ทฤษฎีบทคึนเน็ท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ทฤษฎีบทคึนเน็ท (อังกฤษ: Künneth theorem) หรือ สูตรคึนเน็ท (อังกฤษ: Künneth formula) เป็นทฤษฎีบทในคณิตศาสตร์สาขาพีชคณิตเชิงฮอมอโลยีและทอพอโลยีเชิงพีชคณิต เนื้อหาของทฤษฎีบทนี้เชื่อมโยงฮอมอโลยีระหว่างวัตถุสองอัน กับผลคูณของวัตถุทั้งสอง

ทฤษฎีบทคึนเน็ทแบบคลาสสิคกล่าวถึงฮอมอโลยีซิงกิวลาร์ (singular homology) ของปริภูมิเชิงทอพอโลยีสองอัน , และเชื่อมโยงเข้ากับฮอมอโลยีของปริภูมิผลคูณ ในกรณีที่ง่ายที่สุดความสัมพันธ์ที่ว่าจะเป็นผลคูณเทนเซอร์ แต่โดยทั่วไปจะต้องอาศัยเครื่องมือทางพีชคณิตเชิงฮอมอโลยีเพื่อระบุออกมา

ทฤษฎีบทคึนเน็ทหรือสูตรคึนเน็ทเป็นจริงในทฤษฎีฮอมอโลยีและทฤษฎีคอฮอมอโลยีต่าง ๆ ซึ่งนิยมเรียกโดยรวมว่าสูตรของคึนเน็ท ชื่อนี้ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่แฮร์มัน คึนเน็ท (Hermann Künneth) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน

ฮอมอโลยีซิงกิวลาร์แบบสัมประสิทธิ์มีค่าในฟิลด์[แก้]

ให้ และ เป็นปริภูมิเชิงทอพอโลยี โดยทั่วไปเรานิยมใช้ฮอมอโลยีซิงกิวลาร์ แต่ในกรณีที่ และ เป็น CW-complex อาจใช้ฮอมอโลยีเซลลูลาร์แทนได้ กรณีที่ง่ายที่สุดของสูตรคึนเน็ทคือเมื่อริงสัมประสิทธิ์เป็นฟิลด์ และทฤษฎีบทคึนเน็ทกล่าวว่าสำหรับจำนวนเต็ม ใด ๆ

ยิ่งไปกว่านั้น ฟังก์ชันสมสัณฐานข้างต้นเป็นฟังก์ชันสมสัณฐานธรรมชาติ การส่งจากผลบวกข้างซ้ายมือไปยังกรุปฮอมอโลยีทางขวาเรียกว่า cross product ซึ่งเป็นฟังก์ชันที่ส่ง i-cycle บน และ j-cycle บน มารวมกันให้ได้ -cycle บน ทำให้ได้การส่งเชิงเส้นจากผลบวกตรงไปยัง

ผลที่ตามมาจากทฤษฎีบทคึนเน็ทประการหนึ่งคือ จำนวนเบ็ตตีซึ่งเป็นมิติของฮอมอโลยีที่มีสัมประสิทธิ์ใน สามารถเขียนออกมาได้ในเทอมของจำนวนเบ็ตตีของ และ ถ้า เป็นฟังก์ชันก่อกำเนิดของลำดับของจำนวนเบ็ตตี ของปริภูมิ แล้วจะได้ว่า

ในกรณีที่ และ มีจำนวนเบ็ตตีจำกัดตัว เราจะได้เอกลักษณ์ของพหุนามปวงกาเร

ฮอมอโลยีซิงกิวลาร์แบบสัมประสิทธิ์มีค่าในโดเมนไอดีลมุขสำคัญ (PID)[แก้]

สูตรข้างต้นในกรณีสัมประสิทธิ์มีค่าในฟิลด์นั้นไม่ซับซ้อนเพราะปริภูมิเวกเตอร์เหนือฟีลด์ประพฤติตัวดี หากเราเปลี่ยนริงสัมประสิทธิ์จะทำให้ความสัมพันธ์ซับซ้อนขึ้น กรณีข้างล่างพิจารณาเมื่อสัมประสิทธิ์มีค่าในโดเมนไอดีลมุขสำคัญ (PID) ซึ่งมีความสำคัญเพราะเซตของจำนวนเต็ม เป็นตัวอย่างหนึ่งของโดเมนไอดีลมุขสำคัญ

ภาวะสมสัณฐานในสมการข้างต้นไม่จริง และจำเป็นต้องพิจารณาทอร์ชันผ่านฟังก์เตอร์ทอร์ซึ่งเป็น derived functor ตัวแรกของผลคูณเทนเซอร์

เมื่อ เป็น PID แล้วทฤษฎีบทคึนเน็ทกล่าวว่า สำหรับปริภูมิเชิงทอพอโลยี และ และจำนวนเต็ม จะมี short exact sequence

ยิ่งไปกว่านี้แล้ว sequence เหล่านี้จะ split แต่ไม่ split แบบ canonically

ตัวอย่าง[แก้]

สูตร Short exact sequences ข้างต้นสามารถใช้คำนวณกรุปฮอมอโลยี แบบมีสัมประสิทธิ์เป็นจำนวนเต็มของผลคูณ ระหว่างระนาบเชิงการฉาย (real projective plane) สองอันได้ ระนาบเชิงการฉายและผลคูณเป็น CW complexes และเขียนแทนกรุปฮอมอโลยี ด้วย เราสามารถคำนวณฮอมอโลยีเซลลูลาร์ได้โดยง่ายว่า

,
,
สำหรับค่า i อื่นๆ

Tor group อันเดียวที่ไม่เป็นศูนย์ระหว่างกรุป ทั้งหมดข้างต้น คือ

ดังนั้นสูตรคึนเน็ทจึงลดรูปไปเป็นฟังก์ชันสมสัณฐานในทุกดีกรี เพราะจะมีกรุปศูนย์ในทุกกรณีปรากฎอยู่ใน short exact sequence ทำให้ได้ผลลัพธ์ว่า

และกรุปฮอมอโลยีอื่นเป็นศูนย์

สูตร Künneth spectral sequence[แก้]

สำหรับริง ทั่วไป ฮอมอโลยีระหว่าง และ จะเชื่อมโยงกับฮอมอโลยีของผลคูณโดย Künneth spectral sequence

ซึ่งลดรูปเป็นกรณีข้างต้นในกรณีสัมประสิทธิ์มีค่าในฟิลด์ หรือสัมประสิทธิ์มีค่าในโดเมนไอดีลมุขสำคัญ

ความสัมพันธ์กับพีชคณิตเชิงฮอมอโลยีและแนวทางการพิสูจน์[แก้]

เชนคอมเพล็กซ์ (chain complex) ของปริภูมิ เชื่อมกับเชนคอมเพล็กซ์ของ และ โดย quasi-isomorphism

สำหรับ singular chains นี่เป็นทฤษฎีบทของไอเลนแบร์ก-ซิลเบอร์ สำหรับ cellular chains บน CW complexes จะได้ฟังก์ชันสมสัณฐานทันที แล้วจะได้ว่า ฮอมอโลยีของผลคูณเทนเซอร์ทางขวาเป็นผลจาก spectral Künneth formula ในพีชคณิตเชิงฮอมอโลยี[1]

เนื่องจาก chain modules นั้น free จะได้ว่าในทางเรขาคณิตไม่จำเป็นต้องใช้ hyperhomology หรือ total derived tensor product

มีข้อความคล้ายกันสำหรับคอฮอมอโลยีซิงกิวลาร์ และคอฮอมอโลยีชีฟ สำหรับคอฮอมอโลยีชีฟบนวาไรอิตีเชิงพีชคณิต Alexander Grothendieck พบ spectral sequence ทั้งหมด 6 สูตรที่เชื่อมโยงระหว่าง hyperhomology groups ของ chain complexes of sheaves สองอัน และ hyperhomology group ของผลคูณเทอเซอร์ระหว่างชีพทั้งสอง[2]

สูตรของคึนเน็ทในทฤษฎีฮอมอโลยีและคอฮอมอโลยีทั่วไป[แก้]

มีทฤษฎีฮอมอโลยีและคอฮอมอโลยีทั่วไปจำนวนมากสำหรับปริภูมิเชิงทอพอโลยี ตัวอย่างที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ K-theory และ cobordism แต่ทฤษฎีเหล่านี้ไม่สามารถนิยามผ่านเชนคอมเพล็กซ์ได้ ดังนั้นสูตรคึนเน็ทจึงไม่สามารถพิสูจน์โดยใช้วิธีพีชคณิตเชิงฮอมอโลยีแบบข้างต้นได้ อย่างไรก็ตามทฤษฎีบทคึนเน็ทที่มีสูตรคล้ายคลึงกันสามารถพิสูจน์ได้โดยวิธีอื่น

บทพิสูจน์แรกเป็นของ Michael Atiyah สำหรับ complex K-theory จากนั้นเป็นบทพิสูจน์ของ Pierre Conner และ Edwin E. Floyd ใน cobordism[3][4] มีการค้นพบวิธีพิสูจน์ทั่ว ๆ ไปโดยใช้ทฤษฎฮอมอโทปีของมอดูลเหนือ highly structured ring spectra[5][6] ซึ่งแคทิกอรีฮอมอโทปีของมอดูลประเภทดังกล่าวใกล้เคียงกับderived category ในพีชคณิตเชิงฮอมอโลยี

รายการอ้างอิง[แก้]

  1. ดูบทสุดท้ายของ Mac Lane, Saunders (1963), Homology, Berlin: Springer, ISBN 0-387-03823-X
  2. Grothendieck, Alexander; Dieudonné, Jean (1963), "Éléments de géométrie algébrique (rédigés avec la collaboration de Jean Dieudonné): III. Étude cohomologique des faisceaux cohérents, Seconde partie", Publications Mathématiques de l'IHÉS, 17: 5–91, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-19, สืบค้นเมื่อ 2008-07-29 (EGA III2, Théorème 6.7.3.).
  3. Atiyah, Michael F. (1967), K-theory, New York: W. A. Benjamin
  4. Conner, Pierre E.; Floyd, Edwin E. (1964), Differentiable periodic maps, Berlin: Springer
  5. Robinson, Alan (1983), "Derived tensor products in stable homotopy theory", Topology, 22 (1): 1–18, doi:10.1016/0040-9383(83)90042-3, MR 0682056
  6. Elmendorf, Anthony D.; Kříž, Igor; Mandell, Michael A. & May, J. Peter (1997), Rings, modules and algebras in stable homotopy theory, Mathematical Surveys and Monographs, vol. 47, Providence, RI: American Mathematical Society, ISBN 0-8218-0638-6, MR 1417719

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]