บริสเซิลส์ (วิดีโอเกม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริสเซิลส์
ผู้พัฒนาเฟิสต์สตาร์ซอฟต์แวร์
ผู้จัดจำหน่ายเฟิสต์สตาร์ซอฟต์แวร์
สเตตซอฟต์ (แซดเอกซ์ สเปกตรัม)[1]
ออกแบบเฟร์นันโด เอร์เรรา
โปรแกรมเมอร์อาตาริ 8-บิต
เฟร์นันโด เอร์เรรา
คอมโมดอร์ 64
อดัม เบลลิน[2]
แซดเอกซ์ สเปกตรัม
ริชาร์ด ฮัดดี[1]
แต่งเพลงเจอร์รี ไวต์
เครื่องเล่นอาตาริ 8-บิต, คอมโมดอร์ 64, อาร์เคด, แซดเอกซ์ สเปกตรัม
วางจำหน่ายค.ศ. 1983: อาตาริ, คอมโมดอร์ 64
ค.ศ. 1984: อาร์เคด, แซดเอกซ์ สเปกตรัม
แนวแพลตฟอร์ม
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว
หลายผู้เล่น 2-4 คน

บริสเซิลส์ (อังกฤษ: Bristles) เป็นวิดีโอเกมที่เขียนโดยเฟร์นันโด เอร์เรรา สำหรับตระกูลอาตาริ 8-บิต และเผยแพร่โดยบริษัทที่เขาร่วมก่อตั้งคือเฟิสต์สตาร์ซอฟต์แวร์ใน ค.ศ. 1983[2] เกมนี้ได้รับการพอร์ตสู่ระบบคอมโมดอร์ 64,[3] แซดเอกซ์ สเปกตรัม[1] และระบบอาร์เคดแมกซ์-เอ-เฟลกซ์ ของบริษัทเอกซิดี[4] โดยในเกมบริสเซิลส์ ผู้เล่นต้องใช้บันไดและลิฟต์เพื่อเคลื่อนย้ายช่างทาสีที่ชื่อปีเตอร์ผ่านมุมมองของบ้านเพื่อทาสีผนังทั้งหมด

รูปแบบการเล่น[แก้]

ภาพหน้าจอรูปแบบการเล่น (อาตาริ 8-บิต)

ในเกมบริสเซิลส์ ผู้เล่นจะควบคุมช่างทาสีที่ชื่อปีเตอร์ โดยมีเป้าหมายในการทาสีผนังบ้านแปดหลังภายในเวลาที่กำหนด หากต้องการย้ายไปมาระหว่างชั้นต่าง ๆ ปีเตอร์สามารถขึ้นลิฟต์หรือขึ้นบันไดได้ และถ้าเขาติดอยู่ในปล่องลิฟต์ที่เปิดอยู่ ปีเตอร์จะถูกส่งไปยังด้านล่างของอาคาร

วัตถุอันตรายที่ขัดขวางงานของปีเตอร์คือ "ครึ่งแก้วบิน" ที่จะน็อกเขา และ "ถังใบ้" ที่ขโมยแปรงของปีเตอร์ ส่วนด่านต่อมาได้เพิ่ม "เด็กเหลือขอที่ชื่อเบรนดา" ซึ่งทิ้งรอยมือไว้ทั่วผนังที่ทาสีใหม่ และ "ถังสาด" ที่ไม่เคยหยุดไล่ตามปีเตอร์ โดยผู้เล่นสามารถทำให้เบรนดาสงบลงได้ด้วยไม้เท้าลูกกวาด และถังสาดสามารถติดอยู่ชั่วคราวในเครื่องผสมสี ผู้เล่นเริ่มต้นด้วย 10 แปรงที่ทำหน้าที่ในฐานะครองชีวิต และอีกสองแปรงจะได้รับการเพิ่มหลังจากเสร็จสิ้นงานทาสีในทุกด่าน

ดนตรี[แก้]

ซาวด์แทร็กของเกมบริสเซิลส์ใช้การจัดเรียงท่อนต่าง ๆ จากเดอะนัทแครกเกอร์สวีท โอปุสที่ 71 เอ ของไชคอฟสกี เกมนี้มีธีมหลักคืออี. ดองส์กาแรกเดอริสติก - อา. มาร์ช และเมื่อผู้เล่นถูกน็อก เกมจะตอบสนองด้วยท่อนอีเซเป็นรัสเซียนแดนซ์ และเมื่อเบรนดากำลังทำลายผนังที่ทาสีใหม่ จะมีการบรรเลงท่อนอีเซเป็นไชนีสแดนซ์

การตอบรับ[แก้]

ในบทวิเคราะห์สำหรับนิตยสารแอนติกเมื่อ ค.ศ. 1984 จอร์จ อดัมสัน ได้เขียนว่า: "เกมดำเนินไปอย่างรวดเร็วและอลหม่าน แม้ว่าด่านที่สูงกว่าจะไม่เร็วกว่า แต่บริสเซิลส์ได้เสนอความท้าทายใหม่ ๆ แทน"[5] ส่วนนิตยสารวิดีโอเกมได้เขียนว่า "แม้ภาพจะยอดเยี่ยมและมีสีสัน แต่ทำนองเพลงตลอดการแข่งครั้งนี้ก็เป็นตัวหยุดนำเสนอโดยแท้"[6]

ครั้นใน ค.ศ. 1985 ในบทวิเคราะห์เกมที่ได้อ่อนตัวของนิตยสารแอนะล็อกคอมพิวติง นักวิจารณ์ที่ชื่อแอนดี เอ็ดดี ได้เตือนว่า "ผู้เล่นหลายคนจะพบว่าบริสเซิลส์ยากเกินไป รวมถึงเรียกร้องมากเกินควร เนื่องจากเป็นเกมที่ยากมากที่จะเชี่ยวชาญ"[7]

สิ่งสืบทอด[แก้]

ใน ค.ศ. 2004 ได้มีการเผยแพร่การดัดแปลงเวอร์ชันคอมพิวเตอร์อาตาริ 8-บิต ที่ได้รับอนุญาตในฐานะตลับอาตาริ 5200[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "Bristles". Spectrum Computing.[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 Hague, James. "The Giant List of Classic Game Programmers".
  3. แม่แบบ:Lemon64 game
  4. Stulir, Mike. "Exidy Max-A-Flex System". American Classic Arcade Museum.
  5. Adamson, George (April 1984). "Product Reviews: Bristles". Antic. 3 (1): 93.
  6. Salamone, Ted (May 1984). "Computer Corner: Bristles". Video Games. Pumpkin Press. 2 (8): 80.
  7. Eddy, Andy (November 1985). "Bargain Bin". ANALOG Computing (36): 19.
  8. "Atari 5200 Bristles (First Star Software)". AtariAge.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]