ข้ามไปเนื้อหา

ปริซึมไดโครอิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เส้นทางเดินแสงสีต่าง ๆ ภายในปริซึมไดโครอิก
ปริซึมไดโครอิก

ปริซึมไดโครอิก (dichroic prism) เป็นปริซึมชนิดหนึ่งที่สามารถทำหน้าที่เป็นตัวแยกลำแสง ซึ่งแยกลำแสงออกเป็น 2 ลำขึ้นไป ที่มี ความยาวคลื่น (สี) ต่างกัน ประกอบด้วยปริซึมตั้งแต่ 1 อันขึ้นไป ซึ่งมีสมบัติไดโครอิกหรือเกิดการสะท้อนหรือหักเหของวัสดุเคลือบเชิงแสง ทำให้สามารถแยกความยาวคลื่นที่ต้องการออกมาตามลำดับ ด้วยเหตุนี้ พื้นผิวบางส่วนภายในปริซึมจึงถูกทำเป็นตัวกรองไดโครอิก ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแยกลำแสงในอุปกรณ์ทางแสงหลายชนิด

ประโยชน์ใช้งานอย่างหนึ่งของปริซึมไดโครอิกคือใช้สำหรับการถ่ายภาพดิจิทัลคุณภาพสูงหรือใช้เป็นกล้องถ่ายวิดีโอ ปริซึมไดโครอิก 3 สีชนิดหนึ่งประกอบด้วยชุดปริซึมไดโครอิก 2 สี ซึ่งสามารถแยกเป็น สีแดง สีเขียว และ สีน้ำเงิน ดังนั้นจึงสามารถใช้เป็น CCD ได้

ภาพประกอบแสดงให้เห็นการกำหนดค่าโดยทั่วไปของปริซึมไดโครอิก โดยลำแสงเข้าสู่ปริซึมก้อนแรก (A) และองค์ประกอบสีน้ำเงินของลำแสงจะสะท้อนโดยชั้นเคลือบของแผ่นกรองแสง (F1) แสงสีน้ำเงินคือแสงความถี่สูงที่มีความยาวคลื่นสั้น ในขณะที่แสงความถี่ต่ำที่มีความยาวคลื่นยาวกว่าจะสามารถทะลุผ่านไปได้ หลังจากที่แสงสีน้ำเงินเกิดการสะท้อนกลับทั้งหมดไปยังด้านหนึ่งแล้ว จะถูกปล่อยออกมาจากปริซึม A ส่วนแสงส่วนที่เหลือจะเข้าสู่ปริซึม (B) และถูกแยกออกโดยชั้นเคลือบที่ 2 (F2) ซึ่งแสงสีแดงจะสะท้อนออกมาในขณะที่แสงที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าสามารถผ่านไปได้ แสงสีแดงยังถูกสะท้อนด้วยช่องว่างอากาศเล็ก ๆ ระหว่าง A และ B จากนั้นองค์ประกอบสีเขียวที่เหลืออยู่ของแสงจะเข้าสู่ปริซึม C

ปริซึมประกอบ 3 สีเช่นนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์หลายอย่าง เช่นในเครื่องฉายภาพยนตร์ โดยผสมสีแดง เขียว และน้ำเงินเพื่อสร้างภาพสีขึ้นมา