ธรรมจักรสูตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในสารบบของพระไตรปิฎกภาษาจีน ปรากฏพระสูตรที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องหรือเหมือนกับธัมมจักกัปปวัตนสูตรอยู่เป็นจำนวนมาก มีทั้งพากย์ภาษาสันสกฤตและภาษาจีน เนื้อหามีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด หรือเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้วมักอ้างถึงพระสูตรในหมวดอาคมะ หรือหมวดอาคม ซึ่งเป็นการรวบรวมพระสูตรฝ่ายเถรวาทไว้ แต่ก็ปรากฏในพระสูตรมหายานหมวดอื่นๆ เช่นกัน แต่โดยรวมแล้วเมื่อจะเอ่ยถึงธัมมจักกัปปวัตนสูตรในพระไตรปิฎกภาษาจีนจะใช้คำว่า 转法轮经 [1]

พระสูตร/คัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง[แก้]

ในที่นี้เป็นพระสูตรต่างๆ ในพระไตรปิฎกภาษาจีนที่มีความเกี่ยวข้องกับธัมมจักกัปปวัตนสูตร บางส่วนเป็นภาษาสันสกฤต และอยู่นอกสารบบ บางส่วนปรากฏในพระไตรปิฎกภาษาทิเบต ดังนี้ เช่น

  1. 漢譯《雜阿含經》卷15第379經[2] , 說一切有部本
  2. 漢譯《增壹阿含經》卷14第24品5經 [3] [4]
  3. 安世高譯《佛說轉法輪經》 [5] [6]
  4. 義淨譯《三轉法輪經》[7] , 說一切有部本
  5. 《普曜經》卷7「拘隣等品」 [8]
  6. 《方廣大莊嚴經》卷11「轉法輪品」 [9]
  7. 《過去現在因果經》卷3 [10]
  8. 《佛本行集經》卷34 [11]
  9. 《摩訶帝經》卷7 [12]
  10. 《四分律》卷32 [13] , 法藏部本
  11. 《五分律》卷15, 化地部[14]
  12. 《十誦律》卷60 [15] , 說一切有部本
  13. 《根本說一切有部毗奈耶雜事》卷19 [16], 根本說一切有部本
  14. 《根本說一切有部毘奈耶破僧事》卷6 [17] , 根本說一切有部本
  15. 藏譯《普曜經》第二十六章「轉法輪」 [18]
  16. 《大事》(梵文:Mahāvastu),說出世部本
  17. 梵文《俱舍釋》
  18. 《法蘊足論》卷6[19] , 說一切有部本

ตัวอย่างพระสูตร[แก้]

ในที่นี้เป็นตัวอย่างพระสูตรที่มีเนื้อหาตรงหรือใกล้เคียงกับธัมมจักกัปปวัตนสูตรพระสูตรหนึ่ง ที่ปรากฏในพระไตรปิฎกภาษาจีน คือ ธรรมจักรสูตร ซึ่งแปลเป็นฉบับย่อ อยู่ในหมวดเอโกตตราคม ของพระไตรปิฎกภาษาจีน ซึ่งหมวดเอโกตราคม หมายถึงอังคุตรนิกาย ของพระไตรปิฎกภาษาบาลี [20]

พระสูตรนี้ในภาษาจีนเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า พรหมธรรม (非梵法) หรือพรหมจักร หรือธรรมจักรสูตร แปลโดยพระโคตมะ สังฆเทวะ พระภิกษุชาวกัษมีร์ เป็นพระสูตรย่อยๆ รวมกันในเอโกตตรคมจำนวนกว่า 471 สูตร (ธรรมจักรสูตรอยู่ในหมวดเอโกตตราคมสูตร - 增壹阿含經 - ที่ 125 ลำดับที่ 19.2 ของสารบบไตรปิฎกฉบับไทโช) พระสูตรนี้แปลขึ้นที่ภูเขาหลูซาน ในสมัยราชวงศ์ตงจิ้น ในปีแรกแห่งรัชสมัยหลงอัน หรือเมื่อปีค.ศ. 397 มีเนื้อหากระชับ [21]

คาดว่าพระโคตมะ สังฆเทวะ แปลอย่างรวบรัด ทั้งยังใช้ศัพท์แสงของลัทธิเต๋าอธิบายหลักธรรม เพื่อหวังจะเร่งประกาศพระศาสนาในช่วงแรกเผยแผ่ในประเทศจีน และเพื่อให้ชาวจีนเข้าถึงพุทธรรมได้ง่ายขึ้น คาดว่าแปลย่อมาจากตถาคตสูตร ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ของพระสุตตันตปิฎก ทั้งนี้ ต่อมาได้มีการแปลอย่างละเอียดขึ้น เรียกว่าพระสูตรฝอซัวจ่วนฝ่าหลุนจิง (佛說轉法輪經) แปลว่า พุทธองค์ทรงปรารภธรรมจักรปรวารตนะสูตร ซึ่งสัมยุกตคม หมายถึงสังยุตนิกาย ของพระไตรปิฎกภาษาบาลี

ที่พระสูตรนี้เรียกว่า พรหมธรรม หรือพรหมจักร เพราะอ้างอิงไปถึงเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเพิ่งตรัสรู้ ทรงมีปริวิตกว่าพระธรรมนั้นลึกซึ้งเกินกว่าสรรพสัตว์จะเข้าใจได้ จึงน้อมพระทัยไปในทางดับขันธปรินิพพานเสีย ร้อนถึงท้าวสหัมบดีพรหมต้องกล่าวคำทูลอารธนาให้ทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์แก่สัตว์โลกทั้งมวล พระองค์ทรงรับอาราธนา แล้วเสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ โดยแสดงพระธรรมจักรสูตรนี้ ด้วยเหตุนี้ พรหมธรรม หรือพรหมจักร จึงเป็นอีกนามหนึ่งของธัมมจักกัปปวัตนสูตร [22]

เนื้อหา[แก้]

ดังที่ข้าพเจ้าได้สดับมา ครั้งหนึ่ง พระโลกนาถ ประทับอยู่ที่เมืองวาราณสี ณ ป่าฤษิปตนะมฤคทวะ ทรงตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีการประพฤติ (วฤตฺติ) 2 ประการที่ผู้ออกบวชแสวงหาความหลุดพ้น พึงหลีกเลี่ยง พฤติทั้ง 2 ประการนั้นเป็นดังฤๅ? พฤติการนั้นคือ การแสวงหาความสุขทางกามคุณแบบสุดโต่ง อันเป็นสิ่งต่ำช้า เป็นสิ่งทราม และหาประโยชน์มิได้ อีกประการหนึ่ง คือ การทรมานตนอย่างสุดโต่ง (ปิฑัน) การเบียดเบียนทั้งหลาย (วิหิงสัน) และจิตอันฟุ้งซ่าน เหล่านี้คือการประพฤติ ซึ่งผู้ออกบวชแสวงหาความหลุดพ้นพึงหลีกเลี่ยง ตถาคตได้สละแล้วซึ่งการประพฤติทั้ง 2 ประการนี้ จึงได้ตรัสรู้พระอริยสัจจ์ บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาน ดังนี้ญานจึงบังเกิด ปัญญาจึงบังเกิด อภิญญา (อภิชญา) จึงบังเกิด จิตจึงสงบรำงับ เราบรรลุแล้วซึ่งอิทธิ (ฤทธิ) แล้วเข้าถึงซึ่งพระนิรวาณ ไม่หวนกลับมาเกิดอีก

ภิกษุทั้งหลาย อารยะมรรคอันเป็นหลักปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งเป็นไปเพื่อความสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อปัญญาอันยิ่ง เพื่อความดับกิเลสและกองทุกข์ คืออัษฏังคิมรรคมีองค์ 8 อันได้แก่ สัมยักทฤษฏิ (อธิกะทัศนะ), สัมยักสังกัลปะ (ปติการ), สัมยักวาก, สัมยักการมันตะ, สัมยักอัคชีวะ สัมยักวยายามะ (อุปายะเกาศัลยะ), สัมยักสมฤติ และสัมยักสมาธิ นี่แลเรียกว่า อารยะมรรค

เมื่อตถาคตตรัสรู้แล้ว เกิดความรู้แจ้ง เกิดปัญญา เราได้บรรลุซึ่งอิทธิทั้งปวง ความหลุดพ้นของเราไม่มีการกลับกำเริบอีกแล้ว คือได้เข้าสู่พระนิรวาณ ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้ พึงหลีกเลี่ยงทางอันสุดโต่งทั้ง 2 นั้นเสีย แล้วปฏิบัติตามาอารยะมรรค

หลังจากสดับพระธรรมเทศนาดังนี้แล้วภิกษุทั้งหลายบังเกิดปราโมทยินดี แล้วปฏิบัติตามคำสั่งสอนของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า [23] [24]

อ้างอิง[แก้]

  1. 《雜阿含經》卷第十五//大正新脩大藏經 第二冊 No. 99. 求那跋陀羅譯. 中華電子佛典協會
  2. 《雜阿含經》卷第十五//大正新脩大藏經 第二冊 No. 99. 求那跋陀羅譯. 中華電子佛典協會
  3. 《增壹阿含經》卷十四//大正新脩大藏經 第二冊 No. 125. 僧伽提婆譯. 中華電子佛典協會.
  4. 增壹阿含24品5經(高幢品). 莊春江標點.
  5. 《佛說轉法輪經》//大正新脩大藏經 第二冊 No. 109. 安世高譯. 中華電子佛典協會.
  6. 佛說轉法輪經. 维基文库.
  7. 《三轉法輪經》//大正新脩大藏經 第二冊 No. 110. 義淨譯. 中華電子佛典協會.
  8. 《普曜經》卷第七 拘隣等品第二十四//大正新脩大藏經 第三冊 No. 186. 竺法護譯. 中華電子佛典協會.
  9. 《方廣大莊嚴經》卷第十一 轉法輪品//大正新脩大藏經 第三冊 No. 187. 地婆訶羅譯. 中華電子佛典協會.
  10. 《過去現在因果經》卷3//大正新脩大藏經 第3冊No.189. 求那跋陀羅譯. 中華電子佛典協會.
  11. 《佛本行集經》第三十四//大正新脩大藏經 第三冊 No. 190. 闍那崛多譯. 中華電子佛典協會.
  12. 《眾許摩訶帝經》卷7//大正新脩大藏經 第三冊 No. 191. 法賢譯. 中華電子佛典協會.
  13. 《四分律》卷第三十二(二分之十一)//大正新脩大藏經 第二十二冊 No. 1428. 佛陀耶舍、竺佛念等譯. 中華電子佛典協會.
  14. 《彌沙塞部和醯五分律》卷第十五//大正新脩大藏經 第二十二冊 No. 1421. 佛陀什、竺道生等譯. 中華電子佛典協會.
  15. 《十誦律》卷第六十//大正新脩大藏經 第二十三冊 No. 1435. 卑摩羅叉譯. 中華電子佛典協會.
  16. 《根本說一切有部毗奈耶雜事》第19卷//大正藏第24冊 No.1451. 義淨譯. 中華電子佛典協會.
  17. 《根本說一切有部毘奈耶破僧事》卷第六//大正新脩大藏經 第二十四冊 No. 1450. 義淨譯. 中華電子佛典協會.
  18. A Play in Full: Lalitavistara [普曜經]. translated by the Dharmachakra Translation Committee. 2013.(英文) 此譯本從藏文譯成英文,並以梵本校對。第二十六章「轉法輪」
  19. 大目乾連造. 《阿毘達磨法蘊足論》卷六//大正新脩大藏經 第二十六冊 No. 1537. 玄奘譯. 中華電子佛典協會.
  20. 《增壹阿含經 》ใน Descriptive catalogue of Taisho Index http://www.acmuller.net/descriptive_catalogue/files/k0649.html
  21. 《增壹阿含經 》ใน Descriptive catalogue of Taisho Index http://www.acmuller.net/descriptive_catalogue/files/k0649.html
  22. 《梵輪》 จาก http://dictionary.buddhistdoor.com/word/55880/%E6%A2%B5%E8%BC%AA[ลิงก์เสีย]
  23. 《Two Extremes》 ใน ekottarikāgama 19.2 จาก http://suttacentral.net/en/ea19.2
  24. 《非梵法》 ใน 增壹阿含經 จาก http://www.cbeta.org/result/T02/T02n0125.htm เก็บถาวร 2014-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน