นกแขกเต้า
นกแขกเต้า | |
---|---|
![]() | |
เพศเมีย (ซ้าย) เพศผู้ (ขวา) | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Psittaciformes |
วงศ์: | Psittacidae |
สกุล: | Psittacula |
สปีชีส์: | P. alexandri |
ชื่อทวินาม | |
Psittacula alexandri (Linnaeus, 1758) | |
![]() | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ |
นกแขกเต้า (Psittacula alexandri, Red-breasted parakeet) เป็นนกแก้วชนิดหนึ่ง ถือว่าเป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ทุกภาคของประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้เท่านั้นที่ไม่พบ
อนุกรมวิธาน[แก้]
- Psittacula alexandri (Linnaeus) 1758
- Psittacula alexandri abbotti (Oberholser) 1919
- Psittacula alexandri alexandri (Linnaeus) 1758
- Psittacula alexandri cala (Oberholser) 1912
- Psittacula alexandri dammermani Chasen & Kloss 1932
- Psittacula alexandri fasciata (Statius Muller) 1776
- Psittacula alexandri kangeanensis Hoogerwerf 1962
- Psittacula alexandri major (Richmond) 1902
- Psittacula alexandri perionca (Oberholser) 1912นกแขกเต้า.ไทย
ทานตะวันแก้ว
ลักษณะ[แก้]
นกชนิดนี้มีลำตัวขนาด 35 เซนติเมตร หัวใหญ่ คอสั้น หางยาวแหลม ขนปกคลุมลำตัวสีสันสดใสตัวผู้ลำตัวด้านบนสีเขียว ลำตัวด้านล่างมีสีเขียวอ่อนอมฟ้า บริเวณอกสีชมพูแก้มส้ม หัวสีม่วงแกมเทาหน้าผากมีแถบสีดำคาดไปจรดตาทั้งสองข้าง และมีแถบสีดำลากจากโคนปากไปถึงแก้ม จะงอยปากบนสีแดงสด จะงอยปากล่างสีดำ ส่วนตัวเมียต่างจากตัวผู้ตรงที่หัวเป็นสีน้ำเงินแกมเทาจะงอยปากบนสีดำสนิท[3]
การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย[แก้]
นกแขกเต้าพบได้ในประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และ เวียดนาม ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ที่พบน้อยมาก[4] อาศัยอยู่ในป่าโปร่ง ตั้งแต่พื้นราบไปจนถึงระดับความสูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล[3]
พฤติกรรม[แก้]
อาหารของนกแขกเต้าได้แก่ เมล็ดพืช ลูกไม้ป่า ผลไม้ ยอดไม้ และ น้ำต้อย ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ หากินอยู่บนต้นไม้ นกแขกเต้าวางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง มีระยะฟักไข่นาน 28 วัน[4]
สถานะการอนุรักษ์[แก้]
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535[4]
อ้างอิง[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: นกแขกเต้า |
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Psittacula alexandri ที่วิกิสปีชีส์