ข้ามไปเนื้อหา

ปุ๋ยอินทรีย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปุ๋ยอินทรีย์ (อังกฤษ: Organic Fertilizer) คือ ปุ๋ยที่ได้จากการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุทางชีวเคมีโดยจุลินทรีย์กลุ่มใช้ออกซิเจน (Aerobic Microorganisms) จนเป็นประโยชน์ต่อพืช

ปุ๋ยอินทรีย์[1] เป็นปุ๋ยทำจากวัสดุอินทรีย์ มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์สำหรับการเจริญเติบโตของพืช ผลิตจากวัสดุอินทรีย์ ของเสียจากโรงงาน(บางประเภท) มูลวัว มูลไก่ มูลค้างคาว ซากต้นไม้ ใบไม้ กรดอะมิโน โดโลไมท์ และแร่ธาตุต่าง ๆ นำมาบด เติมจุลินทรีย์ บ่มหมัก กลับกอง จนย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย [2]


ปุ๋ยอินทรีย์ที่ดี จะต้องประกอบด้วยแร่ธาตุครบทั้ง 13 ชนิดที่พืชต้องการ ดังนี้


แร่ธาตุหลัก ซึ่งพืชต้องการในปริมาณสูงมาก ประกอบด้วย

  • ไนโตรเจน (N)
  • ฟอสฟอรัส (P)
  • โพแทสเซียม (K)หรือ N-P-K นั่นเอง


แร่ธาตุรอง ซึ่งพืชต้องการในปริมาณน้อย ประกอบด้วย

  • แคลเซียม (Ca)
  • แมกนีเซียม (Mg)
  • กำมะถัน (S)


แร่ธาตุเสริม ซึ่งพืชต้องการในปริมาณที่น้อยมาก (แต่ขาดไม่ได้) ประกอบด้วย

  • เหล็ก (Fe)
  • แมงกานีส (Mn)
  • โบรอน (B)
  • โมลิบดินัม (Mo)
  • ทองแดง (Cu)
  • สังกะสี (Zn)
  • คลอรีน (Cl)


ปุ๋ยอินทรีย์[3] มีลักษณะทางกายภาพได้หลายแบบ เช่น ปุ๋ยเม็ด ปุ๋ยผง และปุ๋ยน้ำ แต่ที่นิยมจำหน่ายในท้องตลาดส่วนใหญ่เป็นปุ๋ยเม็ด เนื่องจากสะดวกกับเกษตรกรในการนำไปใช้ ทั้งจากการหว่านด้วยมือ หรือใช้กับเครื่องพ่นเม็ดปุ๋ย


ข้อเด่นของปุ๋ยอินทรีย์ที่เหนือกว่าปุ๋ยเคมี คือ ปุ๋ยอินทรีย์มีอินทรีย์วัตถุ มีธาตุอาหารรอง และจุลธาตุที่จำเป็นต่อจุลินทรีย์ดินและพืช ที่ปุ๋ยเคมีไม่มี นอกจากนี้ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ยังทำให้ดินมีสภาพเป็นกลาง ในขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างยาวนานจะทำให้ดินมีสภาพเป็นกรดซึ่งมีผลทำให้มีการละลายแร่ธาตุที่ไม่พึงประสงค์ออกมาให้แก่รากพืช เช่น อะลูมิเนียม ทำให้พืชมีลักษณะแคระแกร็นและเป็นโรคง่าย ปุ๋ยอินทรีย์ยังเพิ่มจำนวนจุลอินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ และสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ ทำให้ดินมีโครงสร้างโปร่ง ร่วนซุย อ่อนนุ่มอุ่มน้ำ


ข้อด้อยของปุ๋ยอินทรีย์ คือ มีธาตุอาหารหลักต่ำกว่าปุ๋ยเคมี และต่ำกว่าปุ๋ยอินทรีย์เคมี[4] ซึ่งผลิตจากการผสมปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีเข้าด้วยกัน ทำให้บางครั้งต้องใช้ในปริมาณมากเพื่อให้ได้ปริมาณธาตุอาหารเพียงพอต่อความต้องการของพืช


มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร พ.ศ. 2551 กำหนดว่า ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้และจะจำหน่ายต้องมีอินทรีย์วัตถุมากกว่าร้อยละ 20 มีค่าการนำไฟฟ้าน้อยกว่า 10 เดซิซีเมนส์ต่อเมตร มีค่าไนโตรเจนไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 มีค่าฟอสฟอรัส (P2O5) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 มีค่าโพแทสเซียม (K2O) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ปุ๋ยอินทรีย์ มีชนิดต่างต่าง เช่น 1.ปุ๋ยหมัก2.ปุ๋ยคอก3.ปุ๋ยพืชสด4.ปุ๋ยชีวภาพ

อ้างอิง

[แก้]
  1. ปุ๋ยอินทรีย์ ข้อมูลจาก Thaifertilizer.com/organic-fertilizer
  2. อีสานร้อยแปด (2022-02-24). "ปุ๋ยอินทรีย์". อีสานร้อยแปด.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. ปุ๋ยอินทรีย์ ข้อมูลจาก Thaifertilizer.com/organic-fertilizer
  4. ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ข้อมูลจาก Thaifertilizer.com/organic-chemical-fertilizer