บาจูเมอลายู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลุ่มผู้ชายในชุดแบบ เจอกักมูซัง ซึ่งสวมพร้อมกับซงเก็ต (ซ้ายสุด) และ ไกน์ซัมปิง

บาจูเมอลายู (มลายู: Baju Melayu, باجو ملايو) เป็นชุดพื้นเมืองมลายูที่มีต้นกำเนิดจากราชสำนักมะละกา และสวมใส่กันโดยผู้ชายในประเทศบรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์, บางส่วนของอินโดนีเซีย (โดยเฉพาะเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว), ตอนใต้ของฟิลิปปินส์ และภาคใต้ของไทย[1][2] มีความหมายโดยตรงว่า "ชุดมลายู" และแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือ บาจู (เสื้อเชิ้ตแขนยาว) มีส่วนคอเสื้อที่มีชื่อว่า เจอกักมูซัง (แปลว่า สายจูงสุนัขจิ้งจอก) ส่วนที่สองคือกางเกงขายาวที่มีชื่อว่า เซอลัวร์[3] ทั้งสองส่วนทำมาจากผ้าชนิดเดียวกันซึ่งมักเป็นผ้าฝ้ายหรือผ้าโพลีเอสเตอร์ผสมฝ้าย

ชื่อ[แก้]

เดิมที ศัพท์ บาจูกูรง ใช้หมายถึงทั้งชุดผู้ชายและชุดผู้หญิง[4] อย่างไรก็ตาม ในมาเลเซียปัจจุบัน ชุดผู้ชายได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น บาจูเมอลายู เพราะได้รับเลือกให้เป็นชุดประจำชาติมาเลเซีย นิยามแบบเก่ายังคงมีใช้ในประเทศสิงคโปร์

อ้างอิง[แก้]

  1. "Pakaian Tradisional - Baju Kurung". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-30. สืบค้นเมื่อ 2021-11-30.
  2. Koh, Jaime. "Baju kurong".{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. Jonathan H. X. Lee, Kathleen M. Nadeau (2011) Encyclopedia of Asian American Folklore and Folklife, Volume 1 [1]
  4. https://www.utusan.com.my/rencana/asal-busana-popular-melayu-1.116532