ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เค้าโครงการเรียนรู้ในคริสต์ศตวรรษที่ 21

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21[1] (อังกฤษ: 21st century skills) ประกอบด้วยทักษะ ความสามารถ และการจัดการเรียนรู้ซึ่งนักการศึกษา ผู้นำธุรกิจ นักวิชาการ และหน่วยงานรัฐบาลมองว่าจำเป็นต่อการประสบความสำเร็จในสังคมและการงานในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ขบวนการนี้เน้นไปที่ทักษะที่ผู้เรียนควรทำได้เพื่อเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในสังคมแบบดิจิทัล ซึ่งในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ต่อคริสต์ศตวรรษที่ 21 สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งในด้านของเศรษฐกิจและเทคโนโลยี สร้างผลกระทบให้กับการทำงาน และนั่นทำให้เกิดความต้องการระบบการศึกษาที่เตรียมผู้เรียนให้พร้อมกับการทำงานนั้น ในคริสต์ทศวรรษ 1980 รัฐบาล นักการศึกษา ผู้จ้างงานรายใหญ่ต่างออกรายงานระบุทักษะสำคัญและกลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อเป็นลู่ทางให้ผู้เรียนและคนทำงานมุ่งสู่ความต้องการของสังคมและการทำงานที่เปลี่ยนไป ทักษะหลายอย่างเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้เชิงลึก เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการให้เหตุผล การแก้ปัญหาซับซ้อนและการทำงานเป็นกลุ่ม ทักษะเหล่านี้แตกต่างจากทักษะทางวิชาการแบบดั้งเดิมที่เน้นองค์ความรู้เป็นฐาน[2][3][4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑". สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. สืบค้นเมื่อ 2 September 2020.
  2. Chris Dede, Comparing Frameworks for 21st Century Skills, Harvard Graduate School of Education, 2009. Retrieved 2016-03-09
  3. Stedman Graham, Preparing for the 21st Century: Soft Skills Matter, Huffington Post, April 26, 2015. Retrieved 2016-03-16
  4. Larry Cuban, Content vs. skills in high schools - 21st century arguments echo 19th century conflicts, November 3, 2015. Retrieved 2016-03-12