ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:รุจิกาญจน์/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ทฤษฏีความมั่นคงของมนุษย์ ความมั่นคงของมนุษย์มีความสำคัญมากกับกับประชาชน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาประเทศ การสร้างเสริมความตระหนกให้แก่ประชาชน โดยมีตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันและในอนาคต

ความมั่นคงของมนุษย์

[แก้]

หมายถึง ความยั่งยืน ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่จะได้รับโอกาสต่างๆ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความเท่าเทียมกันในสังคมและเศรษฐกิจที่เติบโตก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องทางด้านอาชีพ การได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ คุณภาพทางด้านอาหาร ความเป็นอยู่ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การเมือง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ฯลฯ

มิติความมั่นคงของมนุษย์

[แก้]

ปัจจุบันประเทศไทยมีผลสำรวจสภาพความมั่นคงของมนุษย์ในปัจจุบัน 6 มิติด้วยกัน คือ

  • ความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ

เนื่องจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่องในช่วงนี้ ทำให้รูปแบบทางเศรษฐกิจมีความเสี่ยงมากพอสมควรประชากร 1 ใน 10 ยังคงตกอยู่ในภาวะยากจนและประชากรจำนวนมากต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ต้องเผชิญกับปัญหาความยากจน ความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ การว่างงาน

  • ความมั่นคงทางอาหาร

การเข้าถึงทางด้านอาหารมีเพียงพอ ภัยคุกคามที่เลวร้ายที่สุดคือความอดอยากของประชาชนในประเทศ ความหิวโหยที่เกิดจากสภาวะขาดแคลนหรือเมื่อเกิดภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ

  • ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม

ทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมลงเพราะฝีมือของมนุษย์ที่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การตัดไม้ ทิ้งขยะแม่น้ำ

  • ความมั่นคงทางสุขภาพ

สุขภาพนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากต่อมนุษย์ ประชาชนหลายชุมชนที่ต้องการเข้าถึงบริการที่ดีมีคุณภาพ ประชาชนที่ยากจนหลายชุมชน ไม่สามารถเข้าถึงบริการนี้

  • ความมั่นคงของปัจเจกบุคคล

ความรุนแรงจากการหาประโยชน์โดยไม่ชอบจากผู้หญิง หรือการละเมิดเด็กทุกรูปแบบ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยที่รัฐหรือในภาวะสงครามที่มีความตึงเครียดกันทางเชื้อชาติ การได้รับความคุ้มครองปกป้องจากความรุนแรงและถูกปิดกั้นเสรีภาพพื้นฐานมนุษย์ถูกทำร้ายทางอ้อมหรือจากโครงสร้างโดยการบังคับ หรือจำกัดอิสรภาพพื้นฐาน

  • ความมั่นคงทางการเมือง

ปฎิบัติตามระบอบประชาธิปไตยภายใต้หลักธรรมภิบาล มีส่วนร่วมในการเมืองรูปแบบต่างๆ เช่น การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การเป็นพลเมืองที่ดี ไม่สร้างความเดือดร้อนต่อประชาชนคนอื่น การออกความคิดเห็นในการร่างรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ภาพรวมของความมั่นคงในปัจจุบัน คนไทยยังตกอยู่ในความเสี่ยง เสี่ยงต่อการค้ามนุษย์ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศ อีกทั้งทรัพยากรธรรมชาติ ความไม่สงบเรียบร้อยทางการเมือง ปัญหาทั้งหลายเล่านี้มีหลายวิธีที่จะมาแก้ไขแต่ก็มักจะล้มเหลวในทางปฏิบัติ

ประเด็นสำคัญความมั่นคงของมนุษย์

[แก้]

5 ประเด็นสำคัญต่อไปนี้ ยังไม่ถูกนำไปเป็นวาระแห่งชาติ แต่ได้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางแล้ว ประเด็นทั้ง 5 นี้ อาจนำไปสู่ปัญหาต่อความมั่นคงของมนุษย์ในปัจจุบัน ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนอาจทวีความรุนแรงขึ้นในอนาคต

  1. การจัดการน้ำ ทรัพยากรในธรรมชาติเริ่มจะหมดไป น้ำถือได้ว่ามีความสำคัญต่อความมั่นคงของมนุษย์อย่างมาก การบริหารการจัดการน้ำ ขั้นตอนแรกต้องยอมรับปัญหาที่เกิดขึ้นและต้องรับมือด้วยการบูรณาการ ควรมีแผนการจัดการน้ำที่ครอบคลุม ทั้งการจัดสรรน้ำและการดูแลคุณภาพของน้ำ รัฐบาลต้องทุ่มเททรัพยากรอีกทั้งงบประมาณและบุคลากรที่มีทักษะมาบริหารจัดการน้ำมากยิ่งขึ้น
  2. ปัญหาความไม่เท่าเทียม ความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคมมักทวีความรุนแรงขึ้น ความไม่เท่าเทียมหยั่งรากลึกถึงภายในประเทศและระหว่างประเทศ ประเทศไทยดูเหมือนว่าจะขยายตัวมากกว่าในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความมั่นคงของมนุษย์ สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกคือให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ สนับสนุนและพยายามที่จะก้าวสู่สังคมแห่งความเท่าเทียม
  3. เกษตรรายย่อย ประเทศไทยให้ความสนใจ สนับสนุนภาคอุตสาหกรรม แต่ไม่ดูแลภาคเกษตร ทรัพยากรที่รัฐจัดสรรให้ค่อนข้างน้อย ทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการนำมาผลิตเสื่อมโทรมลงมาก เกษตรกรรายย่อยไม่ได้รับการสนับสนุนรัฐบาลเพียงพอ ความมั่นคงทางอาหารอยู่ในความเสี่ยง หารยังต้องการให้เกษตรกรครัวเรือนอยู่ต่อไป จำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนหลายด้าน รัฐบาลหลายชุดเคยให้สัญญาว่าจะดำเนินการ แต่ก็ไม่เห็นมีอะไรเกิดขึ้น ต้องมีการลงทุนด้านการบริหารจัดการน้ำเพิ่มขึ้น รัฐบาลควรมีมุมมองและแสดงความมุ่งมั่นและให้การสนับสนุนเกษตรอินทรีย์และเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน
  4. เตรียมการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเปลี่ยนผ่านนี้เป็นไปค่อนข้างเร็วเนื่องจากโครงสร้างอายุประชากร ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะได้รับการดูแลจากลูกๆหลานๆ แต่ก็เริ่มเกิดปัญหาขึ้นเพราะสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ครอบครัวเริ่มแยกออกเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ผู้สูงอายุเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นสองเท่า จากร้อยละ 3.6 เป็น 7.8 ในช่วงปี พ.ศ.2537 ถึง พ.ศ.2550 การเปลี่ยนผ่านที่รวดเร็วนี้จะสร้างปัญหาให้กับการบริการสุขภาพ ต้องมีการช่วยเหลือสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านให้ดีขึ้น ในหลายๆภาคส่วนอาจมีการขยายอายุการเกษียณจากการทำงาน อาจมีการยืดหยุ่นกับการทำงานสำหรับผู้สูงอายุมาใช้
  5. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเด็นนี้เป็นปัญหาระดับโลก มีผลกระทบต่อความมั่นคงของมนุษย์อย่างมาก ฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ ทำให้เกิดปัญหาที่เลวร้ายมาก ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ไหลท่วมแนวชายฝั่งของไทย นอกจากผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยตรงแล้ว ยังส่งผลทางอ้อมอื่นๆด้วย

ประเด็นเหล่านี้เป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องการการดูแล ระดมทรัพยากรจากทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม ปัญหาเหล่านี้ควรได้รับความสนใจและความสำคัญมากขึ้นในฐานะวาระแห่งชาติ

ปัญหาความมั่นคง

[แก้]
  1. การก่อการร้ายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ประชาชนไม่ได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  2. การว่างงานและความยากจนของประชาชนในประเทศ
  3. ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันของประชาชนในเรื่องเศรษฐกิจและสังคมทั้งภายในและระหว่างประเทศ
  4. สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ยกตัวอย่างเช่น ภัยแล้ง อุทกภัย จึงทำให้ประชาชนเกิดความกังวลในชีวิตและทรัพย์สิน
  5. ปัญหาการเพิ่มมากขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุ

การพัฒนาความมั่นคง

[แก้]

การพัฒนาความมั่นคงในประเทศนั้นควรเริ่มพัฒนากระบวนการทางเศรษฐกิจ สร้างรากฐานของประชาชนขึ้นมาใหม่ มีการมีงานทำ มีรายได้ ลดปัญหาอาชญากรรมที่อาจเกิดมากขึ้นในอนาคต เพื่อให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ไม่หวาดกลัว ปลดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ต่อมาพัฒนาการเมือง การปกครอง ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้ง ประชาชนในประเทศต้องได้รับความยุติธรรม ความเท่าเทียมกันในสังคม เพื่อให้ประเทศได้พัฒนาก้าวหน้า สร้างหลักประกันผู้สูงอายุว่าจะได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอ ดูแลระบบประกันสุขภาพ ขยายการคุ้มครองให้ครอบคลุม วางแผนจัดหาบุคลากรด้านการบริการสุขภาพทั้งในระยะสั้นและปานกลาง รณรงค์ต่อต้านความรุนแรงทางเพศและความรุนแรงในครอบครัว ปรับการบริหารจัดการน้ำให้ครอบคลุม โดยกำหนดกรอบให้มีการวางแผนและดำเนินการครอบคลุมหลายทศวรรษ ปฎิรูประบบภาษีและการใช้จ่ายของภาครัฐ ลดความขัดแย้งทางการเมือง เพียงเท่านี้ ประเทศของเราก็จะพัฒนาต่อไปได้อย่างยั่งยืน

กระทรวงที่เกี่ยวข้อง

[แก้]

-กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

อ้างอิง

[แก้]

http://www.ryt9.com/s/cabt/27187

https://www.gotoknow.org/posts/13039

สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ.ความมั่นคงของมนุษย์ในปัจจุบันและในอนาคต.หน้า2