บอนห้วย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บอนห้วย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
อันดับ: Alismatales
วงศ์: Araceae
สกุล: Colocasia
สปีชีส์: C.  antiquorum
ชื่อทวินาม
Colocasia antiquorum
Schott
ชื่อพ้อง[1]
  • Colocasia fontanesii Schott
  • Colocasia gaoligongensis H.Li & C.L.Long
  • Colocasia gongii C.L.Long & H.Li
  • Colocasia lihengiae C.L.Long & K.M.Liu
  • Colocasia tonoimo Nakai

บอนห้วย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Colocasia antiquorum) เป็นพืชล้มลุก หัวใต้ดินแบบหัวเผือก น้ำยางใส ใบเดี่ยว ฐานของก้านใบเป็นแผ่นแบนหุ้มลำต้น ช่อดอกแบบ spadix กาบหุ้มสีเหลือง ดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกตัวผู้อยู่ปลายช่อ ดอกตัวเมียเกิดที่ส่วนกลางและส่วนโคนของช่อดอก ไม่มีกลีบดอก ผลแบบเบอร์รี ชาวเผ่าลัวะนำลำต้นใต้ดินมาต้มหรือใส่ในแกง[2]

บอนห้วยเป็นพืชที่มีพันธุกรรมใกล้เคียงกับเผือก[3][4] บอนห้วยเป็นพืชเศรษฐกิจในจีนและญี่ปุ่น และส่งไปขายยังหมู่เกาะเวสต์อินดีส สามารถเจริญได้ในอากาศที่หนาวเย็นกว่าเผือก หัวมีขนาดเล็กกว่าเผือก ใบอ่อนสามารถนำมาต้มรับประทานได้ แต่รสชาติแย่กว่าเผือก[3][4] ภาษาอูรดูและภาษาฮินดีเรียกอาร์วีหรืออาร์บี บริเวณที่พูดภาษาสเปนเรียกมาลังกัส ภาษาเบงกอลเรียก โกชูร์ มุคี ภาษามลยาฬัมเรียกเชมบู ภาษาเนปาลเรียกปินดาลู

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Plant List: A Working List of All Plant Species". สืบค้นเมื่อ 15 February 2015.
  2. ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล. 2541. พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวขมุ ชาวลัวะและชาวถิ่นในบางพื้นที่ของจังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่242 หน้า ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2020-08-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. 3.0 3.1 Purseglove, J.W. 1972. Tropical crops. Monocotyledons. Longman & John Wiley, Harlow and New York.
  4. 4.0 4.1 R. Tumuhimbise et al (2009) Growth and development of wetland-grown taro under different plant populations and seedbed types in Uganda. African Crop Science Journal, Vol. 17, No. 1, 2009, pp. 49-60

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]