บัณฑิต นิจถาวร
หน้าตา
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ดร. บัณฑิต นิจถาวร เป็นกรรมการในคณะที่ปรึกษาด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ประธานมูลนิธินโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล[1] ประธานสมาคมตราสารหนี้ไทย กรรมการผู้อำนวยการสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย อดีตรองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
การศึกษา
[แก้]- จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยม) ด้าน Mathematical Economics จากมหาวิทยาลัย Essex ประเทศอังกฤษ
- ปริญญาโทสาขานโยบายเศรษฐกิจและการวางแผน จากมหาวิทยาลัย La Trobe
- ระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัย La Trobe โดยได้รับทุน La Trobe University Research Scholarship
- ปี 2544 ได้เข้าอบรมหลักสูตรการบริหารขั้นสูง (Advanced Management Program) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา
ประวัติการทำงาน
[แก้]- เริ่มงานในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ในคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ได้รับคัดเลือกผ่านโครงการ IMF's Economist Program ให้เข้าทำงานที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นตำแหน่งเศรษฐกรและรับผิดชอบเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (Asian and Pacific Department)
- ปี 2535 เริ่มงานกับธนาคารแห่งประเทศไทย ในตำแหน่งที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ ธปท.
- ปี 2538 ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
- ปี 2339 ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคาร
- ปี 2540 ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการต่างประเทศ
- ปี 2541 ตำแหน่งผู้อำนวยการอาวุโส สำนักงานภาคเหนือ
- ปี 2543 ตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการ สายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ และทำหน้าที่โฆษก ธปท.(1 ต.ค.2543)
- ปี 2547 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการ ธปท.
- ปี 2549 - 2552 ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการ (ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน) ดูแลงานด้านนโยบายสถาบันการเงิน รวมถึงการกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน การเงิน เสถียรภาพการเงิน
- เดือนตุลาคม ปี 2552 รับผิดชอบงานด้านเสถียรภาพการเงิน จนถึงปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการ (ด้านเสถียรภาพการเงิน) รับผิดชอบงานด้านนโยบายการเงิน ตลาดการเงิน การบริหารเงินสำรองระหว่างประเทศ งานวิจัย และงานด้านต่างประเทศ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[2]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/D/026/T_0023.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-12-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๓๐, ๖ มิถุนายน ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๒๔, ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๘