ข้ามไปเนื้อหา

ปลาไหลเผือกใหญ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปลาไหลเผือกใหญ่
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: โรสิด
Rosids
อันดับ: เงาะ
Sapindales
วงศ์: วงศ์ปลาไหลเผือก
Simaroubaceae
สกุล: Eurycoma
Eurycoma
Jack[1]
สปีชีส์: Eurycoma longifolia
ชื่อทวินาม
Eurycoma longifolia
Jack[1]

ปลาไหลเผือก หรือ ปลาไหลเผือกใหญ่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Eurycoma longifolia) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Simaroubaceae ชื่ออื่นๆ กรุงบาดาล (สุราษฎร์ธานี) คะนาง ชะนาง (ตราด) ตรึงบาดาล (ปัตตานี) ตุงสอ แฮพันชั้น (ภาคเหนือ) เพียก (ภาคใต้) หยิกบ่อถองหรือหยิกไม่ถึง เอียนด่อน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ไหลเผือก (ตรัง) เป็นไม้ไม่ผลัดใบ รากกลมโต สีขาว สีขาวนวล รากที่มีอายุหลายปีจะมีความยาวมาก อาจยาวมากกว่า 2 เมตร ลำต้นเรียบสีน้ำตาลเทา ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ดอกช่อออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียวอมน้ำตาล ปลายกลีบแดงอมเขียว กลีบดอกสีแดงอ่อนเกสรตัวผู้และตัวเมียสีแดงอ่อน ยื่นยาวกว่าดอก ผลเดี่ยว ทรงกระบอกกลมสั้น ผลแก่แล้วแตก ผลอ่อนสีเขียว แก่แล้วเป็นสีส้ม[2]

ปลาไหลเผือกใหญ่เป็นพืชที่มีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร ใช้ รากถ่ายพิษต่างๆ ถ่ายพิษไข้พิษเสมหะ และโลหิต แก้ไข้ แก้ไข้มาลาเรีย ตัดไข้ทุกชนิด แก้ลม แก้วัณโรคระยะบวม ขับเหงื่อ ขับพยาธิ แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้เจ็บคอ ความดันเลือดสูง อัมพาต ขับถ่ายน้ำเหลือง แก้ท้องผูก ใช้รากเป็นส่วนผสมของยาบำรุงกำลัง นำรากผสมกับรากโลดทะนงแดง และพญาไฟ ฝนน้ำดื่ม แก้ไข้ ใช้เลิกเหล้า รากผสมกับรากย่านางแดง และพญายา ฝนน้ำกินขับพิษ ในตำรายาโบราณ เป็นส่วนผสมของยาสามราก ที่ใช้ขับพิษ และแก้อาการลงแดงจากการติดยาเสพติด เป็นส่วนผสมของยาประสะเหมือดคน และยาจันทน์ลีลา และยาแก้ไข้ห้าราก [3] ชาวโอรังอัซลีในรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซียนำรากไปต้มกับชาใช้กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ[4]

ในทางเภสัชวิทยา ปลาไหลเผือกใหญ่ มีฤทธิ์ลดไข้ ต้านมาลาเรีย มีฤทธิ์กระตุ้นความรู้สึกทางเพศของหนูตัวผู้ ลดความวิตกกังวล เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ต้านการก่อเกิดเนื้องอก ลดน้ำตาลในเลือด สารออกฤทธิ์ที่สำคัญได้แก่ สารกลุ่ม quassinoids เช่น eurycomalactone eurycomanol eurycomanone ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาเลาเรียในหลอดทดลอง[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Eurycoma longifolia". Germplasm Resources Information Network (GRIN). Agricultural Research Service (ARS), United States Department of Agriculture (USDA). สืบค้นเมื่อ 2008-03-14.
  2. มัณฑนา นวลเจริญ. พรรณไม้ป่าชายหาด. ปทุมธานี. สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2552 หน้า 92
  3. ปลาไหลเผือกใหญ่
  4. Samuel, A.J.S.J., Kalusalingam, A., Chellappan, D.K., Gopinath, R., Radhamani, S., Husain, H. A., Muruganandham, V., Promwichit, P. 2010. Ethnomedical survey of plants used by the orang asli in kampong bawong, Perak, West Malaysia. Joutnal of Ethnobiology and Ethnomedicine. 6:5
  5. ปลาไหลเผือกใหญ่