ประตูอิชทาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประตูอิชทาร์ ประกอบสร้างใหม่ที่พิพิธภัณฑ์แพร์กามอน เบอร์ลิน

ประตูอิชทาร์ (อังกฤษ: Ishtar Gate) เป็นประตูลำดับที่แปดในนครบาบิโลนชั้นใน ปัจจุบันคือพื้นที่ฮิลละฮ์ แคว้นบาบิล ประเทศอิรัก สร้างขึ้นในราว 575 ปีก่อนคริสต์กาล โดยดำริของกษัตริย์เนบูชัดเนซซาร์ที่สองเพื่อเป็นประตูเมืองทางเหนือของนครชั้นใน ประตูนี้เป็นส่วนหนึ่งของกำแพงเมืองขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยทางเดินมุ่งหน้าสู่ตัวประตู

โครงสร้างเดิมมีลักษณะเป็นประตูสองชั้นโดยบานขนาดใหญ่อยู่ด้านหลัง[1] ผนังประดับประดาด้วยเครื่องเคลือบดินเผาส่วนใหญ่เคลือบสีน้ำเงิน มีภาพของสัตว์และเทพเจ้าในลักษณะนูนต่ำประดับ ประตูมีความสูง 50 ฟุต (15 เมตร)* และมีฐานใต้ดินของเดินที่ลึก 45 ฟุต (14 เมตร)* อยู่ใต้ดิน[2] นักโบราณคดีชาวเยอรมัน โรเบิร์ต โคลเดเวย์ เป็นผู้นำการขุดค้นพื้นที่นี้ระหว่างปี 1904 ถึง 1914 หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปร 1918 ประตูชิ้นหน้าซึ่งมีขนาดเล็กกว่าได้ถูกนำมาก่อสร้างใหม่ที่พิพิธภัณฑ์แพร์กามอนในเบอร์ลิน[3]

กษัตริย์เนบูชัดเนซซาร์ที่สอง (Nebuchadnezzar II) ครองราชย์ระหว่างปี 604–562 ปีก่อนคริสต์กาล ในรัชสมัยถือเป็นยุคทองของจักรวรรดิบาบิโลนใหม่ กษัตริย์เนบูชัดเนซซาร์ที่สองยังปรากฏในพระคัมภีร์ไบเบิลในฐานะผู้ยึดครองนครเยรูซาเลมได้[4] พระองค์มีพระราชดำริให้ก่อสร้างประตูขึ้น อุทิศแด่เทพีบาบิโลน นามว่า อิชทาร์ (Ishtar) ประตูสร้างขึ้นโดยใช้อิฐเคลือบและตกแต่งด้วยรูปนูนต่ำแสดง มูชยูชชู (มังกร), วัวป่าเอาโรช, สิงโต สับแถวกันไป สัตว์ทั้งสามชนิดนี้แทนเทพเจ้า มาร์ดุก, อาดัด และ อิชทาร์ ตามลำดับ[5]

สถานทูตอิรักในปักกิ่งยังมีฟาซาดบางส่วนสร้างเลียนแบบจากประตูอิชทาร์[6] ฟาซาดของสถานทูตอิรักในอัมมัน ประเทศจอร์แดน มีลักษณะคล้ายกับประตูอิชทาร์เช่นกัน[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Garcia, Brittany. "Ishtar Gate". World History Encyclopedia.
  2. Podany, Amanda (2018). Ancient Mesopotamia: Life in the Cradle of Civilization. The Great Courses. p. 213.
  3. Luckenbill, D. D. "Review: The Excavation of Babylon". The American Journal of Theology. 18: 420–425. doi:10.1086/479397 – โดยทาง JSTOR.
  4. "Panel with striding lion | Work of Art | Heilbrunn Timeline of Art History | The Metropolitan Museum of Art". The Met's Heilbrunn Timeline of Art History. สืบค้นเมื่อ 2017-11-28.
  5. Kleiner, Fred (2005). Gardner's Art Through the Ages. Belmont, CA: Thompson Learning, Inc. p. 49. ISBN 978-0-15-505090-7.
  6. "China's Iraq Oil Problem". Fortune. June 30, 2014.
  7. "05/08/2019 – وزارة الخارجية العراقية". mofa.gov.iq. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-11. สืบค้นเมื่อ 2023-07-11.