ข้ามไปเนื้อหา

นกยางควาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นกยางควาย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Ciconiiformes
วงศ์: Ardeidae
สกุล: Bubulcus
Bonaparte, 1855
สปีชีส์: B.  ibis
ชื่อทวินาม
Bubulcus ibis
(Linnaeus, 1758)
ชนิดย่อย
  • B. i. ibis (Linnaeus, 1758)
  • B. i. coromandus (Boddaert, 1783)
  • B. i. seychellarum (Salomonsen, 1934)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
เหลือง: สถานที่แพร่พันธุ์
สีเขียว: สถานที่พบได้ทั้งปี
สีน้ำเงิน: สถานที่ไม่ใช่ที่แพร่พันธุ์
ชื่อพ้อง
  • Ardea ibis Linnaeus, 1758
  • Ardeola ibis (Linnaeus, 1758)
  • Bubulcus bubulcus
  • Buphus coromandus (Boddaert, 1783)
  • Cancroma coromanda (Boddaert, 1783)
  • Egretta ibis (Linnaeus, 1758)
  • Lepterodatis ibis (Linnaeus, 1758)

นกยางควาย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bubulcus ibis; อังกฤษ: Cattle egret) เป็นนกยางสีขาว ในวงศ์ Ardeidae พบในเขตร้อนและอบอุ่น นกกระยางควายมีจุดกำเนิดในทวีปเอเชีย แอฟริกาและยุโรป แต่นกยางมีการขยายพันธุ์และกระจายตัวไปทั่วโลก และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535[2] จัดเป็นนกเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในสกุล Bubulcus

ลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์

[แก้]

เป็นนกยางสีขาว ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน ขนทั่วตัวสีขาว ขากรรไกรค่อนข้างใหญ่และขาสั้น มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางเพียง 51 เซนติเมตรเท่านั้น แต่ในฤดูผสมพันธุ์จะมีขนประดับเป็นเส้นยาว ๆ ที่หัว คอ และหลังเป็นสีเหลืองส้ม พ้นฤดูผสมพันธุ์ขนประดับดังกล่าวจะผลัดออกหมด นัยน์ตาและปากเป็นสีเหลือง แต่รอบตาสีออกเขียวอ่อน เท้าสีดำ ในช่วงนี้เมื่อจับคู่แล้วนกทั้งสองเพศจะช่วยกันทำรังโดยตัวผู้หาวัสดุซึ่งก็คือกิ่งไม้แห้งที่อาจจะหามาเองหรือขโมยเอาจากรังใกล้ๆ ตัวเมียสร้างรัง เมื่อวางไข่แล้วจะช่วยกันกกไข่ และหาอาหารมาป้อนลูก

อนุกรมวิธาน

[แก้]

นกกระยางควายแบ่งตามลักษณะทางภูมิศาตร์ได้ 2 ชนิดย่อย คือ ทางตะวันตก, B. ibis และ ทางตะวันออก, B. coromandus ทั้งสองแบบถูกแบ่งโดย แมคอัลเลนและบรู๊ค แต่ได้รับการพิจารณาแล้วว่าเป็นชนิดเดียวกัน

การอพยพและการเคลื่อนที่

[แก้]

ประชากรบางส่วนของนกยางควาย ที่อพยพและค่อนข้างที่จะแยกความแตกต่างกันได้ยาก นกยางควายจะอพยพจากพื้นที่ขั้วโลกเหนือไปสู่บริเวณที่อบอุ่น แต่นกยางในออสเตรเลีย จะอพยพไปที่ที่มีอากาศเย็นในแทสมาเนียและนิวซีแลนด์ในช่วงฤดูหนาวและอพยพกลับในฤดูใบไม้ผลิ การอพยพในแอฟริกาตะวันตกขึ้นอยู่กับการตอบสนองของปริมาณน้ำฝน

การสืบพันธุ์

[แก้]
ไข่

ในฤดูผสมพันธุ์นกชนิดนี้จะดูสวยและจำแนกได้ง่าย เพราะหัว คอ หน้าอก และหลังจะมีขนสีเหลืองทองสดใสปกคลุมไปทั่ว ขาที่เคยเป็นสีดำสนิทก็จะมีสีเหลืองหรือสีแดงมาแทนที่ ในช่วงนี้เมื่อจับคู่แล้วนกทั้งสองเพศจะช่วยกันทำรังโดยตัวผู้หาวัสดุซึ่งก็คือกิ่งไม้แห้งที่อาจจะหามาเองหรือขโมยเอาจากรังใกล้ๆ ตัวเมียสร้างรัง เมื่อวางไข่ ไข่เป็นสีฟ้า-ขาวซีด เป็นรูปวงรีขนาด 45 มิลลิเมตร x 53 มิลลิเมตร แล้วจะช่วยกันกกไข่และหาอาหารมาป้อนลูก

การกินอาหาร

[แก้]

นกยางควาย อาศัยตามแหล่งน้ำเหมือนอย่างนกยางอื่น ๆ แต่นกยางควายไม่ได้กินปลาเป็นอาหารหลัก แต่มักกินพวกตั๊กแตน และแมลงต่าง ๆ ในทุ่งหญ้า ที่อยู่บริเวณแหล่งน้ำ หรือแม้กระทั่งพวก กบ เขียด นอกจากนี้ นกยางควายอาจจับกินแมลงที่อยู่บน ควาย หรือ วัว ด้วย

นกยางควายกำลังกินกบที่ประเทศแกมเบีย

อ้างอิง

[แก้]
  1. BirdLife International (2008). Bubulcus ibis. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 05 November 2008. Database entry includes justification for why this species is of least concern
  2. นกยางควาย เก็บถาวร 2012-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สัตว์ป่าของไทย นกยางควาย

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Bubulcus ibis ที่วิกิสปีชีส์