ข้ามไปเนื้อหา

ปักปัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปักปัก
ประเภทสตู
มื้ออาหารจานหลัก
แหล่งกำเนิดประเทศฟิลิปปินส์
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อุณหภูมิเสิร์ฟอุณหภูมิห้อง
ส่วนผสมหลักเนื้อสัตว์, ซอสมะเขือเทศ, หอมแดง

ปักปัก (pagpag) เป็นศัพท์ภาษาตากาล็อก หมายถึง เศษอาหารที่เหลือทิ้งจากร้านอาหาร (มักจะมาจากร้านอาหารจานด่วน) ที่เก็บมาจากกองขยะและที่ทิ้งขยะต่าง ๆ[1][2] ปักปักยังอาจเป็นเนื้อสัตว์ เนื้อปลา หรือผักแช่แข็งหมดอายุที่ซูเปอร์มาร์เก็ตต่าง ๆ ทิ้งไว้ แล้วมีคนมาคุ้ยหาในรถบรรทุกขยะที่มาเก็บอาหารหมดอายุเหล่านั้น[3] คำนี้มีความหมายตามตัวอักษรในภาษาตากาล็อกว่า "สลัดฝุ่นหรือสิ่งสกปรกออก" และหมายถึงการปัดหรือเขย่าสิ่งสกปรกออกจากส่วนที่กินได้ของเศษอาหารเหลือทิ้ง ปักปักสามารถรับประทานได้ทันทีหลังจากพบในถังขยะหรือนำมาปรุงด้วยวิธีต่าง ๆ หลังจากเก็บรวบรวมมาได้

พฤติกรรมการกินปักปักเกิดขึ้นจากความท้าทายในทางปฏิบัติของความหิวโหยซึ่งเป็นผลมาจากความยากจนอย่างรุนแรงในประเทศฟิลิปปินส์[4] การขายปักปักเป็นธุรกิจที่ทำกำไรได้ดีในพื้นที่ที่มีคนยากจนอาศัยอยู่[5] ปักปักยังมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า บัตโชย (batchoy)[6] ซึ่งได้ชื่อมาจากอาหารฟิลิปปินส์ที่มีชื่อเดียวกัน ในทางเทคนิคแล้ว บัตโชยเป็นอาหารประเภทบะหมี่น้ำ แต่ศัพท์ "บัตโชย" ที่นำมาใช้เรียกเศษอาหารเหลือทิ้งอาจหมายถึงอาหารที่ปรุงด้วยวิธีที่แตกต่างออกไป เช่น ผัดบัตโชยปักปัก[7] คนที่คุ้ยหาเศษอาหารจากขยะเรียกว่า มัมบาบัตโชย

อ้างอิง

[แก้]
  1. "'Garbage chicken' a grim staple for Manila's poor". CNN. 30 May 2012. สืบค้นเมื่อ September 4, 2014.
  2. Associated Press (13 January 2015). "Image of Asia: Eating pagpag in celebration of pope's visit". San Diego Tribune. สืบค้นเมื่อ 10 June 2016.
  3. "Sarbey hinggil sa Sosyo-ekonomikong Kalagayan at Pamumuhay ng mga Kababaihan sa Ilang Piling Maralitang Komunidad sa Bansa" (PDF). Philippine Commission on Women (ภาษาตากาล็อก). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-02-20. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.
  4. Rodriguez, Fritzie (15 March 2014). "Meal of the day: 'Pagpag'". Rappler. สืบค้นเมื่อ 10 June 2016.
  5. Cruz, Gen (22 June 2015). "Pagpag: A thriving business". CNN Philippines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-04. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.
  6. "Archdiocese of Manila achieves Zero Waste Management; prevents 'PAGPAG' eating by waste pickers by Romulo S. Arsenio, Ph.D." Archdiocese of Manila. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-01. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.
  7. Tugado, Angelo (28 April 2016). "Isko Moreno: Proud to be a 'Domagoso'". Journal Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-07. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.