ท่าผีเสื้อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถ่ายภาพมุมสูงของนักว่ายน้ำที่มีประสิทธิภาพจังหวะผีเสื้อ

ท่าผีเสื้อ (อังกฤษ: Butterfly stroke) [1] เป็นท่าว่ายน้ำประเภทหนึ่ง ท่าว่ายนี้ต้องการกล้ามเนื้อจำนวนมากและข้อต่อและเคลื่อนไหวของไหล่และช่วงหลังถึงสะโพก และต้องมีจังหวะที่ดีของแขนและการเตะขาและจังหวะการหายใจ

ความเร็วและการยศาสตร์[แก้]

เทคนิค[แก้]

การเคลื่อนไหวของแขน[แก้]

การเคลื่อนไหวแขนทั้งสองข้างพร้อม ๆ กัน โดยเหยียดมือทั้งสองออกไปเหนือศีรษะ คล้าย ๆ กับการพุ้ยน้ำในท่าวัดวา มีข้อแตกต่างจากท่าวัดวาบ้าง คือในท่าผีเสื้อนั้นไม่ต้องบิดหรือม้วนศีรษะขึ้นข้าง ๆ เพื่อช่วยในการหายใจ และต้องวาดมือไปพร้อม ๆ กันทั้งสองข้างในจังหวะพุ่งมือ เริ่มด้วยการให้ฝ่ามือทั้งสองข้างคว่ำลงสู่พื้นสระ มืออยู่ห่างกันประมาณช่วงกว้างของไหล่ ลากหรือกวาดมือออกไปด้านข้างลำตัว แล้วกดมือลงโดยไม่มีการหยุดชะงัก ให้ทำติดต่อกันไปเป็นจังหวะเดียว ข้อศอกงอเล็กน้อยเพื่อให้การกดมือลงไปในน้ำเป็นไปได้ดี และยังคงต้องยกข้อศอกขึ้นสูงไว้ก่อนในขณะที่พุ้ยน้ำออกไปด้านหลังลงไปสู่เส้นกลางตัว การพุ้ยน้ำให้ทำท่าทางเหมือนกับการใช้แขนและลำตัวม้วนอยู่เหนือถังน้ำมัน เมื่อสิ้นสุดการม้วนตัวดังกล่าว ก็เข้าสู่ช่วงของการผลักข้อมือหรือการเหยียดแขนออกเต็มที่ โดยมือทั้งสองจะอยู่ข้าง ๆ ต้นขา การว่ายน้ำท่าผีเสื้อจะใช้แรงจากแขนและหัวไหล่มาก

การกลับเข้าที่ เริ่มด้วยการผ่อนข้อมือและยกข้อศอกพ้นขึ้นจากน้ำ ต้องไม่เกร็งข้อมือและต้องยกข้อศอกขึ้นสูง ต่อจากนั้นค่อยเคลื่อนไหวมือกลับเข้าสู่ท่าเริ่มต้นด้วยการลดข้อมือลงสู่ผิวน้ำและต้องควบคุมแรงด้วยการก้มศีรษะและการเตะเท้าลงด้านล่าง เพื่อช่วยให้แขนกลับเข้าสู่ท่าเริ่มต้นอีกครั้ง มือและแขนจะเคลื่อนที่ลงสู่ผิวน้ำอย่างต่อเนื่องกันตรงตำแหน่งด้านหน้าของไหล่ การพุ่งมือลงน้ำเริ่มที่ปลายนิ้วก่อน

การเคลื่อนไหวของขา[แก้]

การใช้ขาและเท้าให้ทำเหมือนปลาโลมาว่ายน้ำ หรือทำเหมือนการเคลื่อนไหวเฉพาะท่อนหางของมัน คือใช้เท้าคู่เตะพร้อม ๆ กัน โดยกระทุ่มขึ้น-ลงในแนวดิ่ง เพื่อให้ลำตัวเคลื่อนที่เพราะจะส่งผลต่อการเตะเท้าที่ถูกต้อง เริ่มฝึกเคลื่อนไหวขาด้วยการยกสะโพกขึ้น แล้วงอเข่าทั้งสองข้างไปพร้อมกัน การงอเข่าเล็กน้อยเช่นนี้จะทำให้ส้นเท้าตั้งขึ้นไปหาผิวน้ำ ต่อจากนั้นลดสะโพกต่ำลง แล้วเหยียดขาเตะออกไปให้ตึงเต็มที่ ในขั้นสุดท้ายปลายเท้าจะเหยียดตรง การเคลื่อนไหวลำตัวและขาให้สัมพันธ์กันเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะจะทำให้ว่ายท่าผีเสื้อได้ถูกต้องต่อไป

การหายใจ[แก้]

การหายใจในท่าผีเสื้อมีความสำคัญต่อท่าทางการว่ายที่ถูกต้องมากที่สุดส่วนหนึ่ง การหายใจเริ่มขึ้นภายหลังที่ได้หายใจออกใต้น้ำไปแล้ว ด้วยการยกศีรษะขึ้นข้างหน้า ในลักษณะของการยื่นคางออกไปตรง ๆ แล้วหายใจเข้าในขณะที่ขายังอยู่ในจังหวะของการเตะลงต่ำ และพร้อม ๆ กันนั้นแขนก็จะเคลื่อนที่เข้าสู่จังหวะการผลักมือขึ้น หลังสิ้นสุดการผลักมืออย่างสมบูรณ์ ศีรษะจะม้วนขึ้นและลง ไม่ใช่ยกขึ้นยกลง การกลับเข้าที่ของแขนในช่วงนี้เป็นการกลับเข้าสู่ขั้นการเตรียมเพื่อการเริ่มต้นใหม่ต่อไป

การเคลื่อนไหวร่างกาย[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Murphy, Sam (12 August 2013). "I believe I can butterfly". The Guardian. Guardian Media Group. สืบค้นเมื่อ 7 September 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]