ผู้ใช้:วัดอมรคีรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดอมรคีรี[แก้]

  1. เปลี่ยนทาง วัดอมรินทรารามวรวิหาร
วัด อมรคีรี จังหวัด กรุงเทพมหานคร

วัดอมรคีรี จังหวัด กรุงเทพมหานคร

กุฏิสงฆ์ วัดอมรคีรี


1 วัดอมรคีรี เดิมชื่อ(วัดสามกุฏิ) หมวดบางยี่ขัน แขวงเหนือ จังหวัดธนบุรี ต่อมาตั้งอยู่เลขที่394 ซอยรถไฟวรพงศ์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร จากนั้นเปลี่ยนเป็นเลขที่394 ซอยรถไฟวรพงศ์ ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่10ไร่ 7งาน ที่ตั้งวัดเป็นที่ราบชัน ปัจจุบันภายในวัดมีอาคารเสนาสนะต่างๆดังนี้ 2 1.อุโบสถ 2 ชั้น กว้าง 7.20 เมตร ยาว 18.20 เมตร ก่อสร้างด้วยอิฐปูน 3 2.กุฏิสงฆ์ 4 ชั้น 1 หลัง 4 3.ศาลาสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ 3 ชั้น 1 หลัง 5 4.อาคารพระปริยัติธรรมพระวิสุทธิสุนทร 4 ชั้น 1 หลัง 6 5.อาคารโรงครัว 3 ชั้น 1 หลัง 7 6.ศาลาทรงไทยชั้นเดียว 2 หลัง 8 7.หอระฆัง 2 ชั้น 1 หลัง วัดอมรคีรี เดิมชื่อ(วัดสามกุฏิ) หมวดบางยี่ขัน แขวงเหนือ จังหวัดธนบุรี ต่อมาตั้งอยู่เลขที่394 ซอยรถไฟวรพงศ์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร จากนั้นเปลี่ยนเป็นเลขที่394 ซอยรถไฟวรพงศ์ ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่10ไร่ 7งาน ที่ตั้งวัดเป็นที่ราบชัน ปัจจุบันภายในวัดมีอาคารเสนาสนะต่างๆดังนี้ 1.อุโบสถ 2 ชั้น กว้าง 7.20 เมตร ยาว 18.20 เมตร ก่อสร้างด้วยอิฐปูน 2.กุฏิสงฆ์ 4 ชั้น 1 หลัง 3.ศาลาสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ 3 ชั้น 1 หลัง 4.อาคารพระปริยัติธรรมพระวิสุทธิสุนทร 4 ชั้น 1 หลัง 5.อาคารโรงครัว 3 ชั้น 1 หลัง 6.ศาลาทรงไทยชั้นเดียว 2 หลัง 7.หอระฆัง 2 ชั้น 1 หลัง





พระเจ้าตากสินมหาราช วัดอมรคีรี สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน ทราบจากคำบอกเล่าว่าสร้างขึ้นในสมัยพระนารายมหาราชและได้บูรณะขึ้นในราวๆพ.ศ. 2317 ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรีจากคำบอกเล่าทราบว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชส่งเสนาอำมาตย์ข้าราชบริพารมาร่วมกันบูรณะวัดนี้ร่วมกับชาวบ้านในระแวกนี้ เดิมมีชื่อว่า”วัดสามกุฏิ” ซึ่งมีการสันนิษฐานไว้ 2 นัยดังนี้

        นัยที่ ๑ สันนิษฐานว่า ข้าราชบริพารในสมเด็จเจ้าสามพระยาแห่งกรุงศรีอยุธยาได้ร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่าน
        หรืออีกนัยหนึ่ง อาจสร้างกุฏสงฆ์ไว้เพียง ๓ หลังขึ้นมาก่อน ต่อมาจึงได้สร้างอย่างอื่นเพิ่มเติม
        ฉะนั้น จึงตั้งชื่อว่า วัดสามกุฏิ ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณ พ.ศ.๒๓๙๙ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๑๒.๕๐ เมตร ยาว ๒๓.๕๐ เมตร
        และจากหลักฐานหนังสืออนุสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพพระอธิการแย้ม จนฺทปสฺสฏฺโฐ บันทึกไว้ว่า เจ้าอธิการแย้ม จนฺทปสฺสฏฺโฐ วัดอมรคีรี หมวดบางยี่ขัน แขวงเหนือ จังหวัดธนบุรี ภูมิลำเนาบ้านตลาดเกลียบ อำเภอพระราชวัง จังหวัดกรุงเก่า (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสมุห์ ฐานานุกรมของพระเดชพระคุณเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (จี่ จนฺทสโร) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงษาวาส องค์ที่ ๓ หลังจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จได้มาบูรณะปฏิสัวขรณ์ วัดสามกุฏิ ตำบลบางยี่ขัน เสร็จแล้ว ได้เปบี่ยนนามใหม่ว่า วัดอมรคีรี ให้พระครูสมุห์แย้มมาอยู่ครองวัดนั้น เป็นเจ้าอาวาส และพระอุปัชฌาย์ประจำแขวงบางยี่ขัน ประมาณปรายรัชสมัยของรัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรี เป็นต้นมา แลพได้มรณภาพลงในปีพุทธศักราช ๒๔๕๙


จากนั้นมา วัดอมรคีรี ได้มีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับของเจ้าอาวาสซึ่งได้รับการบอกเล่าจากหลวงพ่อพระครูอนุกูลวรวัฒน์ เจ้าคณะแขวงบำหรุและเจ้าอาวาสวัดน้อยนางหงส์ แขวงบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพ ในขณะนั้นว่า หลังจาก เจ้าพระคูรสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าอาวาสวัดประยุรวงษาวาส ให้พระครูสมุห์แย้ม มาเป็นเจ้าอาวาสและเมื่อท่านมรณภาพลงแล้วนั้น วัดอมรคีรี ก็มีความเสื่อมโทรมมาโดยลำดับจนบางครั้งไม่มีเจ้าอาวาสดำรงตำแหน่งเลย ซึ่งพอจะจำชื่อเจ้าอาวาสได้บ้างดังนี้

- ก่อนนี้ไม่ทราบข้อมูล

1. หลวงตาเป๋า (ไม่ทราบฉายา)

ภาพวิว ใกล้ วัดอมรคีรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร

2. หลวงตาปลัง (ไม่ทราบฉายา)

3. พระอธิการประเสริฐ (ไม่ทราบฉายา)

4. พระมหาดิเรก (ไม่ทราบฉายา)

5. พระราชปริยัตยาภรณ์ (วิสุทธ์ วิสุทฺธิสาโร) พ.ศ.๒๕๓๐ –

ปัจจุบัน


ขณะนั่งเรือด่วนเจ้าพระยา


ภาพสถานที่การเดินทางข้ามไปวัดเราจะเห็นแม่น้ำเจ้าพระยา ที่สวยงาม ขอเชิญไปเที่ยวชม และวัดอมรคีรีเขตบางพลัด จังหวัด กรุงเทพมหานคร