โคลงนิราศพระยาตรัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก นิราศพระยาตรัง)
โคลงนิราศพระยาตรัง
ชื่ออื่นโคลงนิราศถลาง
กวีพระยาตรัง (พระยาตรังคภูมาภิบาล
ประเภทนิราศ
คำประพันธ์โคลงสี่สุภาพ
ความยาว126 บท
ยุครัตนโกสินทร์(ต้นรัชกาลที่ 2)
ปีที่แต่งราวพ.ศ. 2352
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมวรรณศิลป์

โคลงนิราศพระยาตรัง หรือ โคลงนิราศถลาง เป็นนิราศคำโคลง แต่งโดยพระยาตรังคภูมาภิบาล (พระยาตรัง) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองตรังในสมัยกรุงธนบุรีและช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นิราศเรื่องนี้ไม่ปรากฏชื่อเรื่อง แต่เรียกกันโดยทั่วไปว่า นิราศพระยาตรัง โคลงนิราศพระยาตรัง นิราศตรัง หรือโคลงนิราศถลาง

โคลงนิราศพระยาตรังนับเป็นโคลงนิราศเรื่องหนึ่งที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี โดยมีอายุร่วมสมัยกัยโคลงนิราศของนายนรินทรธิเบศร์ (นิราศนรินทร์) ซึ่งจะว่าเป็นยอดของโคลงนิราศเช่นกัน

ประวัติ[แก้]

เข้าใจว่าพระยาตรังคงจะแต่งขึ้นเมื่อคราวออกศึกถลางครั้งที่ 2 ในต้นรัชกาลที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2352 เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพไปรับมือกับพม่า ที่ส่งกองทัพบุกมายังเมืองถลาง (ภูเก็ต)

เหตุการณ์ในครั้งนั้นเกิดขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จขึ้นครองราชย์ได้เพียง 2 เดือน ก็มีการเกณฑ์ทัพลงไปทางหัวเมืองปักษ์ใต้ฝั่งตะวันตก จำนวนนับ 2 พันนาย โดยมีสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ เป็นจอมทัพ เสด็จออกจากกรุงเทพฯ เมื่อวันอังคาร เดือนอ้าย ขึ้น 13 ค่ำ ทั้งนี้ยังมีการรวบรวมพลในหัวเมืองทางใต้อย่างนครศรีธรรมราชเพิ่มเติมด้วย

นิราศเรืองนี้ตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก ในหนังสือวชิรญาณ พร้อมด้วยนิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อย เมื่อ ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445)

ต้นฉบับในหอสมุดแห่งชาติ มีสมุดไทย 7 เล่ม ด้วยกัน มีเนื้อหาแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อย แต่มี 3 เล่ม ที่มีเนื้อหาครบถ้วน 126 บท ในการชำระและจัดพิมพ์ขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2547 กรรมการชำระได้ทำหมายเหตุระบุเนื้อหาที่แตกต่างในแต่ละฉบับเอาไว้โดยละเอียด

เส้นทาง[แก้]

พระยาตรังซึ่งรับราชการในกรุงเทพฯ เวลานั้นตามทัพไปในคราวนี้ด้วย แต่ไม่ได้ร่วมไปในทัพหลวง เพราะใช้เส้นทางเดินทัพต่างจากของนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) โดยทัพของพระยาตรังเคลื่อนเข้าคลองลัด ไปทางเมืองสมุทรปราการ จนถึงปากน้ำ แล่นเรือเลียบชายฝั่งทะเลตะวันออก แล้วตัดข้ามทะเลไปตามชายฝั่งภาคใต้ จนถึงเมืองชุมพร แล้วเดินทางต่อไปถึงไชยา จากนั้นก็ย้อนกลับมาที่หลังสวน

คำประพันธ์[แก้]

นิราศพระยาตรังแต่งด้วยโคลงสี่สุภาพเป็นหลัก โดยมีร่ายสุภาพนำเพียง 15 วรรค และยังนับเป็นวรรรณกรรมเพียงเรื่องเดียวของพระยาตรัง ที่แต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ นอกจากนี้ล้วนแต่งด้วยโคลงสี่ดั้น และเพลงยาว

เนื้อหา[แก้]

ช้วงต้นเป็นบทชมพระนคร และไว้ครูตามธรรมเนียมการประพันธ์ จากนั้นเป็นการพร่ำพรรณาความรู้สึกถึงหญิงที่รัก บรรยายสถานที่ระหว่างเส้นทาง โดยมักสอดแทรกความรู้สึกและเล่นคำพ้องเสียงที่เชื่อมโยงไปถึงอารมณ์ผูกพันที่มีต่อคนรักของตน โดยเล่าถึงสถานที่จาก วัดสามปลื้ม ฉางเกลือ วัดทอง วัดราชบุรณะ วัดดอกไม้ พระประแดง จนถึงปากน้ำ แล้วผ่านเกาะต่าง ๆ ถึงสามร้อยยอด สุดท้ายพรรณนาถึงเกาะทะลุ และแหลมไทร จากนั้นไม้ได้บรรยายสถานที่อีก

อ้างอิง[แก้]

  • วรรณกรรมพระยาตรัง. กรมศิลปากร, 2547