ผู้ใช้:รัชฎาภรณ์ โหยกระโทก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นางสาวรัชฎาภรณ์ โหยกระโทก
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดนางสาวรัชฎาภรณ์ โหยกระโทก
เกิด29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 (31 ปี)
ที่เกิดประเทศไทย นครราชสีมา ประเทศไทย


ประวัติส่วนตัว[แก้]

  • ชื่อจริง นางสาวรัชฎาภรณ์ โหยกระโทก ชื่อเล่น แอ้
  • ที่อยุ๋ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 322 หมู่ 6 ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา รหัสไปรษณี 30250
  • เบอร์โทร 089-584-2322

ประวัติการศึกษา[แก้]

  • จบมัธยมต้น จาก โรงเรียนครบุรี
  • จบประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จาก วิทยาลัยอาชีวศึกษนครราชสีมา
  • จบประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จาก วิทยาลัยอาชีวศึกษนครราชสีมา
  • ปัจจุบันศึกษาในระดับ ปริญญาตรี ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน


บทความสารสนเทศที่สนใจ[แก้]

ด้าน ออกแบบกราฟฟิก เพราะชอบการออกแบบและความเป็นศิลปะ




การออกแบบกราฟิก

งานกราฟิกเป็นส่วนสำคัญที่มีบทบาทยิ่งต่อการออกแบบและกระบวนการผลิตสื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อที่ต้องการการสัมผัสรับรู้ด้วยตา ได้แก่ หนังสือ นิตยสาร วารสาร แผ่นป้ายบรรจุภัณฑ์ แผ่นพับ แผ่นปลิว โทรทัศน์ โฆษณา ภาพยนต์ ฯลฯ นักออกแบบจะใช้วิธีการทางศิลปะและวิธีการทางการออกแบบร่วมกันสร้างรูปแบบสื่อ เพื่อให้เกิดศักยภาพสูงสุดในการที่จะเป็นตัวกลางในการสื่อความหมายระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร วิธีการออกแบบและวิธีแก้ปัญหาการออกแบบ โดยการนำเอารูปภาพประกอบ ภาพถ่าย สัญลักษณ์ รูปแบบ ขนาดตัวอักษร มาจัดวางเพื่อให้เกิดการนำเสนอข้อมูลอย่างชัดเจน เกิดผลดีต่อกระบวนการสื่อความหมาย ความหมายของการออกแบบกราฟิก เป็นลักษณะของการออกแบบพื้นผิว 2 มิติ เพื่อเป็นสื่อกลางสำหรับถ่ายทอดข้อความ ความรู้สึกนึกคิด และอารมณ์ จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง เพื่อให้เข้าใจและรู้เรื่องโดยใช้ประสาทตาในการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ งานกราฟิกมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก สิ่งที่เรามองเห็นด้วยตาจะโน้มน้าวจิตใจได้ดีกว่าการรับรู้ประเภทอื่น งานกราฟิกที่ดีต้องขึ้นอยู่กับการออกแบบที่ดีด้วย นับตั้งแต่หลักการเบื้องต้นของศิลปะ รวมถึงการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่นำมาใช้ในการผลิตวัสดุกราฟิก นอกจากนี้ยังต้องมีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งจะสามารถนำมาใช้ในการออกแบบกราฟิกด้วย เพื่อที่จะสามารถพัฒนางานออกแบบให้ทันยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา คุณค่าของงานกราฟิก งานกราฟิกชิ้นที่ดีจะทำให้เห็นถึงความคิดในการออกแบบเป็นเลิศ จะมีอิทธิพลโดยตรงที่จะโน้มน้าวผู้รับข้อมูลให้เกิดความสนใจและยอมรับ และในขณะเดียวกันก็ยังแสดงถึง

1. เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายให้เกิดความเข้าใจตรงกัน จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
2. สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เกิดการศึกษากับกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี
3. ช่วยทำให้เกิดความน่าสนใจ ประทับใจ และน่าเชื่อถือแก่ผู้พบเห็น
4. ช่วยให้เกิดการกระตุ้นทางความคิด และการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว
5.ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
6. ทำให้ผู้พบเห็นเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทั้งทางด้านการกระทำและความคิด


ความสำคัญของการออกแบบงานกราฟิก

1. การออกแบบที่ดีทำให้ข้อมูลที่กระจัดกระจายมีระเบียบมากขึ้น ก่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนและถูกต้อง
2. ช่วยให้ระบบการถ่ายทอดข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วและชัดเจน
3. ช่วยสร้างสรรค์สัญลักษณ์ทางสังคม เพื่อการสื่อความหมายร่วมกัน
4. ช่วยพัฒนาระบบการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5. ช่วยให้เกิดจินตภาพ เกิดมีแนวคิดสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอๆ
6. ส่งเสริมให้เกิดค่านิยมทางความงาม
7. ส่งเสริมความก้าวหน้าทางธุรกิจและการพัฒนาประเทศ
8. ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม


อิทธิพลของศิลปะในการออกแบบกราฟิก

องค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยทำให้งานกราฟิกมีความโดดเด่นน่าสนใจ นักออกแบบจึงใช้หลักและวิธีการทางศิลปะเป็นแนวทางในการออกแบบ โดยพิจารณาดังนี้

1.รูปแบบตัวอักษรและขนาด การสร้างรูปแบบตัวอักษรให้มีรูปแบบแปลกตา สวยงามจะช่วยเร่งเร้าความรู้สึกตอบสนองได้เป็นอย่างดี โดยเน้นความชัดเจนสวยงาม สอดคล้องกับจุดประสงค์ สำหรับข้อความนำเรื่องและข้อความรายละเอียด นอกจากนั้นขนาดของตัวอักษรก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ขนาดของตัวอักษรทุกตัวบนชิ้นงานต้องมีความพอดี อ่านได้ง่าย สื่อความหมายได้ดีไม่ต้องคิดมาก นอกจากนั้นแล้วการจัดวางรูปแบบข้อความที่ดีก็จะช่วยให้การสื่อความหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วย

2.การกำหนดระยะห่างและพื้นที่ว่าง การจัดพื้นที่ว่างในการออกแบบกราฟิก มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดระเบียบของข้อมูล ช่วยเน้นความเป็นระเบียบและความชัดเจน ระยะห่างหรือพื้นที่ว่างจะช่วยพักสายตาในการอ่าน ทำให้ดูสบายตา สร้างจังหวะลีลาขององค์ประกอบภาพให้เหมาะสมและสวยงาม

3.การกำหนดสี สีมีบทบาทอย่างมากที่ช่วยเน้นความชัดเจน ทำให้สะดุดตา สร้างสรรค์ความสวยงาม การกำหนดสีใดๆ ขึ้นอยู่กับประเภทของงานนั้นๆ ข้อสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือ สีบนตัวภาพ พื้นภาพและตัวอักษร ต้องมีความโดดเด่น ชัดเจน เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายซึ่งมีความชอบที่แตกต่างกัน นักออกแบบจะพยายามใช้สีเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์มากที่สุด

4.การจัดวางตำแหน่ง เป็นการจัดวางโครงร่างทั้งหมดที่จะกำหนดตำแหน่งขนาดของภาพประกอบ ตำแหน่งของข้อความทั้งหมด และส่วนประกอบอื่นๆที่ปรากฎ ซึ่งต้องคำนึงถึงจุดเด่นที่ควรเน้น ความสมดุลต่างๆ ความสบายตาในการมอง นักออกแบบต้องให้ความสำคัญต่อทุกๆส่วนที่ปรากฎบนชิ้นงานเท่ากันทั้งหมด ความพอเหมาะพอดีช่วยให้งานออกแบบมีความน่าเชื่อถือและน่าสนใจ

LAN Technology[แก้]

รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้


1.1 โทโปโลยีแบบบัส (BUS)

เป็นโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ลักษณะการทำงานของเครือข่าย โทโปโลยีแบบบัส คืออุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า"บัส" (BUS) เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนด หนึ่งภายในเครือข่าย จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าบัสว่างหรือไม่ ถ้าหากไม่ว่างก็ไม่สามารถจะส่งข้อมูลออกไปได้ ทั้งนี้เพราะสายสื่อสารหลักมีเพียงสายเดียว ในกรณีที่มีข้อมูลวิ่งมาในบัส ข้อมูลนี้จะวิ่งผ่านโหนดต่างๆ ไปเรื่อยๆ ในขณะที่แต่ละโหนดจะคอยตรวจสอบข้อมูลที่ผ่านมาว่าเป็นของตนเองหรือไม่ หากไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้ข้อมูลวิ่งผ่านไป แต่หากเลขที่อยู่ปลายทาง ซึ่งกำกับมากับข้อมูลตรงกับเลขที่อยู่ของของตน โหนดนั้นก็จะรับข้อมูลเข้าไป

ข้อดี

- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก

ข้อเสีย

- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย

- การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้


1.2 โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)

 เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารจะถูกส่งจากโหนดหนึ่งไปยังอีกโหนดหนึ่ง วนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน (ในระบบเครือข่ายรูปวงแหวนบางระบบสามารถส่งข้อมูลได้สองทิศทาง) ในแต่ละโหนดหรือสถานี จะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการ สื่อสาร ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล สำหรับการส่งข้อมูลออกจากโหนด และมีหน้าที่รับแพ็กเกจข้อมูลที่ไหลผ่านมาจากสายสื่อสาร เพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาให้โหนดตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดนั้นส่งต่อไปให้กับโหนดของตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของโหนดถัดไป

ข้อดี

- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่

- การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป

- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน

ข้อเสีย

- ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้

- ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง


1.3 โทโปโลยีแบบดาว (STAR)

ป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายรูปดาว หลายแฉก โดยมีสถานีกลาง หรือฮับ เป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย สถานีกลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด นอกจากนี้สถานีกลางยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางคอยจัดส่งข้อมูลให้กับโหนดปลายทางอีกด้วย การสื่อสารภายใน เครือข่ายแบบดาว จะเป็นแบบ 2 ทิศทางโดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้ จึงไม่มีโอกาสที่หลายๆ โหนดจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล เครือข่ายแบบดาว เป็นโทโปโลยีอีกแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน

ข้อดี

-การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีโหนดใดเกิดความเสียหายก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และเนื่องจากใช้อุปกรณ์ 1 ตัวต่อสายส่งข้อมูล 1 เส้น ทำให้การเสียหายของอุปกรณ์ใดในระบบไม่กระทบต่อการทำงานของจุดอื่นๆ ในระบบง่ายในการให้บริการเพราะโทโปโลยีแบบดาวมีศูนย์กลางทำหน้าที่ควบคุม

ข้อเสีย

- เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ


1.4 โทโปโลยีแบบ MESH

เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก


WAN (Wide Area Network) Technology[แก้]

เทคนิควิธีการสวิตชิ่งมีอยู่ 3 วิธีสำคัญๆ คือ เซอร์กิตสวิตชิ่ง (Circuit Switching) เมสเสจสวิตชิ่ง (Message Switching) และแพ็กเก็ตสวิตชิ่ง (Packet Switching)

เซอร์กิตสวิตชิ่ง (Circuit Switching)

เป็นกลไกสื่อสารข้อมูล ที่สร้างเส้นทางข้อมูลระหว่างสถานีส่งก่อนที่จะทำการส่งข้อมูลเมื่อเส้นทางดังกล่าวนี้สร้างแล้วจะใช้ในการส่งข้อมูลได้เฉพาะสองสถานีนี้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของระบบเซอร์กิตสวิตชิ่ง ได้แก่ ระบบโทรศัพท์นั่นเอง โทรศัพท์แต่ละหมายเลขจะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อมายังชุมสายโทรศัพท์ หรือCO (Central Office) ซึ่งมีสวิตช์ติดตั้งอยู่ ระหว่างชุมสายโทรศัพท์จะมีการเชื่อมต่อกัน ทำให้สามารถโทรศัพท์ไปเบอร์อื่น ๆ ได้ บางครั้งอาจผ่านชุมสายโทรศัพท์หลาย ๆ ชุมสาย ทุกครั้งที่ใช้โทรศัพท์จะมีเส้นทางสัญญาณที่ถูกจองไว้สำหรับใช้ในการสนทนาแต่ละครั้ง เมื่อเลิกใช้โทรศัพท์เส้นทางนี้จะถูกยกเลิกและพร้อมสำหรับการใช้งานครั้งต่อไป การสร้างเส้นทางผ่านข้อมูลเซอร์กิตสวิตชิ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญในระบบส่งสัญญาณแบบเซอร์กิตสวิตชิ่ง เฟรมข้อมูลที่ส่งแต่ละการเชื่อมต่อจะถูกส่งผ่านเครือข่าย โดยใช้เส้นทางเดียวกันทั้งหมด สำหรับหลักการทำงาน ให้พิจารณาจากรูปที่ 1-(a) ฝั่งต้นทางในที่นี้คือ S ซึ่งต้องการสื่อสารกับฝั่งปลายทางคือ T ผ่านเครือข่าย และด้วยวิธีเซอร์กิตสวิตชิ่ง นั้นจะสร้างเส้นทางเพื่อการส่งข้อมูลแบบตายตัว (Dedicated Path) ดังนั้นการเชื่อมต่อจากฝั่งต้นทาง S ไปยังปลายทางT ในที่นี้ก็ได้มีการจับจองเส้นทางตามนี้คือ

รูปที่ 1 เปรียบเทียบการสื่อสารแบบเซอร์กิตสวิตชิ่งและเมสเสจสวิตชิ่ง
(a) เซอร์กิตสวิตชิ่งมีการจับจองเส้นทางเพื่อถือครองตลอดระยะเวลาสื่อสาร
(b) เมสเสจสวิตชิ่งมีการจับจองหนึ่งเส้นทางเพื่อถือครองในช่วงเวลาหนึ่ง

เส้นทางดังกล่าวจะถูกถือครองในระหว่างการสื่อสารตลอดจนกระทั่งยุติการสื่อสาร ถึงจะถูกปลดออก (Release) กล่าวคือ ตลอดในช่วงเวลาของการถือครองเพื่อการสื่อสารระหว่างฝั่งต้นทางและฝั่งปลายทาง เส้นทางนี้จะถูกโฮลด์ไว้ โดยผู้อื่นจะไม่สามารถใช้งานเส้นทางเหล่านั้นได้ ซึ่งถือว่าเป็นข้อเสีย ส่วนข้อดีของวิธีเซอร์กิตสวิตชิ่งนี้ก็คือ หลังจากที่ฝั่งต้นทางสามารถสร้างคอนเน็ก-ชันเพื่อเชื่อมต่อกับฝั่งปลายทางได้แล้ว การรับส่งข้อมูลก็จะดำเนินการได้ทันทีโดยผ่านเส้นทางที่เปรียบเทียบเสมือนกับท่อที่ได้วางไว้ ดังนั้น การถ่ายโอนข้อมูลจึงกระทำได้อย่างรวดเร็ว โดยมีค่าหน่วยเวลาหรือ Delay น้อยมาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกของการสื่อสารอาจจำเป็นต้องรอคอยก่อน เนื่องจากจำเป็นต้องมีการสร้างคอนเน็กชัน เพื่อวางเส้นทางไปยังโฮสปลายทางระบบส่งสัญญาณแบบเซอร์กิตสวิตชิ่งที่ใช้ในเครือข่าย WAN มีดังนี้

• โมเด็มและระบบโทรศัพท์ (Modem and Telephone System)

• สายคู่เช่า (Leased Line)

• ISDN (Integrated Services Digital Network)

• DSL (Digital Subscriber line)

• เคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)


เมสเสจสวิตชิ่ง (Message Switching)

วิธีสื่อสารแบบเมสเสจสวิตชิ่งนั้น เมสเสจจะถูกส่งจากฝั่งต้นทาง S ไปยังปลายทาง T ในลักษณะเป็นขั้นๆ โดยจะมีการถือครองเส้นทางในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น จากรูปภาพที่ 1-(b) จะเห็นได้ว่า ในขั้นตอนแรก S ได้มีการส่งผ่านเส้นทางไปยัง a จากนั้น a ก็จะมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ชั่วคราว ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเส้นทาง จาก S ไปยัง a นั้นจะถูกปลดออก (Release) ทำให้ผู้อื่นสามารถใช้เส้นทางนี้ในการลำเลียงข้อมูล จากนั้น a ก็ได้ดำเนินการส่งเมสเสจนั้นต่อไปยัง c และดำเนินการเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงปลายทาง T จะเห็นได้ว่า วิธีนี้จะมีการถือครองเส้นทางในการลำเลียงข้อมูลในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น โดยเมื่อโหนดใดโหนดหนึ่งได้จัดเก็บเมสเสจเหล่านั้นไว้ชั่วคราวแล้ว เส้นทางนั้นก็จะถูกปลดออกเพื่อให้ผู้อื่นใช้งานต่อไป วิธีนี้ถือว่าเป็นการใช้เส้นทางในการลำเลียงข่าวสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตาม เมสเสจสวิตชิ่งนี้ก็มีข้อเสียคือ ค่าหน่วงเวลามีค่อนข้างสูง เนื่องจากข้อมูลที่ส่งไปในระหว่างทางนั้นจะถูกจัดเก็บไว้ชั่วคราวในแต่ละจุดบนเครือข่าย ซึ่งอุปกรณ์ที่จัดเก็บข้อมูลเหล่านั้นจะประมวลผลค่อนข้างช้าทีเดียว เช่น ดิสก์ หรือดรัมแม่เหล็ก ในขณะที่ในยุคก่อนนั้นใช้เทปกระดาษก็จะยิ่งทำให้ล่าช้าขึ้นไปอีก และหากข้อมูลมีขนาดใหญ่ ซึ่งปกติก็จะมีการแบ่งข้องมูลออกเป็นส่วนๆ ก็จะทำให้ใช้เวลาส่งมากขึ้น รวมถึงจำนวนโหนดที่ส่งต่อระหว่างกันบนเครือข่าย หากมีโหนดที่ส่งต่อจำนวนมาก ก็จะทำให้เกิดความล่าช้ามากขึ้นตามมาด้วย

แพ็กเก็ตสวิตชิ่ง (Packet Switching)

การสื่อสารแบบวิธีแพ็กเก็ตสวิตชิ่งนั้น จัดเป็นกรณีพิเศษของเมสเสจสวิตชิ่ง ด้วยการเพิ่มคุณสมบัติพิเศษเข้าไป โดยในขั้นแรกเมื่อต้องการส่งหน่วยข้อมูล และด้วยแพ็กเก็ตมีขนาดที่จำกัดดังนั้น หากเมสเสจมีขนาดใหญ่กว่าขนาดสูงสุดของแพ็กเก็ต จะมีการแตกออกเป็นหลาย ๆ แพ็กเก็ตขั้นที่สอง เมื่อแพ็กเก็ตได้ส่งผ่านจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งบนเครือข่าย จะมีการจัดเก็บแพ็กเก็ตเหล่านั้นไว้ชั่วคราวบนหน่วยความจำความเร็วสูง เช่น RAM ซึ่งในเวลาในการประมวลผลได้รวดเร็วกว่าอุปกรณ์ที่ใช้งานบนระบบเมสเสจสวิตชิ่ง ข้อดีของการสื่อสารด้วยวิธีแพ็กเก็ตสวิตชิ่งก็คือ เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีเมสเสจสวิตชิ่งแล้วค่าหน่วงเวลาของแพ็กเก็ตสวิตชิ่งนั้นมีค่าน้อยกว่า โดยค่าหน่วงเวลาของแพ็กเก็ตแรก จะเกิดขึ้นเพียงชั่วครู่ในขณะที่แพ็กเก็ตแรกนั้นผ่านจำนวนจุดต่าง ๆบนเส้นทางที่ใช้ หลังจากนั้นแพ็กเก็ตที่ส่งตามมาทีหลังก็จะทยอยส่งตามกันมาอย่างรวดเร็ว และหากมีการสื่อสารบนช่องทางความเร็วสูงแล้ว ค่าหน่วงเวลาที่เกิดขึ้นจะมีค่าที่ต่ำทีเดียวโดยการสื่อสารด้วยวิธีแพ็กเก็ตสวิตชิ่งนี้ยังแบ่งออกเป็น 2 วิธีด้วยกันคือ วิธีดาต้าแกรม (Datagram Approach)และ เวอร์ชวลเซอร์กิต (Virtual-Circuit Approach)


รูปที่ 2 แพ็กเก็ตสวิตชิง : วิธีส่งแบบดาต้าแกรม (Datagram Approach)


รูปที่ 3 แพ็กเก็ตสวิตชิง : วิธีส่งแบบเวอร์ชวลเซอร์กิต (Virtual-Circuit Approach)

เทคโนโลยี WAN ที่ใช้ระบบส่งข้อมูลแบบแพ็กเก็ตสวิตช์มีดังนี้

• x.25

• เฟรมรีเลย์ (Frame Relay)

• ATM (Asynchronous Transfer Mode)



OSI Model และ TCP/IP Model[แก้]

TCP/IP กับ OSI Model

1. Process Layer จะเป็น Application Protocal ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับผู้ใช้และให้บริการต่าง ๆ

2. Host – to – Host Layer จะเป็น TCP ที่ทำหน้าที่คล้ายกับชั้นที่ 4 ของ OSI Model คือควบคุมการรับส่งข้อมูลจากปลายด้านส่งถึงปลายทางด้านรับข้อมูล

3. Internetwork Layer ได้แก่ส่วนของโปรโตคอล IP ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับชั้นที่ 3 ของ OSI Model คือเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายที่อยู่ชั้นล่างลงไป

4. Network Interface เป็นส่วนที่ควบคุมฮาร์ดแวร์การรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย เปรียบได้กับชั้นที่ 1 และ2 ของ OSI Model

เปรียบเทียบ TCP/IP กับ OSI Model


TCP/IP Model มีแนวคิดพื้นฐานแตกต่างจาก OSI Model คือไม่ได้มีพื้นฐานของการสื่อสารแบบการสนทนา TCP/IP Model เป็นภาพแสดงถึงโลกของระบบเครื่อข่ายสากล (Internetworking) จะพบว่ามีบางเลเยอร์ที่มีการกำหนดคุณสมบัติที่เทียบได้ไกล้เคียงกัน แต่บางเลเยอร์ก็ไม่สามารถเทียบหาความสัมพันธ์กัน



อ้างอิง[แก้]

http://www.thaiengineering.com/new-technology-a-it.html http://osimode01.weebly.com/tcpip358536333610osi-model.html