ยูเอส-บังกลาแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 211

พิกัด: 27°41′38″N 85°21′39″E / 27.69389°N 85.36083°E / 27.69389; 85.36083
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูเอส-บังกลาแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 211
เครื่องบินที่เกิดอุบัติเหตุ S2-AGU เมื่อปี พ.ศ. 2557
สรุปอุบัติเหตุ
วันที่12 มีนาคม ค.ศ. 2018 (2018-03-12)
สรุปดูที่หัวข้อ การสอบสวน
จุดเกิดเหตุท่าอากาศยานนานาชาติตริภูวัน, ประเทศเนปาล
27°41′38″N 85°21′39″E / 27.69389°N 85.36083°E / 27.69389; 85.36083
ดําเนินการโดยยูเอส-บังกลาแอร์ไลน์
ทะเบียนS2-AGU[1]
ต้นทางท่าอากาศยานนานาชาติชาห์จาลาร์, ธากา
ปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติตริภูวัน, กาฐมาณฑุ
ผู้โดยสาร67 คน
ลูกเรือ4 คน
เสียชีวิต51 คน[2][3][4][5]
บาดเจ็บ20 คน
รอดชีวิต20 คน

ยูเอส-บังกลาแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 211 (BS211/UBG211) [a] เป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศของสายการบินยูเอส-บังกลาแอร์ไลน์ ที่ได้ออกจากท่าอากาศยานนานาชาติชาห์จาลาร์, ธากา, ประเทศบังกลาเทศ และมีจุดหมายปลายทางที่ท่าอากาศยานนานาชาติตริภูวัน, กาฐมาณฑุ, ประเทศเนปาล ในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งมีผู้โดยสารรวมทั้งหมด 67 คนในเที่ยวบินนี้

อุบัติเหตุ[แก้]

เที่ยวบินนี้ได้ออกจากท่าอากาศยานนานาชาติชาห์จาลาร์ ที่ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศบังกลาเทศ เมื่อเวลา 12:52 น. ตามเวลาท้องถิ่น (6:52 น. ตามเวลาสากลเชิงพิกัด) ในเที่ยวบินนี้มีผู้โดยสารทั้งหมด 67 คน, ลูกเรือ 4 คน รวมเป็น 71 คน ที่กำลังมุ่งสู่ท่าอากาศยานนานาชาติตริภูวัน ที่ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศเนปาล การออกเดินทางในเที่ยวบินนี้เป็นไปอย่างราบรื่น[6][7]

ศูนย์หอบังคับการบินของท่าอากาศยานนานาชาติตริภูวันได้จัดเตรียมให้เครื่องบินลงจอดที่รันเวย์ 02 แต่ลูกเรือขอจอดที่รันเวย์ 20 [b] ศูนย์หอบังคับการบินจึงได้เตรียมการที่รันเวย์ 20 ในเวลาต่อมาศูนย์หอบังคับการบินได้ถามไปยังลูกเรืออีกครั้งเพื่อความชัดเจน ลูกเรือได้ตอบว่า "ฉันต้องการที่จะจอดที่รันเวย์ 02"[8]

ในเวลา 14:18 น. ตามเวลาท้องถิ่น (08:30 น. ตามเวลาสากลเชิงพิกัด) ลูกเรือได้รายงานว่าเตรียมพร้อมในการลงจอดที่รันเวย์ 02 แล้ว ในขณะลงจอดเครื่องบินได้พุ่งชนกับรั้วกั้นของท่าอากาศยานอย่างรุนแรงก่อนไถลไปที่รันเวย์ เครื่องบินเกิดฉีกขาดเป็นสองท่อน และก็เกิดเหตุเพลิงไหม้[6] บุคคลที่เห็นเหตุการณ์ได้เล่าว่า "เครื่องบินไม่ได้บินตรงกับทางรันเวย์"[7][9] หนึ่งในผู้รอดชีวิตได้เล่าว่า "เครื่องบินมีความผิดปกติขณะกำลังลงจอด"[10] คนงานภาคพื้นดินเห็นเครื่องบินขับเซไปมา[6] ผู้รอดชีวิตจำได้ว่าขณะเครื่องบินลงจอดได้กระแทกอย่างรุนแรง ทำให้เกิดเสียงดังสนั่น[11][12]

ลูกเรือและผู้โดยสาร[แก้]

เที่ยวบินนี้มีผู้โดยสารที่เป็นผู้ใหญ่ 65 คน เด็ก 2 คน และลูกเรืออีก 4 คน รวมทั้งหมด 71 คน[10] นักบินผู้ขับเครื่องบินเคยเป็นอดีตนักบินของกองทัพอากาศบังกลาเทศ[13] และนักบินอีกคนเป็นผู้หญิงที่มีอยู่ในสายการบินไม่กี่คน[14][15]

อดีตนักบินของกองทัพอากาศบังกลาเทศมีประสบการณ์การบินมากถึง 22 ปี และเป็นหนึ่งในนักบินที่มีประสบการณ์ โดยที่เขามีชั่วโมงสะสมบนเครื่องบิน 1,700 ชั่วโมง[16] ตอนที่เขาเข้ามาอยู่ในสายการบิน เขาบินไปกาฐมาณฑุ 100 ครั้ง[17] เขารอดชีวิตจากอุบัติเหตุ แต่ไม่กี่ชั่วโมงต่อมา เขาก็เสียชีวิตเนื่องจากทนบาดแผลไม่ไหว[18]

ผู้โดยสารและลูกเรือเที่ยวบิน 211[19][20]
ประเทศ ผู้โดยสาร ลูกเรือ รวม
 เนปาล 33 0 33
 บังกลาเทศ 32 4 36
 จีน 1 0 1
 มัลดีฟส์ 1 0 1
รวม 67 4 71

การสอบสวน[แก้]

นายกรัฐมนตรีเนปาลได้เข้าดูที่เกิดเหตุเพื่อสังเกตการณ์และตรวจสอบการปฏิบัติการกู้ภัย[10]

เสียงบันทึกการสนทนาระหว่างนักบินกับหอบังคับการบินแสดงถึงไม่กี่นาทีก่อนเกิดเหตุว่ามีการเข้าใจผิดบางอย่างเรื่องทิศทางการบังคับเครื่องบิน[10]

เจ้าหน้าที่จากบังกลาเทศและผู้ผลิตเครื่องบินได้เข้ามามีส่วนรวมในการค้นหาร่วมกับสำนักงานการบินพลเรือนเนปาล ซึ่งตอนนี้ได้เจอกล่องดำแล้ว[21] ทำให้เกิดข้อเท็จจริงมากมายและสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้[21]

หมายเหตุ[แก้]

  1. BS is the IATA designator and UBG is the ICAO airline designator.
  2. Standard runway naming conventions assign two numbers to a runway, one for each possible landing direction. Runway 02 is the same physical runway as runway 20, but from the opposite landing direction. See Runway § Naming.

อ้างอิง[แก้]

  1. "US-Bangla airlines aircraft crashes at TIA, casualties feared". The Kathmandu Post. Ekatipur. 12 March 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-12. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.
  2. "Death toll from US-Bangla plane crash hits 51". thehimalayantimes.com. 14 March 2018. สืบค้นเมื่อ 18 March 2018.
  3. https://www.thedailystar.net/world/us-bangla-plane-crash-death-toll-climbs-51-
  4. https://www.thedailystar.net/frontpage/nepal-plane-crash-us-bangla-tribhuvan-loggerheads-1549378%3famp
  5. "Shocking! Nepal Plane Crash Today images: Over 50 feared dead as US-Bangla airlines aircraft crashes at Kathmandu airport". financialexpress.com. 12 March 2018. สืบค้นเมื่อ 18 March 2018.
  6. 6.0 6.1 6.2 "Kathmandu plane crash updates: KP Sharma Oli assures immediate probe, reaches airport to take stock". First Post. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.
  7. 7.0 7.1 "Nepal plane crash highlights: Bangladesh aircraft catches fire at Kathmandu airport, over 50 feared dead". Indian Express. 12 March 2018. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.
  8. "liveatc.net". LiveATC.net. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.[ลิงก์เสีย]
  9. "เครื่องบินบังกลาเทศตกในเนปาล คร่าชีวิตอย่างน้อย 50 ราย". voathai.com. 13 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2018.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 "Nepal air crash: 49 dead as plane veers off Kathmandu runway". BBC News. 12 March 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2019. สืบค้นเมื่อ 19 April 2019.
  11. "Lucky to be alive: Nepal plane crash survivor". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.
  12. "US-Bangla plane crashes at TIA". Nepali Times. March 12, 2018. สืบค้นเมื่อ March 12, 2018.
  13. Sharma, Gopal; Paul, Ruma (12 March 2018). "After deadly Nepal crash, Bangladeshi airline defends pilots". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2018. สืบค้นเมื่อ 19 April 2019.
  14. "Prithula Rashid, a life cut short". The Daily Star (ภาษาอังกฤษ). 2018-03-13. สืบค้นเมื่อ 2018-03-15.
  15. "A life cut short". The Daily Star (ภาษาอังกฤษ). 2018-03-14. สืบค้นเมื่อ 2018-03-15.
  16. "Pilot, 3 crewmembers confirmed dead". unb.com.bd. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-16. สืบค้นเมื่อ 16 March 2018.
  17. Connor, Neil (13 March 2018). "Confusion over path of plane blamed for Nepal crash which killed 49". สืบค้นเมื่อ 16 March 2018 – โดยทาง www.telegraph.co.uk.
  18. "Pilot Abid survives US-Bangla plane crash in Nepal, co-pilot Prithula dies". bdnews24.com. 12 March 2018. สืบค้นเมื่อ 13 March 2018.
  19. Kitching, Chris (12 March 2018). "Plane bursts into flames after crashing near Kathmandu airport 'killing dozens'". Daily Mirror. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.
  20. Admin, Admin (13 March 2018). "Maldivian doctor suffers spinal fracture in Nepal plane crash". Mihaaru. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-13. สืบค้นเมื่อ 13 March 2018.
  21. 21.0 21.1 Hradecky, Simon. "Accident: US-Bangla DH8D at Kathmandu on Mar 12th 2018". Aviation Herald. สืบค้นเมื่อ 17 March 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]