ผู้ใช้:กรกมล ทัพกอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิหาร

วัดช้างเผือก อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์

         เป็นที่ประดิษฐานศพของพระครูพชราจารย์ หรือหลวงพ่อทบ ที่บรรจุศพอยู่ในโลงแก้ว 

ซึ่งศพของท่านไม่เน่าเปื่อย

และเป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดเพชรบูรณ์และผู้ที่เดินทางผ่าน ในเดือนมีนาคม

จะมีงานประจำปีครบรอบวันมรณภาพ ของหลวงพ่อทบเป็นประจำทุกปี การเดินทาง จากตัวเมืองเพชรบูรณ์ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 21 ถึงสามแยกวังชมพูเลี้ยวซ้าย ไปตามเส้นทางอำเภอหนองไผ่อยู่ระหว่างกิโลเมตรที่ 118 ก่อนถึงสามแยกบ้านนายม ซ้ายมือจะมีป้ายบอกทางเข้าวัดไปอีกประมาณ 700 เมตร

ประวัติของหลวงพ่อทบ พระเกจิดังๆ นั้นมีมาหลายยุคหลายสมัยโดยเฉพาะในช่วงโบราณกาล เรามักจะเคยได้ยินเรื่องเล่าขานเกี่ยวกับพระหลายๆ

ท่านถึงความศักดิ์สิทธิ์ที่ปรากฏแก่สายตายชาวบ้าน อาทิ คาถาอาคมของสมเด็จโตที่สะกดวิญญาณนางนาคให้สงบลงได้ 

หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลให้กลายเป็นน้ำจืด

พระที่ศักดิ์สิทธิ์ก็ยังคงมีมาเรื่อยๆ จนปัจจุบันนี้ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง นักกีฬา หรือนักธุรกิจก็มักนิยมไปให้ 

หลวงพ่อคูณเคาะศีรษะเพื่อความเป็นสิริมงคล

ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ก็เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มี เรื่องราวพระที่ศักดิ์สิทธิ์นามว่า “พระครูวิชิต พัชราจารย์” หรือที่ชาวบ้านเรียกท่านว่า “หลวงพ่อทบ”

      หลวงพ่อทบเกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2424 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเส็ง ท่านเป็นบุตรของนายเผือก 

และนางอินทร์ ม่วงดี มีพี่น้องทั้งหมด 4 คน ถิ่นฐานเดิมอยู่ที่บ้านยางหัวลม ตำบลวังชมภู

สมัยเด็กหลวงพ่อทบท่านชอบศึกษาเล่าเรียนภาษาขอม และวิชาอาคมต่างๆ เมื่ออายุได้ 16 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดช้างเผือก ตำบลนายม (วังชมภู) อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ จนอายุครบ 21 ปี ก็อุปสมบท ณ วัดเกาะแก้ว และได้รับฉายาว่า “ธมฺ มปฺ โญ ภิกขุ” เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดช้างเผือก 2 ปีจากนั้นก็ได้ย้ายไปจำพรรษา ที่วัดวังโป่งอีก 2 ปี และท่านก็ได้ออกธุดงค์ไปตามป่าลึกทั้งในประเทศพม่า ลาว และเขมร แล้วฝึกวิชาอาคมต่างๆ

ตอนที่หลวงพ่อทบออกธุดงค์นั้นก็ต้องพบเจอกับสัตว์ป่านานาชนิด จนบางครั้งมีฝูงช้างป่าและเสือโคร่ง มาหากิน และนอนอยู่ข้างกลด ท่านก็ได้แผ่เมตตาให้และภาวนาว่า “เอ็งหากิน ข้าก็หากิน เอ็งก็อยู่ ข้าก็อยู่ เมื่อมาก็ดีแล้ว จงนอนเสียเถิด” สัตว์ป่าเหล่านั้นก็นอนตามปกติโดยที่ไม่รบกวนหลวงพ่อทบเลย

      เรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ของ หลวงพ่อยังคงมีปรากฏให้เห็นอีกเรื่อยมา ครั้งหนึ่งมีชายวิ่งมาขอความช่วยเหลือ

จากหลวงพ่อ บอกว่ามีคนจะตามฆ่าเพราะไปรู้เรื่องการปล้นของเขา หลวงพ่อก็หยิบเอาเศษไม้ที่ถากทิ้งไว้ขึ้นมาเสกเป่าคาถา แล้วยื่นให้ชายผู้นั้น แล้วบอกว่าถ้ามีคนเข้ามาให้อยู่เฉยๆ ไม่ต้องพูดอะไร สักพักก็มีกลุ่มคนวิ่งเข้ามาถาม หลวงพ่อว่าเห็นคนวิ่งมาทางนี้หรือเปล่า หลวงพ่อไม่อยากโกหกจึงตอบไปว่า “ถ้ามีเอ็งก็เห็นแล้วซิ” ชายกลุ่มนั้นไม่พอใจจึงหันปืนยิงใส่หลวงพ่อ แต่ปืนกลับยิงไม่ออก กลุ่มโจรจึงก้มกราบและขออภัยที่ล่วงเกิน

ชื่อเสียงของหลวงพ่อทบเริ่มเป็นที่รู้จักต่อประชาชนทั่วๆ ไป เริ่มเห็นความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อ คือ เป็นพระที่เคร่งปฏิบัติศีล สมาธิดี แถมยังเป็นพระนักพัฒนาสร้างวัด สร้างโบสถ์ หลายแห่ง นอกจากนี้ยังได้สร้างพระเครื่อง และเครื่องรางของขลังไว้ปกป้องคุ้มครอง ชาวบ้านให้ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง

หลวงพ่อทบจำวัดอยู่ที่วัดพระพุทธบาทถึง 19 ปี ได้สมณศักดิ์เป็น “พระครู วิชิต พัชราจารย์” คุณลักษณะของท่านที่ได้รับการกล่าวขานคือ “หลวงพ่อทบ วาจาสิทธิ์ แห่งวัดพระพุทธบาทชนแดน”

ช่วงบั้นปลายชีวิตของหลวงพ่อทบท่านได้กลับมาพัฒนาที่วัดช้างเผือก ซึ่งขณะนั้นกลายเป็นวัดร้าง ให้กลับมาเจริญรุ่งเรือง วันหนึ่งหลวงพ่อทบนั่งคุยกับญาติโยม ศิษยานุศิษย์ ท่านพูดขึ้นมาลอยๆ ว่า “ถ้าหลวงพ่อเสียชีวิต ขอให้นำศพไว้ที่วัดช้างเผือกไม่ต้องเผา ต่อไปวันข้างหน้าจะมีผู้มาช่วยพัฒนาวัดช้างเผือกเอง”

หลวงพ่อทบมรณภาพเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2519 เวลาประมาณเที่ยงวัน แต่สรีระของท่านกลับไม่เน่าเปื่อย เหมือนกับพระเกจิดังๆ ทั่วไป ปัจจุบันสรีระของท่านเก็บรักษาไว้ในโรงแก้วภายในมณฑป ณ วัดช้างเผือก ให้ผู้ที่ไปเที่ยวสามารถเคารพสักระบูชาได้ โดย “วัดช้างเผือก” ตั้งอยู่ที่ ต.วังชมภู อ.เมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ก่อนถึงสามแยกวังชมภูประมาณ 2 กม. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ททท.ภาคเหนือ เขต 3 โทร. 0-5525-2743,0-5525-9907