ซอกเดียนร็อก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ป้อมซ็อกเดียน)
การล้อมซอกเดียนร็อก
ส่วนหนึ่งของ สงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
วันที่327 ปีก่อนคริสต์ศักราช
สถานที่
ผล มาซิโดเนียชนะ
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง

พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช

ยึดครองซอกเดีย
คู่สงคราม
จักรวรรดิมาซิโดเนีย ซอกเดีย
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช สปิทามีนีส
กำลัง
300 นาย ไม่ทราบ
ความสูญเสีย
30 นาย ไม่มีผู้เสียชีวิต

ซอกเดียนร็อก (อังกฤษ: Sogdian Rock) หรือ ร็อกออฟแอเรียมาซีส (Rock of Ariamazes) เป็นป้อมปราการที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของแบกเตรีย ในซอกเดีย ใกล้กับเมืองซามาร์กันต์ ป้อมแห่งนี้ถูกกองทัพพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชยึดครองในฤดูใบไม้ผลิของปีที่ 327 ก่อนคริสต์ศักราช โดยเป็นส่วนหนึ่งของการทัพกับจักรวรรดิอะคีเมนิด[1][2]

ก่อนการล้อม ออกซิอาร์ตีส (Oxyartes) หนึ่งในหัวหน้าชาวแบกเตรียได้ให้ภรรยาและบุตรหลายคนรวมถึงโรซานา (Roxana) ลี้ภัยไปอยู่ภายในซอกเดียนร็อก ซึ่งเชื่อกันว่าไม่มีกองทัพใดตีให้แตกได้[1][2] เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชยกทัพมาถึง พระองค์ได้สั่งให้ผู้ป้องกันป้อมยอมจำนน แต่ได้รับการปฏิเสธและส่งมาบอกว่ามีแต่ "มนุษย์ติดปีก" เท่านั้นที่ขึ้นมาถึงป้อมได้[1] พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชจึงรวบรวมอาสาสมัคร 300 นายเพื่อปีนหน้าผาขึ้นไปยังป้อมโดยใช้หมุดปักเต็นท์กับเชือกปอป่าน ทหารอาสาสมัครเริ่มปีนในเวลากลางคืน โดยเสียอาสาสมัครไป 30 นายก่อนจะขึ้นถึงป้อม พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้นำสาสน์ไปถึงผู้ป้องกันเมืองว่า "บัดนี้พระองค์ได้ส่งมนุษย์ติดปีกขึ้นไปแล้ว" ด้วยความตกใจและไม่เชื่อว่าคนธรรมดาจะขึ้นมาถึงป้อมได้ ผู้ป้องกันเมืองจึงยอมจำนนในที่สุด[3][4]

หลังการล้อมครั้งนี้ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้ตกหลุมรักกับโรซานา กองทัพของพระองค์ได้เดินหน้าเข้าสู่พาร์เซทาคีนี (Parsetakene) และแบกตรา (เมืองบัลค์ในปัจจุบัน) โดยที่เมืองแบกตรา พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้อภิเษกสมรสกับโรซานา[5] ก่อนจะข้ามเทือกเขาฮินดูกูชเข้าสู่อินเดีย

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Arrian 1958, section 4.18.4-19.6.
  2. 2.0 2.1 Horn & Spencer 2012, p. 40.
  3. "Alexander the Great: the capture of the Sogdian rock - Livius". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-04. สืบค้นเมื่อ 2015-11-11.
  4. Alexander the Great and His Time by Agnes Savill
  5. Grote 1856, p. 289, 290.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]