ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:ประพล วายโศก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดทองบนเป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าน้ำสาธุประดิษฐ์ เป็นวัดราษฎร์ เริ่มสร้างมาตั้งแต่สมัยใดไม่มีใครทราบ แต่สันนิษฐานว่าอยู่ในสมัยตอนยุคกลางของกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณ พ.ศ.2423 จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ในย่านสาธุประดิษฐ์ -วัดด่าน –วัดดอกไม้ ได้เล่าประวัติย่อ ๆ ให้ฟังเท่าที่จำได้ว่า เมื่อราว พ.ศ. 2423 มีสามี – ภรรยาผู้ใจบุญคู่หนึ่งชื่อ ปู่ทอง – ย่าเอม ได้บริจาคที่ดินแปลงหนึ่งสร้างวัดถวายไว้ในพระบวรพระพุทธศาสนา ตั้งชื่อว่า “วัดทองเอม” ตามชื่อของผู้สร้าง โดยมีพระอาจารย์พัดเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก หลวงปู่ขำเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 2 หลังจากนั้น เมื่อวัดว่างเจ้าอาวาสไม่มีผู้ดูแล ปู่ทองจึงออกบวชเป็นพระภิกษุเพื่อปกครองดูแลวัดในช่วงนั้น ฝ่ายย่าเอมก็บวชเป็นชีรักษาศีลอุโบสถอยู่ในวัดนี้ เช่นเดียวกัน ต่อมาในสมัยพระอาจารย์เพิ่ม (เจ้าอาวาสรูปที่ 4) ได้เปลี่ยนนามวัดทองเอมเป็น “วัดทองบน” และได้ใช้นามนั้นมาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากว่าวัดนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา การคมนาคมจึงนิยมใช้ทางเรือเป็นหลัก การทำบุญพำเพ็ญกุศลในเทศกาลต่าง ๆ ประชาชนมักจะพายเรือไปทำบุญที่วัดทองบนหนึ่งวัน และพายเรือไปที่วัดดอกไม้หนึ่งวัน ดังนั้นประชาชนในย่านนั้นจึงนิยมเรียกวัดทองบนอีกนามหนึ่งว่า “วัดนอก”เพราะตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำนอกสวน และเรียกวัดดอกไม้ว่า “วัดใน” เพราะตั้งอยู่ในสวน ด้วยเหตุนี้ วัดทองบน จึงมีชื่อเรียกกันถึง 3ชื่อด้วยกัน ในสมัยแรก ๆ วัดนี้มีพระภิกษุอยู่จำพรรษาเพียง 4–5 รูปเท่านั้น มีกุฏิ 2 หลัง และสร้างเพิ่มขึ้นอีก 4 หลังรวมเป็น 6 หลัง ต่อมาเมื่อพ.ศ.2490ถูกไฟไหม้ 2 หลัง พังไปตามสภาพ 2 หลัง สมัยพระอาจารย์สมร(เจ้าอาวาสรูปที่ 6)ได้สร้างเพิ่มขึ้นอีก 4หลัง รวมเป็น 6หลังเหมือนเดิม เนื่องจากวัดทองบนสร้างมาเป็นเวลานับร้อยปี จึงทำให้เสนาสนะต่าง ๆชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมาก เพราะไม่ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งที่ตั้งวัดอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จึงมีสภาพน้ำท่วมเกือบตลอดทั้งปี ก็ยิ่งเป็นเหตุให้เสนาสนะต่าง ๆ ชำรุดทรุดโทรมเร็วมากยิ่งขึ้น ต่อมาในสมัยพระมหารส รกฺขิตธมฺโม เจ้าอาวาสรูปที่ 7 จึงได้เริ่มพัฒนาวัดทองบนอย่างจริงจัง (เริ่มตั้งแต่ 6มีนาคา 2519เป็นต้นมา) ในแต่ละปีมีพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษาปีละประมาณ 20 – 22รูป โดยเป็นมหาเปรียญเสียส่วนใหญ่ มีศิษย์วัดประมาณ 10 คน และในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนในปี2018ได้มีการเริ่มสร้างเจดีย์ใหญ่ที่ชื่อว่ามหาเจดีย์ และในปัจจุบันได้มีภิกษุสงฆ์อาศัยมากกว่า30รูป