ข้ามไปเนื้อหา

ปิญญาตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปิญญาตา

ปิญญาตา (สเปน: piñata) เป็นภาชนะที่ทำจากกระดาษอัด ภาชนะเครื่องปั้นดินเผา หรือผ้า และตกแต่งพร้อมยัดไส้ด้วยของเล่นหรือลูกอม แล้วถูกตีให้แตกเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของพิธีเฉลิมฉลอง ปิญญาตามักจะมีความเกี่ยวข้องมากที่สุดกับประเทศเม็กซิโก ความคิดเกี่ยวกับการทำลายภาชนะที่เต็มไปด้วยขนมลูกอมมาถึงยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ซึ่งชื่อภาษาอิตาลี "Pignatta" ได้ถูกเรียกเป็นครั้งแรก จากนั้นสเปนนำประเพณียุโรปไปยังเม็กซิโกแม้จะมีประเพณีที่คล้ายกันในมีโซอเมริกาก็ตาม ชาวอัซเตกมีประเพณีที่คล้ายคลึงกันเพื่อเป็นการให้เกียรติกับวันเกิดของเทพเจ้า Huitzilopochtli ในช่วงกลางเดือนธันวาคม ตามบันทึกในท้องถิ่น ประเพณีการตีปิญญาตาของเม็กซิโกเริ่มต้นขึ้นในเมือง Acolman ทางตอนเหนือของกรุงเม็กซิโก ซึ่งปิญญาตาได้ถูกนำมาใช้เพื่อคำถามและคำตอบที่ใช้ในการสอนถึงหลักการของศาสนาคริสต์พร้อมกับเป็นการทำพิธีให้กับเทพเจ้า Huitzilopochtli อีกด้วย ทุกวันนี้ปิญญาตายังคงเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเม็กซิกันและวัฒนธรรมของประเทศอื่น ๆ ในลาตินอเมริการวมไปถึงสหรัฐอเมริกาด้วย แต่ส่วนมากความสำคัญทางศาสนาของปิญญาตาได้หายไปจากครั้งโบราณกาลแล้ว