ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:รังสรรค์ นิพฺภโย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติวัดสำแล[แก้]

วัดสำแลสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วัดสำแล ภาษามอญเรียกว่า "เกี่ยธ่มษะ" เป็นวัดที่บรรดาชาวมอญ ที่อพยพมาจากหมู่บ้าน "สัมแล" อยู่ในเขตเมือง เมาะระมิงค์ ร่วมกันสร้างขึ้น และตั้งชื่อว่า "วัดสำแล"

ป้ายทางเข้าด้านหน้าวัดสำแล
ทางเข้าด้านหน้าวัดสำแล
ภาพถ่ายวัดสำแลโดยบริเวณรอบๆวัด

วัดสำแล ตั้งอยู่เลขที่ 91 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านกระแชง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติ มีที่ดินตั้งวัดจำนวน 12 ไร่ 80 ตารางวา โฉนดเลขที่ 6341 ที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 8 แปลง เนื้อที่ 103 ไร่ 45 ตารางวา ปัจจุบันที่ดินตั้งวัดเหลือไม่เท่าเดิมแล้ว เนื่องจากการประปานครหลวง ขอเช่าใช้ในกิจการประปาคือขุดคลองส่งน้ำดิบให้มีขนาดกว้างขึ้นมากกว่าเดิม ขุดบริเวณข้างวัดด้านทิศเหนือ ส่วนหลังวัดมีถนนบัวขาวตัดผ่าน ทำให้ที่ดินของวัดถูกตัดแบ่งแยกไปบางส่วน จึงมีประชาชนมาขอเช่าปลูกบ้านอยู่อาศัย ส่วนที่ธรณีสงฆ์ ที่ตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ถูกถนนทางด่วนตัดผ่าน คงเหลือให้ประชาชนเช่าทำนา และอยู่อาศัย ปัจจุบันคงเหลือไม่เท่าเดิม

♦ ปี พ.ศ. 2360 ชาวมอญเริ่มสร้างศาลาการเปรียญขึ้นเป็นเป็นครั้งแรก เป็นศาลาไม้ใต้ถุนสูงประมาณ 1 เมตร สร้างไว้เพื่อเป็นที่บำเพ็ญกุศล ทำกิจกรรมเกี่ยวกับศาสนา เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวมอญ

♦ ปี พ.ศ. 2365 ได้สร้างหอสวดมนต์ไม้ 1 หลัง เนื่องจากชาวมอญเลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนา สร้างไว้เพื่อสวดมนต์ ไหว้พระ ปี พ.ศ.2370 สมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวมอญได้สร้างอุโบสถอีก 1 หลัง ทรงมหาอุตม์ ( มีประตูทางเข้า ไม่มีประตูทางออกข้างหลัง )

ภาพถ่ายวัดสำแลติดแม่น้ำ

♦ ปี พ.ศ. 2412 สมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบูรณะวัดใหม่ เนื่องจากเป็นเวลานาน 42 ปี วัดชำรุดทรุดโทรมมาก และวัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2414 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 16 เมตร ยาว 25 เมตร เป็นวัดโดยสมบูรณ์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาสภาพแวดล้อมวัดสำแล

เจ้าอาวาสและพระสงฆ์ที่เป็นองค์จัดการปกครองมี 7 รูป
ลำดับ รายนาม/สมณศักดิ์ รูปภาพ ตำแหน่ง
1 พระอาจารย์ปั้น ( สงกิจโจ ) ไม่มีภาพปรากฎ อดีตเจ้าอาวาสวัดสำแล
2 พระอริยธัชสังฆปาโมกข์ ( พุฒ พุทธญาโณ )
ไฟล์:อดีตเจ้าอาวาสวัดสำแล.jpg
ในอดีตดำรงค์ตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี
3 พระครูอุตโมรุวงษ์ธาดา (ศุข อหิสโก)
ไฟล์:พระครูอุตโมรุวงษ์ธาดา .jpg
( ศุข อหิสโก )
ในอดีตดำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวงอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
4 พระวินัยสาทร ( มะลิ พหุปุญโญ )
ไฟล์:พระครูอุตโมรุวงษ์ธาดา ( ศุข อหิสโก ).jpg
พระวินัยสาทร (มะลิ พหุปุญโญ)
นอดีตดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าคณะจังหวัดนนทบุรี วัดเขมาภิรตาราม ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นราชาคณะ ราชทินนามว่า " วินัยสาทร"
5 พระครูปิยะธรรมธาดา (สาลี่) ุ
ไฟล์:พระครูปิยะธรรมธาดา (สาลี่).jpg
พระครูปิยะธรรมธาดา (สาลี่)
อดีตเจ้าอาวาสวัดสำแล
6 พระครูปทุมธรรมโสภณ ( ลำพึง สิริธฺมโม )
ไฟล์:พระครูปทุมธรรมโสภณ.jpg
พระครูปทุมธรรมโสภณ
อดีตเจ้าอาวาสวัดสำแล
7 พระปลัด รังสรรค์ นิพฺภโย
เจ้าอาวาสวัดสำแลในปัจจุบัน
เจ้าอาวาสวัดสำแลในปัจจุบัน

• รายนามไวยาวัจกรของวัดสำแล ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน[แก้]

1. นายวัน ปิ่นพวง

2. นายมณฑา โคสนัน

3. นายบุญสืบ ชูพินิจ

4. นายชัยชลอ กลิ่นหอม

5. นายสมศักดิ์ เจริญสัตย์

ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]

วัดสำแล ตั้งอยู่บนเกาะเกร็ดใหญ่ มีบรรยากาศที่เงียบสงบ เย็นสบายอากาศบริสุทธิ์ สิ่งแวดล้อมดี ยังคงสภาพเป็นธรรมชาติให้เห็น อยู่ห่างจากจังหวัดปทุมธานีไปทางทิศเหนือ ประมาณ 5 กิโลเมตร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตะวันออก ฤดูน้ำหลาก บางครั้งจะท่วมพื้นที่วัด แม่น้ำเจ้าพระยาส่วนที่ไหลผ่านบริเวณหน้าวัด เป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายที่ขุดขึ้นมาใหม่ เพื่อย่นระยะทางเนื่องจากแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม (สายเก่า) อ้อมมาก ในอดีตฝั่งตรงข้ามวัดสำแล มีตลาดน้ำที่เจริญมาก ขายของกินตลอดวัน ความยาวของตลาด ประมาณ 1 กิโลเมตร ปัจจุบันสลายไปหมดแล้ววัดสำแลนี้มีผู้คนมาทำบุญมากถึงแม้ว่าบางบ้านจะย้ายบ้านไปอยู่ที่อื่น หรือขายบ้านไปแล้วก็ตามแต่เวลามีงานบุญสำคัญๆก็จะกลับมาทำบุญกันที่วัด

♦ อาณาเขต[แก้]

~ ทิศเหนือ ติดกับสถานีสูบน้ำดิบสำแล การประปานครหลวง

~ ทิศใต้ ติดกับที่ดินประชาชน หมู่ที่ 2

~ ทิศตะวันออก ติดต่อกับถนนบัวขาว

~ ทิศตะวันตก ติดต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยาสายที่ขุดขึ้นมาใหม่

♦ การเดินทาง สามารถเดินทางมาวัดสำแลได้ 2 ทาง คือทางบกและทางน้ำ มีรถประจำทางจากจังหวัดปทุมธานี ให้บริการผ่านถนนด้านหลังวัด[แก้]

♦ โบราณสถานและเสนาสนะภายในวัด[แก้]

ศาลาการเปรียญหลังเดิมวัดสำแล

1. ศาลาการเปรียญเดิม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2360 (จากหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 2 ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ พิมพ์ พ.ศ.2526) รูปทรงของศาลาได้ สัดส่วนดี แต่เดิมเป็นไม้ทั้งศาลา ต่อมามีการต่อเติมชานสำหรับเดินด้านทิศเหังใหม่นือ และ ด้านทิศตะวันตกของศาลา จึงต่อเติมเป็นคอนกรีต ส่วนครัว ห้องน้ำด้านศาลา เป็นคอนกรีตด้วยเช่นกัน มีหลายวัด ได้มาขอวัดขนาด สัดส่วน เพื่อนำไปเป็นแบบอย่างในการก่อสร้าง

ศาลาการเปรียญหลังใหม่วัดสำแล

2. ศาลาการเปรียญหลังใหม่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี มีงบประมาณช่วยเหลือ ทางวัดสำแลพิจารณาเห็นว่าสมควรนำมายกศาลาการเปรียญให้สูงขึ้น เพื่อหนีน้ำท่วม เพราะบางปีน้ำท่วมสูงมากจึงได้ยกศาลาและซ่อมแซมบางส่วน ต่อเติมตกแต่งชั้นล่างให้พร้อมใช้งาน จึงเริ่มทำการก่อสร้างเมื่อ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2553 สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2556 ซึ่งมีผู้บริจาคในการก่อสร้างครั้งนี้ด้วย

ศาลาการเปรียญเก่าวัดสำแล
ไฟล์:หอระฆังเก่า วัดสำแล.jpg
หอระฆังเก่า วัดสำแล

3. หอสวดมนต์หลังเดิม ชาวมอญที่อพยพมาสร้างหอสวมนต์เมื่อ พ.ศ.2365 มีลักษณะเป็นไม้ทั้งหลัง ใต้ถุนสูง ไม่มีฝาผนังทั้งด้านซ้ายและด้านขวา และด้านหน้า ด้านหลังมีผนังกั้น เป็นห้องเล็กๆ ชำรุดทรุดโทรมมาก มีรูปร่างลักษณะคล้ายหอสวดมนต์หลังใหม่ จึงได้ทำการรื้อ ถอน และสร้างใหม่ในที่เดิม

ไฟล์:หอระฆังใหม่ วัดสำแล.jpg
หอระฆังใหม่ วัดสำแล

4. หอสวดมนต์หลังใหม่ 2 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ.2536 หอสวดมนต์เดิมชำรุดทรุดโทรมมาก ทางวัดได้ทำการรื้อถอน และจัดสร้างหอสวดมนต์หลังใหม่ขึ้น เป็นตึกคอนกรีต 2 ชั้น มีบันได ขึ้นด้านหน้า 2 ทาง ชั้นล่างสามารถใช้ประโยชน์ ในการทำบุญงานเล็กๆ ที่ไม่มีผู้คนมากมาย ชั้นบน เป็นที่สวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็นและเป็นที่อาศัยตั้งพิพิธภัณฑ์วัดสำแล เป็นการชั่วคราว

5.อุโบสถหลังเก่า จาหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรเล่ม 2 ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ พิมพ์ พ.ศ.2526 บันทึกไว้ว่า สร้างเมื่อ พ.ศ.2370 เป็นอุโบสถโบราณทรงสอบ หน้าบันปั้นด้วยปูนลงรักปิดทองสวยงามมีประตูเข้าเฉพาะด้านหน้าเท่านั้น ด้านหลังอุโบสถ (หลัง พระประธาน) ไม่มีประตูคนโบราณ เรียกว่า "อุโบสถมหาอุตม์" หาดูได้ยาก ปัจจุบันชำรุดทรุดโทรมมาก อุโบสถหลังเก่า เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทรงไทย เครื่องบนประกอบด้วยช่อฟ้าใบระกา ยกพื้นสูงก่อเป็นฐานปัทม์ หน้าบันด้านหน้าโบสถ์วัดสำแล ปูนปั้นแบ่งเป็นกรอบหน้าบันสองชั้น โดยมีลายปูนปั้นหน้ากระดานชั้น ฐานหน้าบันด้านล่างประกอบด้วยลายปูนปั้นหน้ากระดาน ประกอบด้วย ลายประจำยามก้ามปูและกระจังรวน ตรงกลางก่อเป็นซุ้มเรือนแก้ว ประดิษฐาน พระพุทธรูปสามพระองค์ ปูนลายราชวัต กรอบหน้าบันด้านบนฐานบันปั้นปูนลายหน้า กระดานประจำยามก้ามปู และกระจังรวนตรงกลางหน้าบันปั้นปูนเป็นรูปพระพรหมประทับบน ปราสาททรงช้างเอราวัณ พื้นหน้านั้นเป็นลายเครือเถารูปแบบหน้าบันแบบนี้มักพบเห็นโดยทั่วไป สำหรับวัดในอำเภอสามโคก เช่น วัดสิงห์ วัดไก่เตี้ย วัดถั่วทอง ซึ่งทำการรื้อซ่อมแซมในสมัยเก่า สมัยอยุธยาแล้วสร้างโบสถ์ใหม่ขึ้นมาบนฐานโบสถ์เดิมในสมัยรัตนโกสินทร์ จากการศึกษาวิเคราะห์พระประธาน และพระลำดับในโบสถ์วัดสำแล จะเห็นได้ว่า แท่น ฐานชุกข์ของพระลำดับและพระประธาน ได้ทำการซ่อมแซมเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพเดิมเป็นอันมาก พระประธานและพระลำดับพิจารณาจากเศียรและพระศอ พระพักตร์ พระกรรณน่าจะไม่ใช่ ของเดิมถูกตัดพระเศียรไปก่อนแล้วจึงปั้นพระเศียรใหม่ขึ้นมาแทน จึงผิดไปจากพุทธลักษณะที่ควร บางองค์ลักษณะพอกปูนขึ้นมาจากชิ้นส่วนขององค์พระที่คงเหลือ จึงทำให้องค์พระไม่งดงามตาม พุทธลักษณะ ใบเสมา ปูนปั้นตั้งบนฐานปัทม์ เป็นสิ่งที่บ่งบอกอายุ ยุคสมัยของวัดได้เป็นอย่างดี น่าเสียดายใบเสมาศิลาของเดิมคงถูกทำลายหรือปล่อยทิ้งจมดินไปแล้ว สมัยโบราณ สมัยทวาราวดี กรุงศรีอยุธยา ธนบุรี ต้นรัตนโกสินทร์ล้วนแล้วแต่ใช้เสมาศิลาจำหลักทั้งสิ้น (ผู้จัดทำได้สอบถาม นายวีรวัฒน์ วงศ์ศุปไทย)

หอฉันท์วัดสำแล
ศาลาธรรมสังเวชวัดสำแล

6. อุโบสถหลังใหม่ สร้างเมื่อ วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2547

กุฏิไม้สักสองชั้นกุฏิเจ้าอาวาส

7. กุฏิโบราณ 1 หลัง สร้าง พ.ศ. ใดไม่ปรากฎ ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัด

8. กุฏิไม้สัก 2 ชั้น เป็นกุฏิเจ้าอาวาสสร้างด้วยไม้สักมีลายฉลุอ่อนช้อย ฝีมือประณีตส่วนใหญ่ เจ้าอาวาสทุกรูปจะต้องมาจำพรรษาที่กุฏิหลังนี้ ลักษณะเป็นอาคารสองชั้นใต้ถุนสูง สร้างเมื่อ พ.ศ.2457 พระครูอุตโมรุวงษ์ธาดา เป็นผู้สร้างปี พ.ศ. ที่จารึกไว้ที่ตัวอาคาร

9. สำนักงานเจ้าคณะตำบลเชียงรากน้อย สร้างเมื่อ พ.ศ.2549 เพื่อใช้เป็นสำนักงานเลขา ของวัด ใช้ในโอกาสติดต่อกับส่วนราชการและบุคคลทั่วไป ต่อเติมชั้นล่างของกุฏิไม้สัก ปัจจุบันเจ้าอาวาสวัดสำแลจำพรรษาอยู่

เจดีย์ศิลปะมอญวัดสำแล สร้างเมื่อ พ.ศ. 2473

10. เจดีย์ศิลปะมอญ สร้าง พ.ศ. 2473 มีลักษณะรูปทรงโดยรวม คล้ายเจดีย์ชเวดากอง ที่เมืองย่างกุ้ง แต่มีขนาดเล็กกว่าเท่านั้น เจดีย์มอญที่วัดสำแลนี้ความสูงจากพื้นถึงยอดฉัตรประมาณ 15 เมตร องค์เจดีย์มีรูปทรงสมส่วนดูงดงาม ทางวัดได้ทำการดูแลรักษาเป็นอย่างดี

จุดมุ่งหมายในการสร้างเจดีย์ในแบบศิลปะมอญมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

• สร้างเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ (ธาตุเจดีย์)

• สร้างเพื่อบรรจุสิ่งของเครื่องใช้พุทธองค์ (บริโภคเจดีย์)

• สร้างเพื่อบรรจุพระธรรมคำสอน (ธรรมเจดีย์)

• สร้างเพื่ออุทิศถวายให้ในพุทธศาสนา (อุเทสิกเจดีย์)

11. หอระฆังเก่ามีอักษรจารึกว่า สร้าง พ.ศ.2487

12. หอระฆังใหม่ บูรณะเมื่อ พ.ศ.2546 ได้บูรณะหอระฆังใหม่ เนื่องจากหอระฆังหลังเก่า ชำรุดทรุดโทรม บูรณะที่เดิมใช้ฐานเดิม

13 พิพิธภัณฑ์วัดสําแล เนื่องจาก วัดสําแล มีโบราณวัตถุหลายชนิดเก็บรักษาไว้ในกุฏิพระอริยธัช เกรงว่าจะสูญ หาย โบราณวัตถุต่างๆเหล่านั้น มีคุณค่า มีความสําคัญหากได้นํามาจัดแสดงสู่สายตาประชาชน ก็จะทําให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ก็จะเป็นประโยชน์แก่ผู้พบเห็นสามารถทราบประวัติความ เป็นมา ลักษณะการใช้สอยและอายุของโบราณวัตถุเหล่านั้น ถ้าปล่อยไว้จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ และอนุชนรุ่นหลังจะได้มีการสืบสานอนุรักษ์ ถ่ายทอดและเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ได้ นางสมหมาย รอดอนันต์และนางมัณฑนา ชูพินิจ จึงเกิดแรงบันดาลใจ ขออนุญาตพระ ครูปทุมธรรมโสภณ เจ้าอาวาสวัดสําแล นําโบราณวัตถุ บางส่วน ไปจัดแสดงไว้ที่หอสวดมนต์ชั้น บน และจัดหาทุนดําเนินการ โดยการทอดผ้าป่าสามัคคีขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2546 เพื่อนํารายได้มาบริหาร จัดการ เช่น ซื้อตู้ โต๊ะหมู่บูชามุก พระประจําวัน 1 ชุค

         โบราณวัตถุที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์วัดสําแลส่วนใหญ่ได้แก่ เครื่องกระเบื้องลายคราม เครื่อง แก้วเจียระไน คณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ได้มาเก็บภาพถ่าย เพื่อนําไป ตรวจสอบข้อมูล หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ณ พระที่นั่งวิมานเมฆ ได้คําอธิบายจากนักวิชาการใน พระที่นั่งวิมานเมฆว่าเครื่องกระเบื้องลายครามเป็นลวดลายตัวหนังสือ เป็นบทกวีในสมัยราชวงศ์ “ชิง” ลักษณะของชิ้นงานจะเป็นศิลปะที่นําเข้ามาในช่วงรัชการที่ 5 ซึ่งชิ้นงานมีรูปแบบลักษณะ ตรงกันกับชิ้นงานที่จัดแสดงไว้ที่พระที่นั่งวิมานเมฆ

         ส่วนเครื่องแก้วเจียระไน โดยส่วนใหญ่มีตัวอักษร ซึ่งปรากฏแหล่งที่มาของเครื่องแก้วว่า นําเข้ามาจากประเทศเนเธอแลนด์ ซึ่งเข้าใจว่าเครื่องแก้วเหล่านี้ คงนํามาใช้ในช่วงรัชกาลที่ 5 ตอน เสด็จประพาสยุโรป ที่เข้าใจว่าจะนํามาใช้ในช่วงนี้เพราะลักษณะของเครื่องแก้ว มีลักษณะเด่นคือสี ของเครื่องแก้วในแถบทวีปยุโรปจะทําเครื่องแก้วกันหลายประเทศ แต่ละประเทศจะให้สีของเครื่อง แก้วที่แตกต่างกัน

         นอกจากนี้ก็จะมีธรรมาสน์ ที่รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้าง อุทิศถวาย ในงานพระราชพิธีออกพระเมรุ รัชกาลที่ 5 ที่ด้านหลังธรรมาสน์ มีตราพระราชลัญจกร ของรัชกาลที่ 5 คือ จปร. พ.ศ. 2453 ทรงสร้างถวายวัดที่เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี หรือวัดที่มี ความสําคัญ คุณลักษณะ ลงรักสีดํา ที่วัดสําแลส่วนวัดที่เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ทรงสร้างธรรมาสน์ ที่มีคุณลักษณะ ลงรักปัดสีทอง อุทิศถวายและวัดที่เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ทรงสร้างธรรมาสน์ ที่มีคุณลักษณะ ประดับด้วย กระจกมันวาว อุทิศถวาย

         ส่วนโบราณวัตถุอื่นๆ มีอีกมากมาย ทางพิพิธภัณฑ์ไม่ได้จัดแสดงพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับ วิถีชีวิต เนื่องจากไม่มีอาคารเป็นสัดส่วน ต้องอาศัยหอสวดมนต์ของพระภิกษุเป็นที่จัดแสดง การจัดแสดง ได้อธิบายถึงประโยชน์ใช้สอย และประวัติความเป็นมาไว้ให้เรียนรู้

ด้านการศึกษา[แก้]

กุฏิโบราณ วัดสำแล

ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดสําแล พระครูปทุมธรรมโสภณ (เจ้าอาวาสวัดสําแล) เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดสําสังกัดกรมการศาสนาและเปิดการเรียนการสอนเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2543 มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดการศึกษาอบรมและเตรียมความพร้อมให้แก่เด็ก อนุญาตให้จัดตั้งได้ในปีการศึกษา 2543 ทั้งนี้ให้ดําเนินงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามระเบียบกรมการศาสนา ว่าด้วยศูนย์การศาสนา จะ พิจารณาจัดสรรงบประมาณสนับสนุน เพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายบางส่วนบางรายการในศูนย์ ตั้งแต่ เดือนตุลาคม พ.ศ.2543 (ปีงบประมาณ 2544 เป็นต้นไป) ต่อมาได้ถ่ายโอนไปอยู่สังกัด สํานักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ และสํานักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดปทุมธานี

มรดกทางวัฒนธรรมของวัดสําแล[แก้]

→ 1. มกราคมของทุกปี ทําบุญขึ้นปีใหม่

        → เดือนสี่ กลางเดือน งานปิดทองรอยพระพุทธบาท งานนี้ทางวัดจะจัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ พุทธศาสนิกชนได้นมัสการรอยพระพุทธบาท ชาวรามัญถือว่าเป็นมงคลจึงนําลูกหลานของตนที่ไว้ ผมจุก ไปประกอบพิธีตัดจุกที่วัดในช่วงนี้ด้วย

        → เดือนห้า งานประเพณีสงกรานต์ เมื่อถึงวันที่ 13 เมษายน ของทุกปีชาวบ้านจะเตรียมตัว เพื่อที่จะเข้าวัดทําบุญตักบาตรอาหารคาวหวาน โดยจะมีการหุงข้าวแช่ ซึ่งเป็นประเพณีในเทศกาล สงกรานต์โดยเฉพาะ นําไปถวายพระที่วัดและยังส่งให้ญาติผู้ใหญ่รับประทานกันอีกด้วย ส่วนขนม ที่นิยมทํากันคือ กาละแมและข้าวเหนียวแดง และมีการสรงน้ําพระ รดน้ําขอพรผู้ใหญ่ แห่หางหงส์ ธงตะขาบ ตามประเพณีนิยม

         → วันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี ทําบุญวันแม่แห่งชาติ

         →เดือนแปด แรม 1 ค่ำ งานทําบุญเข้าพรรษา เป็นวันเริ่มเข้าจําพรรษาของพระสงฆ์ชาวบ้าน จะนําอาหารคาวหวาน และนอกจากนั้นจะมีการถวายเทียนพรรษา ผ้าอาบน้ําฝนและเครื่องใช้สอย ต่างๆ ไปถวายแด่พระสงฆ์ เพื่อใช้สอยในช่วงเข้าพรรษาอีกด้วย

        → เดือนสิบ ขึ้น 15 ค่ำประเพณีตักบาตรน้ําผึ้ง ชาวบ้านจะไปทําบุญตักบาตรกันที่วัดตามปกติ แต่ที่พิเศษก็คือ จะนําน้ําผึ้งไปถวายพระสงฆ์ด้วย เพราะน้ําผึ้งเป็นเภสัชรักษาโรคและพระสงฆ์ สามารถฉันได้ตามพุทธานุญาต และขนมที่นิยมทําและถวายคู่กับน้ําผึ้งก็คือ ข้าวต้มลูกโยน

         →เดือนสิบ แรม 15 ค่ำ ประเพณีทําบุญวันสารทเป็นเทศกาลของการกวนขนมกระยาสารท เพื่อที่จะนําไปถวายแด่พระสงฆ์เพื่อเป็นทักษิณาอุทิศให้แก่ญาติผู้ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว จะนิยมถวายคู่ กับกล้วยไข่คู่กัน หรือที่ชาวรามัญเรียกว่า “ประเก๊าซอโผด” คือทําบุญเดือนสิบ

         →เดือนสิบเอ็ด ขึ้น 15 ค่ำ ประเพณีทําบุญออกพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์ปวารณาออกพรรษา หลังจากที่อยู่จําพรรษาครบไตรมาส ชาวบ้านจะไปทําบุญตักบาตรและถวายของต่างๆ แด่พระสงฆ์ เป็นกรณีพิเศษกว่าการทําบุญในวันธัมมัสสวนะ คือ ถวายผลไม้กองหลายๆ ชนิด บางบ้านทําขนมกง หลังจากออกพรรษา จะทําการลำพาข้าวสาร เพื่อนําปัจจัย สิ่งของ ข้าวสาร ไปทําบุญในวันทอดกฐินของวัด การลำพาข้าวสารของชาวบ้านวัดสําแลการลำพาข้าวสาร เป็นประเพณีดั้งเดิมของชาว วัดสําแล ในสมัยโบราณ หลังจากออก พรรษา เป็นเวลาข้างขึ้นเดือนหงาย วัดที่อยู่ใกล้บ้านจะมีการทอดกฐิน บรรพบุรุษชาววัดสําแล ได้คิดวิธีที่จะชักชวนชาวบ้านให้ออกไปบอกบุญชาวบ้านตามริมแม่น้ําให้ทําบุญด้วยข้าวสารและ จตุปัจจัย เพื่อนําไปสมทบในงานทอดกฐินของวัด การออกไปเชิญชวนให้ทําบุญ ก็จะมีทั้งหญิงและชาย ผู้ชายมีผ้าโพกศีรษะกันน้ําค้าง ผู้หญิงจะแต่งกายเรียบร้อย พาหนะที่ใช้สมัยโบราณจะเป็น เรือมาดหรือเรือพาย แต่ปัจจุบันใช้เรือติดเครื่องช่วยบ้างเป็นบางโอกาส จะออกไปเชิญชวนให้ ทําบุญในเวลากลางวัน มีเครื่องดนตรี คือ นิ่งและกลอง มีภาชนะใส่ข้าวสาร คือ กระบุง กระจาด

[1]

มรดกทางวัฒนธรรมของวัดสําแล
ตักบาตรพระร้อย
ตักบาตรพระร้อยวัดสำแล
ประเพณีตักบาตรพระร้อย
ประเพณีตักบาตรพระร้อยวัดสำแล
การลำพาข้าวสาร
การลำพาข้าวสารชุมชนวัดสำแล
การลำพาข้าวสารในวันตักบาตรพระร้อย
นักศึกษาร่วมการลำพาข้าวสารในวันตักบาตรพระร้อย
โบราณวัตถุในพิธิภัทฑ์
ไฟล์:โบราณวัตถุในพิธิภัทฑ์วัดสำแล1.jpg
โบราณวัตถุในพิธิภัทฑ์วัดสำแล1
ไฟล์:โบราณวัตถุในพิธิภัทฑ์วัดสำแล3.jpg
โบราณวัตถุในพิธิภัทฑ์วัดสำแล3
ไฟล์:โบราณวัตถุในพิธิภัทฑ์วัดสำแล2.jpg
โบราณวัตถุในพิธิภัทฑ์วัดสำแล2
ไฟล์:โบราณวัตถุในพิธิภัทฑ์วัดสำแล4.jpg
โบราณวัตถุในพิธิภัทฑ์วัดสำแล4
ไฟล์:โบราณวัตถุในพิธิภัทฑ์วัดสำแล5.jpg
โบราณวัตถุในพิธิภัทฑ์วัดสำแล5
ด้านการสนับสนุนการศึกษา
ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดสําแลจัดตั้งโดยพระครูปทุมธรรมโสภณ (เจ้าอาวาสวัดสําแล) เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดสําแล ปัจจุบันพระปลัด รังสรรค์ นิพฺภโย เจ้าอาวาสวัดสำแลในปัจจุบัน และคณะกรรมการศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดสำแล เป็นผู้ดูแลและสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ฯ
ป้ายศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดสำแล
กิจกรรมวันเด็กของศูนย์ฯ
ขนมให้เด็กๆจากเจ้าอาวาสวัดสำแล
เด็กทำกิจกรรมภายในศูนย์ฯ
กิจกรรมภายในศูนย์ฯ
โครงการปลูกผักสวนครัวเชิญวิทยากรจากชาวบ้าน
  1. อ้างอิงจากหนังสืองานพระราชทานเพลิง พระครูปทุมธรรมโสภณ (ลำพึง สิริธมฺโม)