นโยบายพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นโยบายพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกา จัดตั้งโดยองค์กรทั้งระดับท้องถิ่น ระดับรัฐ และระดับชาติของสหรัฐอเมริกา ให้ความในเรื่องของการผลิตพลังงาน การถ่ายโอนพลังงานและการบริโภค นโยบายพลังงานนี้อาจหายรวมถึง กฎหมายพลังงาน ความร่วมมือทางพลังงานระหว่างประเทศ ธุรการ การส่งเสริมการลงทุน การให้คำแนะนำด้านการอนุรักษ์พลังงาน การชำระภาษี และนโยบายสาธารณะอื่นๆ บางนโยบายก็เป็นแผนการของรัฐบาลมานานหลายปีแล้ว เช่น การควบคุมราคาให้น้ำมันเบนซินไม่ให้เกิน 1.00 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 แกลลอน (ตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีนิกสัน) และสหรัฐอเมริกาจะไม่นำเข้าน้ำมันในปริมาณสูงเท่ากับที่นำเข้าปี 1977 อีก (สมัยประธานาธิบดีชาร์เตอร์) [1] แต่ก็ยังไม่ได้มีการวางแผนนโยบายระยะยาวเนื่องจากเกรงว่าอาจจะล้มเหลวได้[2] บทบัญญัตินโยบายทางด้านพลังงานที่ผ่านที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีเพียง 3 บทเท่านั้น คือ บทบัญญัติของปี 1992, 2005 และ 2007[3] เนื่องจากสหรัฐอเมริกาไม่ยอมลงนามในอนุสัญญาเกียวโตว่าด้วยการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อนนั้น ทำให้มีความต้องการบังคับให้ผู้ปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์นี้ต้องเสียภาษี ดังนั้น ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบปีสหรัฐอเมริกาหลายคนจึงได้เน้นนโยบายด้านนี้ โดยบางคนเห็นด้วยกับการเก็บภาษีการปล่อยแก๊สคาร์บอนได้ออกไซด์ และหันมาเน้นการพัฒนาพลังงานสะอาดมากยิ่งขึ้น

อ้างอิง[แก้]

  1. "Failure Of American Policies To Achieve Energy Independence". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-17. สืบค้นเมื่อ 2008-05-06.
  2. CRS Report for Congress
  3. "Energy Independence and Security Act of 2007 (Enrolled as Agreed to or Passed by Both House and Senate)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-15. สืบค้นเมื่อ 2008-01-18.