ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:หมอแต้ ท่าช้าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

     วัดขุนโลก ในอดีต หรือวัดประดับ  ในปัจจุบัน

วัดประดับ ตั้งอยู่เลขที่ ๗๐ บ้านประดับ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลบางระจัน อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่วัด มีเนื้อที่ ๓๕ ไร่ ๑ งาน ๙๓ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๖๓๒๑   

      วัดประดับ ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘ เดิมเรียกว่า “วัดขุนโลก” ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นวัดประดับ ความหมายวัด คงหมายถึงการนำถ้วยชามสังคโลกมาประดับตกแต่งโบสถ์ให้สวยงาม ได้รับพระราชทานวิสุคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๓

   วัดขุนโลก ในอดีตหรือวัดประดับในปัจจุบัน น่าจะเป็นวัดที่มี ประวัติอยู่ในยุคสมัย ของการสู้รบชาวบ้านบางระจันกับพม่า กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  โดยศึกษาจากร่องรอยของพระอุโบสถ ที่วัดประดับ(วัดขุนโลก) ซึ่งถูกทำลาย เหลือเพียงโครงสร้างเพียงครึ่งองค์โบสถ์ ที่เหลืออยู่โดยไม่มีหลังคาช่อฟ้า  มีเพียงเพิงไม้สังกะสี คลุมตัวโบสถ์ เอาไว้ ต่อมาในปี 2515 ชาวบ้านและพระที่มาจำพรรษา ได้ช่วยกันต่อเติมโบสถ์ จากฝาผนังเก่า เสาโบสถ์เก่า ที่ชำรุด โดยก่ออิฐถือปูน ต่อจากโครงสร้างเดิมที่ชำรุด และสร้างหลังคา ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ขึ้นมาใหม่ จนเป็นพระอุโบสถ ที่สามารถใช้ทำสังฆกรรมได้ โดยคงรูปแบบคล้ายของเดิม  รากฐานของโบสถ์ ยังคงสภาพเดิม ที่สำคัญ เป็นโบสถ์ขนาดเล็กมาก กว้างเพียง 6 เมตรเศษ ยาว 14 เมตรเศษ (ลักษณะพระอุโบสถขนาดเล็กมาก ซึ่งเหมาะกับชุมชนในอดีต)  หากมานั่งภายในตัวพระอุโบสถ จะเห็นฝาผนังโบสถ์ เก่าและใหม่ เป็นรอยต่อเหลื่อมกัน อย่างชัดเจน รอบพระอุโบสถ มีเจดีย์ราย อยู่ 4 ทิศ ลักษณะการสร้างแบบย่อไม้มุมสิบสอง  คล้ายเจดีย์ที่วัดโพธิ์เก้าต้น หรือวัด ไม้แดงซึ่งอาจจะสร้างทันในยุคเดียวกัน หรือหลังจากค่ายบางระจันแตกแล้ว

        อีกสิ่งหนึ่งที่น่าจะเป็นหลักฐานถึงความเก่าแก่ของพระอุโบสถ ของวัดขุนโลก หรือวัดประดับ คือใบเสมาที่อยู่รอบ รอบพระอุโบสถ จะมีใบเสมา (ในสมัยอยุธยาตอนต้นและกลาง ยังคงสืบเนื่องจากสมัยสุโขทัย ใบเสมายังคงทำจากหินที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เช่น วัดมหาธาตุ และวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สมัยอยุธยาตอนปลาย ใบเสมามีขนาดเล็กกว่าเดิมและมีความหนาไม่มากนัก มีการทำฐานหรือแท่นสูงเพื่อรองรับใบเสมา เรียกว่า เสมานั่งแท่น )[1] เป็นลักษณะ ใบเสมานั่งแท่น และเป็นใบเสมาคู่ ซึ่งไม่ค่อยพบเห็นมากนัก ซึ่งจากข้อมูลวิกิพีเดีย น่าจะเป็นใบเสมาในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งเข้ากับลักษณะของการสร้างเจดีย์รายย่อไม้มุมสิบสอง ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกัน รอบพระอุโบสถ  ซึ่งยังคงหลงเหลือร่องรอยให้ได้ศึกษากัน ในทางประวัติศาสตร์

  1. "ใบเสมา", วิกิพีเดีย, 2023-12-12, สืบค้นเมื่อ 2024-07-20