ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:นางสาว เจนจิรา ภาสนิท/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

[[|thumbnail|220px|ชื่อ นางสาว เจนจิรา ภาสนิท

ชื่อเล่น แป้ง

ที่อยู่ 7 หมู่ 19 ตำบลคูขาด อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา
การศึกษา สาขาวิชาระบบสารสนเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ตำแหน่งงานที่สนใจ โปรแกรมเมอร์
คติประจำใจ ทิ้งอดีตไว้ข้างหลัง แล้วตั้งความหวังไว้ข้างหน้า]]

•••802.11ac ว่าที่มาตรฐานใหม่แห่ง WiFi กำลังใกล้เข้ามาแล้ว•••



ในปัจจุบันการใช้ WiFi เรียกได้ว่าเป็นเรื่องปกติไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สังเกตได้จากปริมาณของอุปกรณ์ที่รองรับการเชื่อมต่อ WiFi และ WiFi Hotspot ที่มีให้ใช้งานมากมาย ซึ่งแน่นอนว่าการที่จะทำให้มันทำงานได้อย่างราบรื่นก็จะต้องมีมาตรฐานกลางในการกำหนดและควบคุมรูปแบบการทำงาน ดังในปัจจุบันจะมีมาตรฐานที่เป็นที่นิยมใช้กันทั่วไปอยู่ 2 ตัวด้วยกัน ได้แก่ 802.11g และ 802.11n แต่ในช่วงปีหน้าเราน่าจะได้เห็นข่าวของ WiFi มาตรฐานใหม่นามว่า 802.11ac กันมากขึ้นอย่างแน่นอน เพราะในขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบ คาดว่าเราน่าจะได้เริ่มเห็นการใช้งานจริงก็ในช่วงปลายปีหน้า จะยังไงก็ตาม เรามาทำความรู้จักกับ 802.11ac กันแบบคร่าวๆก่อนแล้วกัน

802.11ac ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยเน้นไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพของการรับส่งคลื่น ทำให้ได้ผลลัพธ์คือความเร็วที่เพิ่มขึ้นจากเดิมมาก รวมไปถึงระยะที่ไกลขึ้นและสามารถทะลุผ่านสิ่งกีดขวางได้ดีขึ้น โดยคุณสมบัติของ 802.11ac ต่างจาก 802.11g และ 802.11n ดังในตารางด้านล่างนี้

มาตรฐาน ความถี่คลื่น ความกว้างช่องสัญญาณ ความเร็วสูงสุดที่ทำได้ รองรับ MIMO
802.11g 2.8 GHz 25 MHz 54 Mb/s ไม่รองรับ
802.11n 2.4/5 GHz 40 MHz 600 Mb/s รองรับ (3)
802.11ac 5 GHz 80/160 MHz 6.93 Gb/s รองรับ (8)


      • MIMO = Multiple-Input Multiple-Output คือการใช้เสามากกว่า 1 เสาในการรับ/ส่งสัญญาณ ยิ่งเสามากก็ยิ่งแรงขึ้น

จากในตารางก็จะเห็นได้ว่ามีการปรับความถี่คลื่นไปใช้ที่ 5 GHz กันหมด จากที่ในปัจจุบันยังมีอยู่ 2 ความถี่กันอยู่ และยังมีการเพิ่ม bandwidth ขึ้นมาเป็น 80 กับ 160 MHz อีก จึงช่วยให้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นมาก แต่ความเร็วสูงสุดที่อยู่ตารางนั้น จะต้องอยู่ในเงื่อนไขการใช้อุปกรณ์แบบสุดๆด้วยเช่นกัน นั่นคือตัว AP ส่งสัญญาณจะต้องมี 8 เสา และตัวรับสัญญาณจะต้องมี 2 เสาจำนวน 4 ชุดด้วยกัน จึงจะสามารถใช้งาน 802.11ac ได้ด้วยความเร็วเต็มที่ แต่กับการใช้งานของเราๆแบบทั่วไปน่าจะเป็นแบบตัว AP ส่งสัญญาณมี 2 เสา และตัวรับสัญญาณมี 2 เสาซะมากกว่า โดยความเร็วสูงสุดของ 802.11ac ที่จะสามารถใช้งานได้จะอยู่ที่
867 Mb/s สำหรับความถี่คลื่น 80 MHz
1.73 Gb/s สำหรับความถี่คลื่น 160 MHz
นอกจากความต่างในเรื่องของคลื่นที่ได้กล่าวไปแล้ว ยังมีอีกสิ่งที่ต่างกัน นั่นคือรูปแบบการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อจับใส่มากับคลื่นพาหะหรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่าการ modulation ซึ่งใน 802.11ac จะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยเปลี่ยนมาใช้ 256-QAM แทน 64-QAM ที่ใช้ใน 802.11n และยังมีเรื่องรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากที่ 802.11ac มีการพัฒนาขึ้น แต่คาดว่าเราคงไม่ค่อยได้สนใจเพราะมันไม่ค่อยอยู่ในชีวิตประจำวันซักเท่าไร


ซึ่ง 802.11ac นี้ เราน่าจะได้พบกับมันพร้อมอุปกรณ์ในช่วงปลายปี ดังนั้นไม่ต้องงรีบร้อน ใครมีแผนจะซื้ออุปกรณ์ใช้งาน WiFi 802.11n อยู่แล้วละก็ ซื้อไปได้เลย เพราะกว่า 802.11ac จะเป็นที่นิยมก็อีกนานทีเดียว


•••การรักษาความปลอดภัยเครือข่ายแบบไร้สาย•••


การรักษาความปลอดภัยด้วย Firewall
การรักษาความปลอดภัยด้วย Firewall


ถึงแม้ว่าการเข้ารหัสจะใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อความปลอดภัยของข้อมูลรวมทั้งการรักษาความปลอดภัยเครือข่ายไร้สาย การเข้ารหัสข้อมูล คือการแปลข้อมูลไปเป็นเป็นรหัสเพื่อการส่งข้อมูลผ่านทางคลื่นวิทยุ การเข้ารหัสคล้ายกับรหัสผ่าน ถ้าคุณมีความรู้เพียงเล็กน้อยที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยเครือข่ายไร้สายภายในบ้านคุณอาจจะพิจารณาการเข้ารหัสแบบ WEP ซึ่งสามารถทำได้ง่าย แต่ว่า มีความปลอดภัยน้อยมาก

Wireless Security : การป้องกันรหัสผ่านของคุณ
รหัสผ่านของคุณมีความสำคัญต่อการรักษาความปลอดภัยในเครือข่ายไร้สาย ไม่ควรเปิดเผยให้บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต ระมัดระวังการตอบผ่านอีเมลเพื่อขอรหัสผ่าน บริษัทหรือสถานที่ทำงานส่วนใหญ่จะไม่ขอรหัสผ่านทางอีเมลเนื่องจากการขาดการรักษาความปลอดภัย เคล็ดลับเหล่านี้มีประโยชน์สำหรับการรักษาความปลอดภัยแบบไร้สาย และรวมถึงการรักษาความปลอดภัยแบบมีสาย

การรักษาความปลอดภัยเครือข่ายไร้สายเป็นสิ่งสำคัญ โปรดใช้ความระมัดระวังเกี่ยวกับการอนุญาตให้ผู้อื่นให้เข้าถึง คุณยังสามารถตั้งรหัสผ่านในโฟลเดอร์เฉพาะเพื่อเพิ่มความปลอดภัยด้วย

Firewall
การเลือกไฟร์วอลล์ควรจะอยู่กับความจำเป็นของการรักษาความปลอดภัย, งบประมาณ, ความน่าเชื่อถือและมีศักยภาพในการขยายเครือข่ายไร้สาย ไฟร์วอลล์ขั้นพื้นฐานส่วนใหญ่มีความปลอดภัยน้อย เช่นเราเตอร์ที่ใช้กันตามบ้าน ไฟร์วอลระดับถัดไปที่มาพร้อมอุปกรณ์เกตเวย์ สุดท้ายในระดับสูงสุดของการรักษาความปลอดภัยแบบไร้สาย ก็จะใช้เป็นระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งโปรแกรมเช่น Proxxy , Authentication

การเข้ารหัสลับเพื่อการรักษาความปลอดภัยแบบไร้สาย : WEP
WEP เป็นมาตรฐานการเข้ารหัสลับการรักษาความปลอดภัยที่สร้างไว้ในทุกอุปกรณ์ Wi - Fi WEP ไม่ได้เป็นการรักษาความปลอดภัยแบบไร้สายที่ดี แต่เพียงพอสำหรับการรักษาความปลอดภัยแบบไม่สำคัญมากนัก

Wireless Security : MAC filteringา
อุปกรณ์ทั้งหมดในระบบเครือข่ายไร้สาย ที่มีการควบคุมการเข้าถึง MAC ก็เหมือนกับหมายเลขเฉพาะของฮาร์ดแวร์แต่ละราย MAC filtering คือการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายจะติดต่อเฉพาะกับอุปกรณ์ที่คุณระบุ MAC filtering ไว้เท่านั้น มันเป็นเครื่องมือที่ดีที่จะใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยแบบไร้สาย เหมาะใช้ในบ้านเนื่องจากมีอุปกรณ์ไม่มากนักเพราะต้องระบุทุกอุปกรณ์ในระบบเครื่อข่าย

การรักษาความปลอดภัยแบบไร้สาย : Firewall
ไฟร์วอลล์ที่เป็นฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ ใช้เพื่อป้องกันบุคคลภายนอกเข้าถึงเครือข่าย ไฟร์วอลล์จะเป็นส่วนสำคัญของการรักษาความปลอดภัยเครือข่ายไร้สาย มันทำงานโดยการควบคุมการจราจรระหว่าง เครื่อข่ายภายใน กับการเข้าถึงจากภายนอก ถ้าคุณใช้เครือข่ายไร้สาย, คุณอาจต้องการพิจารณาใช้เราเตอร์ที่มีคุณสมบัติไฟร์วอลล์ด้วย

Wireless Security : การรักษาความปลอดภัยแล็ปท็อปของคุณ
หนึ่งในประโยชน์ของเครือข่ายไร้สายคือการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา แต่ก็ตามมาด้วยภัยของการถูกโจมตีของคอมพิวเตอร์ หากคุณต้องเดินทางและใช้คอมพิวเตอร์ของคุณอยู่ในจุดบริเวณให้บริการ hot spot คุณอาจถูกบุกรุกผ่านคอมของคุณได้ควรมีการติดตั้ง ซอฟแวร์ที่ป้องกันการบุกรุกไว้ด้วย

การใช้ ไฟร์วอลล์ มากกว่าหนึ่ง
คุณควรใช้ไฟร์วอลล์มากกว่าหนึ่งในเครือข่ายของคุณ ป็นจริงสำหรับสำนักงานและการรักษาความปลอดภัยเครือข่ายไร้สาย ตัวอย่างเช่นคุณสามารถใช้เราเตอร์ไร้สายที่มีไฟร์วอลล์ซึ่งเป็นฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ไฟร์วอลล์ติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์

การรักษาความปลอดภัยแบบไร้สาย : การตั้งค่า รหัสผ่าน
โปรดจำไว้ว่าเครือข่ายไร้สายจะส่งข้อมูลผ่านทางคลื่นวิทยุและสามารถเข้าถึงได้ทุกคนที่มีช่วงคลื่นเดียวดัน หากคุณไม่ได้กำหนดรหัสผ่านในระบบเครือข่าย ทุกคนอยู่ในช่วงสามารถเข้าถึงเครือข่ายได้ ด้วยเหตุนี้มันเป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดรหัสผ่านเพื่อปกป้องระบบและเพิ่มการรักษาความปลอดภัยเครือข่ายไร้สาย

การรักษาความปลอดภัยเครือข่ายพื้นฐานไร้สาย
มีการรักษาความปลอดภัยหลายขั้นตอนพื้นฐาน ที่ทุกคนควรทำ อย่างไรก็ตามเพื่อให้มั่นใจว่าเครือข่ายไร้สาย เมื่อกำหนดค่าเครือข่ายของคุณแล้วควรเปลี่ยนชื่อเริ่มต้นของ SSID ไม่ให้เผยแพร์ คือการซ่อนไว้ ใช้การเข้ารหัสข้อมูลส่วนบุคคล WEP เป็นอย่างน้อย เปลี่ยนรหัสผ่านบ่อย ๆ สุดท้ายให้ตรวจสอบการซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสและซอฟต์แวร์ป้องกันสปายแวร์ในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง

การเลือกรหัสผ่านที่ดีสำหรับการรักษาความปลอดภัยแบบไร้สาย
เคล็ดลับในการเลือกรหัสผ่านที่ดีสำหรับการรักษาความปลอดภัยแบบไร้สาย อย่าใช้ชื่อชื่อย่อของคุณหรือชื่อที่ง่ายต่อการคาดเดา ตัวเลข เช่น ที่อยู่ วันเกิด รหัสผ่านควรมีอย่างน้อยแปดตัวและมีทั้งตัวเลขและตัวอักษร และจำไว้ว่าไม่ว่าไม่ควรเขียนมันไว้ที่ง่ายต่อการสังเกตุ

การเข้ารหัสลับการรักษาความปลอดภัยแบบไร้สาย : WPA , WPA2
ป็นรุ่นอัพเกรดของ WEP ใช้โปรโตคอลที่ใหม่กว่าและมีความปลอดภัยมากขึ้น และถ้าคุณใช้รหัสผ่านที่ดีมาก ก็ยากขึ้นจะแจะเข้าได้ ซึ่ง WPA2 นั้นเป็นตัวเลือกที่แนะนำให้ใช้ในการเข้ารหัส แต่ถึงยังไงก็ยังไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ คือทางที่ดี ใช้สายดีจะทำให้ปลอดภัยที่สุด......


•••4G อีกก้าวของเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อคนไทย•••



เทคโนโลยี 4จี ( Forth Generation )กำลังเป็นกระแสที่คนไทยหลายๆ คนในยุคปัจจุบันให้ความสนใจ แม้ตอนนี้บ้านเราจะอยู่ในช่วงการพัฒนาเทคโนโลยี 3จี ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่ก็มีการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยี 4จี ควบคู่กันไปด้วย

เทคโนโลยี 4จี เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ โดยเป็นการพัฒนาต่อยอดจากเทคโนโลยี 3จี จึงมีคุณสมบัติที่สามารถตอบสนองการใช้งานสื่อสารไร้สายความเร็วสูง ที่มีความเร็วตั้งแต่ 100 Mbps – 1024 Mbps (1Gbps) หรือเร็วกว่าเทคโนโลยี 3จี มากถึง 7 เท่า สามารถเชื่อมต่อในรูปแบบ เสมือนจริงหรือ 3มิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง และสถานีฐานที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยัง อีกเครื่องหนึ่งสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่ม สูงขึ้นถึง 100 Mbps เร็วกว่าปัจจุบันถึง 10 เท่า ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สามารถชมโทรทัศน์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือพูดคุยผ่านระบบ Video Call ของโทรศัพท์ ได้อย่างคมชัด ไม่กระตุกหรือดีเลย์ สามารถส่งไฟล์วิดีโอที่มีความละเอียดสูง รับชมการถ่ายทอดสด แบบ Realtime การประชุมทางไกลแบบ Interactive ที่สามารถโต้ตอบแบบทันที บริการ cloud service สนับสนุนการเรียนผ่านทาง e-learning, การรักษาโรคทางไกล (Telemedicine) รวมไปถึงการชมภาพยนตร์ความละเอียดสูงบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งอาจพลิกวงการธุรกิจด้านมัลติมีเดียและวีดีโอออนไลน์ในอนาคต
ปัจจุบันเทคโนโลยี 4จี มีการทดลองใช้แล้วในหลายประเทศในยุโรป ญี่ปุ่น จีน และสิงคโปร์ สำหรับไทยนั้นเพิ่งเริ่มมีการทดสอบโดยความร่วมมือของผู้ให้บริการเครือข่าย เอกชน กสทช. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งเป็นเพียงการทดสอบในเชิงเทคนิคชั่วคราว โดยมิได้แสวงหากำไรผ่านการเปิดโอกาสให้ทั้งกลุ่มเจ้าหน้าที่ทางเทคนิค พร้อมทั้งกลุ่มตัวอย่างของประชาชน นักเรียนนักศึกษา ได้ทำการทดสอบด้วย ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการทดสอบในครั้งนี้ จะเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของไทย ที่เรียกได้ว่าปัจจุบันยังคงล้าหลังหลายๆ ประเทศอยู่มาก



•••รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย LAN Topology•••



Bus Topology
Bus Topology


Bus Topology แบบ Bus การเชื่อมต่อแบบบัสจะมีสายหลัก 1 เส้น เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์ทุกเครื่องจะต้องเชื่อมต่อสายเคเบิ้ลหลักเส้นนี้ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกมองเป็น Node เมื่อเครื่องไคลเอ็นต์เครื่องที่หนึ่ง (Node A) ต้องการส่งข้อมูลให้กับเครื่องที่สอง (Node C) จะต้องส่งข้อมูล และแอดเดรสของ Node C ลงไปบนบัสสายเคเบิ้ลนี้ เมื่อเครื่องที่ Node C ได้รับข้อมูลแล้วจะนำข้อมูล ไปทำงานต่อทันที

Ring Topology
Ring Topology


Ring Topology แบบ Ring การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้ ระบบ Ring มีการใช้งานบนเครื่องตระกูล IBM กันมาก เป็นเครื่องข่าย Token Ring ซึ่งจะใช้รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องมินิหรือเมนเฟรมของ IBM กับเครื่องลูกข่ายบนระบบ

Star Topology
Star Topology


Star Topology แบบ Star การเชื่อมต่อแบบสตาร์นี้จะใช้อุปกรณ์ Hub เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ โดยที่ทุกเครื่องจะต้องผ่าน Hub สายเคเบิ้ลที่ใช้ส่วนมากจะเป็น UTP และ Fiber Optic ในการส่งข้อมูล Hub จะเป็นเสมือนตัวทวนสัญญาณ (Repeater) ปัจจุบันมีการใช้ Switch เป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อซึ่งมีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่า

Mesh Topology
Mesh Topology


Mesh Topology
เป็น Topology ที่ถือว่าป้องกันการผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากเราเดินสาย Cable ไปเชื่อม ต่อกับ Station ทุก Station โดยเมื่อสายจาก Station ใดเกิดมีปัญหาขึ้นก็จะยังสามารถใช้สายอื่นที่เหลืออีกได้ ระบบนี้ยากต่อการ เดินสายและมีราคาแพงมาก จึงยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก



•••เทคนิควิธีการสวิตชิง•••



เซอร์กิตสวิตชิง (Circuit Switching) เปนกลไกสื่อสารขอมูล ที่สรางเสนทางขอมูลระหวางสถานีสงกอนที่จะทําการสงขอมูล เมื่อเสนทางดังกลาวนี้สรางแลวจะใชในการสงขอมูลไดเฉพาะสองสถานีนี้ตัวอยางที่เห็นไดชัดของ ระบบเซอรกิตสวิตชิง ไดแกระบบโทรศัพทนั่นเอง โทรศัพทแตละหมายเลขจะมีสายสัญญาณ เชื่อมตอมายังชุมสายโทรศัพทหรือ CO (Central Office) ซึ่งมีสวิตชติดตั้งอยู ระหวาง ชุมสายโทรศัพทจะมีการเชื่อมตอกัน ทําใหสามารถโทรศัพทไปเบอรอื่นๆ ไดบางครั้งอาจผาน9 -4 ชุมสายโทรศัพทหลายๆ ชุมสาย ทุกครั้งที่ใชโทรศัพทจะมีเสนทางสัญญาณที่ถูกจองไวสําหรับใช ในการสนทนาแตละครั้ง เมื่อเลิกใชโทรศัพทเสนทางนี้จะถูกยกเลิกและพรอมสําหรับการใชงาน ครั้งตอไป การสรางเสนทางผานขอมูลเซอรกิตสวิตชิงเปนขั้นตอนที่สําคัญในระบบสงสํญญาณ แบบเซอรกิตสวิตชิง เฟรมขอมูลที่สงแตละการเชื่อมตอจะถูกสงผานเครือขาย โดยใชเสนทาง เดียวกันทั้งหมด สําหรับหลักการทํางาน ใหพิจารณาจากรูปที่ 9-3 (a) ฝงตนทางในที่นี้คือ S ซึ่ง ตองการสื่อสารกับฝงปลายทางคือ T ผานเครือขายและดวยวิธีเซอรกิตสวิตชิงนั้นจะสรางเสนทาง เพื่อการสงขอมูลแบบตายตัว (Dedicated Path) ดังนั้นการเชื่อมตอจากฝงตนทาง S ไปยังปลายทาง T ในที่นี้ก็ไดมีการจับจองเสนทางตามนี้คือ เสนทางดังกลาวจะถูกถือครองในระหวางการสื่อสารตลอดจนกระทั่งยุติการสื่อสารถึงจะ ถูกปลดออก (Release) กลาวคือตลอดในชวงเวลาของการถือครองเพื่อการสื่อสารระหวางฝงตน ทางและฝงปลายทาง เสนทางนี้จะถูกโฮลดไวโดยผูอื่นจะไมสามารถใชงานเสนทางเหลานั้นไดซึ่ง ถือวาเปนขอเสีย สวนขอดีของวิธีเซอรกิตสวิตชิงนี้ก็คือ หลังจากที่ฝงตนทางสามารถสรางคอนเน็ก ชันเพื่อเชื่อมตอกับฝงปลายทางไดแลวการรับสงขอมูลก็จะดําเนินการไดทันทีโดยผานเสนทางที่ เปรียบเทียบเสมือนกับทอที่ไดวางไวดังนั้น การถายโอนขอมูลจึงกระทําไดอยางรวดเร็ว โดยมีคา หนวยเวลาหรือ Delay นอยมากอยางไรก็ตาม ในชวงแรกของการสื่อสารอาจจําเปนตองรอคอย กอน เนื่องจากจําเปนตองมีการสรางคอนเน็กชัน เพื่อวางเสนทางไปยังโฮสตปลายทาง ระบบสงสัญญาณแบบเซอรกิตสวิตชิงที่ใชในเครือขาย WAN มีดังนี้
• โมเด็มและระบบโทรศัพท (Modem and Telephone System)
• สายคูเชา (Leased Line)
• ISDN (Integrated Services Digital Network)
• DSL (Digital Subscriber line)
• เคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)

เมสเสจสวิตชิง (Message Switching)
วิธีการสื่อสารแบบเมสเสจสวิตชิงนั้น เมสเสจจะถูกสงจากฝงตนทาง S ไปยังปลายทาง T ในลักษณะเปนขั้นๆ โดยจะมีการถือครองเสนทางในชวงเวลาหนึ่งเทานั้น จากรูปที่ 9-3 (b) จะเห็น ไดวา ในขั้นตอนแรก S ไดมีการสงผานเสนทางไปยัง a จากนั้น a ก็จะมีการจัดเก็บขอมูลไวชั่วคราว ซึ่งชวงเวลาดังกลาวเสนทาง จาก S ไปยัง a นั้นจะถูกปลดออก (Release) ทําใหผูอื่นสามารถใช เสนทางนี้ในการลําเลียงขอมูลจากนั้น a ก็ไดดําเนินการสงเมสเสจนั้นตอไปยัง c และดําเนินการ เชนนี้ตอไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงปลายทาง T จะเห็นไดวา วิธีนี้จะมีการถือครองเสนทางในการ ลําเลียงขอมูลในชวงเวลาหนึ่งเทานั้น โดยเมื่อโหนดใดโหนดหนึ่งไดจัดเก็บเมสเสจเหลานั้นไว ชั่วคราวแลวเสนทางนั้นก็จะถูกปลดออกเพื่อใหผูอื่นใชงานตอไป วิธีนี้ถือวาเปนการใชเสนทางใน การลําเลียงขาวสารไดอยางมีประสิทธิภาพ แตอยางไรก็ตาม เมสเสจสวิตชิงนี้ก็มีขอเสียคือคาหนวง เวลามีคอนขางสูง เนื่องจากขอมูลที่สงไปในระหวางทางนั้นจะถูกจัดเก็บไวชั่วคราวในแตละจุดบน เครือขาย ซึ่งอุปกรณที่จัดเก็บขอมูลเหลานั้นจะประมวลผลคอนขางชาทีเดียว เชน ดิสกหรือดรัม แมเหล็กในขณะที่ในยุคกอนนั้นใชเทปกระดาษก็จะยิ่งทําใหลาชาขึ้นไปอีกและหากขอมูลมีขนาด ใหญ ซึ่งปกติก็จะมีการแบงของมูลออกเปนสวนๆ ก็จะทําใหใชเวลาสงมากขึ้น รวมถึงจํานวน โหนดที่สงตอระหวางกันบนเครือขาย หากมีโหนดที่สงตอจํานวนมาก ก็จะทําใหเกิดความลาชา มากขึ้นตามมาดวย

แพ็กเก็ตสวิตชิง (Packet Switching)

การสื่อสารแบบวิธีแพ็กเก็ตสวิตชิงนี้น จัดเปนกรณีพิเศษของเมสเสจสวิตชิงดวยการเพิ่ม คุณสมบัติพิเศษเขาไป โดยในขั้นแรกเมื่อตองการสงหนวยขอมูลและดวยแพ็กเก็ตมีขนาดที่จํากัด ดังนั้น หากเมสเสจมีขนาดใหญกวาขนาดสูงสุดของแพ็กเก็ตจะมีการแตกออกเปนหลายๆ แพ็กเก็ต ขั้นที่สอง เมื่อแพ็กเก็ตไดสงผานจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งบนเครือขาย จะมีการจัดเก็บแพ็กเก็ต เหลานั้นไวชั่วคราวบนหนวยความจําความเร็วสูง เชน RAM ซึ่งในเวลาในการประมวลผลได รวดเร็วกวาอุปกรณที่ใชงานบนระบบเมสเสจสวิตชิงขอดีของการสื่อสารดวยวิธีแพ็กเก็ตสวิตชิงก็ คือเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีเมสเสจสวิตชิงแลวคาหนวงเวลาของแพ็กเก็ตสวิตชิงนั้นมีคานอยกวาโดย คาหนวงเวลาของแพ็กเก็ตแรกจะเกิดขึ้นเพียงชั่วครูในขณะที่แพ็กเก็ตแรกนั้นผานจํานวนจุดตางๆ บนเสนทางที่ใชหลังจากนั้นแพ็กเก็ตที่สงตามมาทีหลังก็จะทยอยสงตามกันมาอยางรวดเร็ว และ หากมีการสื่อสารบนชองทางความเร็วสูงแลว คาหนวงเวลาที่เกิดขึ้นจะมีคาที่ต่ําทีเดียวโดยการ สื่อสารดวยวิธีแพ็กเก็ตสวิตชิงนี้ยังแบงออกเปน 2 วิธีดวยกันคือ วิธีดาตาแกรม (Datagram Approach) และเวอรชวลเซอรกิต (Virtual-Circuit Approach)

เทคโนโลยี WAN ที่ใชระบบสงขอมูลแบบแพ็กเก็ตสวิตชมีดังนี้
• x.25
• เฟรมรีเลย (Frame Relay)
• ATM (Asynchronous Transfer Mode)



•••OSI Model•••


OSI 7-Layer Reference Model (OSI Model) โดยโครงสร้างการสื่อสารข้อมูลที่กำหนดขึ้นมีคุณสมบัติดังนี้ คือ ในแต่ละชั้นของแบบการสื่อสารข้อมูลเราจะเรียกว่า Layer หรือ "ชั้น" ของแบบการสื่อสารข้อมูล ประกอบด้วยชั้นย่อยๆ 7 ชั้น ในแต่ละชั้นหรือแต่ละ Layer จะเสมือนเชื่อมต่อเพื่อส่งข้อมูลอยู่กับชั้นเดียวกันในคอมพิวเตอร์อีกด้านหนึ่ง แต่ในการเชื่อมกันจริงๆ นั้นจะเป็นเพียงการเชื่อมในระดับ Layer1 ซึ่งเป็นชั้นล่างสุดเท่านั้น ที่มีการรับส่งข้อมูลผ่านสายส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งสองโดยที่ Layer อื่นๆ ไม่ได้เชื่อมต่อกันจริงๆ เพียงแต่ทำงานเสมือนกับว่ามีการติดต่อรับส่งข้อมูลกับชั้นเดียวกันของคอมพิวเตอร์อีกด้านหนึ่ง

OSI Model แบ่งเป็น 7 ชั้น แต่ละชั้นจะมีชื่อเรียกและหน้าที่การทำงาน ดังนี้ คือ
Layer ที่ 7 Application Layer
Application Layer เป็นชั้นที่อยู่บนสุดของขบวนการับส่งข้อมูล ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้ โดยจะรับคำสั่งต่างๆ จากผู้ใช้ส่งให้คอมพิวเตอร์แปลความหมาย และทำงานตามคำสั่งที่ได้รับในระดับโปรแกรมประยุกต์ เช่น การแปลความหมายของการกดปุ่มบนเมาส์ให้เป็นคำสั่งในการก็อปปีไฟล์ หรือ ดึงข้อมูลมาแสดงบนจอภาพ เป็นต้น ซึ่งการแปลคำสั่งจากผู้ใช้ส่งให้กับคอมพิวเตอร์รับไปทำงานนี้ จะต้องแปลออกมาถูกต้องตามกฏ ( Syntax) ที่ใช้ในระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์นั้นๆ ตัวอย่างเช่น ถ้ามีการก็อปปี้ไฟล์เกิดขึ้นในระบบ คำสั่งที่ใช้จะต้องสร้างไฟล์ได้ถูกต้อง มีชื่อไฟล์ยาวไม่เกินจำนวนที่ระบบปฏิบัติการนั้นกำหนดไว้ รูปแบบของชื่อไฟล์ตรงตามข้อกำหนด เป็นต้น

Layer ที่ 6 Presentation Layer
Presentation Layer เป็นชั้นที่ทำหน้าที่ตกลงกับคอมพิวเตอร์อีกด้านหนึ่งในระดับชั้นเดียวกันว่า การรับส่งข้อมูลในระดับโปรแกรมประยุกต์จะมีขั้นตอนและข้อบังคับอย่างไร ข้อมูลที่รับส่งกันใน Layer ที่ 6 จะอยู่ในรูปแบบของข้อมูลชั้นสูงมีกฏ ( Syntax) บังคับแน่นอน เช่น ในการกก็อปปี้ไฟล์จะมีขั้นตอนย่อยประกอบกัน คือสร้างไฟล์ที่กำหนดขึ้นมาเสียก่อน จากนั้นจึงเปิดไฟล์ แล้วทำการรับข้อมูลจากปลายทางลงมาเก็บลงในไฟล์ที่สร้างขึ้นใหม่นี้ โดยเนื้อหาของข้อมูลที่ทำการรับส่งระหว่างกัน ก็คือคำสั่งของขั้นตอนย่อยๆข้างต้นนั่นเอง นอกจากนี้ Layer ที่ 6 ยังทำหน้าที่แปลคำสั่งที่ได้รับจาก Layer ที่ 7 ให้เป็นคำสั่งระดับปฏิบัติการส่งให้ Layer ที่ 5 ต่อไป

Layer ที่ 5 Session Layer
Session Layer ทำหน้าที่ควบคุม "จังหวะ" ในการรับส่งข้อมูลของคอมพิวเตอร์ทั้งสองด้าน ที่รับส่งแลกเปลี่ยนข้อมูลกันให้มีความสอดคล้องกัน ( Synchronization) และกำหนดวิธีที่ใช้ในการรับส่งข้อมูล เช่น อาจจะเป็นในการสลับกันส่ง ( Half Duplex) หรือการรับส่งข้อมูลพร้อมกันทั้งสองด้าน ( Full Duplex) ข้อมูลที่รับส่งใน Layer ที่ 5 จะอยู่ในรูป dialog หรือประโยคสนทนาโต้ตอบกันระหว่างด้านรับและด้านส่งข้อมูล เช่น เมื่อได้รับข้อมูลส่วนแรกจากผู้ส่ง ก็จะตอบโต้กลับให้ผู้ส่งได้รู้ว่าได้รับข้อมูลส่วนแรกแล้ว พร้อมที่จะรับข้อมูลส่วนถัดไป ซึ่งคล้ายกับการสนนาโต้ตอบกันระหว่างผู้รับและผู้ส่งนั่นเอง

Layer ที่ 4 Transport Layer
Transport Layer ทำหน้าที่เชื่อมต่อการรับส่งข้อมูลระดับสูงของ Layer ที่ 5 มาเป็นข้อมูลที่รับส่งในระดับฮาร์ดแวร์ เช่น แปลงค่าหรือชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายให้เป็น network address พร้อมทั้งเป็นชั้นที่ควบคุมการรับส่งข้อมูลจากปลายด้านส่งถึงปลายด้านรับข้อมูล ให้ข้อมูลมีการไหลลื่นตลอดเส้นทางตามจังหวะที่ควบคุมจาก Layer ที่ 5 โดยใน Layer ที่ 4 นี้ จะเป็นรอยต่อระหว่างการรับส่งข้อมูลซอฟท์แวร์กับฮาร์ดแวร์การรับส่งข้อมูลของระดับสูงจะถูกแยกจากฮาร์ดแวร์ที่ใช้รับส่งข้อมูลที่ Layer ที่ 4 และจะไม่มีส่วนใดผูกติดกับฮาร์ดแวร์ที่ใช้รับส่งข้อมูลในระดับล่าง ดังนั้นฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ที่ใช้ควบคุมการรับส่งข้อมูลในระดับล่างลงไปจาก Layer ที่ 4 จึงสามารถสับเปลี่ยน และใช้ข้ามไปมากับซอฟท์แวร์รับส่งข้อมูลในระดับที่อยู่ข้างบน (ตั้งแต่ Layer ที่ 4 ขึ้นไปถึง Layer ที่ 7) ได้ง่าย หน้าที่อีกประการหนึ่งของ Layer ที่ 4 คือ การควบคุมคุณภาพการรับส่งข้อมูลให้มีมาตรฐานในระดับที่ตกลงกันทั้งสองฝ่าย และการตัดข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ ให้เหมาะกับลักษณะการทำงานของฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในเครือข่าย เช่น หาก Layer ที่ 5 ต้องการส่งข้อมูลที่มีความยาวเกินกว่าที่ระบบเครือข่ายที่จะส่งให้ Layer ที่ 4 ก็จะทำหน้าที่ตัดข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ แล้วส่งไปให้ผู้รับ ข้อมูลที่ได้รับปลายทางก็จะถูกนำมาต่อกันที่ Layer ที่ 4 ของด้านผู้รับ และส่งไปให้ Layer ที่ 5 ต่อไป

Layer ที่ 3 Network Layer
Network Layer ทำหน้าที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้านรับ และด้านส่งเข้าหากันผ่านระบบเครือข่าย พร้อมทั้งเลือกหรือกำหนดเส้นทางที่จะใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่างกัน และส่งผ่านข้อมูลที่ได้รับไปยังอุปกรณ์ในเครือข่ายต่าง ๆ จนกระทั่งถึงปลายทาง ใน Layer ที่ 3 ข้อมูลที่รับส่งกันจะอยู่ในรูปแบบของกลุ่มข้อมูลที่เรียกว่า Packet หรือ Frame ข้อมูล Layer ที่ 4, 5, 6 และ 7 มองเห็นเป็นคำสั่งและ Dialog ต่าง ๆ นั้น จะถูกแปลงและผนึกรวมอยู่ในรูปของ Packet หรือ Frame ที่มีเพียงแอดเดรสของผู้รับ , ผู้ส่ง , ลำดับการรับส่ง และส่วนของข้อมูลเท่านั้น หน้าที่อีกประการหนึ่ง คือ การทำ Call Setup หรือเรียกติดต่อคอมพิวเตอร์ปลายทางก่อนการรับส่งข้อมูล และการทำ Call Cleaning หรือการยกเลิกการติดต่อคอมพิวเตอร์เมื่อการรับส่งข้อมูลจบลงแล้ว ในกรณีที่มีการรับส่งข้อมูลนั้นต้องมีการติดต่อกันก่อน

Layer ที่ 2 Data link Layer
Data link Layer เป็นชั้นที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อการรับส่งข้อมูลในระดับฮาร์ดแวร์ โดยเมื่อมีการสั่งให้รับข้อมูลจากใน Layer ที่ 3 ลงมา Layer ที่ 2 จะทำหน้าที่แปลคำสั่งนั้นให้เป็นคำสั่งควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ใช้รับส่งข้อมูล ทำการตรวจสอบข้อผิดพลาดในการรับส่งข้อมูลของระดับฮาร์ดแวร์ และทำการแก้ข้อผิดพลาดที่ได้ตรวจพบ ข้อมูลที่อยู่ใน Layer ที่ 2 จะอยู่ในรูปของ Frame เช่น ถ้าฮาร์ดแวร์ที่ใช้เป็น Ethernet LAN ข้อมูลจะมีรูปร่างของ Frame ตามที่ระบุไว้ในมาตรฐานของ Ethernet หากว่าฮาร์ดแวร์ที่ใช้รับส่งข้อมูลเป็นชนิดอื่น รูปร่างของ Frame ก็จะเปลี่ยนไปตามมาตรฐานนั้นๆ
Layer ที่ 1 Physical Layer

Physical Layer เป็นชั้นล่างสุด และเป็นชั้นเดียวที่มีการเชื่อมต่อทางกายภาพระหว่างคอมพิวเตอร์สองระบบที่ทำการรับส่งข้อมูล ใน Layer ที่ 1 นี้จะมีการกำหนดคุณสมบัติทางกายภาพของฮาร์ดแวร์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งสองระบบ เช่น สายที่ใช้รับส่งข้อมูลจะเป็นแบบไหน ข้อต่อที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลมีมาตรฐานอย่างไร ความเร็วในการรับส่งข้อมูลเท่าใด สัญญาณที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลมีรูปร่างอย่างไร ข้อมูลใน Layer ที่ 1 นี้จะมองเห็นเป็นการรับส่งข้อมูลทีละบิตเรียงต่อกันไป

Layer Name Data Unit Device Group TCP/IP
7 Application Data - Application FTP,Telnet,HTTP,SMTP,SNMP,DNS,etc
6 Presentation Data - Application FTP,Telnet,HTTP,SMTP,SNMP,DNS,etc
5 Session Data - Application,Host-to-Host FTP,Telnet,HTTP,SMTP,SNMP,DNS,etc
4 Transport Segment - Host-to-Host TCP,UDP
3 Network Package Router Internet ICMP,IGMP,ARP,RARP,IP, ARP,RARP
2 Data Link Frame Switch Network Access Not Specified
1 Physical Bit HUB Network Access Not Specified