒๔๗๙–๒๔๘๑ )
  19. ๑๙. พ.ท.หลวงถสรนิติพิเชษฐ์ (ชลอ มิลินทรางกูร) ( พ.ศ.๒๔๘๑–๒๔๘๖ )
  20. ๒๐. พ.ท.ถนอม ผ่องโอสถ ( พ.ศ.๒๔๘๖–๒๔๘๗ )
  21. ๒๑. พ.ต.ประเสริฐ วิเศษกุล ( พ.ศ.๒๔๘๘–๒๔๘๙ )
  22. ๒๒. พ.ท.พิเศษ เสาวนะ ( พ.ศ.๒๔๙๐–๒๔๙๓ )
  23. ๒๓. พ.ท.เติม เปล่งวิทยา ( พ.ศ.๒๔๙๓–๒๔๙๘ )
  24. ๒๔. พ.ท.สุรพล กลิ่นพะยอม ( พ.ศ.๒๔๙๘–๒๕๐๐ )
  25. ๒๕. ร.อ.มานะ รัตนโกเศศ ( พ.ศ.๒๕๐๐–๒๕๐๐ )
  26. ๒๖. ร.อ.อุทัย โกกิลานนท์ ( พ.ศ.๒๕๐๐–๒๕๐๑ )
  27. ๒๗. พ.ท.บุญนาค ทองเนียม ( พ.ศ.๒๕๐๑–๒๕๑๒ )
  28. ๒๘. พ.ท.อำพล บุตรเมฆ ( พ.ศ.๒๕๑๒–๒๕๑๓ )
  29. ๒๙. พ.ต.ธีระ เล็กวิเชียร ( พ.ศ.๒๕๑๓–๒๕๑๔ )
  30. ๓๐. พ.ท.อำพล บุตรเมฆ ( พ.ศ.๒๕๑๔–๒๕๑๙ )
  31. ๓๑. พ.ท.สกล พิธรัตน์ ( พ.ศ.๒๕๑๙-๒๕๒๐ )
  32. ๓๒. พ.ท.สมชาติ นุกูลกิจ ( พ.ศ.๒๕๒๐–๒๕๒๕ )
  33. ๓๓. พ.ท.ชัยศึก เกตุทัต ( พ.ศ.๒๕๒๕–๒๕๒๖ )
  34. ๓๔. พ.ท.วิรัช หาญผจญศึก ( พ.ศ.๒๕๒๖–๒๕๓๒ )
  35. ๓๕. พ.ท.สมชาย อัครวณิชชา ( พ.ศ.๒๕๓๒–๒๕๓๓ )
  36. ๓๖. พ.ท.อังคฤทธิ ราชณรงค์ ( พ.ศ.๒๕๓๓–๒๕๓๗ )
  37. ๓๗. พ.ท.นครา สุขประเสริฐ ( พ.ศ.๒๕๓๗–๒๕๔๑ )
  38. ๓๘. พ.ท.ปรีดา บุตรราช ( พ.ศ.๒๕๔๑–๒๕๔๖ )
  39. ๓๙. พ.ท.นันทพล เชื้อหน่าย ( พ.ศ.๒๕๔๖–๒๕๔๗ )
  40. ๔๐. พ.ท.วีระพงษ์ คำสิทธิ์ ( พ.ศ.๒๕๔๗–๒๕๕๒ )
  41. ๔๑. พ.ท.ฉัฐชัย มีชั้นช่วง ( พ.ศ.๒๕๕๒–๒๕๕๖ )
  42. ๔๒. พ.ท.รัฐวุฒิ กระบวนรัตน์ ( พ.ศ.๒๕๕๖–๒๕๖๐ )
  43. ๔๓. พ.ท.ภาษิต ประภาพักตร์ ( พ.ศ.๒๕๖๐ – ปัจจุบัน )