ผู้ใช้:สามเณรศกณตภรต เจริญมิตร/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดวิเศษการ[แก้]

วัดวิเศษการ สร้างประมาณ พ.ศ.2393 มีชื่อเดิมว่า "วัดวิเศษอาวาส" โดยข้าราชการในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งมีนามเดิมว่า "รักษ์" ได้รับพระราชทานเป็น "หมื่นวิเศษ" ตำแหน่งผู้จัดแจงพระที่เสวย ประชาชนนิยมเรียกท่านว่า "หมื่นรักษ์" จึงได้เรียกขนานนามวัดนี้ว่า "วัดหมื่นรักษ์" ตามชื่อผู้สร้าง แต่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงแปลงวัดใหม่เป็น "วัดวิเศษการ"

อาคารเสนาสนะภายในวัด[แก้]

อุโบสถ สร้างราวปลายรัชกาลที่ 3 ลักษณะแบบศิลปะจีน ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันประดับชามสังคโลก ผนังใช้อิฐหนา ประตูหน้าต่างใช้ไม้แผ่นใหญ่หนา เปิดปิดด้วยลูกตาล พระประธานในอุโบสถ หน้าตักกว้าง 3 ศอก ปางมารวิชัยแบบเชียงแสน อัญเชิญมาจากวัดพระเชตุพนฯ พระพุทธรูปแบบสุโขทัยลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง 2 ศอก 2 องค์ นอกจากนั้นยังมีพระพุทธรูปปางเสด็จจากดาวดึงส์ปางประทานพร ปางสมาธิ และปางทุกรกิริยา ศาลาการเปรียญทรงปั้นหยา สร้างด้วยไม้ พ.ศ.2470 วัดวิเศษมีปูชนียวัตถุมากมาย บริเวณโดยรอบวัดเป็นชุมชนที่มีชาวบ้านอาศัยอยู่หลายพันคาเรือน บรรยากาศจึงมีความคึกคักจอแจ อย่างไรก็ดีข้อมูลของ วัดฉิมทายกาวาส ที่ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 268 แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ สร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ปรากฏตามหนังสือจารึกที่ฐานพระประธานในอุโบสถว่า"สร้างปี พ.ศ.2340" รูปทรงอุโบสถก็เป็นศิลปะในสมัยนั้น วัดฉิมทายกาวาส เป็นวัดที่สร้างคู่กันกับวัดวิเศษการ โดยคนที่สร้างวัดทั้ง 2 แห่ง มีศักดิ์เป็นเขยพี่-เขยน้อง เขยผู้พี่ชื่อ หมื่นรักษ์ สันนิเวศน์(พิมพ์) สร้างวัดวิเศษการ เขยผู้น้อง เจ้าสัวฉิม สร้างวัดอีกวัดหนึ่งในบริเวณใกล้เคียงกันแล้วตั้งชื่อตามนามของตนว่า วัดสัวฉิม ซึ่งเป็นที่นิยมของคนสมัยนั้น

จากหนังสือ ประวัติวัดวิเศษการ หนังสือ พระศรีวิสุทธิดิลก อนุสรณ์.[แก้]

ข้อสังเกต กล่าวถึงการสร้างวัดก่อนปี พ.ศ.2380 และเมื่อดูในเล่มก็จะไม่พบเอกสารอ้างอิงในการให้ข้อมูลวัด อย่างไรก็ดีในหนังสือเนื้อหาดังกล่าวได้กล่าวถึงวัดฉิมทายกาวาสได้สร้างวัดในช่วงเวลาเดียวกันในปี พ.ศ.2380 โดยให้เหตุผลความเป็นพี่น้องกัน แตกต่างจากข้อมูลจากที่อื่นกล่าวถึงความเป็นพี่เขยและน้องเขย. ในเรื่องปีพ.ศ.นั้น จะกล่าวถึงปีพ.ศ.2340 ในการสร้างวัดฉิมทายกาวาส โดยอ้างหลักฐานที่ฐานพระประธานในอุโบสถของวัดฉิมทายกาวาสและมีการกล่าวถึงในปีพ.ศ.2390 วัดวิเศษการเดิมเป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นเดิมชื่อว่า วัดหมื่นรักษ์ ตั้งตามชื่อผู้สร้าง เพราะทราบข่าวมาว่า หมื่นรักษ์สันติเวศน์ พร้อมด้วยญาติผู้มีจิตศรัทธาสร้างก่อนพุทธศักราช 2380 ด้วยเหตุว่ามีคนพูดต่อๆกันว่า หมื่นรักษ์สันติเวศน์กับสัวฉิมเป็นพี่น้องกัน หมื่นรักษ์สันติเวศน์ได้สร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่ง ชาวบ้านจึงได้ตั้งชื่อกันว่าวัดหมื่นรักษ์ แต่ไม่ได้จารึกไว้ว่า สร้างเมื่อใด พ.ศ.ใด แต่ได้ทราบต่อมา เมื่อ พ.ศ.2380 สัวฉิม พร้อมญาติๆ ได้พร้อมใจกันสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลกันชาวบ้าน เรียกว่า วัดสัวฉิม ตามชื่อผู้สร้าง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดฉิมทายกาวาส วัดหมื่นรักษ์ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า วัดวิเศษการ แปลว่า การกระทำให้ยอดเยี่ยม หรือให้วิเศษ น่าจะเปลี่ยนชื่อตามหน้าที่การงานของผู้สร้าง เพราะทราบว่าหมื่นรักษ์สันติเวศน์มีฝีมือในการปรุงอาหารหลวงถวายพระเจ้าแผ่นดิน ตามคำราชาศัพท์ วิเสทะ แปลว่า ปรุงอาหารหลวงถวายพระเจ้าแผ่นดิน เรียกตามคำราชาศัพท์ว่า วิเสทะ แปลว่า ปรุงอาหารหลวง (อาหารเพื่อถวายพระเจ้าแผ่นดิน) ต่อมาได้เปลี่ยนคำว่า วิเสทะ มาเป็นคำว่า วิเศษ แปลว่า ยอดเยี่ยมหรือวิเศษ วัดหมื่นรักษ์ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดวิเศษการ ประมาณ พ.ศ.2454 ทราบข่าวว่า พระเดชพระคุณเจ้าประคุณสมเด็จพระวันวัต (เฮง เขมจารี) ดำรงตำแหน่งสมณศักดิ์ที่ พระศรีวิสุทธิวงศ์ ได้รั้งตำแหน่งเจ้าคณะเขตบางกอกน้อย ได้ส่ง พระมหาบุญ ปุญญสุวฑฒโน (ป.ธ.4) มาเป็นเจ้าอาวาส ณ วัดหมื่นรักษ์ เพราะต้องการปรับปรุงการศึกษาทางด้านปริยัติให้เจริญเหมือนกับวัดใกล้เคียง และขึ้นตรงกับสำนักเรียนวัดมหาธาตุฯ วัดหมื่นรักษ์จึงมีชื่อเรียกกันว่า วัดวิเศษการ จนถึงปัจจุบันนี้. วัดวิเศษการปัจจุบันนี้มีเนื้อที่ 6 ไร่ 3 งาน 39 ตารางวา ได้ออกโฉนด เมื่อ 15 เดือนตุลาคม พุทธศักราช 2520 โฉนดเลขที่ 28086 เล่มที่ 281 หน้า 86 อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดกรุงเทพมหานคร วัดวิเศษการ มีเขตติดต่อทางด้านตะวันออกติดกับคลองบ้านขมิ้นทิศตะวันตกติดกับซอยวัดวิเศษการ ซึ่งทางวัดยกให้ กทม. ไว้ใช้ประโยชน์ ทิศใต้ติดกับถนนพรานนก ทิศเหนือติดกับซอยวัดวิเศษการและที่ดินชาวบ้าน (ทิศใต้ปัจจุบันพื้นที่วัด มีโรงเรียนวัดวิเศษการ ถัดไปเป็นซอยวัดวิเศษการ) วัดวิเศษการมีปูชนียสถาน เช่น โบสถ์ วิหารและเจดีย์ 2 องค์ องค์หนึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าอุุโบสถ ใกล้ประตูเข้าวัดอีกองค์หนึ่งตั้งอยู่หน้าอุโบสถในเขตพุทธาวาสเป็นของเก่าแก่ปัจจุบันบูรณะเสร็จเรียบร้อยดีแล้ว อุโบสถวัดวิเศษการเป็นอุโบสถทรงเก๋งจีน ไม่มีช่อฟ้า ไม่มีใบระกา ได้รับการบูรณะอุโบสถใหม่เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2537-วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2545 ซึ่งได้ทำการฉลองในวันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2545 คาดว่าอุโบสถนี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เดิมกว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตร ภายในอุโบสถเขียนภาพที่ฝาผนังตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จลงสู่พระครรภ์ จนถึงปรินิพพานรวม 56 ภาพ ด้วยกัน พระประธาน มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่สมัยเชียงแสนหน้าตักกว้าง 1.54 เมตร สูง 2 เมตร ชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อมงคลวิเศษเชียงแสน เป็นพระพุทธรูปที่มีความสวยงามตามพุทธลักษณะองค์หนึ่ง วิหารในเขตพุทธาวาสเป็นของเก่าแก่สร้างมาคู่กับอุโบสถ ซึ่งได้รับการบูรณะใหม่ โดย พระปลัดอำไพ อภิวณฺโณ และ คุณกนกพร ศิริพรรณาภิรัตน์ พร้อมด้วยญาติๆ ได้สละปัจจัยจำนวน 1,900,000 บาท ภายในวิหารที่ฝาผนังเขียนเป็นภาพปริศนาธรรม ศาลาการเปรียญหลังใหม่สร้างเมื่อ พ.ศ.2527 สมัยพระครูวินัยธรเกตุ อินฺทสาโร เป็นเจ้าอาวาส ณ เวลานั้น. เป็นศาลา 2 ชั้น กว้าง 11 เมตร ยาว 23 เมตร ภายหลังได้ต่อเติมทางด้านทิศตะวันตกอีก 3 เมตรและทิศเหนืออีก 4 เมตร เพื่อใช้เป็นที่บำเพ็ญบุญของพุทธบริษัท และที่สอนธรรมสอนบาลีสำหรับพระภิกษุและสามเณร หอระฆังเป็นรูปลัษณะสี่มุข

ปัจจุบันวัดวิเศษการ[แก้]

เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน คือ พระศรีวิสุทธิดิลก (วัน อุตฺตโม ป.ธ.๙)

[1] [2] [3]

  1. https://www.gotoknow.org/user/rong2550/profile
  2. https://sangkhatikan.com/monk_view.php?ID=625
  3. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3