ผู้ใช้:กัญญา สร้อยสุวรรณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กัญญา สร้อยสุวรรณ
กัญญา สร้อยสุวรรณ
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด07 ตุลาคม พ.ศ. 2534 (32 ปี)
กัญญา สร้อยสุวรรณ

ประวัติส่วนตัว[แก้]

  • กัญญา สร้อยสุวรรณ
  • ชื่อเล่น นู็ติ๊กเกอร์
  • น้ำหนัก 45 กิโลกรัม
  • ส่วนสูง 155 เซนติเมตร
  • สัญชาติ ไทย
  • ศาสนา พุทธ
  • ภูมิลำเนา บ้านเลขที่ 42 หมู่ 5 ตำบลโคกกรวด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30280


MY PROFILE[แก้]

  • KANYA SOISUWAN
  • NICKNAME TIKKER
  • WEIGHT 45 KG
  • HEIGHT 155 CM
  • NATIONNALITY THAI
  • RELIGION BUDDHA
  • ADDRESS 42 M. 5 MUANG KONKKOD NAKHONRATCHASIMA 30280

ประวัติการศึกษา[แก้]

ประวัติการศึกษา
ปี พ.ศ. ระดับชั้น โรงเรียน จังหวัด
พ.ศ. 2551 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนครราชสีมาวิทยาลัย นครราชสีมา
พ.ศ. 2553 จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ โรงเรียนเทคโนโลยีชนะพลขันธ์นครราชสีมา นครราชสีมา
พ.ศ. 2555 จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานนครราชสีมา นครราชสีมา
พ.ศ. 2557 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานนครราชสีมา นครราชสีมา

ตำแหน่งด้านไอทีที่น่าสนใจ[แก้]

  • โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
  • ผู้ดูแลระบบสารสนเทศ (Administrator)
  • นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst)
  • นักข่าวสายไอที
  • นักออกแบบเว็บ (Web Designer)

บทความทางด้านไอที[แก้]

 1.  ไวรัสคอมพิวเตอร์คืออะไร ?

ไวรัส คือโปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไประบาดในระบบคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาดิสก์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูลไวรัสก็อาจแพร่ระบาดได้เช่นกัน การที่คอมพิวเตอร์ใดติดไวรัส หมายถึงว่าไวรัสได้เข้าไปผังตัวอยู่ในหน่วยความจำ คอมพิวเตอร์ เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากไวรัสก็เป็นแค่โปรแกรม ๆ หนึ่งการที่ไวรัสจะเข้าไปอยู่ ในหน่วยความจำได้นั้นจะต้องมีการถูกเรียกให้ทำงานได้นั้นยังขึ้นอยู่กับประเภทของไวรัส แต่ละตัวปกติผู้ใช้มักจะไม่รู้ตัวว่าได้ทำการปลุกคอมพิวเตอร์ไวรัสขึ้นมาทำงานแล้ว จุดประสงค์ของการทำงานของไวรัสแต่ละตัวขึ้นอยู่กับตัวผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้น เช่น อาจสร้างไวรัสให้ไปทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลอื่น ๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ แสดงข้อความวิ่งไปมาบน หน้าจอ เป็นต้นไวรัส คือโปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไประบาดในระบบคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาดิสก์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูลไวรัสก็อาจแพร่ระบาดได้เช่นกัน การที่คอมพิวเตอร์ใดติดไวรัส หมายถึงว่าไวรัสได้เข้าไปผังตัวอยู่ในหน่วยความจำ คอมพิวเตอร์ เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากไวรัสก็เป็นแค่โปรแกรม ๆ หนึ่งการที่ไวรัสจะเข้าไปอยู่ ในหน่วยความจำได้นั้นจะต้องมีการถูกเรียกให้ทำงานได้นั้นยังขึ้นอยู่กับประเภทของไวรัส แต่ละตัวปกติผู้ใช้มักจะไม่รู้ตัวว่าได้ทำการปลุกคอมพิวเตอร์ไวรัสขึ้นมาทำงานแล้ว จุดประสงค์ของการทำงานของไวรัสแต่ละตัวขึ้นอยู่กับตัวผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้น เช่น อาจสร้างไวรัสให้ไปทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลอื่น ๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ แสดงข้อความวิ่งไปมาบน หน้าจอ เป็นต้น

 2.   ระบบ 3G มีดีอย่างไร

3G (สามจี หรือ ทรีจี) เป็นมาตรฐานโทรศัพท์มือถือในยุคที่ 3 ถูกพัฒนาและกำลังมาแทนที่ ระบบโทรศัพท์ 2G ซึ่ง 3G นั้นพัฒนาบนพื้นฐานของมาตรฐาน International Mobile Telecommunications 2000, IMT-2000 ภายใต้กลุ่มของ International Telecommunication Union (ITU) 3G หรือที่เรียกว่า ระบบ UMTS หรือ WCDMA ในระบบ GSM 850 , 900 , 1800 , 1900 และ 2100 (ที่เป็นสากลที่โทรศัพท์ระบบ 3G ต้องมี) 3G คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือมาตรฐาน IMT-2000 โดย ขอนิยามสั้นๆ เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า • ต้องมี แพลทฟอร์ม(Platform) สำหรับการหลอมรวมของบริการต่างๆ อาทิ กิจการประจำที่ (Fixed Service) กิจการเคลื่อนที่ (Mobile Service) บริการสื่อสารเสียง ข้อมูล อินเทอร์เน็ต และ พหุสื่อ (Multimedia) เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ สามารถถ่ายเท ส่งต่อข้อมูล ดิจิทัล ไปยังอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภทต่างๆ ให้สามารถรับ-ส่ง ข้อมูลได้ • ความ สามารถในการใช้โครงข่ายทั่วโลก (Global Roaming) คือ ผู้บริโภคสามารถ ถืออุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้ได้ทั่วโลก โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง • บริการที่ไม่ขาดตอน (Seamless Delivery Service) คือ การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยน เซลล์ไซต์ (Cell Site) เขาใช้คำว่า Seam less แปลว่า ไร้รอยตะเข็บ • อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล (Transmission Rate) ใน มาตรฐาน IMT-2000 กำหนดไว้ว่าต้องมีอัตราความเร็ว > มากกว่า 144 กิโลบิต/วินาที ในทุกสภาวะ > ถึง 2 เมกกะบิต/วินาที ในสภาวะกึ่งเคลื่อนที่ > สูงถึง 384 กิโลบิต/วินาที ในสภาวะเคลื่อนที่ G หรือ Third Generation เป็น เทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต 3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น

  3.   Intel ออกซีพียูสำหรับสมาร์ทโฟนเจ้งจริงๆ

"ซีพียูทีอินเทลต้องการใช้เจาะตลาดอุปกรณ์สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตนั้น โดยก่อนหน้านี้จะรู้จักกันในโค้ดเนมว่า Moorestown ซึ่งก็คือโพรเซสเซอร์ในตระกูล Atom Z6 " Pankaj Kedia ผู้อำนวยการฝ่าย Ultra Mobility Groupกล่าว ที่ผ่านมาชิป Atom ของอินเทลจะใช้สำหรับเน็ตบุ๊ก ซึ่งโพรเซสเซอร์ตระกูลดังกล่าวถูกนำไปใช้ในเหล่าบรรดาผู้ผลิตอย่างกว้างขวาง "เป้าหมายหลักของ Moorestown คือ การเข้าสู่ตลาดสมาร์ทโฟน แต่ด้วยประสิทธิภาพของมันยังเหมาะกับตลาดแท็บเล็ตด้วย" Kedia กล่าว แพ็คเกจของชิปทั้งหมดของ Atom Z6 จะมีลักษณะเป็น system-on-chip (soc) โดยประกอบด้วยซิลิกอน 2 ชิ้นทำงานร่วมกัน (เทคโนโลยีการผลิต 45nm และมีทรานซิสเตอร์ 140 ล้านตัว) ซึ่ง soc คือ "สมองของสมาร์ทโฟน" ที่สามารถทำงานหนักๆ แทบทั้งหมดตั้งแต่ การประมวลผลข้อมูลที่เป็นแกนหลักของการทำงานไปจนถึงการจัดการสตรีมมิ่งของวิดีโอ และออดิโอ ตลอดจนกราฟิก 3D"เวลานี้สถาปัตยกรรม Atom ได้ถูกนิยามให้เป็นซีพียูในตลาดสมาร์ทโฟนระดับไฮเอ็นด์" Baliappa Kuttanna

LAN TOPOLOGY[แก้]

ส่วนประกอบของ LAN

  • Bus Topology

แบบ Bus การเชื่อมต่อแบบบัสจะมีสายหลัก 1 เส้น เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์ทุกเครื่องจะต้องเชื่อมต่อสายเคเบิ้ลหลักเส้นนี้ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกมองเป็น Node เมื่อเครื่องไคลเอ็นต์เครื่องที่หนึ่ง (Node A) ต้องการส่งข้อมูลให้กับเครื่องที่สอง (Node C) จะต้องส่งข้อมูล และแอดเดรสของ Node C ลงไปบนบัสสายเคเบิ้ลนี้ เมื่อเครื่องที่ Node C ได้รับข้อมูลแล้วจะนำข้อมูล ไปทำงานต่อทันที

  • Ring Topology

แบบ Ring การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้ ระบบ Ring มีการใช้งานบนเครื่องตระกูล IBM กันมาก เป็นเครื่องข่าย Token Ring ซึ่งจะใช้รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องมินิหรือเมนเฟรมของ IBM กับเครื่องลูกข่ายบนระบบ

  • Star Topology

แบบ Star การเชื่อมต่อแบบสตาร์นี้จะใช้อุปกรณ์ Hub เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ โดยที่ทุกเครื่องจะต้องผ่าน Hub สายเคเบิ้ลที่ใช้ส่วนมากจะเป็น UTP และ Fiber Optic ในการส่งข้อมูล Hub จะเป็นเสมือนตัวทวนสัญญาณ (Repeater) ปัจจุบันมีการใช้ Switch เป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อซึ่งมีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่า

  • Hybrid Topology

แบบ Hybrid เป็นการเชื่อมต่อที่ผสนผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งระบบ Hybrid Network นี้จะมีโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tree ที่มีลำดับชั้นในการทำงาน

  • เครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN)

อีกเครือข่ายที่ใช้เป็นระบบแลน (LAN) ที่ไม่ได้ใช้สายเคเบิลในการเชื่อมต่อ นั่นคือระบบเครือข่ายแบบไร้สาย ทำงานโดยอาศัยคลื่นวิทยุ ในการรับส่งข้อมูล ซึ่งมีประโยชน์ในเรื่องของการไม่ต้องใช้สายเคเบิล เหมาะกับการใช้งานที่ไม่สะดวกในการใช้สายเคเบิล โดยไม่ต้องเจาะผนังหรือเพดานเพื่อวางสาย เพราะคลื่นวิทยุมีคุณสมบัติในการทะลุทะลวงสิ่งกีดขวางอย่าง กำแพง หรือพนังห้องได้ดี แต่ก็ต้องอยู่ในระยะทำการ หากเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปไกลจากรัศมีก็จะขาดการติดต่อได้ การใช้เครือข่ายแบบไร้สายนี้ สามารถใช้ได้กับคอมพิวเตอร์พีซี และโน้ตบุ๊ก และต้องใช้การ์ดแลนแบบไร้สายมาติดตั้ง รวมถึงอุปกรณ์ที่เรียกว่า Access Point ซึ่งเป็นอุปกรณ์จ่ายสัญญาณสำหรับระบบเครือข่ายไร้สาย มีหน้าที่รับส่งข้อมูลกับการ์ดแลนแบบไร้สาย

WAN TOPOLOGY[แก้]

เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงกับเครือข่ายอื่นที่อยู่ไกลกันมาก เช่น เครือข่ายระหว่างจังหวัด หรือระหว่างภาครวมไปถึงเครือขายระหว่างประเทศ

  • ลักษณะของเครือข่าย

1) เครือข่ายแบบรับ-ให้บริการหรือไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์ (client-server network) จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องให้บริการต่างๆ เช่น บริการเว็บ และบริการฐานข้อมูล การให้บริการขึ้นกับการร้องขอบริการจากเครื่องรับบริการ เช่น การเปิดเว็บเพจ เครื่องรับบริการจะร้องขอบริการไปที่เครื่องบริการเว็บ จากนั้นเครื่องให้บริการเว็บจะตอบรับและส่งข้อมูลกลับมาให้เครื่องรับบริการ ข้อดีของระบบนี้คือสามารถให้บริการแก่เครื่องรับบริการได้เป็นจำนวนมาก ข้อด้อยคือระบบนี้มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและการบำรุงรักษาค่อนข้างสูง ตัวอย่างเครือข่ายแบบรับ-ให้บริการ
2) เครือข่ายระดับเดียวกัน (Peer-to-Peer network : P2P network) เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเป็นได้ทั้งเครื่องให้บริการและเครื่องรับบริการในขณะเดียวกัน การใช้งานส่วนใหญ่มักใช้ในการแบ่งปันข้อมูล เช่น เพลง ภาพยนตร์ โปรแกรม และเกม เครือข่ายแบบนี้เริ่มแพร่หลายมากขึ้นในผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตการใช้งานจะมีซอฟต์แวร์เฉพาะ เช่น โปรแกรม eDonkey, BitTorrent และ LimeWire ข้อดีของระบบแบบนี้คือง่ายต่อการใช้งาน และราคาไม่แพง ข้อด้อยคือไม่มีการควบคุมเรื่องความปลอดภัย จึงอาจพบว่าถูกนำไปใช้ประโยชน์ในทางไม่ถูกต้อง เช่น การแบ่งปันเพลง ภาพยนตร์ และโปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นการกระทำผิดกฎหมาย ตัวอย่างเครือข่ายระดับเดียวกัน