ปวดศีรษะหลังการเจาะดูรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปวดศีรษะหลังการเจาะดูรา
ชื่ออื่นปวดศีรษะหลังการเจาะไขสันหลัง[1][2]
PDPH เป็นผลข้างเคียงหนึ่งของการให้ยาระงับความรู้สึกทางสันหลัง (ในภาพ)
สาขาวิชาวิสัญญีวิทยา

ปวดศีรษะหลังการเจาะดูรา (อังกฤษ: Post-dural-puncture headache; PDPH) เป็นภาวะไม่พึงประสงค์จากการเจาะเยื่อดูราซึ่งเป็นเนื้อเยื่อห่อหุ้มสมองกับไขสันหลัง[3] อาการปวดของ PDPH รุนแรงและมีการบรรยายไว้ว่า "เจ็บแสบและลุกลามเหมือนโดนเหล็กร้อน" ("searing and spreading like hot metal") และมักปวดที่บริเวณหลังกับหน้าศีรษะ อาจแพร่กระจายไปคอและไหล่ บางครั้งอาจมีอาการคอปวดร่วมด้วย อาการจะเป็นหนักขึ้นเมื่อขยับร่างกาย นั่ง หรือยืน และสามารถบรรเทาลงได้ระดับหนึ่งจากการนอนลง อาการร่วมด้วยอื่น ๆ ที่มักพบ เช่น คลื่นเหียนอาเจียน, ปวดแขนขา, สูญเสียการได้ยิน, หูอื้อ, บ้านหมุน, เวียนหัว และ ชาเหมือนโดนเข็มทิ่มที่หนังศีรษะ[3]

PDPH เป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยอย่างหนึ่งของการะเจาะไขสันหลังและ การให้ยาระงับความรู้สึกทางสันหลัง การรั่วของน้ำไขสันหลังทำให้ในสมองกับไขสันหลังมีระดับของเหลวลดลง ใน 66% ของผู้มีอาการนี้จะเริ่มมีอาการใน 2 วัน ส่วน 90% จะเริ่มมีใน 3 วัน พบได้น้อยมากที่จะเกิดขึ้นทันทีหลังหัตถการเจาะไขสันหลัง ถ้าหากเกิดการปวดทันทีจึงควรพิจารณาสาเหตุอื่นนอกจากภาวะนี้[3]

การใช้เข็มปลายหัวแหลมแบบดินสอ (pencil point needle) แทนการใช้เข็มปลายหัวตัด (cutting needle) ในการแทงไขสันหลัง จะช่วยลดความเสี่ยงเกิดภาวะนี้ได้[4] ส่วนขนาดของเข็มหัวแหลมแบบดินสอ ไม่ส่งผล[4] PDPH มีการประมาณว่าเกิดขึ้นใน 0.1% ถึง 36% หลังการเจาะไขสันหลัง[1] ผู้ป่วยบางส่วนอาจไม่ต้องได้รับการรักษานอกเหนือจากยาแก้ปวดและการนอนราบไม่ลุกเดิน ผลการศึกษาในปี 2015 พบว่ามีหลักฐานเบื้องต้นสนับสนุนการใช้คาเฟอีนในการรักษาอาการนี้[5]

อาการ[แก้]

PDPH มักจะเกิดขึ้นในระดับชั่วโมงหรือวันหลังจากหัตถการ และมักแสดงอาการปวดศีรษะ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการปวดแบบไบฟรอนทอล (bi-frontal) หรืออกซิปิทอล (occipital) และอาการคลื่นไส้ ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นหนักขุ้นหากผู้ป่วยอยูในท่าหลังตรง อาการปวดศีรษะมักเป็นใน 24–48 ชั่วโมงนับจากการเจาะไขสันหลัง แต่อาจเกิดขึ้นได้นานถึง 12 วันหลังการทำหัตถการ[2] อาการมักจะหายไปเองภายในสองสามวัน แต่มีรายงานอยู่น้อยมากที่อาการคงอยู่นานกว่านั้น[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Jabbari A, Alijanpour E, Mir M, Bani Hashem N, Rabiea SM, Rupani MA (2013). "Post spinal puncture headache, an old problem and new concepts: review of articles about predisposing factors". Caspian Journal of Internal Medicine. 4 (1): 595–602. PMC 3762227. PMID 24009943.
  2. 2.0 2.1 2.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :0
  3. 3.0 3.1 3.2 Turnbull DK, Shepherd DB (November 2003). "Post-dural puncture headache: pathogenesis, prevention and treatment". British Journal of Anaesthesia. 91 (5): 718–29. doi:10.1093/bja/aeg231. PMID 14570796.
  4. 4.0 4.1 Zorrilla-Vaca A, Mathur V, Wu CL, Grant MC (July 2018). "The Impact of Spinal Needle Selection on Postdural Puncture Headache: A Meta-Analysis and Metaregression of Randomized Studies". Regional Anesthesia and Pain Medicine. 43 (5): 502–508. doi:10.1097/AAP.0000000000000775. PMID 29659437. S2CID 4956569.
  5. Basurto Ona X, Osorio D, Bonfill Cosp X (July 2015). "Drug therapy for treating post-dural puncture headache". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 7 (7): CD007887. doi:10.1002/14651858.CD007887.pub3. PMC 6457875. PMID 26176166.
การจำแนกโรค