นั่งร้าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นั่งร้าน รอบตัวอาคาร สำหรับในงานก่อสร้าง

นั่งร้าน เป็นโครงสร้างชั่วคราวใช้ในงานก่อสร้างและซ่อมแซม ใช้สำหรับให้ช่างก่อสร้างปีนขึ้นไปที่สูง และเหยียบขึ้นไปเพื่อทำงาน รวมถึงใช้ในการวางสิ่งของที่จำเป็น และเมื่อก่อสร้าง ซ่อมแซมงานเสร็จ จะเก็บนั่งร้านออกทันที ไม่มีการเก็บนั่งร้านไว้ วัสดุที่ใช้ทำนั่งร้านมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและงบประมาณ โดยนั่งร้านที่นิยมใช้จะสร้างจากเหล็กท่อ และมีแผ่นไม้วางพาดสำหรับวางยืน ในขณะที่บางท้องที่อาจมีการใช้ไม้ไผ่ได้

ประเภทของนั่งร้านที่ใช้โดยทั่วไป แบ่งออกเป็น 6 ประเภท

  1. นั่งร้านไม้ไผ่
  2. นั่งร้านเสาเรียงเดี่ยว
  3. นั่งร้านเสาเรียงคู่
  4. นั่งร้านแบบใช้ท่อเหล็ก
  5. นั่งร้านแบบแขวน
  6. นั่งร้านชนิดเคลื่อนที่ได้

นั่งร้านแต่ละประเภทย่อมมีความเหมาะสมในการใช้งานเฉพาะอย่างตามสภาพการก่อสร้าง ผู้ใช้งานจะต้องเลือกประเภทให้เหมาะสมกับแต่ละงาน เพื่อความปลอดภัยในการใช้นั่งร้านควรพิจารณาดังนี้

  1. สภาพสถานที่ และความเหมาะสมกับสถานที่
  2. น้ำหนักบรรทุกที่ใช้งาน
  3. ความประหยัด
  4. ความสะดวกในการติดตั้ง และรื้อถอน

มาตรฐานบังคับกระทรวงมหาดไทย[แก้]

ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้ ได้กำหนดสาระในเรื่อง การออกแบบนั่งร้าน การสร้างนั่งร้าน การใช้นั่งร้าน นั่งร้านมาตรฐาน การคุ้มครอง ความปลอดภัย มาตรฐานเกี่ยวกับอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย โดยมีสาระสำคัญดังนี้ การทำงานสูงเกิน 2 เมตรขึ้นไป ต้องสร้างนั่งร้าน กรณีไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดแบบ นั่งร้านมาตรฐาน ต้องจัดให้มีวิศวกรเป็น ผู้ออกแบบ และกำหนด รายละเอียดนั่งร้าน กรณีที่มีการใช้ลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว ห้ามยึดโยงหอลิฟท์กับนั่งร้าน และต้องป้องกัน การกระแทกนั่งร้านระหว่างขนวัสดุขึ้น-ลง พื้นนั่งร้านต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 35 เซนติเมตร ต้องทำราวกันตกสูงจากพื้นนั่งร้าน 0.90-1.10 เมตร โดยรอบๆ นอกนั่งร้าน ต้องจัดทำบันไดเพื่อใช้ขึ้น-ลงในนั่งร้าน ต้องจัดผ้าใบหรือวัสดุอื่นปิดคลุมโดยรอบๆ นอกนั่งร้าน ต้องมีแผงไม้หรือผ้าใบปิดคลุมส่วนที่กำหนดเป็นช่องทางเดินใต้นั่งร้าน กรณีมีการทำงานหลายๆ ชั้นพร้อมกัน ต้องจัดสิ่งป้องกันอันตรายต่อผู้ที่ทำงาน ในขั้นถัดลงไป กรณีพื้นนั่งร้านลื่นหรือมีพายุฝน ห้ามลูกจ้างทำงานบนนั่งร้าน กรณีติดตั้งนั่งร้านใกล้สายไฟที่ไม่มีฉนวนหุ้ม หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า ต้องให้ดำเนินการ จัดให้มีการหุ้มฉนวนที่เหมาะสม ต้องจัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้ลูกจ้างสวมใส่ตามประเภท ของงานตลอดเวลาการทำงาน

การแบ่งโหลดน้ำหนักคำนวณ[แก้]

การแบ่งโหลดของน้ำหนักคำนวณ

  • ต้องออกแบบคานและแปรเหล็กเพื่อรองรับไม้แบบและLive load ต่างๆสำหรับการเทคอนกรีตครับ
  • ถ่ายLoad ลงขานั่งร้าน ใช้หลักการเดียวกับดีไซด์เสาเหล็กครับ
  • ให้ใช้แคทตาล็อก จากทางซัพพรายเออร์ของนั่งร้านเป็นหลักเพื่อเช็คดูว่า นั่งร้านสามารถรับน้ำหนักได้เท่าไรต่อขา
  • ออกแบบ Cap Lock ระหว่างนั่งร้าน
  • อย่าลืมเผื่อ Live Load
  • อย่าลืมคำนวณความชะลูดของนั่งร้าน เช่นต่อนั่งร้านสูง 10 เมตรขึ้นไป
  • รวบรวมLoad ทั้งหมดที่จะเกิดขึ้น เช่น น้ำหนักนั่งร้าน+น้ำหนักคอนกรีต+น้ำหนักคนงาน+น้ำหนักเครื่องจักร แล้วนำมาใช้ประกอบการออกแบบพื้นที่จะรองรับชุดนั่งร้าน เช่น จะเทพื้นยื่นที่ชั้น 3 แต่ต้องตั้งนั่งร้านจากชั้น1เพื่อขึ้นไปรองรับพื้นยื่น จึงต้องดีไซด์พื้นชั้น 1 เผื่อการก่อสร้างเพื่อให้สามารถรองรับการทำงานในส่วนนี้ได้

อ้างอิง[แก้]

abbtool.com

scaffoldthai.com/th/articles

thatchaiwoodtech.com เก็บถาวร 2020-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ดูเพิ่ม[แก้]