ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:จิราพร เกี้ยวสันเทียะ/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไฟล์:Jiraporn.jpg
นางสาวจิราพร เกี้ยวสันเทียะ
ชื่อเล่น จิ๊บ
รหัสนักศึกษา 551531022048-0

ประวัติส่วนตัว[แก้]

PEOFILE
นางสาวจิรพร เกี้ยวสันเทียะ

ชื่อเล่นจิ๊บ
ปัจจุบันกำลังศึกษา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 3 ที่อยู่ปัจจุบัน 117 หมู่ 3 ตำบลพลกรัง อำเภอเมือง
จังหวัดนครารชสีมา 30000

ประวัติการศึกษา[แก้]

ระดับชั้น สถานศึกษา
ระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านพลกรัง(เดชาติวงศ์คงฤทธิ์อนุสรณ์)
ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนโคราชพิทยาคม
ระดับปริญญาตรี กำลังศึกษา ชั้นปีที่ 3 คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

ตำแหน่งงานด้านไอที[แก้]

นักวิเคราะห์ระบบสารสนเทศ เพราะ อยากพัฒนาการวิเคราะห์ระบบและพัฒนาระบบสารสนเทศภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและสนองความต้องการของผู้ใช้

บทความด้าน IT[แก้]

เทคโนโลยี 3G คืออะไร[แก้]

ในระยะหลังนี้ใครๆ ก็พูดถึง แต่ 3G แต่มี ใครรู้บ้างว่า 3G นั้นคือ อะไร ทำอะไรได้บ้าง วันนี้เรามีคำตอบมาบอกโทรศัพท์มือถือในยุคที่ 3 ถูกพัฒนาและกำลังมาแทนที่ ระบบโทรศัพท์ 2G ซึ่ง 3G นั้นพัฒนาบนพื้นฐานของมาตรฐาน International Mobile Telecommunications 2000, IMT-2000 ภายใต้กลุ่มของ 3G (สามจี หรือ ทรีจี) เป็นมาตรฐานInternational Telecommunication Union (ITU)3G หรือที่เรียกว่า ระบบ UMTS หรือ WCDMA ในระบบ GSM 850 , 900 , 1800 , 1900 และ 2100 (ที่เป็นสากลที่โทรศัพท์ระบบ 3G ต้องมี)<br
ลักษณะการทำงาน 3G
เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพิเกชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น เช่น บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ ,รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่ ,ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง, ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ เทคโนโลยี3G น่าสนใจอย่างไรจากการที่ 3G สามารถรับส่งข้อมูลในความเร็วสูง ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้ อย่างรวดเร็ว และ มีรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น ประกอบกับอุปกรณ์สื่อสารไร้สายในระบบ 3G สามารถให้บริการระบบเสียง และ แอพพิเกชั่นรูปแบบใหม่ เช่น จอแสดงภาพสี, เครื่องเล่น mp3, เครื่องเล่นวีดีโอ การดาวน์โหลดเกม, แสดงกราฟฟิก และ การแสดงแผนที่ตั้งต่างๆ ทำให้การสื่อสารเป็นแบบอินเทอร์แอ คทีฟ ที่สร้างความสนุกสนาน และ สมจริงมากขึ้น3G ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและคล่องตัวขึ้น โดยโทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเสมือนคอมพิวเตอร์แบบพกพา ,วิทยุ ส่วนตัว และแม้แต่กล้องถ่ายรูป ผู้ใช้สามารถเช็คข้อมูลใน account ส่วนตัว เพื่อใช้บริการต่างๆ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น self-care (ตรวจสอบค่าใช้บริการ), แก้ไขข้อมูลส่วนตัว และ ใช้บริการข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวเกาะติดสถานการณ์, ข่าวบันเทิง, ข้อมูลด้านการเงิน, ข้อมูลการท่องเที่ยว และ ตารางนัดหมายส่วนตัว “Always On”คุณสมบัติหลักของ 3G คือ มีการเชื่อมต่อกับระบบ เครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องโทรศัพท์ (always on) นั่นคือ ไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และ log-in ทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล ซึ่งการเสียค่าบริการแบบนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบทั่วไป ที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่เราล็อกอินเข้าในระบบเครือข่าย อุปกรณ์สื่อสารไร้สายระบบ 3G สำหรับ 3G อุปกรณ์สื่อสารไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่โทรศัพท์เท่านั้น แต่ยังปรากฏในรูปแบบของอุปกรณ์ สื่อสารอื่น เช่น Palmtop, Personal Digital Assistant (PDA), Laptop และ PC

QR Code คืออะไร[แก้]

QR Code คืออะไร? QR Code ก็คล้ายกับ Bar Code นั้นแหละคือคือรหัสชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้ โดย QR Codeหรือเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า two-dimensional bar code (2D bar code) มันหน้าที่ไว้เก็บข้อมูลต่างๆ ได้เหมือนกันแต่ว่าเร็วกว่า ใช้งานง่ายกว่าและมีลูกเล่นเยอะกว่า Bar Code มากครับ ชื่อของ QR Code นั้นมาจากนิยามความหมายว่า Quick Response หรือการตอบสนองที่รวดเร็วซึ่งมาจากความตั้งใจของผู้คิดค้น ที่จะให้ QR Code นี้สามารถถูกอ่านได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง ซึ่ง QR Code นี้ถูกคิดค้นขึ้นในปี 1994โดยบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ที่ชื่อ Denso-Wave และได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ชื่อ QR Code ไปแล้วทั้งในญี่ปุ่น และทั่วโลกและปัจจุบันตัวสัญลักษณ์ QR Code นี้ได้รับความนิยม จนกลายเป็นของธรรมดาในญี่ปุ่นไป
ประโยชน์ของ QR Code
ด้วยการที่ข้อมูล QR Code เก็บไว้เป็นข้อมูลตัวอักษรเราจึงสามารถนำ QR Code มาประยุกต์ใช้ได้หลากหลายรูปแบบเช่น เก็บข้อมูล URL ของเว็บไซต์, ข้อความ, เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลที่เป็นตัวอักษรได้อีกมากมาย ปัจจุบัน QR Code ถูกนำไปใช้ในหลายๆ ด้านเนื่องจากความ “ง่าย” เพราะทุกวันนี้คนส่วนใหญ่จะมีมือถือกันทุกคนและมือถือเดี๋ยวนี้ก็มีกล้องเกือบทุกรุ่นแล้ว ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดที่สุดของ QR Code ก็คือการเก็บ URL ของเว็บไซต์ เพราะ URL โดยปกติแล้วจะเป็นอะไรที่จดจำได้ยากเพราะยาวและบางอันจะซับซ้อนมาก ขนาดจดยังทำไม่ได้ แต่ด้วย QR Code เราเพียงแค่ยกมือถือมาสแกน QR Code ที่เราพบเห็นตามผลิตภัณต์ต่างๆนามบัตร, นิตยสาร ฯลฯ แล้วมือถือจะลิ้งค์เข้าเว็บเพจที่ QR Code นั้นๆ บันทึกข้อมูลอยู่โดยอัติโนมัติ และด้วยการมาของระบบ 3Gที่ค่ายมือถือต่างๆ ในบ้านเราเช่น True Move และ AIS เริ่มนำเข้ามาให้บริการแล้ว จะทำให้เราสามารถเข้าอินเตอร์เน็ตบนมือถือได้อย่างรวดเร็วและทุกๆ ที่ที่ต้องการนอกจากนี้ QR Code ยังเริ่มนิยมอยู่บนนามบัตรแล้วด้วย โดยจะใช้ QR Code บันทึก URL ของข้อมูลส่วนต่างๆ บนเว็บไซต์ เช่น อีเมล์Hi5, MSN หรือจะเก็บข้อมูลส่วนในรูปแบบตัวอักษร เช่น ชือ ตำแหน่ง ที่อยู่ เบอร์โทร ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้ในอนาคตเราอาจไม่จำเป็นต้องแลกนามบัตรกันอีกต่อไป เพียงแค่เอามือถือมาสแกนที่นามบัตรข้อมูลบนนามบัตรทุกๆ อย่างก็จะถูกจัดเก็บเข้ามือถือทันที

ระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์ CentOS Linux[แก้]

ในปัจจุบันซอฟต์แวร์สำหรับใช้ทำเป็นระบบ Intranet หรือ Internet Server ขององค์กรมีให้เลือกใช้งานหลายตัวด้วยกัน อาทิ เช่น Windows Server (Windows Server 2003, Windows Server 2008), Linux Server (RedHat, Fedora, CentOS, Ubuntu, Debian, Slackware, SuSE, Mandriva, OpenNA, IPCop, Linux-SIS), BSD Server (FreeBSD, OpenBSD, NetBSD), Solaris (Sun Solaris, OpenSolaris) เป็นต้น การที่จะเลือกระบบปฏิบัติการตัวใดมาทำเซิร์ฟเวอร์ใช้งานในองค์กรนั้น สำหรับ Admin มือเก๋าไม่น่าเป็นปัญหามากนักเพราะได้ทดสอบลองผิดลองถูกมาพอสมควร จะว่าไปแล้วในอดีตใครที่ติดตั้ง Linux และทำการคอนฟิกให้ระบบใช้งานผ่านได้ก็ถือว่าเก่งพอสมควร รวมทั้งหลังการติดตั้งเสร็จก็สามารถเปิดใช้งานได้ตามปกติ น้อยครั้งนักที่ระบบจะโดนแฮกซ์ แต่หากเป็น Admin น้องใหม่ในปัจจุบันการลองผิดลองถูกคงเป็นการยากแล้ว เนื่องจากปัจจุบันมีแฮกเกอร์ทั่วบ้านทั่วเมืองใครๆ ก็สามารถเรียนรู้วิธีการแฮกซ์ระบบเซิร์ฟเวอร์ผ่านเว็บ Google สำหรับ Admin น้องใหม่กว่าจะทดลองสำเร็จบางครั้งระบบโดนเจาะไปเรียบร้อยแล้วCentOS ย่อมาจาก Community ENTerprise Operating System เป็นลีนุกซ์ที่พัฒนามาจากต้นฉบับ RedHat Enterprise Linux (RHEL) โดยที่ CentOS ได้นำเอาซอร์สโค้ดต้นฉบับของ RedHat มาทำการคอมไพล์ใหม่โดยการพัฒนายังเน้นพัฒนาเป็นซอฟต์แวร์ Open Source ที่ถือลิขสิทธิ์แบบ GNU General Public License ในปัจจุบัน CentOS Linux ถูกนำมาใช้ในการทำ Web Hosting กันอย่างกว้างขวางเนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการที่มีต้นแบบจาก RedHat ที่มีความแข็งแกร่งสูง (ปัจจุบันเน้นพัฒนาในเชิงการค้า) การติดตั้งแพ็กเกจย่อยภายในสามารถใช้ได้ทั้ง RPM, TAR, APT หรือใช้คำสั่ง YUM ในการอัปเดทซอฟต์แวร์แบบอัตโนมัติสำหรับองค์กรธุรกิจเหมาะสมอย่างมากที่จะนำระบบตัวลีนุกซ์ตัวนี้มาทำเป็น เซิร์ฟเวอร์ใช้งานภายในองค์กร โดยพอสรุปเหตุผลหลักในการนำระบบนี้มาใช้งานได้ดังนี้เพื่อประหยัดงบประมาณขององค์กร เนื่องจาก CentOS เป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอส องค์กรไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าลิขสิทธ์ซอฟต์แวร์ (เพียงแต่ผู้ดูแลระบบต้องลงทุนเรียนรู้ระบบก่อนการใช้งานพื่อนำมาทำเซิร์ฟเวอร์บริการงานต่างๆ ในองค์กร ซึ่งภายใน CentOS มีแพ็กเกจย่อยที่นำมาใช้ทำเซิร์ฟเวอร์สำหรับใช้งานในองค์กรจำนวนมาก อาทิ เช่น Web Server(Apache), FTP Server(ProFTPd/VSFTPd), Mail Server(Sendmail/Postfix/Dovecot), Database Server(MySQL/PostgreSQL), File and Printer Server(Samba), Proxy Server(Squid), DNS Server(BIND), DHCP Server(DHCPd), Antivirus Server(ClamAV), Streaming Server, RADIUS Server(FreeRADIUS), Control Panel(ISPConfig) เป็นต้นเพื่อนำมาทำเป็นระบบเซิร์ฟเวอร์สำหรับจ่ายไอพีปลอม (Private IP Address) ไปเลี้ยงเครื่องลูกข่ายในองค์กร รวมทั้งตั้งเป็นระบบเก็บ Log Files ผู้ใช้งาน เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัตว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ปี 2550


LAN Technology[แก้]

เครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN)หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ท้องถิ่นเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณที่ไม่ไกลเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในองค์กรที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก เครือข่ายแลนจัดได้ว่าเป็นเครือข่ายเฉพาะขององค์กร การสร้างเครือข่ายแลนนี้องค์กรสามารถทำเองได้ โดยวางสายสัญญาณสื่อสารภายในอาคารหรือภายในพื้นที่ของตนเอง เครือข่ายแลนมีตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็กที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปภายในห้องเดียวกัน จนถึงเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่อยู่ระหว่างห้องหรืออาคาร เช่น มหาวิทยาลัยที่มีการวางเครือข่ายเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ระหว่างอาคารภายในมหาวิทยาลัย เครือข่ายแลนจึงเป็นเครือข่ายที่รับผิดชอบโดยองค์กรที่เป็นเจ้าของ

โทโปโลยีแบบบัส ( Bus Topology )[แก้]

เป็นโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ลักษณะการทำงานของเครือข่าย โทโปโลยีแบบบัส คืออุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า”บัส” (BUS) เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนด หนึ่งภายในเครือข่าย จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าบัสว่างหรือไม่ ถ้าหากไม่ว่างก็ไม่สามารถจะส่งข้อมูลออกไปได้ ทั้งนี้เพราะสายสื่อสารหลักมีเพียงสายเดียว ในกรณีที่มีข้อมูลวิ่งมาในบัส ข้อมูลนี้จะวิ่งผ่านโหนดต่างๆ ไปเรื่อยๆ ในขณะที่แต่ละโหนดจะคอยตรวจสอบข้อมูลที่ผ่านมาว่าเป็นของตนเองหรือไม่ หากไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้ข้อมูลวิ่งผ่านไป แต่หากเลขที่อยู่ปลายทาง ซึ่งกำกับมากับข้อมูลตรงกับเลขที่อยู่ของของตน โหนดนั้นก็จะรับข้อมูลเข้าไป

ข้อดี

  • มีรูปแบบที่ไม่ซับซ้อน ติดตั้งง่าย
  • เพิ่มจำนวนโหนดได้ง่าย โดยสามารถเชื่อมต่อเข้ากับสายแกนหลักได้ทันที
  • ประหยัดสายสื่อสาร เนื่องจากใช้สายแกนหลักเพียงเส้นเดียว

ข้อเสีย

  • หากสายเคเบิลที่เป็นสายแกนหลักเกิดชำรุดหรือขาด เครือข่ายจะหยุดชะงักในทันที
  • กรณีเกิดข้อผิดพลาดบนเครือข่าย จะค้นหาจุดผิดพลาดยาก เนื่องจากทุกอุปกรณ์ต่างก็เชื่อมต่อเข้ากับสายแกนหลักทั้งหมด
  • ระหว่างโหนดแต่ละโหนดจะต้องมีระยะห่างตามข้อกำหนด
ไฟล์:Imagelan.gif


โพโลยีแบบดาว (Star Topology )[แก้]

โทโปโลยีแบบดาว (Star Topology) เป็นรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่ายจะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่าฮับ (HUB) หรือสวิตช์ (Switch) หรือเครื่องๆหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาณที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทาหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป

ข้อดี

  • มีความคงทนสูง กล่าวคือหากสายเคเบิลบางโหนดเกิดชำรุดหรือขาดจะส่งผลต่อโหนดนั้นเท่านั้น

ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบโดยรวม โหนดอื่น ๆ ยังคงใช้งานได้ตามปกติ

  • เนื่องจากมีจุดศูนย์กลางควบคุมอยู่ที่ฮับ ทำให้การจัดการดูแลง่ายและสะดวก

ข้อเสีย

  • สิ้นเปลืองสายเคเบิล ซึ่งต้องใช้จำนวนสายเท่ากับจำนวนเครื่องที่เชื่อมต่อ
  • กรณีต้องการเพิ่มโหนด อุปกรณ์ฮับจะต้องมีพอร์ตว่างให้เชื่อมต่อ และจะต้องลากสายเชื่อมต่อระหว่างฮับไปยังโหนดปลายทาง
  • เนื่องจากมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ฮับ หากฮับเกิดชำรุดใช้งานไม่ได้ คอมพิวเตอร์ที่
  • เชื่อมต่อเข้ากับฮับดังกล่าวก็จะใช้งานไม่ได้ทั้งหมด


ไฟล์:Imagesstar.jpg


โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING Topology )[แก้]

เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจาแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทาหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จาเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป

ข้อดี

  • แต่ละโหนดในวงแหวนมีโอกาสส่งข้อมูลได้เท่าเทียมกัน
  • ประหยัดสายสัญญาณ โดยจะใช้สายสัญญาณเท่ากับจำนวนโหนดที่เชื่อมต่อ
  • ง่ายต่อการติดตั้งและการเพิ่ม/ลบจำนวนโหนด

ข้อเสีย

  • หากวงแหวนชำรุดหรือขาด จะส่งผลกระทบต่อระบบทั้งหมด
  • ตรวจสอบได้ยาก ในกรณีที่มีโหนดใดโหนดหนึ่งเกิดข้อขัดข้อง เนื่องจากต้องตรวสอบทีละจุดว่าเกิดข้อขัดข้องอย่างไร


ไฟล์:Images ring.jpg


โทโปโลยีแบบเมชหรือแบบตาข่าย (Mesh Topology)[แก้]

รูปแบบเครือข่ายแบบนี้ปกติใช้ในระบบเครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network) ลักษณะการสื่อสารจะมีการต่อสายหรือการเดินของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือโหนดไปยังโหนดอื่น ๆ ทุก ๆ ตัว ทำให้มีทางเดินข้อมูลหลายเส้นและปลอดภัยจากเหตุการณ์ที่จะเกิดจากการล้มเหลวของระบบ แต่ระบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าระบบอื่น ๆ เพราะต้องใช้สายสื่อสารเป็นจำนวนมาก
ข้อดี

  • เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อกันโดยตรงระหว่างโหนด ดังนั้นแบนด์วิดธ์บนสายสื่อสารสามารถนำมาใช้ได้อย่างเต็มที่ ไม่มีโหนดใดมาแชร์ใช้งาน
  • มีความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวในข้อมูลที่สื่อสารกันระหว่างโหนด
  • ระบบมีความทนทานต่อความผิดพลาด(Fault-Tolerant) เนื่องจากหากมีลิงก์ใดชำรุดเสียหายก็สามารถเลี่ยงไปใช้งานลิงก์อื่นทดแทนได้

ข้อเสีย

  • สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และสายเคเบิ้ลมากกว่าการต่อแบบอื่น ๆ
  • ยากต่อการติดตั้ง เดินสาย เคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยนและบำรุงรักษาระบบเครือข่าย
ไฟล์:Imagesmesh.gif


WAN Technology[แก้]

ระบบเครือข่ายแบบ WAN หรือระบบเครือข่ายบริเวณกว้าง จะเป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงเครือข่ายแบบท้องถิ่นตั้งแต่ 2 เครือข่ายขึ้นไปเข้าด้วยกันผ่านระยะทางที่ไกลมาก โดยการเชื่อมโยงจะผ่านช่องทางการสื่อสารข้อมูลสาธารณะของบริษัทโทรศัพท์หรือองค์การโทรศัพท์ของประเทศต่างๆ เช่น สายโทรศัพท์แบบอนาลอก สายแบบดิจิทัล ดาวเทียม ไมโครเวฟ เป็นต้น

เซอร์กิตสวิตชิง (Circuit Switching)[แก้]

เป็นกลไกสื่อสารข้อมูล ที่สร้างเส้นทาง ข้อมูลระหว่างสถานีส่งก่อนที่จะทำการส่งข้อมูล เมื่อเส้นทางดังกล่าวนี้สร้างแล้วจะใช้ในการส่งข้อมูลได้เฉพาะสองสถานีนี้ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของ ระบบเซอร์กิตสวิตชิง ได้แก่ระบบโทรศัพท์นั่นเอง โทรศัพท์แต่ละหมายเลขจะมีสายสัญญาณ เชื่อมตอมายังชุมสายโทรศัพท์หรือ CO (Central Office) ซึ่งมีสวิตชิงติดตั้งอยู่ ระหว่าง ชุมสายโทรศัพท์จะมีการเชื่อมต่อกันทำให้สามารถโทรศัพท์ไปเบอร์อื่นๆ ได้บางครั้งอาจผ่าน 9 -4 ชุมสายโทรศัพท์หลายๆ ชุมสาย ทุกครั้งที่ใช้โทรศัพท์จะมีเส้นทางสัญญาณที่ถูกจองไว้สำหรับใช้ ในการสนทนาแต่ละครั้ง เมื่อเลิกใช้โทรศัพท์เส้นทางนี้จะถูกยกเลิกและพร้อมสําหรับการใช้งานครั้งต่อไปการสร้างเส้นทางผ่านข้อมูลเซอร์กิตสวิตชิงเป็นขั้นตอนที่สำคัญในระบบส่งสัญญาณ แบบเซอร์กิตสวิตชิง เฟรมข้อมูลที่ส่งแต่ล่ะการเชื่อมต่อจะถูกส่งผ่านเครือข่ายโดยใช้เส้นทาง เดียวกันทั้งหมด สำหรับหลักการทำงานให้พิจารณาจากรูปที่ 9-3 (a) ฝูงต้นทางที่นี้คือ S ซึ่ง ตองการสื่อสารกับฝูงปลายทางคือ T ผ่านเครือข่ายและด้วยวิธีเซอร์กิตสวิตชิงนั้นจะสร้างเส้นทาง เพื่อการส่งข้อมูลแบบตายตัว (Dedicated Path) ดังนั้นการเชื่อมต่อจากฝูงต้นทาง S ไปยังปลายทาง T ในที่นี้ก็ไดมีการจับจองเส้นทางตามนี้คือ

เมสเสจสวิตชิง (Message Switching)[แก้]

วิธีการสื่อสารแบบเมสเสจสวิตชิงนั้น เมสเสจจะถูกส่งจากฝูงต้นทาง S ไปยังปลายทาง T ในลักษณะเป็นขั้นๆ โดยจะมีการถือครองเส้นทางในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น จากรูปที่ 9-3 (b) จะเห็น ไดวา ในขั้นตอนแรก S ไดมีการส่งผ่านเส้นทางไปยัง a จากนั้น a ก็จะมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ชั่วคราว ซึ่งช่วงเวลา ดังกล่าวเส้นทางจาก S ไปยัง a นั้นจะถูกปลดออก (Release) ทำให้ผู้อื่นสามารถใช้เส้นทางนี้ในการ ลำเลียงข้อมูลจากนั้น a ก็ด้ำเนินการส่งเมสเสจนั้นต่อไปยัง c และดำเนินการเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนกระทั่งถึงปลายทาง T จะเห็นไดวา วิธีนี้จะมีการถือครองเสส้นทางในการ ลำเลียงข้อมูลในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น โดยเมื่อโหนดใดโหนดหนึ่งได้จัดเก็บเมสเสจเหล่านั้นไว้ ชั่วคราวแล้วเส้นทางนั้นก็จะถูกปลดออกเพื่อให้ผู้อื่นใช้งานต่อไป วิธีนี้ถือว่าเป็นการใช้เส้นทางใน การลำเลียงข่าวสารไดอย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตาม เมสเสจสวิตชิงนี้ก็มีข้อเสียคือค่าหน่วง เวลามีค่อนข้างสูงเนื่องจากมีข้อมูลที่ส่งไปในระหว่างทางนั้นจะถูกจัดเก็บไวชั่วคราวในแต่ละจุดบนเครือข่าย ซึ่งอุปกรณ์ที่จัดเก็บข้อมูลเหล่านั้นจะประมวลผลค่อนข้างช้าทีเดียว ดิสก์หรือดรัมแม่เหล็กในขณะที่ในยุคก่อนนั้นใช้เทปกระดาษก็จะยิ่งทำให้ล่าช้าขึ้นไปอีกและหากข้อมูลมีขนาดใหญ่ ซึ่งปกติก็จะมีการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนๆ ก็จะทำให้ใช้เวลาสูงมากขึ้น รวมถึงจำนวนโหนดที่ส่งต่อระหว่างกันบนเครือข่ายหากมีโหนดที่ส่งต่อจำนวนมาก ก็จะทำให้เกิดความล่าช้า มากขึ้นตามมาด้วย

Packet switching Network
Packet switching Network


แพ็กเก็ตสวิตชิง (Packet Switching)[แก้]

การสื่อสารแบบวิธีแพ็กเก็ตสวิตชิงนั้นจัดเป็นกรณีพิเศษของเมสเสจสวิตชิงด้วยการเพิ่ม คุณสมบัติพิเศษเข้าไป โดยในขั้นแรกเมื่อต้องการส่งหน่วยข้อมูลและด้วยแพ็กเก็ตมีขนาดจำกัด ดังนั้น หากเมสเสจมีขนาดใหญ่กว่าขนาดสูงสุดของแพ็กเก็ตจะมีการแตกออกเป็นหลายๆ แพ็กเก็ต9 -6 ขั้นที่สอง เมื่อแพ็กเก็ตไดส่งผ่านจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งบนเครือข่าย จะมีการจัดเก็บแพ็กเก็ต เหล่านั้นไว้ชั่วคราวบนหน่วยความจำความเร็วสูงเช่น RAM ซึ่งในเวลาในการประมวลผลได รวดเร็วกว่าอุปกรณ์ที่ใช้งานบนระบบเมสเสจสวิตชิงข้อดีของการสื่อสารด้วยวิธีแพ็กเก็ตสวิตชิงก็ คือเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีเมสเสจสวิตชิงแล้วค่าหน่วงเวลาของแพ็กเก็ตสวิตชิงนั้นมีค่าน้อยกว่าโดย ค่าหน่วงเวลาของแพ็กเก็ตแรกจะเกิดขึ้นเพียงชั่วครูในขณะที่แพ็กเก็ตแรกนั้นผ่านจำนวนจุดต่างๆบนเส้นทางที่ใช้ หลังจากนั้นแพ็กเก็ตที่ส่งตามมาทีหลังก็จะทยอยส่งตามกันมาอย่างรวดเร็ว และหากมีการสื่อสารบนช่องทางความเร็วสูงแลว ค่าหน่วงเวลาที่เกิดขึ้นจะมีค่าต่ำเลยทีเดียวโดยการ สื่อสารด้วยวิธีแพ็กเก็ตสวิตชิงนี้ยังแบ่งออกเป็น 2 วิธีด้วยกัน คือ วิธดาต้าแกรม (Datagram Approach) และเวอร์ชวลเซอร์กิต (Virtual-Circuit Approach)

แพ็กเก็ตสวิตชิ่งแบบดาต้าแกรม
แพ็กเก็ตสวิตชิ่งแบบดาต้าแกรม


OSI model + TCP/IP model[แก้]

OSI model TCP/model
Application Application
Presentation Application
Session Application
Transport ICP
Network Intrenet
Data Link Network acess
Physical Network acess

OSI model[แก้]

OSI Reference Model เป็นการกำหนดชุดของคุณลักษณะเฉพาะที่ใช้อธิบายโครงสร้าของระบบเครือข่าย
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ใดๆใช้เป็นโครงสร้างอ้างอิงในการสร้างอุปกรณ์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างดีบนระบบเครือข่ายโดยมีการจัดแบ่งเลเยอร์ของ OSI ออกเป็น 7 เลเยอร์ แต่ละเลเยอร์จะมีการโต้ตอบหรือรับส่งข้อมูลกับเลเยอร์ที่อยู่ข้างเคียงเท่านั้นโดยเลเยอร์ที่อยู่ชั้นล่างจะกำหนดลักษณะของอินเตอร์เฟซ เพื่อให้บริการกับเลเยอร์ที่อยู่เหนือขึ้นไปตามลำดับขั้น
เริ่มตั้งแต่ส่วนล่างสุดซึ่งเป็นการจัดการลักษณะทางกายภาพของฮาร์ดแวร์และการส่งกระแสของข้อมูลในระดับบิตไปสิ้นสุดที่แอพพลิเคชั่นเลเยอร์ในส่วนบนสุด

TCP/IP[แก้]

  • Process Layer จะเป็น Application Protocal ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับผู้ใช้และให้บริการต่าง ๆ
  • Host – to – Host Layer จะเป็น TCP ที่ทำหน้าที่คล้ายกับชั้นที่ 4 ของ OSI Model คือควบคุมการรับส่งข้อมูลจากปลายด้านส่งถึงปลายทางด้านรับข้อมูล
  • Internetwork Layer ได้แก่ส่วนของโปรโตคอล IP ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับชั้นที่ 3 ของ OSI Model คือเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายที่อยู่ชั้นล่างลงไป
  • Network Interface เป็นส่วนที่ควบคุมฮาร์ดแวร์การรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย เปรียบได้กับชั้นที่ 1 และ2 ของ OSI Model