ผู้สำเร็จราชการแทนท้าวคำถี่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แผ่นดินว่างกษัตริย์[แก้]

ราชบัลลังก์ว่างอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากไม่มีผู้ที่สมควรได้เป็นกษัตริย์แล้ว พวกขุนนางผู้ใหญ่จึงจัดการดูแลบ้านเมืองไปตามลำพัง

การค้นพบสุดางฟ้า[แก้]

หลายปีต่อมา มีบุรุษผู้หนึ่งชื่อ ท้าวเชี่ยวแคน เดินทางข้ามแม่น้ำพรหมบุตรเพื่อไปค้าขายเพื่อไปค้าขายโค กระบือยังหมู่บ้านฮาบุง และได้พบเด็กหนุ่มที่ชื่อ "สุดาง" อยู่ในหมู่บ้านนั้น เด็กหนุ่มผู้นี้ลักษณะท่าทางเป็นผู้ดี ท้าวเชี่ยวแคนจึงเข้าไปไต่ถามว่าเป็นลูกเต้าเหล่าใคร และทราบว่าเด็กหนุ่มผู้นี้ คือโอรสของท้าวขำติที่เกิดจากมเหสีองค์รองที่ถูกลอยแพ แพที่ลอยมานั้นมาติดอยู่ที่หมู่บ้านฮาบุง พราหมณ์ผู้หนึ่งจึงให้ที่พักพิงแก่พระนาง ซึ่งสิ้นพระชนม์หลังจากที่ให้กำเนิดทารก พราหมณ์ผู้นั้นจึงรับอุปการะทารกนั้นพร้อมกับบุตรของตน เมื่อบุรฮา โกฮาอินได้รับข่าว และภายหลังได้ไต่สวนความจริงแล้ว ก็รับเด็กนั้นมายังราชธานี และมอบบัลลังก์ให้ครอง

พระบรมวงศานุวงศ์ที่ยังมีพระชนมชีพในช่วงนั้น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • งานค้นคว้าเรื่องชนชาติไทย ของ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ

ดูเพิ่ม[แก้]

ก่อนหน้า ผู้สำเร็จราชการแทนท้าวคำถี่ ถัดไป
ท้าวขำติ ว่างกษัตริย์
(พ.ศ. 1932 - พ.ศ. 1940)
สุดางฟ้า