ผู้ใช้:วันชัย15307/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดไร่อ้อยตั้งอยู่เลขที่ ๗๑ บ้านไร่อ้อย หมู่ที่ ๖ ตำบลไร่อ้อย อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดสงฆ์มหานิกายมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๑๒ ไร่ ๒ งาน ทิศเหนือยาว ๖๔ วา ติดต่อกับทางสาธารณะ ทิศใต้ยาว ๙๖ วา ติดต่อกับที่ดินนายจริน ศรีม่วง ทิศตะวันออกยาว ๗๙ วา ติดกับแม่น้ำน่าน ทิศตะวันตกยาว ๗๒ วา ติดกับที่นายมา จีนทั่ง พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบอยู่ริมแม่น้ำน่าน ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของวัด อาคารเสนาสนะต่าง ๆ มีอุโบสถกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๖ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๔๐ ศาลาการเปรียญกว้าง ๒๒ เมตร ยาว ๒๘ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๔๘๘ หอสวดมนต์กว้าง ๑๒ เมตร กุฏิสงฆ์ จำนวน ๒ หลังสำหรับปุชนียะ มีพระประธานในอุโบสถ “หลวงพ่อเพชร”

ความเป็นมา[แก้]

        วัดไร่อ้อย  สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.  ๒๓๕๐  โดยใช้นามตามชื่อบ้าน  

การพัฒนาวัดที่มีสืบต่อกันมาโดยลำดับ[แก้]

        ต่อมาประชาชนร่วมใจกันสร้างอุโบสถ  (หลังเก่า)  และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณ  พ.ศ. ๒๔๐๐  เขตวิสุงคามสีมากว้าง  ๒๐ เมตร  ยาว  ๔๐ เมตร  ตอนแรกมีกุฏิสงฆ์เพียงหลังเดียวเป็นกุฏิทรงปั้นหยาหลังคามุงประเบื้องปูนทราย  ศาลาการเปรียญเป็นศาลาไม้ชั่วคราว  

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ชาวบ้านได้ร่วมใจกันสร้างศาลาการเปรียญขึ้นมาใหม่ ขนาดกว้าง ๒๒ เมตร ยาว ๒๘ เมตร โครงสร้างใช้ไม้แดงประดู่ ไม้สัก และไม้ยาง ไม้ยางได้จากที่สาธารณะเกาะน้ำด้วน ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้สักได้จากป่าลังบ้านตาลพร้า โดยใช้แรงโคกระบือในการชักราก โดยการนำของอาจารย์สวัสดิ์ ป้อมแสง (อาจารย์วัดไร่อ้อยสมัยนั้น) ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ อาจารย์เมฆ ปานฟัก ได้สร้างกุฏิหลังใหม่เพิ่มขึ้น ๑ หลัง ขนาด ๗x๑๒ เมตร โดยสร้างเป็นไม้เนื้อแข็ง มุงสังกะสีโดยไม่ได้เสียค่าแรงงานเลย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ อาจารย์สลัด จีนทั่ง ได้เป็นผู้นำสร้างเมรุ และรั้วรอบบริเวณวัดด้านหน้าเป็นรั้วเหล็กดัด ด้านหน้าก่ออิฐบล็อก ทั้งหมด ๒๐๕ ช่อง เป็นเงินค่าก่อสร้างเมรุ ๗๑๒,๐๐๐ บาท ค่าก่อสร้างรั้ว ๑๐๕,๖๐๐ บาท ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๕ อาจารย์จำนง ตันติปาโร ร่วมกับชาวบ้านทั้ง ๓ หมู่ ๑-๒-๖ ได้ประชุมหารือที่จะสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้น และได้มีมติตกลงกันทำการวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เริ่มทำการก่อสร้างเมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๘ สร้างเสร็จวันที่ ๓๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๑ รวมค่าก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ ๗,๔๐๗,๔๐๙ บาท ต่อมา พ.ศ. ๒๕๔๖ พระปลัดทุ้ย วิจิตโต ร่วมกับชาวบ้านได้ประชุมหารือที่จะก่อสร้างศาลาสามัคคีธรรม เป็นเงินก่อสร้าง จำนวนเงิน ๑,๙๘๘,๒๕๖ บาท พ.ศ. ๒๕๔๗ ก่อสร้างศาลาพุทธบุตรและเทลานคอนกรีตจำนวนเงิน ๒๕๐,๐๐๐ บาท และทำการบูรณะวิหารหลวงพ่อเพชร จำนวนเงิน ๕๐๑,๓๗๗ บาท ต่อมา พ.ศ. ๒๕๔๙ พระปลัดประนมไพร อคฺคธมฺโม ร่วมกับชาวบ้านได้ประชุมหารือที่จะก่อสร้างซุ้มประตูวัด เป็นเงินก่อสร้าง จำนวนเงิน ๙๑๕,๐๐๐ บาท และต่อมาทำถนนลาดยางบริเวณหน้าวิหารหลวงพ่อเพชรเป็นจำนวนเงิน ๖๐,๐๐๐ บาทต่อมา พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้ร่วมกับชาวบ้านได้ประชุมหารือ ทำการบูรณะหอสวดมนต์ โดยได้รับบริจาคไม้จากชาวบ้าน แล้วเสร็จเป็นจำนวนเงิน ๓,๗๙๐,๐๐๐ บาท พ.ศ. ๒๕๕๑ ทำการก่อสร้างหอระฆัง แล้วเสร็จเป็นจำนวนเงิน ๘๕,๐๐๐ บาท พ.ศ. ๒๕๕๒ ทำการบูรณะกุฏิสงฆ์หลังเก่า เป็นจำนวนเงิน ๑๒๗,๐๐๐ บาท ต่อมา พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้ร่วมกับชาวบ้านได้ประชุมหารือก่อสร้างกุฎีสงฆ์หลังใหม่ เป็นจำนวนเงิน ๑,๒๔๐,๐๐๐ บาท ต่อมา พ.ศ. ๒๕๕๗ ได้ร่วมกับชาวบ้านได้ประชุมหารือก่อสร้างศาลาการเปรียญจตุรมุขยอดมณฑปหลังใหม่ กว้าง ๑๙ เมตร ยาว ๒๔.๕ เมตร สูง ๒๘ เมตร(กำลังก่อสร้าง) และได้มีการก่อสร้างแพริมน้ำ

ลำดับรายนามเจ้าอาวาสวัดไร่อ้อย (ตามหลักฐานที่หาได้และคำบอกเล่า)[แก้]

๑.พระอาจารย์พุ่ม ๒.พระอาจารย์อ้น ๒๔๖๖-๒๔๗๕ ๓.พระอาจารย์เปื้อง ๔.พระอาจารย์แดง ๒๔๗๖-๒๔๗๘ ๕.พระอาจารย์สวัสดิ์ ๒๔๘๕-๒๔๙๕ ๖.เจ้าอธิการเมฆ ๒๔๙๖-๒๕๐๖ ๗.พระอาจารย์กลิ้ง ๒๕๐๗-๒๕๑๐ ๘.พระอาจารย์เทียน ๙. พระอธิการเสน่ห์ ๒๕๑๑-๒๕๑๓ ๑๐.พระอาจารย์เฮ็ง ๒๕๒๔-๒๕๑๙ ๑๑.พระอธิการเล็ก ๒๕๒๐-๒๕๒๔ ๑๒.พระอาจารย์สมศักดิ์ รักษาการ ๒๕๒๕-๒๕๒๖ ๑๓.พระอาจารย์ยงค์ ๒๕๒๖-๒๕๓๒ ๑๔.พระใบฎีกาจำนง ๒๕๓๒-๒๕๔๐ ๑๕.พระครูโอภาสปัญญาวุธ รักษาการ ๒๕๔๐-๒๕๔๑ ๑๖.พระปลัดทุ้ย วิจิตโต ๒๕๔๑-๒๕๔๙ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน พระครูบวรธรรมภูษิต (พระประนมไพร อคฺคธมฺโม) ๒๕๔๙ - ถึงปัจจุบัน

นามไวยาวัจกร[แก้]

นายแดง แซ่เอี้ย นายธวัช น้อยทิม นายสมรักษ์ ม่วงรักษ์ นายจัด สนโต