ปลากระโทงลาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลากระโทงลาย
ปลากระโทงลายถูกจับได้
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Istiophoridae
สกุล: Kajikia
สปีชีส์: K.  audax
ชื่อทวินาม
Kajikia audax
(Philippi {Krumweide}, 1887)
ชื่อพ้อง
  • Histiophorus audax Philippi {Krumweide}, 1887
  • Istiophorus audax (Philippi {Krumweide}, 1887)
  • Makaira audax (Philippi {Krumweide}, 1887)
  • Marlina audax (Philippi {Krumweide}, 1887)
  • Tetrapturus audax (Philippi {Krumweide}, 1887)
  • Tetrapturus mitsukurii Jordan & Snyder, 1901
  • Kajikia mitsukurii (Jordan & Snyder, 1901)
  • Makaira mitsukurii (Jordan & Snyder, 1901)
  • Marlina mitsukurii (Jordan & Snyder, 1901)
  • Makaira zelandica Jordan & Evermann, 1926
  • Makaira audax zelandica Jordan & Evermann, 1926
  • Marlina zelandica (Jordan & Evermann, 1926)
  • Makaira grammatica Jordan & Evermann, 1926
  • Makaira holei Jordan & Evermann, 1926
  • Tetrapturus ectenes Jordan & Evermann, 1926
  • Kajikia formosana Hirasaka & Nakamura, 1947
  • Makaira formosana (Hirasaka & Nakamura, 1947)
  • Tetrapturus tenuirostratus Deraniyagala, 1951
  • Makaira tenuirostratus (Deraniyagala, 1951)
  • Marlina jauffreti Smith, 1956

ปลากระโทงลาย หรือ ปลาอินทรีขาว[2] (อังกฤษ: Striped marlin; ชื่อวิทยาศาสตร์: Kajikia audax) เป็นปลาชนิดหนึ่งในวงศ์ปลากระโทง (Istiophoridae)

เป็นปลากระโทงชนิดหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในน่านน้ำแถบอินโด-แปซิฟิก เป็นปลาที่นิยมตกกันเป็นเกมกีฬา[3] มีสถิติบันทึกไว้ในปี ค.ศ. 1982 ว่ามีน้ำหนักเต็มที่ 190 กิโลกรัม (420 ปอนด์) และความยาวเต็มที่ 4.2 เมตร (13.8 ฟุต) แต่ขนาดโดยเฉลี่ย คือ เกือบ ๆ 3 เมตร[4] มีลักษณะคล้ายกับปลากระโทงสีน้ำเงินอินโด-แปซิฟิก (Makaira mazara) ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เพียงแต่มีครีบหลังครีบแรกสูงน้อยกว่า ตามลำตัวมีสีขาวเป็นเส้นพาดในแนวตั้งเป็นบั้งจากส่วนหลังถึงด้านท้องเห็นชัดเจน[5]

เป็นปลาหากินตามผิวน้ำ โดยล่าเหยื่อในเวลากลางวัน เนื่องจากเป็นปลาใช้สายตาเป็นหลักในการล่า อาหารที่ชอบ คือ ปลาซาร์ดีน ในการล่าเหยื่อแต่ละครั้งอาจใช้เวลานานหลายชั่วโมง และอาจลงไปหาอาหารได้ลึกถึง 100 เมตร [4]

การประมง[แก้]

สถิติการประมงปลากระโทงลายคิดเป็นตันตั้งแต่ ค.ศ. 1950 ถึง ค.ศ. 2009

อ้างอิง[แก้]

  1. Collette, B., Acero, A., Boustany, A., Canales Ramirez, C., Cardenas, G., Carpenter, K.E., Di Natale, A., Die, D., Fox, W., Graves, J., Hinton, M., Juan Jorda, M., Minte Vera, C., Miyabe, N., Montano Cruz, R., Nelson, R., Restrepo, V., Schaefer, K., Schratwieser, J., Serra, R., Sun, C., Uozumi, Y. & Yanez, E. 2011. Kajikia audax. In: IUCN 2013. IUCN Red List of Threatened Species. Version 2013.1. <www.iucnredlist.org>. Downloaded on 18 October 2013.
  2. สายสุนทร, จุมพต. "ความตกลงเพื่อการอนุวัติการตามบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล วันที่ 10 ธันวาคม 1982 เกี่ยวกับการอนุรักษ์ และการจัดการมวลปลาที่ย้ายถิ่นอยู่ระหว่างเขตทางทะเลและมวลปลาที่ย้ายถิ่นอยู่เสมอ กับการทําประมงของประเทศไทยในทะเลหลวง" (PDF). lawwebservice.
  3. "Greenpeace International Seafood Red list". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-02. สืบค้นเมื่อ 2015-01-10.
  4. 4.0 4.1 "อัศจรรย์โลกใต้น้ำตอนที่ 5". ช่อง 7. 9 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-19. สืบค้นเมื่อ 10 January 2015.
  5. "คู่มือการจำแนกปลากระโทงแทงในภาคสนาม" (PDF). กรมประมง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-31. สืบค้นเมื่อ 10 January 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Kajikia audax ที่วิกิสปีชีส์