ประวิทย์ เปรื่องอักษร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ประวิตร เปรื่องอักษร)
ประวิทย์ เปรื่องอักษร
ชื่อเกิดประวิทย์ เปรื่องอักษร
เกิด28 ธันวาคม พ.ศ. 2507 (59 ปี)
แนวเพลงสตริง, ลูกกรุง
อาชีพนักร้อง, นักแสดง, นักธุรกิจ, เชฟ
ช่วงปี2526-2529
ค่ายเพลงอาร์เอส โปรโมชั่น

ประวิทย์ เปรื่องอักษร (ชื่อเล่น แซม) เกิดเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2507 เป็นนักร้องนำของวงซิกซ์เซ้นซ์ วงดนตรีสตริงชื่อดังของไทยยุค 80 ของ อาร์เอส ซึ่งเขากับเพื่อนได้ก่อตั้งวงนี้ขณะกำลังศึกษาอยู่ที่โรงเรียนพณิชยการพระนคร และได้เข้าประกวดวงดนตรีจนได้รางวัลชนะเลิศ จากนั้นจึงออกอัลบั้มชุดแรกกับค่ายอาร์เอสติดต่อกัน 4 ปี ชุดแรกออกในปี พ.ศ. 2526 ชื่อชุด เพ้อรัก ต่อมาจึงได้ออกอัลบั้มในปี พ.ศ. 2527 ชื่อชุด ครวญ โดยเพลงครวญที่เขาร้องได้สร้างชื่อเสียงให้เขาและวงเป็นอย่างมาก ต่อด้วยอัลบั้มชุด ดาว ปี พ.ศ. 2528 และ เพียงรักและเข้าใจ ในปี พ.ศ. 2529 ซึ่งเป็นชุดสุดท้าย นอกจากนี้เขายังเป็นหนึ่งในนักร้องเพลงคู่ของกลุ่มรวมดาว, รวมดาว 2, พบดาว, พบดาว 2, นพเก้า และ นพเก้า 2 [1] โดยต่อมาผลงานเพลงชื่อดังในอดีตทั้งหมดของเขารวมทั้งเพลงลูกกรุงที่เขานำมาขับร้องใหม่ได้ถูกรวบรวมในอัลบั้ม เพชรน้ำเอก ชุดที่หนึ่งกับสอง นอกจากนี้เขาได้ร้องเพลงประกอบละคร ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ ลอดลายมังกร ในปี พ.ศ. 2535 อีกทั้งยังร่วมเล่นละครทางช่อง 7 เรื่อง บัวแล้งน้ำ ในปี พ.ศ. 2533, สองฝั่งคลอง และ เมืองโพล้เพล้ ในปี พ.ศ. 2535

ปัจจุบันได้ผันตัวเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท Foodstylist จำกัด เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายอาหารทะเลแช่แข็ง อาหารญี่ปุ่น และร้านอาหารชั้นนำในธุรกิจ Food Service และผลิตนิตยสาร Foodstylist [2]

เมื่อคืนวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557 ประวิทย์ได้ประสบอุบัติเหตุหกล้ม ทำให้เส้นเลือดในสมองแตกจากผลข้างเคียงของความดันโลหิตสูง เขาได้ถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสมิติเวชจนอาการดีขึ้น [3]

ผลงานเพลง[แก้]

  • เพ้อรัก (พ.ศ. 2526)
  • ครวญ (พ.ศ. 2527)
  • ดาว (พ.ศ. 2528)
  • เพียงรักและเข้าใจ (พ.ศ. 2529)

ผลงานเพลงกับศิลปินอื่น[แก้]

  • รวมดาว (พ.ศ. 2527)
  • พบดาว (พ.ศ. 2527)
  • รวมดาว 2 (พ.ศ. 2528)
  • นพเก้า (พ.ศ. 2528)
  • นพเก้า 2 (พ.ศ. 2529)
  • พบดาว 2 (พ.ศ. 2529)
  • นพเก้า 3 (พ.ศ. 2530)
  • มรดกไทย (พ.ศ. 2530)
  • ตราบนิรันดร์ 1 (พ.ศ. 2531)
  • ตราบนิรันดร์ 2 (พ.ศ. 2531)
  • ตราบนิรันดร์ 3 (พ.ศ. 2531)

ผลงานการแสดงละคร[แก้]

  • 2531 สวรรค์เบี่ยง
  • 2533 เคหาสน์สีแดง
  • 2533 บัวแล้งน้ำ
  • 2533 อุ้มบุญ
  • 2535 เมืองโพล้เพล้
  • 2535 สองฝั่งคลอง
  • 2537 สามหนุ่มหลายมุม

ภาพยนตร์[แก้]

  • 2528 ครูประชาบาล รับบท นักศึกษา
  • 2529 ร.ด. เรียนดี รักดี รับบท ทหาร

เพลงประกอบละคร[แก้]

  • พ.ศ. 2536 ละคร เพลงบินใบงิ้ว ช่อง 9 ในเพลง เพลงบินใบงิ้ว
  • พ.ศ. 2538 ละคร เสราดารัล ช่อง 7 ในเพลง เสราดารัล

อ้างอิง[แก้]