ทุ่นขอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนภาพทุ่นขอนที่กำลังทอดสมอ

ทุ่นขอน[1] (อังกฤษ: Spar buoy) เป็นทุ่นทรงสูง บางครั้งสามารถลอยตัวอยู่บนน้ำในลักษณะตั้งตรงได้ มีลักษณะพิเศษคือพื้นที่หน้าตัดผิวน้ำมีน้อย และมีน้ำหนักมาก เนื่องจากสามารถเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถใช้งานได้อย่างมั่นคงในมหาสมุทร ทุ่นขอนจึงเป็นที่นิยมสำหรับการสำรวจทางสมุทรศาสตร์ เนื่องจากทุ่นมีพื้นที่หน้าตัดบนผิวทะเลน้อยและมวลของทุ่นที่มากทำให้ตัวทุ่นขอนไม่ตอบสนองมากนักกับแรงคลื่น ด้วยคุณลักษณะนี้จึงทำให้ทุ่นขอนแตกต่างจากทุ่นลอยน้ำขนาดใหญ่แบบอื่น ๆ[2] เช่น ทุ่นจักร (Discus buoys) ที่มีลักษณะเป็นทุ่นที่ไปตามคลื่น ทุ่นขอนมักถูกใช้เป็นฐานที่ถูกยึดตรึ่งไว้มั่นคงสำหรับอุปกรณ์ตรวจวัดคลื่นทะเล[3] และตรวจสอบปฏิสัมพันธ์ระหว่างอากาศและทะเล[4] โดยทุ่นขอนมีความยาวตั้งแต่ไม่กี่ฟุต[5]ไปจนถึงขนาดเรือ RP PLIP ที่มีความสูง 108 เมตร และเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้จากการปล่อยและเก็บกู้ทุ่นจากเรือ จึงได้มีการศึกษาการใช้งานทุ่นขอนขนาดใหญ่จากเฮลิคอปเตอร์[6]

สำหรับชื่อเรียกว่าทุ่นขอนนั้น เป็นชื่อที่ถูกใช้งานโดยกองทัพเรือบนคู่มือและเอกสารต่าง ๆ ที่เผยแพร่ของกองทัพ[1][7]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 คู่มือเครื่องหมายทางเรือ (NAVGUIDE) (PDF). กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ.
  2. A.M. Clark; W. A. Venezia (1998). Development of a 10-m Diesel Powered Life Support and Communications Buoy for the Aquarius 2000 Habitat. Ocean Community Conference '98. Washington, DC. ISBN 0-933957-23-8.
  3. Drennan, W.M.; H.C. Graber; M.A. Donelan; E.A. Terray (6 August 2002) [28 September-1 October 1998]. Directional wave measurements from the ASIS (Air-Sea Interaction Spar) buoy. OCEANS '98 Conference. Vol. 1. Nice, France. pp. 414–418. doi:10.1109/OCEANS.1998.725779. ISBN 0-7803-5045-6. INSPEC Accession Number: 6201719.
  4. Graber, Hans C.; Terray, Eugene A.; Donelan, Mark A.; Drennan, William M.; Van Leer, John C.; Peters, Donald B. (1 January 2000). "ASIS - A new Air-Sea Interaction Spar buoy: Design and performance at sea". Journal of Atmospheric and Oceanic Technology. Boston, MA: American Meteorological Society. 17 (5): 708–720. Bibcode:2000JAtOT..17..708G. doi:10.1175/1520-0426(2000)017<0708:AANASI>2.0.CO;2. ISSN 0739-0572. S2CID 124826484.
  5. Nelson, C.V. (6 August 2002) [18–21 September 1989]. An Easily Deployed, Low Cost And Light-weight Spar Buoy For Making High Frequency Wave Height Measurements. OCEANS '89. Vol. 5. pp. 1421–1423. doi:10.1109/OCEANS.1989.587092.
  6. Pellegrini, R.R.; Venezia, W.A. (6 August 2002) [18–21 October 1993]. Design, construction, and load testing of a large scale helicopter deployed spar buoy. OCEANS '93. Engineering in Harmony with Ocean. Vol. 2. Victoria, BC , Canada. pp. 140–145. doi:10.1109/OCEANS.1993.326081. ISBN 0-7803-1385-2. INSPEC Accession Number: 4800652.
  7. สัญลักษณ์, อักษรย่อ, คำศัพท์ ที่ใช้ในแผนที่เดินเรือไทย (PDF). โรงพิมพ์กองสร้างแผนที่ กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ กรุงเทพฯ. 2553.