ปลากะตัก
สำหรับปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ดูที่: ปลาซิวข้าวสาร
ปลากะตัก | |
---|---|
ปลากะตักใหญ่ (S. indicus) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Clupeiformes |
วงศ์: | Engraulidae |
สกุล: | Stolephorus Lacépède, 1803 [1] |
ชนิด | |
|
ปลากะตัก หรือ ปลาไส้ตัน[2] เป็นปลาทะเลขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Stolephorus จัดอยู่ในวงศ์ปลาแมว (Engraulidae)
ลักษณะโดยทั่วไปเป็นปลาผิวน้ำขนาดเล็ก อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ลำตัวเรียวยาว แบนข้างมีสันหนามที่ท้อง ขากรรไกรบนยาวเลยหลังตา ครีบหลังตอนเดียว ครีบหางเว้าลึก มีแถบสีเงินพาดตามแนวความยาวของลำตัว
ปลากะตัก ในประเทศไทยเป็นพันธุ์ปลาขนาดเล็กกว่าปลากะตักประเทศอื่นๆ ซึ่งมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 2–5 เซนติเมตร มีอายุขัยโดยเฉลี่ยไม่เกิน 3 ปี เป็นปลาที่หากินตามผิวน้ำ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ โดยอยู่ห่างจากชายฝั่งประมาณ 0.5-1.5 ไมล์ทะเล ตามบริเวณชายฝั่งและหมู่เกาะต่าง ๆ กินแพลงก์ตอนต่าง ๆ เป็นอาหาร ทั้งแพลงก์ตอนพืช เช่น ไดอะตอม และแพลงก์ตอนสัตว์เช่น ตัวอ่อนของครัสเตเชียน, โคพีพอด หรือไข่ของหอยสองฝา เป็นต้น และสำหรับห่วงโซ่อาหารในทะเล ปลากะตักก็เป็นอาหารสำคัญของปลาและสัตว์น้ำขนาดใหญ่กว่า เช่น แมวน้ำ, สิงโตทะเล, โลมา, วาฬ และปลาฉลาม
ปลากะตัก พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตน่านน้ำของอินโด-แปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบ 11 ชนิด จากการศึกษาของ ทศพร วงศ์รัตน์ ในปี ค.ศ. 1985 จากทั้งหมด 20 ชนิด (เดิมมีอยู่ 18 ชนิด)[1] เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญต่อมนุษย์ โดยสามารถนำไปแปรรูปต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น น้ำปลา, ปลาป่น, ปลาแห้ง, บูดู รวมทั้งการบริโภคสด
ปลากะตัก นอกจากปลาไส้ตันแล้ว ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ปลากล้วย, ปลาหัวอ่อน, ปลาจิ้งจั๊ง, ปลามะลิ, ปลาหัวไม้ขีด, ปลาเส้นขนมจีน[3], ปลายู่เกี้ย, ปลาเก๋ย เป็นต้น[4] นอกจากนี้แล้ว ปลากะตักตากแห้งมีชื่อเรียกว่า ปลาข้าวสาร นิยมรับประทานเป็นกับแกล้มกับอาหารชนิดอื่น[5]
การจำแนก
[แก้]- Stolephorus advenus Wongratana, 1987
- Stolephorus andhraensis Babu Rao, 1966
- Stolephorus apiensis (Jordan & Seale, 1906)
- Stolephorus baganensis Hardenberg, 1933
- Stolephorus brachycephalus Wongratana, 1983
- Stolephorus carpentariae (De Vis, 1882)
- Stolephorus chinensis (Günther, 1880)
- Stolephorus commersonnii Lacépède, 1803
- Stolephorus dubiosus Wongratana, 1983
- Stolephorus holodon (Boulenger, 1900)
- Stolephorus indicus (van Hasselt, 1823)
- Stolephorus insularis Hardenberg, 1933
- Stolephorus multibranchus Wongratana, 1987
- Stolephorus nelsoni Wongratana, 1987
- Stolephorus pacificus Baldwin, 1984
- Stolephorus ronquilloi Wongratana, 1983
- Stolephorus shantungensis (Li, 1978)
- Stolephorus teguhi Seishi Kimura, Hori & Shibukawa, 2009
- Stolephorus tri (Bleeker, 1852)
- Stolephorus waitei Jordan & Seale, 1926 [6] [7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Stolephorus". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
- ↑ "ไส้ตัน ๒". พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542.
- ↑ "กล้วย ๒". พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542.
- ↑ "ปลากะตัก". กรมประมง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-13. สืบค้นเมื่อ 2012-12-17.
- ↑ "ปลาข้าวสาร". สคูลดอตเน็ต. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-30. สืบค้นเมื่อ 2013-09-02.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ Tham, A.K., A contribution to the study of the growth of members of the genus Stolephorus Lacépède in Singapore Strait. Proc. IPFC 12(2):1-25. 1967.
- ↑ จาก Fishbase.org
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Stolephorus ที่วิกิสปีชีส์